แผนการจัดการเรียนรู้มุ่งเน้นสมรรถนะ


หน่วยที่  2    ชื่อหน่วยการเรียนรู้  งานประเพณี และวัฒนธรรมท้องถิ่น

รหัสวิชา  1702 – 1203   ชื่อวิชา มัคคุเทศก์ท้องถิ่น

เวลาเรียนรวม  6 ชั่วโมง

1. สาระสำคัญ

         ขนมธรรมเนียมเป็นแบบแผนที่คนในสังคมสร้างขึ้น และยึดถือนำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวันเพราะเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม ส่วนประเพณีจะมีลักษณะที่เป็นแบบแผนที่คนนำมาปฏิบัติ โดยมักจะมีความเกี่ยวเนื่องกับความเชื่อทางศาสนา ดังนั้น ขนมธรรมเนียมประเพณีไทยจึงเป็นระเบียบแบบแผนที่คนไทยถือว่าเป็นสิ่งที่ดีงามแล้วนำมาประพฤติในชีวิตประจำวัน จนกลายเป็นวิถีไทยที่เป็นเอกลักษณ์

         วัฒนธรรมท้องถิ่น คือ วิถีชีวิตของคนในแต่ละชุมชน เป็นมรดกสืบทอดกันมา และทุกคนในท้องถิ่นย่อมมีความภาคภูมิใจในการเป็นเจ้าของร่วมกัน (ก่อให้เกิดความรักความหวงแหน) โดยมีศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นเป็นตัวบ่งชี้ความสำคัญของคนในสังคมซึ่งสืบทอดกันมาช้านาน วัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งที่ดีงาม สิ่งที่มีคุณค่า ซึ่งคนในสังคมประพฤติหรือแสดงออกมาช้านาน สามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ ขนบธรรมเนียมประเพณี และความเชื่อ, ภาษา วรรณกรรม ศิลปกรรม และโบราณคดี, การละเล่น ดนตรี และการพักผ่อนหย่อนใจ, ชีวิต ความเป็นอยู่, วิทยาการ

2. สมรรถนะประจำหน่วย

         แสดงความรู้เกี่ยวกับงานประเพณี และวัฒนธรรมท้องถิ่น

3. จุดประสงค์การเรียนรู้

         3.1ด้านความรู้

               3.1.1 สามารถอธิบายความหมายและสำคัญของงานประเพณีได้

                    3.1.2 สามารถอธิบายความหมายและความสำคัญวัฒนธรรมทองถิ่นได้

   3.2 ด้านทักษะ

           3.2.1 สามารถจำแนกประเภทของวัฒนธรรมในท้องถิ่นได้

           3.2.2 สามารถนำเสนองานประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นได้

            3.3 คุณลักษณะที่พึงประสงค์

การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ผู้สอนสามารถสังเกตเห็นได้ ในด้านมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน มีมนุษยสัมพันธ์ และมีความเชื่อมั่นในตนเอง

            3.4 หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและคุณธรรมที่มุ่งเน้น 3  ห่วง 2 เงื่อนไข)

         หลักพอประมาณ พอประมาณ  ผู้เรียนรู้จักการใช้วัสดุ-อุปกรณ์อย่างประหยัดและคุ้มค่า

         หลักความมีเหตุผล มีเหตุผล  ผู้เรียนกล้าแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล  และยอมรับฟัง ความคิดเห็นของผู้อื่น

         หลักภูมิคุ้มกัน

มีภูมิคุ้มกัน ผู้เรียนมีการเตรียมความพร้อมในการเรียนและการปฏิบัติงาน

        เงื่อนไขความรู้

1. รอบรู้ ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความรูพื้นฐานทางการทองเที่ยว

2. รอบคอบ ผู้เรียนปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายด้วยความรอบคอบ

