พระราชประวัติ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ
บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
พระราชประวัติ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
พระราชสมภพ
พระราชประวัติ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
พระราชสมภพ
"สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร" เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์
1. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เป็นพระราชโอรสพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชสมภพ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 เวลา 17:45 น. มีพระเชษฐภคินี คือ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และพระขนิษฐภคินีสองพระองค์คือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
2. ขณะพระชนมายุได้หนึ่งพรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระราชทานพระนาม ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นผู้ตั้งพระนามถวายตามดวงพระชะตา ว่า
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ
เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ
บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ
เทเวศรธำรงสุบริบาล
อภิคุณูปการมหิตลาดุลเดช
ภูมิพลนเรศวรางกูร
กิตติสิริสมบูรณสวางควัฒน์
บรมขัตติยราชกุมาร
3. พระนาม "วชิราลงกรณ" นั้น สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ทรงตั้งถวาย มาจาก "วชิรญาณะ" พระนามฉายาขณะผนวชในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผนวกกับ "อลงกรณ์" จากพระนามในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีความหมายว่า "ทรงเครื่องเพชรนิลจินดา" หรืออาจแปลว่า "อสุนีบาต"
พระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ขึ้น ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ในระหว่างวันที่ 14-15 กันยายน พ.ศ. 2495 โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ทรงเป็นประธานเจริญพระพุทธมนต์ในเย็นวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2495
เช้าวันรุ่งขึ้น (15 กันยายน) จึงมีพิธีสงฆ์และพิธีพราหมณ์ในห้องพิธี เริ่มด้วยพอถึงพระฤกษ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจรดพระกรรบิดกริบพระเกศา ทรงเจิม ทรงผูกด้ายพระขวัญ พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถา พราหมณ์ประกอบพิธีลอยกุ้ง ปลาทอง มะพร้าวเงิน มะพร้าวทองลงในพระขันสาคร แล้วพระสงฆ์ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา พระมหาราชครูเชิญเสด็จขึ้นพระอู่และเห่กล่อมเปิดศิวาลัยไกรลาศตามประเพณี พิธีของพราหมณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงวางพระราชภัณฑ์ลงในพระอู่ตามพระราชประเพณี แล้ว พระมหาราชครูเชิญสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ฯ ขึ้นพระอู่แล้ว พระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาทเวียนเทียนครบรอบตามประเพณี สภาวัฒนธรรมแห่งชาติได้จัดขับไม้มโหรีขับกล่อมถวายพระพรในวาระนี้ด้วย ในการนี้มีการถ่ายทอดเสียงในพระราชพิธีทางวิทยุไปทั่วประเทศ
สยามมกุฎราชกุมาร
เมื่อมีพระชนมายุครบ 20 พรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โปรดให้สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515 มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า "สมเด็จ พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สิริกิตยสมบูรณสวางควัฒน์ วรขัตติยราชสันตติวงศ์ มหิตลพงศอดุลยเดช จักรีนเรศยุพราชวิสุทธิ สยามมกุฎราชกุมาร"
การศึกษา
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499 จนถึง พ.ศ. 2505 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงสำเร็จการศึกษาขั้นต้นในระดับอนุบาล รุ่นที่ 2 จากโรงเรียนจิตรลดา แล้วจึงเสด็จฯ ไปทรงศึกษาต่อในระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนคิงส์มีด แคว้นซัสเซกส์ และศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนมิลฟิลด์ แคว้นซอมเมอร์เซทประเทศอังกฤษ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509 จนถึง พ.ศ. 2513 หลังจากนั้น ทรงศึกษาต่อวิชาทหารที่โรงเรียนคิงส์สกูล ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย เสร็จแล้ว ทรงการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีสาขาอักษรศาสตร์ (ด้านการทหาร) จากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อ พ.ศ. 2519
เมื่อนิวัติประเทศไทยทรงรับราชการทหารแล้วทรงศึกษาต่อที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบก รุ่นที่ 46 เมื่อปี พ.ศ. 2520 ทรงเข้าศึกษาในสาขาวิชานิติศาสตร์ รุ่นที่ 2 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เมื่อ พ.ศ. 2525 ทรงสำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) และปี พ.ศ. 2533 ทรงได้รับการศึกษา ณ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรแห่งสหราชอาณาจักร
พระองค์เคยตรัสว่า เคยประสบปัญหาผลการเรียนที่ไม่น่าพึงใจ อันเป็นผลจากการที่ทรงถูกเลี้ยงดูมาอย่างประคบประหงม
ผนวช
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระทัยศรัทธาจะอุปสมบทในพระพุทธศาสนา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชจึงโปรดเกล้าฯ ให้ทรงผนวชในวันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 เวลา 15.00 น. ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และสมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณฺณโก) ถวายอนุสาสน์ ผนวชแล้วเสด็จฯ ไปประทับ ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร พระมหารัชมงคลดิลก (บุญเรือน ปุณฺณโก) เป็นพระอภิบาล ผนวชอยู่ 15 วันจึงลาผนวช
ทรงราชย์
เมื่อสมเด็จพระบรมชนกนาถสวรรคตในวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เป็นที่คาดหมายว่าพระองค์จะสืบราชสมบัติต่อ ทั้งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ยืนยันว่า จะทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ แต่ทรงขอผ่อนผัน พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี จึงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์โดยตำแหน่งไปพลางก่อน
จนกระทั่งวันที่ 29 พฤศจิกายน สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้จัดประชุมวาระพิเศษ โดยนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้แจ้งหนังสือหนังสือด่วนที่สุดที่ นร.0503/44549 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ที่ได้รับจากพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้แก่ที่ประชุม เพื่อรับทราบ ก่อนอัญเชิญพระองค์เสด็จขึ้นทรงราชย์ และพระองค์ได้ทรงรับเป็นพระมหากษัตริย์จากนั้นวันที่ 1 ธันวาคม จึงพระราชทานพระราชวโรกาสให้ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ประธานรัฐสภา ตัวแทนฝ่ายนิติบัญญัติ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตัวแทนฝ่ายบริหาร และวีรพล ตั้งสุวรรณ ประธานศาลฎีกา ตัวแทนฝ่ายตุลาการ เข้าเฝ้าฯ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เพื่อกราบบังคมทูลเชิญขึ้นสืบราชสมบัติ จากนั้นพระองค์มีพระราชดำรัสตอบรับ ความว่า
พระราชกรณียกิจ
ทางราชการ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรเมื่อครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร กราบบังคมทูลพระกรุณา ถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช แทนพระบรมวงศานุวงศ์ในงาน 60 ปี
ทรงเข้าประจำการ ณ กองปฏิบัติการทางอากาศพิเศษ เมืองเพิร์ท รัฐออสเตรเลียตะวันตก ประเทศออสเตรเลีย
ทรงเข้าร่วมปฏิบัติการรบในการต่อต้านการก่อการร้าย บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งการคุ้มกันพื้นที่บริเวณ รอบค่ายผู้อพยพชาวกัมพูชา ณ เขาล้าน จังหวัดตราด
9 ธันวาคม พ.ศ. 2518 ทรงเข้ารับราชการเป็นนายทหารประจำกรมข่าวทหารบกกระทรวงกลาโหม
6 ตุลาคม พ.ศ. 2521 ทรงดำรงตำแหน่งรองผู้บังคับกองพันทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์
28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 ทรงดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองพัน ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์
13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527 ทรงดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์
30 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการ ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์
9 มกราคม พ.ศ. 2535 ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด[45]
ด้านการบิน
4 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 ทรงปฏิบัติหน้าที่ครูการบินเครื่องบินขับไล่แบบเอฟ-5 อี/เอฟ
พ.ศ. 2552 ทรงปฏิบัติหน้าที่นักบินที่ 1 เครื่องบินโบอิ้ง 737 - 400 ในเที่ยวบินสายใยรักแห่งครอบครัว ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และจัดหาอุปกรณ์ด้านการแพทย์ สำหรับโรงพยาบาลใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (เที่ยวบินที่ ทีจี 8870 (กรุงเทพมหานครถึงจังหวัดเชียงใหม่) และเที่ยวบินที่ ทีจี 8871 (จังหวัดเชียงใหม่ถึงกรุงเทพมหานคร))
ด้านการทหาร
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรเมื่อครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมที่ตั้งกองทหารหน่วยต่าง ๆ อยู่เสมอ จากการที่ได้ทรงศึกษาด้านวิชาทหารมานาน ทรงมีความรู้เชี่ยวชาญอย่างมาก และได้พระราชทานความรู้เหล่านั้นให้แก่ทหาร 3 เหล่าทัพ ทรงปฏิบัติพระองค์เป็นแบบอย่างแก่นายทหาร เอาพระทัยใส่ในความเป็นอยู่ทุกข์สุขของทหารผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาอย่างทั่ว ถึง รวมทั้งพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เป็นทุนการศึกษาแก่บุตรของทหาร สิ่งเหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดความเทิดทูนและความจงรักภักดีแก่เหล่าทหารเป็น อย่างยิ่ง
ด้านการศึกษา
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรเมื่อครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงปลูกต้นปาริชาต ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
พระองค์พระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้อาคารของกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ เป็นที่ตั้งของโรงเรียนอนุบาลชิ่อว่า โรงเรียนอนุบาลทหารมหาดเล็กราชวัลลภ โดยในระยะแรกได้จัดการเรียนการสอนเฉพาะชั้นอนุบาล ต่อมา โรงเรียนได้ย้ายไปที่จังหวัดนนทบุรี และได้รับพระราชทานชื่อใหม่ว่า โรงเรียนอนุราชประสิทธิ์[46]
นอกจากนี้ ยังพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สมทบเป็นค่าก่อสร้างโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ตั้งอยู่ในชนบทห่างไกลคมนาคมไม่สะดวก กระทรวงศึกษาธิการได้ สนองพระราชประสงค์ด้วยการน้อมเกล้าฯ ถวายโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษาจำนวน 6 โรงเรียน เป็นโรงเรียนในพระราชูปถัมภ์ ได้แก่ (1) โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา อ.ปลาปาก จ.นครพนม (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา 1) [47], (2) โรงเรียนมัธยมจุฑาวัชร อ.ลานกระลือ จ.กำแพงเพชร [48] (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา 2), (3) โรงเรียนมัธยมวัชเรศร อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี [49] (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา 3) [50], (4) โรงเรียนมัธยมจักรีวัชร อ.รัตนภูมิ จ.สงขลา [51] (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี 2) [52], (5) โรงเรียนมัธยมวัชรวีร์ อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา [53] (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี 3) [54] และ (6) โรงเรียนมัธยมบุษย์น้ำเพชร อ.เมือง จ.อุดรธานี (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี 1)[55]
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เมื่อครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยาวชนในตำบลต่าง ๆ ทรงสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์เยาวชนตำบล รวมทั้งได้ทรงเป็นประธานงานวันเยาวชนแห่งชาติ วันที่ 20 กันยายน ของทุกปี และทรงเป็นประธานในพิธีปฏิญาณตนและสวนสนามของลูกเสือและเนตรนารี และสมาชิกผู้ทำประโยชน์[56]
ทั้งนี้พระองค์ได้ทรงอุปการะเด็กกำพร้า คือ จักรกฤษณ์ และอนุเดช ชูศรี ที่ครอบครัวเสียชีวิตจากภูเขาถล่มเมื่อปี พ.ศ. 2554[57] รวมทั้งครอบครัวของบูรฮาน และบุศรินทร์ หร่ายมณี ซึ่งบิดาถูกลอบสังหารจากเหตุความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยจะทรงอุปการะจนกว่าจะสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือจนกว่าจะมีอาชีพสามรถ เลี้ยงครอบครัวได้[58][59] เป็นต้น
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เมื่อครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีพระราชดำริให้ดำเนินโครงการทุนการศึกษาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2552 ด้วยพระราชปณิธานที่มุ่งสร้างความรู้ สร้างโอกาสแก่เยาวชนไทยที่มีฐานะยากจน ยากลำบาก แต่ประพฤติดี มีความสามารถในการศึกษา ให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มั่นคงต่อเนื่องในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จนสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ตามความสามารถของแต่ละคน เป็นการลงทุนเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถและศักยภาพแก่เยาวชนไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2553 ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้ง มูลนิธิทุนการศึกษาพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร (ม.ท.ศ.) ขึ้น โดยทรงเป็นองค์ประธานกรรมการ และทรงให้นำโครงการทุนการศึกษาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร มาอยู่ภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิฯ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนสืบต่อไป ซึ่งปัจจุบันมีนักเรียนทุนพระราชทานฯ ในโครงการทั้งสิ้นจำนวน 8 รุ่น จังหวัดละ 2 คน ชาย 1 คนและหญิง 1 คน
ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรเมื่อครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงโปรดให้สร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชขึ้น เพื่อให้การรักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วยในถิ่นทุรกันดาร พระองค์ทรงเป็นองค์นายกกิตติมศักดิ์ของมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช พระองค์ทรงมีพระราชปณิธานให้เอาใจใส่รักษาพยาบาลพสกนิกรของพระองค์ให้ ปลอดภัยจากความเจ็บไข้โดยทั่วหน้าเสมอกัน[60]
ด้านศาสนา
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรเมื่อครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงประเคนผ้าไตร ประกาศนียบัตร และพัดยศ ในการตั้งภิกษุและสามเณรเปรียญ เนื่องในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชา ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง พ.ศ. 2551
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรเมื่อครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2509[61] ก่อนเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ
นอกจากนี้ ทรงมีพระราชศรัทธาออกบวชในพระพุทธศาสนา โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โปรดให้จัดการพระราชพิธีผนวช ณ พัทธสีมาวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ สมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณฺณโก) ถวายอนุสาสน์[62] ได้รับถวายพระสมณนามว่า "วชิราลงฺกรโณ" และได้ประทับอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ตลอดจนทรงลาสิกขาในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 [13]
สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรเมื่อครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เสด็จพระราชดำเนินแทนพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชไปปฏิบัติพระ ราชกิจทางพระพุทธศาสนาอย่างสม่ำเสมอ[ต้องการอ้างอิง] เช่น เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตามฤดูกาล เสด็จพระราชดำเนินแทนพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่นวันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา และการถวายผ้าพระกฐินหลวงตามวัดต่าง ๆ เป็นต้น[ต้องการอ้างอิง]
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจด้านศาสนาหลังจากเสด็จขึ้นทรงราชย์แล้ว คือ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทาน เนื่องในวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2559 ทรงพระราชอนุสรณ์คำนึงถึงสมเด็จพระบรมชนกนาถ[63] และโปรดเกล้าฯ สถาปนาอิสริยยศ และเลื่อนอิสริยฐานันดรพระสงฆ์ที่ดํารงอยู่ในสมณคุณ และมีอุปการะยิ่งแก่การพระศาสนาดังกล่าวสูงขึ้น เพื่อจักได้บริหารพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสถาพร ตามโบราณราชประเพณี[64]
ด้านการเกษตร
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรเมื่อครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงทำปุ๋ยหมักจากผักตบชวาและวัชพืชอื่น ๆ เป็นปฐมฤกษ์ เพื่อพระราชทานแก่เกษตรกร สำหรับนำไปใช้ในการเพาะปลูกเป็นการเพิ่มผลผลิต ที่บ้านแหลมสะแก ต.เดิมบาง อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2528[65]
ด้านการต่างประเทศ
วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2554 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรเมื่อครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ โปรดให้ พล.อ.ท.ภักดี แสงชูโต นำผ้าห่มกันหนาว 20,000 ผืน ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ พ.ศ. 2554 ที่ประเทศญี่ปุ่น โดยมีนายกษิต ภิรมย์ เป็นผู้รับมอบ
ประสบการณ์ทางทหาร
เดือนมกราคม ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2519 ทรงเข้ารับการฝึกเพิ่มเติม และศึกษางานด้านการทหาร ณ เครือรัฐออสเตรเลีย
ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรวิชาอาวุธพิเศษ การทำลายและยุทธวิธีรบนอกแบบ หลักสูตรต้นหนชั้นสูง หลักสูตรการลาดตระเวน และต้นหนชั้นสูง รวมทั้งหลักสูตรส่งทางอากาศ
พ.ศ. 2522 ถึง พ.ศ. 2523 ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรการฝึกบินเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป แบบ ยู เอซ - 1 เอซ ของบริษัท เบลล์ รวมชั่วโมงบิน 54.36 ชั่วโมง
เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2523 ทรงเข้ารับการฝึกตามโครงการช่วยเหลือทางทหาร กองทัพบกสหรัฐอเมริกา รวม 6 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรอาวุธประจำกายและเครื่องยิงลูกระเบิด หลักสูตรการปฏิบัติการพิเศษ หลักสูตรการต่อต้านการก่อการร้าย หลักสูตรการสงครามแบบกองโจร หลักสูตรการฝึกการดำรงชีพ และหลักสูตรส่งทางอากาศ ( ทางบกและทางทะเล )
เดือนมิถุนายน ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2523 ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรการฝึกบินเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป แบบ ยู เอซ - 1 เอซ กับเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป แบบ ยู เอซ - 1 เอ็น ของบริษัทเบลล์ รวมชั่วโมงบิน 259.560 ชั่วโมง