3. ระมัดระวัง ผู้เรียนปฏิบัติงานด้วยความละเอียด และระมัดระวังในการปฏิบัติงาน

       เงื่อนไขคุณธรรม

1. ซื่อสัตย์สุจริต ผู้เรียนมีความซื่อสัตย์ในการวิเคราะห์โจทย์และปัญหา

2. ขยัน อดทน ผู้เรียนมีความขยัน อดทนในการเรียน เข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ

3. มีสติปัญญา ผู้เรียนสามารถคิด วิเคราะห์  ได้อย่างถูกต้อง

4. แบ่งปัน  ผู้เรียนให้ความร่วมมือกับการกระทำกิจกรรมของส่วนรวม มีจิตอาสา

4. เนื้อหาสาระการเรียนรู้

          4.1 ความหมายและความสำคัญขนมธรรมเนียมประเพณีไทยและท้องถิ่น

          4.2 ประเภทของประเพณีไทย และท้องถิ่น

          4.3 ลักษณะของประเพณีไทยและท้องถิ่น

          4.4 ความหมายและความสำคัญของวัฒนธรรมท้องถิ่น

          4.5 ประเภทของวัฒนธรรมท้องถิ่น     

5. กิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นตอนการสอนหรือกิจกรรมของผู้สอน 

5.1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 

1. ผู้สอนทบทวนความรู้พื้นฐานทางการทองเที่ยว ที่เรียนไปในครั้งที่แล้ว

2.ผู้สอนแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้และการกระบวนการจัดการเรียนรู้ประจำหน่วยที่ 2 เรื่อง งานประเพณี และวัฒนธรรมท้องถิ่น

3. ผู้สอนสุ่มถาม-ตอบผู้เรียนในชั้นจำนวน 10 คำถาม เพื่อประเมินความรู้ก่อนเรียนของผู้เรียน 


5.2 ขั้นการเรียนรู้ 


กิจกรรมครั้งที่ 1

1. ผู้สอนบรรยายเนื้อหาสาระเกี่ยวกับความหมายและความสำคัญขนมธรรมเนียมประเพณีไทยและท้องถิ่นประเภทของประเพณีไทยและท้องถิ่น ลักษณะของประเพณีไทยและท้องถิ่น ซักถามผู้เรียนระหว่างบรรยาย และตอบปัญหาที่ผู้เรียนสงสัย

2. ให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่ม จำนวน 4 กลุ่มเท่าๆกัน โดยการจับฉลากเลือกกลุ่มทำใบงาน เรื่อง งานประเพณี 4 ภาค ได้แก่ ประเพณีภาคเหนือ ประเพณีภาคกลาง ประเพณีภาคใต้ และประเพณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

3. ให้ผู้เรียนออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน

4. ผู้สอนมอบหมายงานให้ผู้เรียนแต่ละคนกลับไปศึกษางานประเพณี หรือวัฒนธรรมท้องถิ่นของตนเองมาล่วงหน้า

 

กิจกรรมครั้งที่ 2

1.ผู้สอนบรรยายเนื้อหาสาระเกี่ยวกับความหมายและความสำคัญของวัฒนธรรมท้องถิ่น ประเภทของวัฒนธรรมท้องถิ่น ซักถามผู้เรียนระหว่างบรรยาย และตอบปัญหาที่ผู้เรียนสงสัย

2. ให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มตามความสมัครใจ ออกเป็น 4 กลุ่มเท่าๆกัน เลือกศึกษางานประเพณีหรือวัฒนธรรมที่มีในท้องถิ่นของถิ่นมากลุ่ม 1อย่าง (ห้ามซ้ำกัน)

3. ให้แต่ละกลุ่มนำเสนองานประเพณีหรือวัฒนธรรมท้องถิ่นนั้นๆ มาในรูปแบบการแสดงบทบาทสมมติ

 

5.3 ขั้นสรุป 

1. ผู้สอนและผู้เรียนช่วยกันสรุปเนื้อหาสาระ

2. ให้ผู้เรียนไปอ่านทบทวนเนื้อหาที่เรียน และให้ศึกษาความรู้เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวของท้องถิ่นมาล่วงหน้า