เดือนกันยายน ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2523 ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรการฝึกบินเฮลิคอปเตอร์โจมตี ติดอาวุธ แบบ ยู เอซ - 1 เอซ ของบริษัทเบลล์ จากกองทัพไทย รวมชั่วโมงบิน 54.50 ชั่วโมง
เดือนธันวาคม พ.ศ. 2523 ถึง พ.ศ. 2524 ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรการฝึกบินเครื่องบินปีกติดลำตัว แบบ Sial - Marchetti SF 120 MT รวมชั่วโมงบิน 172.20 ชั่วโมง
เดือนมีนาคม ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2524 ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรการฝึกบินเครื่องบินปีกติดลำตัว แบบ Cessna T - 37 รวมชั่วโมงบิน 240 ชั่วโมง
เดือนตุลาคม ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2524 เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรกิจการทางทหารและตำรวจ ณ สหราชอาณาจักร ราชอาราจักรเบลเยียม ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สาธารณรัฐฝรั่งเศส และเครือรัฐออสเตรเลีย
เดือนตุลาคม พ.ศ. 2525 ถึง พ.ศ. 2526 ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรการฝึกบินเปลี่ยนเป็นเครื่องบินขับไล่ แบบ เอฟ - 5 ( พิเศษ ) รุ่นที่ 83 (พุทธศักราช 2526) เอ ที ดับบลิว และหลักสูตรเครื่องบินขับไล่ชั้นสูง รุ่นที่ 83 (พุทธศักราช 2526) เอ วี ดับบลิว ณ ฐานทัพอากาศวิลเลียมส์ รัฐอริโซนา สหรัฐอเมริกา รวนชั่วโมงบิน 2,000 ชั่วโมง
พ.ศ. 2532 ทรงผ่านการฝึกบินด้วยเครื่องบินใบพัด แบบมาร์คเคตตี้ของฝูงขั้นปลาย โรงเรียนการบิน กองทัพอากาศ และการฝึกบิน ด้วยเครื่องบินไอพ่น แบบ ที 33 และหลักสูตรนักบินขับไล่ไอพ่นสมรรถนะสูงกับเครื่องบิน ขับไล่ แบบ เอฟ 5 อี/เอฟ ของกองบิน 1 ฝูงบิน 102 โดยทรงทำชั่วโมงบิน 200 ชั่วโมง ในเบื้องต้น และทรงทำชั่วโมงบินสูงสุด 1,000 ชั่วโมง และทรงเข้าร่วมการแข่งขันการใช้อาวุธทางอากาศประจำปี ซึ่งทรงทำคะแนนได้สูงตามกติกา กองทัพอากาศได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเครื่องหมายความสามารถในการใช้อาวุธ ทางอากาศชั้นที่ 1 ประเภทอาวุธระเบิดสี่ดาว อาวุธจรวดสี่ดาว และอาวุธปืนสี่ดาว ในศกเดียวกัน [68]
เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2547 ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรการในฐานะนักบินโบอิ้ง 737 - 400 จากบริษัท การบินไทย จำกัด ( มหาชน ) และทรงผ่านการตรวจสอบจากการขนส่งทางอากาศ กับทรงได้รับใบอนุญาตนักบินพาณิชย์เอก
เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2548 ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรกัปตัน จากบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และทรงรับการทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายตำแหน่งนักบินที่ 1 ใน พ.ศ. 2549 ทั้งนี้ ทรงปฏิบัติหน้าที่นักบินที่ 1 อย่างดีเยี่ยมสม่ำเสมอ รวมชั่วโมงบิน 3,000 ชั่วโมง
เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552 กรมการขนส่งทางอากาศได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายใบรับรองในตำแหน่งครูฝึกภาค อากาศกับตำแหน่ง ครูฝึกเครื่องช่วยฝึกบิน สำหรับเครื่องบินโบอิ้ง 737 - 400 [69]
พระราชประวัติ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
ทรงราชย์
พระราชประวัติ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
ทรงราชย์
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ขึ้นทรงราชย์เป็น
พระมหากษัตริย์ รัชกาลใหม่ ตั้งแต่วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มาตรา ๒ วรรค ๒ ประกอบกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๓ วรรค ๑ ได้บัญญัติเรื่องการสืบราชสันตติวงศ์ว่า ในกรณีที่ราชบัลลังก์หากว่างลงและเป็นกรณีที่พระมหากษัตริย์ได้ทรงแต่งตั้งพระรัชทายาทไว้ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗ แล้ว ให้คณะรัฐมนตรีแจ้งให้ประธานรัฐสภาทราบ และให้ประธานรัฐสภาเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อรับทราบและให้ประธานรัฐสภาอัญเชิญองค์พระรัชทายาทขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์สืบไป แล้วให้ประธานรัฐสภาประกาศให้ประชาชนทราบ
โดยที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงแต่งตั้งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นพระรัชทายาทไว้ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗ แล้ว เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ จึงได้มีการประชุมและประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้นำความกราบบังคมทูลอัญเชิญสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ และเมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณและยังความปลื้มปีติแก่ประชาชนชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง ด้วยพระองค์มีพระราชดำรัสตอบรับการขึ้นทรงราชย์ความว่า...
“ตามที่ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ประธานรัฐสภาได้กล่าวในนามของปวงชนชาวไทย เชิญข้าพเจ้าขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ ว่าเป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์กับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนั้น ข้าพเจ้าขอตอบรับเพื่อสนองพระราชปณิธาน และเพื่อประโยชน์ของประชาชนชาวไทยทั้งปวง”
ณ บัดนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ที่ทรงสถิตอยู่ในพระราชฐานะองค์พระรัชทายาท มาตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๑๕ นับเป็นเวลาถึง ๔๔ ปี จึงทรงเป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๑๐ แห่งราชวงศ์จักรี และมีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เฉลิมพระปรมาภิไธยว่า “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร”
สำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนั้น รัชกาลที่ ๑๐ มีพระราชดำริว่า ควรดำเนินการเมื่อเสร็จสิ้นการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร แล้ว
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กาชาดสัมพันธ์ฉบับพิเศษ โดยสภากาชาดไทย
สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา
ห้องสมุดสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
กองพัฒนาศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
พระราชประวัติ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
พระปรมาภิไธย
พระราชประวัติ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
พระปรมาภิไธย
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร พระปรมาภิไธย อ่านว่า สม-เด็ด-พระ-เจ้า-อยู่-หัว-มะ-หา-วะ-ชิ-รา-ลง-กอน-บอ-ดิน-ทระ-เทบ-พะ-ยะ-วะ-ราง-กูน
ภาษาอังกฤษว่า “His Majesty King Maha Vajiralongkorn Bodindradebayavarangkun”
ตราพระปรมาภิไธย
ภาพประกอบจากนิทรรศการพลังแผ่นดิน อัศจรรย์งานศิลป์แผ่นดินสยาม
(คัดลอกจาก Seventeen Thailand)
ตราพระปรมาภิไธย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
ออกแบบโดย นายสุนทร วิไล จากกรมศิลปากร ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
วันที่ ๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๙ ซึ่งมีการออกแบบเช่นเดียวกับ ตราพระปรมาภิไธยของ
พระมหากษัตริย์รัชกาลก่อน ๆ ประกอบด้วย
พระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมี : พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑
องค์พระปฐมบรมมหากษัตริย์ในพระบรมมหาราชจักรีวงศ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างขึ้นเป็นราชศิราภรณ์ หนึ่งในเครื่องราชกกุธภัณฑ์ สำหรับสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า แสดงถึงการเป็นพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์ที่ได้รับการกราบบังคมทูลถวาย เมื่อเสด็จประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐ
ภายใต้พระนพปฎลมหาเศวตฉัตร (ฉัตรขาว ๙ ชั้น) ตามแบบอย่างโบราณครั้งกรุงศรีอยุธยา อันแสดงถึงพระบรมเดชานุภาพ แผ่กระจายไปไกลทั่วทุกหนแห่ง เพื่อปกป้องคุ้มครองและช่วยเหลือประชาชนของพระองค์ทั่วทั้งแผ่นดิน
เลข ๑๐ ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ หมายถึง พระมหากษัตริย์ในรัชกาลที่ ๑๐
ว.ป.ร. ย่อมาจาก “วชิราลงกรณ ปรมราชาธิราช” อักษรพระปรมาภิไธย
“สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร”
ว. สีขาวนวล แสดงถึง วันพระราชสมภพ (วันจันทร์ นับตามคติมหาทักษา)
ป. สีเหลือง แสดงถึง วันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙
ร. สีฟ้า แสดงถึง วันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กาชาดสัมพันธ์ฉบับพิเศษ โดยสภากาชาดไทย
สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา
ห้องสมุดสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
พระราชประวัติ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
พระบรมราชสมภพ
พระราชประวัติ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
พระบรมราชสมภพ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร พระราชสมภพ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๕ เวลา ๑๗.๔๕ น. ทรงเป็นพระราชโอรส
เพียงพระองค์เดียว ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ และ
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นับเป็นปีที่ ๗ แห่งการเสด็จขึ้นทรงราชย์ของรัชกาลที่ ๙
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กาชาดสัมพันธ์ฉบับพิเศษ โดยสภากาชาดไทย
สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา
ห้องสมุดสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
- กองพัฒนาศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
พระราชประวัติ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
พระเชษฐภคินีและพระขนิษฐา รัชกาลที่ ๑๐
พระราชประวัติ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
พระเชษฐภคินีและพระขนิษฐา รัชกาลที่ ๑๐
ภาพประกอบจากกาชาดสัมพันธ์ฉบับพิเศษ โดยสภากาชาดไทย
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงมีพระเชษฐภคินี คือ
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
และพระขนิษฐา ๒ พระองค์ คือ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กาชาดสัมพันธ์ฉบับพิเศษ โดยสภากาชาดไทย
สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา
ห้องสมุดสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
- กองพัฒนาศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
พระราชประวัติ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
พระราชโอรสและพระราชธิดา รัชกาลที่ ๑๐
พระราชประวัติ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
พระราชโอรสและพระราชธิดา รัชกาลที่ ๑๐
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงมีพระราชธิดา ๒ พระองค์ และ
พระราชโอรส ๑ พระองค์ ดังนี้
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ประสูติ เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๒๑ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ประสูติ เมื่อวันที่ ๘ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๓๐
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ประสูติ เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๔๘
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กาชาดสัมพันธ์ฉบับพิเศษ โดยสภากาชาดไทย
สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา
ห้องสมุดสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
- กองพัฒนาศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
พระราชประวัติ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
พระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่
พระราชประวัติ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
พระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่
เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงเจริญพระชนมายุ ๑ เดือน กับ ๑๘ วัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ เมื่อวันที่ ๑๔-๑๕ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๙๕ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นประธานเจริญพระพุทธมนต์ ในเย็นวันที่ ๑๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๙๕
วันที่ ๑๕ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๙๕ ได้มีพิธีสงฆ์และพิธีพราหมณ์ในห้องพิธี เมื่อถึงพระฤกษ์
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงจรดพระกรรไกรไทยขริบเส้นพระเกศา และ
ทรงหลั่งน้ำพระพุทธมนต์เทพมนต์จากเต้าพระราชทาน แล้วทรงผูกด้ายพระขวัญทรงเจิมพระราชทาน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กาชาดสัมพันธ์ฉบับพิเศษ โดยสภากาชาดไทย
สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา
ห้องสมุดสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
- กองพัฒนาศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
พระราชประวัติ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
พระนามรัชกาลที่ ๑๐ เมื่อพระชนมายุ ๑ พรรษา
พระราชประวัติ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
พระนามรัชกาลที่ ๑๐ เมื่อพระชนมายุ ๑ พรรษา
เมื่อครั้ง รัชกาลที่ ๑๐ พระชนมายุ ๑ พรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระนาม โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นผู้ตั้งพระนามถวาย ว่า
“สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ เทเวศรธำรงสุบริบาล
อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดช ภูมิพลนเรศวรางกูร กิตติสิริสมบูรณ์สวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร”
ซึ่งเป็นพระมงคลนามตามพระราชตระกูล โดย “วชิราลงกรณ” มาจาก “วชิรญาณ” พระนามฉายาขณะ
ทรงพระผนวชในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นพระไปยิกาธิราช
ผนวกกับ “อลงกรณ์” จากพระนาม “จุฬาลงกรณ์” ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กาชาดสัมพันธ์ฉบับพิเศษ โดยสภากาชาดไทย
สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา
ห้องสมุดสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
- กองพัฒนาศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
พระราชประวัติ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
การศึกษา รัชกาลที่ ๑๐
พระราชประวัติ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
การศึกษา รัชกาลที่ ๑๐
เดือนกันยายน พุทธศักราช ๒๔๙๙ ขณะที่ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ มีพระชนมายุ ๔ พรรษา ทรงเข้าศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ ๑ ณ โรงเรียนจิตรลดา ที่ตั้งอยู่ ณ พระที่นั่งอุดร ในพระราชวังดุสิต
ต่อมาพุทธศักราช ๒๕๐๙ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปทรงเข้ารับการศึกษาต่อระดับประถมศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ ที่โรงเรียนคิงส์มีด เมืองซีฟอร์ด แคว้นซัสเซ็กส์ และในเดือนกันยายนปีเดียวกัน ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนมิลล์ฟิลด์ เมืองสตรีท แคว้นซัมเมอร์เซต จนถึงเดือนกรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๑๓
ในเดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๑๓ ได้เสด็จพระราชดำเนินจากประเทศอังกฤษไปทรงศึกษาวิชาการทหารที่โรงเรียนคิงส์ เขตพารามัตตา นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นโรงเรียนเตรียมทหาร หลังทรงแสดงความสนพระราชหฤทัยในกิจการเกี่ยวกับกองทัพและกิจการทหาร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสด็จพระราชดำเนินไปศึกษาเป็นเวลา ๕ สัปดาห์
พุทธศักราช ๒๕๑๕ ทรงเข้าศึกษาในวิทยาลัยการทหารชั้นสูงที่วิทยาลัยการทหารดันทรูน กรุงแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งหลักสูตรของวิทยาลัยการทหารแห่งนี้แบ่งออกเป็น ๒ ภาค คือ ภาควิชาการทหาร รับผิดชอบและดำเนินการโดยกองทัพบก ออสเตรเลีย นักเรียนที่สำเร็จตามหลักสูตรนี้จะได้เป็นนายทหารยศร้อยโท ส่วนอีกภาคหนึ่งเป็นการศึกษาวิชาสามัญ ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ รับผิดชอบการวางหลักสูตร แบ่งออกเป็นสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ อักษรศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ นักเรียนนายร้อยที่ผ่านหลักสูตรดังกล่าวจะได้รับปริญญาตรีตามสาขาวิชาที่เลือกศึกษา โดยพระองค์ทรงเลือกศึกษาในสาขาวิชาอักษรศาสตร์ ทรงสำเร็จการศึกษา พุทธศักราช ๒๕๑๙
เมื่อเสด็จนิวัตประเทศไทย ทรงรับราชการทหารและทรงศึกษาต่อที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบก รุ่นที่ ๔๖ พุทธศักราช ๒๕๒๐ ทรงเข้าศึกษาในสาขาวิชานิติศาสตร์ รุ่นที่ ๒ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พุทธศักราช ๒๕๒๕ ทรงสำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ ๒)
นอกจากนี้ ยังทรงศึกษาต่อยังวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร และทรงรับการฝึกอบรมหลักสูตรทางการทหาร การบินอีกหลายหลักสูตร ทรงผ่านการฝึกอบรมเครื่องบินรบจนมีพระปรีชาสามารถและมีจำนวนชั่วโมงบินสูงมาก รวมทั้งทรงศึกษาหลักสูตรนักบินพาณิชย์ จากสถาบันการบินพลเรือน ทรงสอบได้ใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี
เมื่อพุทธศักราช ๒๕๔๗ ทรงเข้าศึกษาหลักสูตรนักบินพาณิชย์เอก จากบริษัท การบินไทย และทรงสำเร็จการศึกษาและการบินด้วยเครื่องบินพาณิชย์จริง ทรงได้รับใบอนุญาตเป็นกัปตันเครื่องบินโบอิ้ง ๗๓๗ ด้วยความสนพระราชหฤทัยและวิริยอุตสาหะทำให้พระองค์ทรงมีพระปรีชาชาญด้านการบิน รอบรู้ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ จนได้รับพระนามให้เป็น “เจ้าฟ้านักบิน”
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กาชาดสัมพันธ์ฉบับพิเศษ โดยสภากาชาดไทย
สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา
ห้องสมุดสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
- กองพัฒนาศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
พระราชประวัติ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
สมเด็จพระยุพราช
พระราชประวัติ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
สมเด็จพระยุพราช
ภาพประกอบจากกาชาดสัมพันธ์ฉบับพิเศษ โดยสภากาชาดไทย
วันที่ ๒๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕ ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ
เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ พระชนมายุ ๒๐ พรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีสถาปนาเฉลิมพระนามาภิไธย ให้ดำรง
พระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระยุพราชมกุฎราชกุมาร หรือ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร
ทรงหลั่งน้ำพระมหาสังข์ทักษิณาวัฏพระราชทานแด่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร จากนั้นพระราชทานพระสุพรรณบัฏ พระนามาภิไธย พระราชลัญจกร พระแสงดาบ
ฝักทองเกลี้ยง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเครื่องราชอิสริยยศ ตามลำดับ และในพระสุพรรณบัฏจารึกพระนามไว้ว่า
“สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สิริกิตยสมบูรณสวางควัฒน์ วรขัตติยราชสันตติวงศ์ มหิตลพงศอดุลยเดช จักรีนเรศยุพราชวิสุทธิ สยามมกุฎราชกุมาร”
ซึ่งเป็นพระรัชทายาทตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗ และในมงคลวาระนั้น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ทรงมีพระราชดำรัสถวายสัตย์ปฏิญาณ ในการพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งแสดงถึงพระราชปณิธานที่ทรงมุ่งมั่นจะบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อชาติบ้านเมืองและประชาชนชาวไทย ดังความสำคัญว่า
“ข้าพระพุทธเจ้า ขอพระราชทานกระทำสัตย์ปฏิญาณ ต่อประเทศชาติและประชาชนชาวไทย
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เฉพาะพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ท่ามกลางสันนิบาตนี้ว่า ข้าพเจ้าผู้เป็น สยามมกุฎราชกุมาร จะรักษาเกียรติยศและอริยศักดิ์ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานไว้ด้วยชีวิต จะภักดีต่อชาติบ้านเมือง จะซื่อสัตย์ต่อประชาชน จะปฏิบัติภาระหน้าที่ทุกอย่าง โดยเต็มกำลังสติปัญญาความสามารถ และโดยความเสียสละ เพื่อความเจริญสงบสุข และความมั่นคงไพบูลย์ ของประเทศไทย จนตราบเท่าชีวิตร่างกายจะหาไม่”
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กาชาดสัมพันธ์ฉบับพิเศษ โดยสภากาชาดไทย
สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา
ห้องสมุดสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
- กองพัฒนาศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
พระราชประวัติ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
ทรงผนวช
พระราชประวัติ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
ทรงผนวช
ภาพประกอบจากหนังสือการพระราชพิธีทรงผนวช
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร พุทธศักราช ๒๕๒๑
วันที่ ๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๒๑ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ
สยามมกุฎราชกุมาร ทรงผนวชเพื่อบำเพ็ญพระราชกุศลในพระศาสนา และสนองพระเดชพระคุณ
สมเด็จพระบรมราชบุพการีตามจารีตนิยม ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง
โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) วัดราชบพิธ เป็น
พระราชอุปัธยาจารย์ และสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
(เจริญ สุวฑฺฒโน) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับถวายสมณนาม ว่า “วชิราลงกรโณ” ประทับ ณ
วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร เมื่อครบ ๑๕ วัน ทรงลาสิกขา
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กาชาดสัมพันธ์ฉบับพิเศษ โดยสภากาชาดไทย
สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา
ห้องสมุดสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
- กองพัฒนาศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
พระราชประวัติ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
พรรณไม้ประจำรัชกาล
พระราชประวัติ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
พรรณไม้ประจำรัชกาล
“รวงผึ้ง” หรือชื่อภาษาพื้นเมือง “น้ำผึ้ง” หรือ “สายน้ำผึ้ง” ต้นไม้มงคลอันทรงคุณค่าและมีเกียรติที่ถูกยกให้เป็นพรรณไม้ประจำพระองค์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐ เนื่องจากผลิดอกในช่วงเดือนพระบรมราชสมภพ เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ส่วนสีเหลืองของดอกรวงผึ้งยังเป็นสีประจำวันพระบรมราชสมภพ (วันจันทร์ ๒๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๕) รวมถึงยังทรงปลูกต้น
รวงผึ้งไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ ที่เสด็จพระราชดำเนินไปประกอบพระราชกรณียกิจ เพื่อพระราชทานไว้ให้เป็นตัวแทนพระองค์และเป็นสิริมงคลแก่ประชาชน
สำหรับ “รวงผึ้ง” ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย พบมากในป่าทางภาคเหนือ
ทนแดดและชอบขึ้นในที่แล้ง ลำต้นแตกกิ่งต่ำ ลักษณะลำต้นเป็นทรงพุ่มมน ออกใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ด้านหน้าใบจะเป็นสีเขียวและหลังใบเป็นสีน้ำตาลนวล ดอกรวงผึ้งผลิดอกนาน ๗-๑๐ วัน ส่งกลิ่นหอมตลอดทั้งวัน และมีสีเหลืองอร่ามดูโดดเด่น ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ลักษณะดอกมีกลีบเลี้ยง ๕ แฉกติดกับโคนกลีบและเป็นฐานรองกระจุกเกสรตัวผู้ ไม่มีกลีบดอก ส่วนผลของต้นรวงผึ้งมีลักษณะเป็นทรงกลม ผลแห้ง และมีขน
ประโยชน์ของต้นรวงผึ้ง แม้จะไม่ใช่ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ แต่ก็ช่วยบังแดดและให้ร่มเงาได้ เป็นไม้มงคลที่เหมาะจะนำมาปลูกประดับสวนภายในบ้านและตามสถานที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะบ้านที่มีคนธาตุไฟ
ต้นรวงผึ้งก็จะช่วยเสริมความเป็นสิริมงคลให้มากยิ่งขึ้น รวมถึงดอกรวงผึ้งมีกลิ่นหอมซึ่งช่วยปรับ
บรรยากาศให้สดชื่นอีกด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กาชาดสัมพันธ์ฉบับพิเศษ โดยสภากาชาดไทย
สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา
ห้องสมุดสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
กองพัฒนาศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
พระราชประวัติ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
วัดประจำรัชกาล
พระราชประวัติ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
วัดประจำรัชกาล
ภาพประกอบจาก Anirut Thailand / Shutterstock.com
วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร หรือ วัดทุ่งสาธิต วัดประจำรัชกาลที่ ๑๐ ตั้งอยู่ แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ สร้างขึ้นประมาณพุทธศักราช ๒๓๙๙ โดยคหบดีชาวลาวชื่อ นายวันดี ที่อพยพมาจากเวียงจันทน์ แต่เมื่อคหบดีท่านนี้ถึงแก่กรรม รวมถึงเจ้าอาวาสรูปสุดท้ายมรณภาพ ทำให้ไม่มีใครสืบสานต่อจนกลายเป็นวัดร้าง
ต่อมา พระอาจารย์สาธิต ฐานวโร (หลวงพ่อศรีนวล) ได้รับการนิมนต์มาบูรณะวัดทุ่งสาธิต ท่านก็ได้ไปเรียนปรึกษาหารือผู้ที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย ทั้ง เจ้าคณะจังหวัดพระนคร เจ้าคณะอำเภอพระโขนง รวมถึงฝ่ายฆราวาส เลขานุการกรมศาสนา รองอธิบดีกรมศาสนา ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้วยดี และในที่สุดมหาเถรสมาคมได้อนุมัติให้ทำการบูรณะวัดทุ่งสาธิตขึ้นเป็นวัดที่มีพระสงฆ์
เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๐๖ และกระทรวงศึกษาธิการได้มีการประกาศตั้งวัดทุ่งเป็นวัดสมบูรณ์ ตั้งแต่วันที่ ๓๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๐๖ จากวัดร้างกลางทุ่ง มีแต่กองอิฐ กองปูน ซากปรักหักพัง ภายในเวลา ๒ ปี กลับกลายเป็นวัดที่สวยงาม สงบ ร่มรื่น ทำให้เป็นที่เคารพและเลื่อมใสของชาวพระโขนงเป็นอย่างมาก
ด้วย พระอาจารย์สาธิต ฐานวโร มีใจเคารพใน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
บรมนาถบพิตร ผู้ทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก และเพื่อเป็นการถวายความจงรักภักดี ท่านจึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตถวายวัดทุ่งสาธิต แด่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ
(พระยศรัชกาลที่ ๑๐ ในขณะนั้น) และเมื่อวันที่ ๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๐๘ รัชกาลที่ ๙ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ทรงรับวัดทุ่งสาธิตไว้ในพระอุปถัมภ์ พร้อมได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร”
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กาชาดสัมพันธ์ฉบับพิเศษ โดยสภากาชาดไทย
สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา
ห้องสมุดสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
- กองพัฒนาศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
พระราชประวัติ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
พระราชกรณียกิจ ด้านการทหารและการบิน
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
ด้านการทหารและการบิน
พระราชกรณียกิจด้านการทหารและการบิน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงสนพระราชหฤทัยในวิทยาการด้านการทหาร มาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ นอกจากทรงรับการศึกษาทางด้านการทหารจากประเทศออสเตรเลียแล้ว ยังทรงพระราชวิริยอุตสาหะในการเพิ่มพูนความรู้และพระประสบการณ์ด้านการทหารอยู่ตลอดเวลา
โดยหลังสิ้นสุดการศึกษาด้านการทหารจากประเทศออสเตรเลียแล้ว ยังทรงเข้ารับการฝึกเพิ่มเติมระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนตุลาคม ๒๕๑๙ และทรงศึกษางานทางการทหารในประเทศออสเตรเลีย โดยทุนกระทรวงกลาโหม ทรงประจำการ ณ กองปฏิบัติการทางอากาศพิเศษ การทำลายและยุทธวิธีรบนอกแบบ หลักสูตรต้นหนชั้นสูง หลักสูตรการลาดตระเวนและต้นหนชั้นสูง หลักสูตรส่งทางอากาศ และยังทรงเข้ารับการศึกษาหลักสูตรต่าง ๆ ทางด้านการบินอีกมากมาย ทำให้พระองค์ทรงมีพระประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านการบินในระดับสูงมาก
นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงรับราชการทหารมาโดยตลอด อาทิ
- ๙ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๘ ทรงเข้ารับราชการเป็นนายทหารประจำกรมข่าวทหารบก กระทรวงกลาโหม
- ๖ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๒๑ ทรงดำรงตำแหน่งรองผู้บังคับกองพันทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์
- ๒๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๒๓ ทรงดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองพัน ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์
- ๑๓ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๒๗ ทรงดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการ กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์
- ๓๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑ ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการ ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์
- ๓๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑ ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการ ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์
- ๙ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๓๕ ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด
- ๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๓๗ ทรงปฏิบัติหน้าที่ครูการบินเครื่องบินขับไล่แบบเอฟ-๕ อี/เอฟ
ปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงดำรงพระยศทางทหารของ ๓ เหล่าทัพ คือ
พระยศ พลเอก ของกองทัพบกไทย
พระยศ พลเรือเอก ของกองทัพเรือไทย
พระยศ พลอากาศเอก ของกองทัพอากาศไทย
พระราชกรณียกิจด้านการทหารที่รักษาความมั่นคงของประเทศ พระองค์ทรงเข้าร่วมปฏิบัติการรบในการต่อต้านการก่อการร้ายบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย รวมทั้งการคุ้มกันพื้นที่ในบริเวณรอบค่ายผู้อพยพชาวกัมพูชาที่เขาล้าน จังหวัดตราด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- กาชาดสัมพันธ์ฉบับพิเศษ โดยสภากาชาดไทย
พระราชกรณียกิจ ด้านกีฬา
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
ด้านกีฬา
พระราชกรณียกิจด้านกีฬา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทั้งในฐานะผู้แทนพระองค์และในส่วนของพระองค์เอง อาทิ การพระราชทานไฟพระฤกษ์กีฬาเยาวชนแห่งชาติ พระราชทานพระราชวโรกาสให้นักกีฬาไทยผู้นำความสำเร็จ นำเกียรติยศ มาสู่ประเทศชาติ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับพระราชทานรางวัลนักกีฬายอดเยี่ยม รับพระราชทานพร และทรงแสดงความชื่นชมยินดีที่นำความสำเร็จ นำเกียรติยศมาสู่ตนเอง สู่วงศ์ตระกูล และประเทศชาติ
พระราชกรณียกิจด้านการกีฬาอื่น ๆ อาทิ เมื่อเดือนธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๑ ได้เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงประกอบพิธีเปิดกีฬาเอเชียนเกมส์ ทำให้นักกีฬามีขวัญและกำลังใจในการแข่งขัน ประสบชัยชนะนำเหรียญรางวัลมาสู่ประเทศไทยเป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้ พระองค์ทรงเป็นประธานในกิจกรรม Bike for Mom ปั่นจักรยานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๓ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๘ โดยวัตถุประสงค์นอกจากจะให้ประชาชนแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ แสดงออกถึงความรักที่มีต่อแม่ของตนและแม่ของแผ่นดินแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมสุขภาพในการร่วมออกกำลังกาย ทำให้สุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง และปลูกฝังให้ประชาชนรักการออกกำลังกาย รวมถึงเสริมสร้างความมีน้ำใจเป็นนักกีฬาอีกด้วย
อีกทั้งยังมีกิจกรรม Bike For Dad “ปั่นเพื่อพ่อ” เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๘ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๘
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร โดยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงนำขบวนผู้ที่มาเข้าร่วมกิจกรรมปั่นจักรยานเฉลิมพระเกียรติ เพื่อแสดงความจงรักภักดี กตัญญูกตเวทีต่อพระมหากษัตริย์ ร่วมเทิดพระคุณพ่อและเพื่อแสดงพลังความสามัคคีของชาวไทยทั้งชาติ
พระราชกรณียกิจ ด้านการศึกษา
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
ด้านการศึกษา
พระราชกรณียกิจด้านการศึกษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงตระหนักในคุณค่าและความสําคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศให้มีคุณภาพ จึงสนับสนุนด้านการศึกษาให้กับประชาชนได้เรียนรู้สามารถนํามาใช้ประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัว รวมถึงสามารถนำความรู้มาพัฒนาสังคมและประเทศชาติได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับโรงเรียนมัธยมศึกษาในถิ่นทุรกันดาร ๖ แห่ง ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้แก่
๑. โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา ๑ จ.นครพนม
๒. โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา ๒ จ.กำแพงเพชร
๓. โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา ๓ จ.สุราษฎร์ธานี
๔. โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๑ จ.อุดรธานี
๕. โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ จ.สงขลา
๖. โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๓ จ.ฉะเชิงเทรา
โดยพระองค์ทรงทราบดีว่าเยาวชนในถิ่นทุรกันดารยังด้อยโอกาสในด้านการศึกษา ซึ่ง ๖ โรงเรียนดังกล่าว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาฤกษ์เอง พร้อมพระราชทานคำแนะนำและทรงส่งเสริมให้โรงเรียนดำเนินโครงการอันเป็นประโยชน์แก่นักเรียน อาทิ โครงการอาชีพอิสระ พระราชทานวัสดุอุปกรณ์การศึกษาอันทันสมัยต่าง ๆ รวมถึงเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมโรงเรียน ทรงติดตามผลการศึกษา และโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ พระราชธิดาทั้งสองพระองค์ ทรงร่วมกิจกรรมของโรงเรียนอยู่เสมอ
นอกจากนี้ ยังมีพระราชดําริให้นําพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์และทรัพย์จากผู้บริจาคโดยเสด็จพระราชกุศลมาจัดทํา “โครงการทุนการศึกษา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร” ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๕๒ และต่อมาทรงมีพระราชดําริให้จัดตั้ง “มูลนิธิทุนการศึกษาพระราชทาน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร” หรือ ม.ท.ศ. เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ วัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่เยาวชนที่เรียนดี ขยันหมั่นเพียร ประพฤติดี มีคุณธรรม และฐานะยากจน ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างมั่นคง โดยสนับสนุนทุนการศึกษาแก่เยาวชนที่กำลังจะจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ มีโอกาสศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายไปจนจบปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาที่สอดคล้องกับความรู้ความสามารถ และความต้องการของผู้เรียนโดยไม่มีภาระผูกพันต้องใช้ทุนคืน เมื่อจบการศึกษาจะเปิดโอกาสให้เข้าทำงานเป็นข้าราชบริพารในพระองค์ฯ ตามความสมัครใจ
สำหรับพระราชกรณียกิจด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดทุกปี
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- โครงการทุนการศึกษาพระราชทาน (พุทธศักราช ๒๕๕๒) มูลนิธิมั่นพัฒนา
พระราชกรณียกิจ ด้านศาสนา
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
ด้านศาสนา
พระราชกรณียกิจด้านศาสนา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ไปปฏิบัติพระราชกรณียกิจทางศาสนาเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ อาทิ ทรงเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตามฤดูกาล เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา อาทิ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา และการถวายกฐินหลวงตามวัดต่าง ๆ รวมถึงการเสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานถ้วยรางวัล การทดสอบการอัญเชิญพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานระดับประเทศ
นอกจากนี้ ยังทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ ๓ มกราคม ๒๕๐๙ ก่อนเสด็จพระราชดำเนินไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ และทรงผนวช เมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๒๑ ซึ่งระหว่างทรงผนวช พระองค์ก็ได้ทรงศึกษาและปฏิบัติพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด
พระราชกรณียกิจด้านพระพุทธศาสนาอื่น ๆ อาทิ เป็นองค์ประธานคณะกรรมการอำนวยการก่อสร้างพระพุทธรูปเขาชีจรรย์ ณ เขาชีจรรย์ ตำบลจอมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ที่จัดสร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เนื่องในวโรกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๕๙ และเพื่อเป็นศูนย์รวมของผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา ตลอดจนเป็นสถานที่ดำเนินกิจกรรมทางศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของไทย โดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ในการดำเนินการก่อสร้าง
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุเพื่ออัญเชิญประดิษฐานในพระอุระของพระพุทธรูปแกะสลัก โดยเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๘ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวิชราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร (พระอิสริยยศ รัชกาลที่ ๑๐ ในขณะนั้น) เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธี บวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก่อนเริ่มโครงการจัดการสร้างพระพุทธรูปเขาชีจรรย์ และวันพุธที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๓๙ เสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงกดปุ่มระเบิดหินแกะสลักลายเส้นพระพุทธรูปเขาชีจรรย์เป็นปฐมฤกษ์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
พระราชกรณียกิจ ด้านการเกษตรกรรม
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
ด้านการเกษตรกรรม
พระราชกรณียกิจด้านการเกษตรกรรม สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการพระราชพิธีพืชมงคล ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นประจำ รวมทั้งทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านเกษตรกรรมแทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร มาโดยตลอด และทรงติดตามความก้าวหน้าด้านการชลประทาน การสร้างเขื่อนต่าง ๆ โดยพระราชทานแนวพระราชดำริให้กรมชลประทานแก้ปัญหาตามที่ชาวบ้านกราบทูล ทำให้มีน้ำใช้ในการเกษตรอย่างอุดมสมบูรณ์และช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยในฤดูฝน
นอกจากนี้ พระองค์ยังเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนเกษตรกร อาทิ ทรงเป็นประธานในการทำนาสาธิตโดยใช้ปุ๋ยหมัก ณ ตำบลดอนโพธิ์ทอง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๙ ซึ่งในการนี้ ยังทรงปฏิบัติการสาธิตการทำนาด้วยพระองค์เอง ทรงถอดฉลองพระบาท ถลกพระสนับเพลา ทรงพระดำเนินลุยโคลน หว่านพันธุ์ข้าวปลูกและปุ๋ยหมักในแปลงนาสาธิต โดยมิได้มีกำหนดการไว้ก่อน นำพาความชื่นชม ปลาบปลื้มปีติและซาบซึ้งในพระราชจริยวัตรแก่บรรดาข้าราชการและประชาชนเป็นอย่างยิ่ง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- ศูนย์สารสนเทศ สำนักราชเลขาธิการ
พระราชกรณียกิจ
ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
พระราชกรณียกิจด้านการแพทย์และสาธารณสุข สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงตระหนักว่าสุขภาพพลานามัยของประชาชนเป็นปัจจัยและพลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ จึงทรงสนพระราชหฤทัยในการประกอบพระราชกรณียกิจด้านการแพทย์และสาธารณสุข โปรดให้สร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ๒๑ แห่งทั่วประเทศ เพื่อให้การรักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วยในถิ่นทุรกันดาร โดยที่พระองค์ทรงเป็นองค์นายกกิตติมศักดิ์ของมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ทรงประกอบพิธีเปิดโรงพยาบาลทุกแห่งและทรงเยี่ยมโรงพยาบาลอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งพระราชทานพระราชทรัพย์สนับสนุนให้มีอุปกรณ์การแพทย์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัย
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ยังทรงเป็นองค์ประธาน ในการจัดสร้าง "มูลนิธิกาญจนบารมี" ศูนย์บำบัดรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งแบบครบวงจรแห่งแรกในประเทศไทย เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เนื่องในมหามงคลวโรกาสเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นปีที่ ๕๐ โดยพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะกรรมการของโครงการกาญจนบารมี ดำเนินการจัดตั้งมูลนิธิกาญจนบารมีขึ้น ในวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๔๐ มีวัตถุประสงค์ คือ
๑. เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ยากไร้
๒. เพื่อสนับสนุนส่งเสริมการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็ง โดยเน้นการรักษาผู้ป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ
๓. เพื่อให้ทุนการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับโรคมะเร็ง
๔. เพื่อเป็นกองทุนสำหรับการสนับสนุนการดำเนินงาน, กิจกรรมต่าง ๆ, และการพัฒนาบุคลากรของศูนย์มหาวชิราลงกรณ ธัญบุรี สถาบันมะเร็งแห่งชาติ และศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งส่วนภูมิภาคที่อยู่ในความรับผิดชอบ
๕. เพื่อร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่น ๆ และเพื่อสาธารณประโยชน์
๖. ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
พระราชกรณียกิจ
ด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
ด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
พระราชกรณียกิจด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงเจริญพระราชไมตรีระหว่างประเทศ โดยเมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนมิตรประเทศทั่วทุกทวีปอย่างเป็นทางการเป็นประจำทุกปี ปีละหลายครั้ง อาทิ เสด็จเยือนประเทศอิตาลี, สาธารณรัฐประชาชนจีน, ญี่ปุ่น, อิหร่าน, เนปาล, ออสเตรเลีย และสิงคโปร์ เป็นต้น ซึ่งในการเสด็จพระราชดำเนินไปทุกครั้ง ทรงเตรียมพระองค์ด้วยการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับประเทศที่จะทรงเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนและระหว่างประทับอยู่ในประเทศนั้น ๆ ยังทรงสนพระราชหฤทัยในการทอดพระเนตรและทรงศึกษากิจกรรมต่าง ๆ ที่สามารถนำมาพัฒนาประเทศไทย อาทิ ทรงเยี่ยมชมกิจการทหาร อุตสาหกรรม งานศิลปวัฒนธรรม และความเป็นอยู่ของประชาชนของประเทศนั้น ๆ พระองค์ยังทรงต้อนรับพระราชอาคันตุกะแทนพระองค์ อาทิ วันจันทร์ที่ ๒ กันยายน ๒๕๕๖ เวลา ๑๗.๓๐ น. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จออกแทนพระองค์ทรงรับสมเด็จพระราชาธิบดี และสมเด็จพระราชินีแห่งมาเลเซีย ในโอกาสเสด็จฯ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ (State Visit) ในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ นอกจากนี้ พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ส่งข้อความพระราชสาส์นแสดงความยินดีไปยังผู้นำประเทศต่าง ๆ อาทิ มีข้อความพระราชสาส์นแสดงความยินดีไปยังนายฮัสซัน รูฮานี ในโอกาสได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน วันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๖๐, มีพระราชสาส์นอำนวยพรในโอกาสวันเอกราชและวันชาติของจอร์เจีย ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐, ส่งพระราชสาส์นถวายพระพรชัยมงคลในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี แห่งกัมพูชา วันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐ และมีข้อความพระราชสาส์นแสดงความยินดีไปยังนายเอ็มมานูเอล มาครง ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส วันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เมื่อครั้งที่ประเทศเพื่อนบ้าน หรือประเทศต่าง ๆ ได้รับความสูญเสียจากเหตุการณ์ต่าง ๆ รัชกาลที่ ๑๐ ทรงส่งข้อความเสียพระราชหฤทัยไปยังผู้นำประเทศนั้น อาทิ ข้อความพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัยไปยังประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพ เมียนมา กรณีเครื่องบินลำเลียงของกองทัพอากาศเมียนมา ตกในทะเลอันดามัน นอกชายฝั่งใกล้เมืองทวาย ภาคตะนาวศรี สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๖๐, ข้อความพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัยไปยัง ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน กรณีเกิดเหตุก่อการร้ายที่รัฐสภาอิหร่านและสุสานของอายาตุลลอห์ โคมัยนี อดีตผู้นำสูงสุดแห่งสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ในกรุงเตหะราน เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๖๐, ข้อความพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัยไปยังสมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบธที่ ๒ แห่งสหราชอาณาจักร กรณีเหตุการณ์ก่อการร้ายที่ใจกลางกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๖๐ เป็นต้น ภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก Information Division of OHM
พระราชกรณียกิจ ด้านสังคมสงเคราะห์
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
ด้านสังคมสงเคราะห์
พระราชกรณียกิจด้านสังคมสงเคราะห์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงมีความห่วงใยต่อผู้ด้อยโอกาส และคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนแออัด พระองค์จึงได้เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมชุมชนแออัดในกรุงเทพฯ หลายแห่ง อาทิ ชุมชนแออัดพระโขนง เขตคลองเตย เขตยานนาวา และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภค เครื่องกีฬา เครื่องดับเพลิง พระราชทานพระราชทรัพย์สนับสนุนโครงการของชุมชน อาทิ โครงการพัฒนาเด็กเล็กที่ขาดแคลน และโครงการปราบปรามยาเสพติดในหมู่เยาวชนชุมชนแออัดคลองเตย รวมถึงโปรดเกล้าฯ ให้กรมทหารในบังคับบัญชาของพระองค์ ร่วมกับประชาชนพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้ดีขึ้นด้วย
พระราชกรณียกิจ ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุข
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
โครงการในพระราชดำริ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ
บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
โครงการในพระราชดำริ
โครงการพัฒนาพื้นที่บ้านกูแบซีรา
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
โครงการพัฒนาพื้นที่บ้านกูแบซีรา
โครงการในพระราชดำริ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐ หมู่บ้านกูแบซีรา หมู่บ้านเล็ก ๆ ในตำบลกอลำ อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี มีราษฎรอาศัย ๗๘ ครัวเรือน ๓๗๑ คน ความเป็นอยู่ยากจน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา พื้นที่ทำการเกษตรเป็นดินร่วนปนทราย ในฤดูฝนจะมีน้ำไหลล้นทะลักเข้าท่วมหมู่บ้าน ถนนรอบหมู่บ้านถูกตัดขาด นาข้าว พืชผักและไม้ผลได้รับความเสียหาย สัตว์เลี้ยงก็ตาย ส่วนฤดูแล้งก็ขาดแคลนน้ำในการอุปโภคและบริโภค ครั้นเมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๔๔ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ ทอดพระเนตรสภาพพื้นที่และเยี่ยมราษฎร ทรงทราบถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาหาแนวทางช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน หลังมีโครงการพระราชดำริพัฒนาบ้านกูแบซีรา ทำให้ปัญหาน้ำท่วมขังพื้นที่อยู่อาศัยของราษฎรหมดไป พื้นที่ทำการเกษตรดีขึ้น มีอาชีพเสริมนอกจากการทำนา ทำให้มีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดี รวมถึงหลังมีการสร้างถนนทำให้การเดินทางสะดวก การขนส่งพืชผลเกษตรออกสู่ตลาดได้รวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ภายในหมู่บ้านยังมีสถานที่ออกกำลังกาย และส่งเสริมให้มีการป้องกันการแพร่ระบาดของ ยาเสพติดจนทำให้หมู่บ้านได้รับการรับรองจากอำเภอประกาศให้เป็นหมู่บ้านปลอดยาเสพติดอีกด้วย ขอขอบคุณข้อมูลจาก RDPB Journal วารสารโดยสำนักงาน กปร.
โครงการในพระราชดำริ
โครงการเกษตรวิชญา
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
โครงการเกษตรวิชญา ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
โครงการในพระราชดำริ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐ โครงการเกษตรวิชญา ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นโครงการตามแนวพระราชดำริเมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เพื่อเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และทรงเห็นความสำคัญของการเกษตร เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๔๔ จึงมีพระราชดำริมอบที่ดินส่วนพระองค์ในพื้นที่บ้านกองแหะ หมู่ ๔ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ทั้งหมด จำนวน ๑,๓๕๐ ไร่ ให้กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อดำเนินการในลักษณะคลินิกเกษตร เผยแพร่ผลงานวิจัยและเทคโนโลยีการเกษตรจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในรูปแบบของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีชุมชน และเป็นศูนย์ฝึกอบรมและวิจัยพัฒนาการเกษตรให้เหมาะสมกับพื้นที่ จากเดิมที่พื้นที่มีลักษณะเป็นเนินเขาและภูเขาสูงลาดเทลงสู่หุบเขาเล็ก ๆ มีความลาดชัน ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ มีการบุกรุกพื้นที่ไปทำไร่หมุนเวียนและพื้นที่เป็นป่าเสื่อมโทรม พระองค์ทรงมีพระราชดำริให้ทำการสำรวจและวางแผนการใช้ที่ดิน พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมต่อการเกษตร เลือกพืชปลูกให้เหมาะสม กำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อการอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ พุทธศักราช ๒๕๔๕ ผลการดำเนินโครงการดังกล่าวทำให้ชาวบ้านได้เรียนรู้การผลิตและนำเชื้อเพลิงจากวัสดุชีวมวลมาใช้สอยในชีวิตประจำวันและพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น ทำให้ปริมาณการใช้ไม้ฟืนจากป่าธรรมชาติลดลง ได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่วนเกษตรและธนาคารอาหารชุมชน ๑๒๓ ไร่ ส่งผลให้ชาวบ้านเกิดความรักความหวงแหนทรัพยากรป่าไม้และเรียนรู้การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ขอขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
โครงการในพระราชดำริ
โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณหนองอึ่ง
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณหนองอึ่ง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ยโสธร
โครงการในพระราชดำริ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐ โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณหนองอึ่ง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดยโสธร เกิดขึ้นหลังจากที่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และรัชกาลที่ ๑๐ เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎร บ้านคำน้ำสร้าง ตำบลค้อเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ ทรงรับทราบถึงปัญหาความทุกข์ยากและการประสบปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากทุกปีจนพื้นที่การเกษตรเสียหาย เส้นทางสัญจรถูกตัดขาด เมื่อถึงฤดูแล้งก็ไม่มีน้ำใช้เพียงพอในการอุปโภคและบริโภค จากปัญหาดังกล่าว สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร จึงพระราชทานพระราชดำริให้พัฒนาและปรับปรุงพื้นที่ด้วยการขุดลอกหนองอึ่ง พร้อมปรับปรุงดินและพื้นที่แห้งแล้งด้วยการปลูกป่าและหญ้าแฝก รวมถึงการฟื้นฟูสภาพป่าโดยรอบหนองอึ่งพื้นที่กว่า ๓,๐๐๖ ไร่ โดยให้ราษฎรได้เข้ามามีส่วนร่วมและช่วยกันพัฒนาพื้นที่ ภายหลังมีโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณหนองอึ่ง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทำให้ผืนป่ามีความอุดมสมบูณ์ ราษฎรในพื้นที่สามารถพึ่งพาอาศัยป่าและได้ผลประโยชน์จากป่า มีรายได้จากการเก็บของป่าขาย อาทิ เก็บเห็ดโคน เห็ดเผาะ เห็ดระโงก เห็ดตะไค ไข่มดแดง มันป่า เป็นต้น รวมถึงเกิดการแปรรูปอาหารจากป่าชุมชน ทำให้มีรายได้เลี้ยงตัวเองและเลี้ยงครอบครัว ขอขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
โครงการในพระราชดำริ โครงการเพื่อชุมชนเข้มแข็งและร่มเย็นบ้านสันติ
๒ จังหวัดยะลา
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
โครงการเพื่อชุมชนเข้มแข็งและร่มเย็นบ้านสันติ ๒ จังหวัดยะลา
โครงการในพระราชดำริ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐ โครงการเพื่อชุมชนเข้มแข็งและร่มเย็นบ้านสันติ ๒ ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ ๖ ตำบลแม่หวาด อำเภอธารโต จังหวัดยะลา เกิดขึ้นจาก พระราชดำริ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เมื่อครั้งเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ช่วงเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม ๒๕๔๙ ชาวไทยพุทธจากบ้านสันติ ๑ หมู่ที่ ๒ ตำบลเขื่อนบางลาง อำเภอบันนังสตา และบ้านสันติ ๒ หมู่ที่ ๖ ตำบลแม่หวาด อำเภอธารโต จังหวัดยะลา จำนวน ๗๔ ครอบครัว รวม ๑๓๔ คน ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ บ้านเรือนประชาชนถูกเผา ญาติพี่น้องถูกฆ่า ถูกทำร้าย ทำให้ไม่มีความปลอดภัยในชีวิต จึงอพยพมาอาศัยที่วัดนิโรธสังฆาราม (วัดหัวควน) ในเขตเทศบาลนครยะลา พร้อมได้ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอรับพระราชทานความช่วยเหลือ พระองค์จึงได้เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมให้กำลังใจและทรงมีพระราชกระแสรับสั่งกับชาวบ้านว่า “อย่าทิ้งถิ่นฐาน” พร้อมพระราชทานที่ดิน ๘๐ ไร่ สร้างบ้านให้ราษฎร ปรับปรุงสาธารณูปโภคและอาคารศูนย์เด็กเล็ก ส่งเสริมให้ทำการเกษตรพอเพียงและมีอาชีพเสริมเพื่อเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ ผลจากการดำเนินโครงการเพื่อชุมชนเข้มแข็งและร่มเย็นบ้านสันติ ๒ ทำให้ราษฎรในพื้นที่มีความรัก ความสามัคคี อยู่ดีมีความสุขและความร่มเย็น และด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ราษฎรในหมู่บ้านได้พร้อมใจกันกล่าวปฏิญาณตนว่า “จะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และจะประพฤติตนเป็นพลเมืองที่ดี และเสริมสร้างความสมานฉันท์ เพื่อให้หมู่บ้านสันติ ๒ เป็นต้นแบบหมู่บ้านชุมชนเข้มแข็งและร่มเย็นตลอดไป” ขอขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
โครงการในพระราชดำริ
โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐
โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว
โครงการในพระราชดำริ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐ “สายใยรักแห่งครอบครัว” เป็นโครงการในพระราชดำริ เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร โดยได้พระราชทานความหมายของ “โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว” ไว้ว่า สายใยรักของพ่อ-แม่ และลูกที่อยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวและมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่างแยกไม่ออกจะเป็นแค่สายใยรักของแม่กับลูก หรือของพ่อกับลูกก็ไม่ได้ เพราะถ้าขาดคนใดคนหนึ่งไปครอบครัวก็จะไม่สมบูรณ์ สถาบันครอบครัว จะทำให้เด็กมีสุขภาพกายและใจที่ดี และเมื่อเติบใหญ่เด็กชายและเด็กหญิงเหล่านั้นก็จะเป็นพ่อและแม่ที่ดีของลูก ๆ ในรุ่นต่อ ๆ ไป เป็นวัฏจักรไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้น ถ้าได้มีการสนับสนุนให้มีสายใยรักแห่งครอบครัวที่ดีแล้วย่อมเป็นหลักประกันได้ว่า สังคมไทยในอนาคตจะมีแต่เยาวชนที่มีคุณภาพ และมีความสามารถที่จะช่วยพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าถาวรสืบไป สำหรับโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว เน้นส่งเสริมสถาบันครอบครัวให้มีความเข้มแข็งและมั่นคง ครอบครัวมีความรักความอบอุ่นโดยสมาชิกในครอบครัวมีเวลาให้กันและดูแลกันมากขึ้น รวมถึงส่งเสริมให้ทารกได้รับการดูแลตั้งแต่ในครรภ์จนคลอดและส่งเสริมให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อีกด้วย ขอขอบคุณข้อมูลจาก ระบบข้อมูลโครงการสายใยรักแห่งครอบครัวในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้า ผู้บริหาร คณะครู บุคลากร นักเรียน นักศึกษา สกร.ระดับอำเภอฮอด และประชาชนทั่วไป
ห้องสมุดประชาชนอำเภอฮอด งานการศึกษาตามอัธยาศัย
ศูนย์ส่่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่