ขั้นตอนการเรียนหรือกิจกรรมของผู้เรียน 

5.1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 

1. ผู้เรียนทบทวนความรู้เดิมที่ได้เรียนมาในครั้งที่แล้ว

2.รับฟังและถามข้อสงสัยเกี่ยวกับจุดประสงค์การเรียนรู้และกระบวนการจัดการเรียนรู้ประจำหน่วยที่ 2 เรื่องงานประเพณี และวัฒนธรรมท้องถิ่น

3. ผู้เรียนช่วยกันตอบคำถาม

 

5.2 ขั้นการเรียนรู้ 


กิจกรรมครั้งที่ 1

1. ผู้เรียนฟังผู้สอนบรรยายตามเนื้อหา ซักถาม และร่วมแสดงความคิดเห็น พร้อมทั้งจดบันทึกความรู้ลงสมุดบันทึก

2. ผู้เรียนแบ่งกลุ่มตามการจับฉลาก และช่วยกันทำ ใบงาน เรื่อง งานประเพณี 4 ภาค

3. นำเสนองานหน้าชั้นเรียน

4. ผู้เรียนไปศึกษางานประเพณีหรือวัฒนธรรมในท้องถิ่นของตนเองมาอย่างน้อยคนละ 1 อย่าง

 

 

 

 

กิจกรรมครั้งที่ 2

1. ผู้เรียนฟังผู้สอนบรรยายตามเนื้อหา ซักถาม และร่วมแสดงความคิดเห็น พร้อมทั้งจดบันทึกความรู้ลงสมุดบันทึก

2. ผู้เรียนแบ่งกลุ่มตามความสมัครใจ ออกเป็น 4 กลุ่มเท่าๆกัน ศึกษางานประเพณีหรือวัฒนธรรมที่มีในท้องถิ่นของถิ่นที่กลุ่มตนเองสนใจ

3. ผู้เรียนแต่ละกลุ่มนำเสนองานประเพณีหรือวัฒนธรรมท้องถิ่นนั้นๆ มาในรูปแบบการแสดงบทบาทสมมติ

 


5.3 ขั้นสรุป 

1. ผู้เรียนร่วมกันสรุป

2. ผู้เรียนไปอ่านทบทวนเนื้อหาที่เรียน และศึกษาความรู้เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวของท้องถิ่นมาล่วงหน้า 

6. สื่อและแหล่งการเรียนรู้     

6.1 สื่อสิ่งพิมพ์

6.1.1 หนังสือเรียน  วิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ของอนิรุทธิ์ เจริญสุข

6.1.2 เอกสารหรือหนังสือเรียนวิชาศิลปวัฒนธรรมไทย ดร.ธันยธรณ์ คาวาซากิ

6.2 สื่อโสตทัศน์

6.2.1 สื่อ PowerPoint ประกอบการบรรยาย

6.2.2 ชุดเครื่องเสียง ได้แก่ ลำโพง ไมค์


7. เอกสารประกอบการจัดการเรียนรู้

                  7.1.1 ใบงาน เรื่อง งานประเพณี 4 ภาค

                  7.1.2 สมุดบันทึกความรู้


8. การบูรณาการ/ความสัมพันธ์กับวิชาอื่น

8.1 สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม


9. การประเมินผล

         9.1 ก่อนเรียน

ผู้เรียนร่วมกันตอบคำถามก่อนเรียน จากการสุ่มถาม-ตอบปากเปล่า

9.2 ขณะเรียน

9.2.1 ผู้เรียนรับฟังความรู้ที่ผู้สอนอธิบายและบันทึกความรู้ในสมุด

                    9.2.2 ให้ผู้เรียนยกตัวอย่างและตอบคำถามจากการสุ่มถามของผู้สอนขณะบรรยาย

9.2.3 เปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถามปัญหา

         9.3 หลังเรียน

9.3.1 ให้ผู้เรียนอ่านทบทวนเนื้อหาที่เรียนและให้ศึกษาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง

9.3.2 แบบประเมินคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์/ใบประเมินบูรณาการ
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง