การสานกระติบข้าว

ภูมิปัญญาท้องถิ่นกระติบข้าวจากคล้า ตะกร้า กระจาด

ครู กศน.ตำบลหนองหลวงกได้นำนักศึกษา เข้าศึกษาเรียนรู้จากประสบการณ์จริงจาก

กศน./โรงเรียนและวัดในท้องถิ่นเป็นของคู่กันมาแต่อดีตกาล ล้วนเกิดจากการผลักดันโดยคนท้องถิ่นทั้งนั้น เป็นแหล่งสร้างภูมิปัญญาท้องถิ่นมานานแล้ว ต่างกันที่ว่าคนในโรงเรียน คนในวัด และ คนใน พื้นที่ชุมชน ไม่ได้สวมมงกุฎหัวโขนอันเดียวกันเท่านั้น เพราะต่างคนอยู่ต่างสังกัด ต่างกติกา ต่างกฎระเบียบกันเท่านั้น จึงไม่แปลกใจว่า ปราชญ์ชาวบ้าน หมอสมุนไพรพื้นบ้าน ปราชญ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น เหล่านี้ต่างล้วนเกิดมาจากวัดที่ถือเป็นโรงเรียนของชุมชนมานั่นเอง

ภูมิปัญญาเป็นส่วนประกอบของท้องถิ่น

ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Wisdom) ถือ “เป็นส่วนประกอบ” เป็นภาพสำคัญส่วนหนึ่งของท้องถิ่น ในกรณีของไทยไม่ได้ถูกพัฒนาขึ้นไป “เป็นโครงสร้างหลัก” เป็นเศรษฐกิจใหญ่เหมือนเช่น ญี่ปุ่น อเมริกัน อิตาลี สวิส เยอรมัน หรือที่อื่นใด ที่เขาเอาภูมิปัญญาดี ๆ แบบนี้ไปผลิตเป็นสินค้าเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น เป็นยา เบียร์ ไวน์ วิสกี้ เครื่องมือเกษตร ยานยนต์ เสื้อผ้า เครื่องใช้สอย อาวุธ มีดพับ นาฬิกา เซรามิก ฯลฯ รวมวัฒนธรรมพื้นเมือง ส่งขายไปทั่วโลก เป็นความหลากหลายทางทักษะภูมิปัญญาที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น เช่น เยอรมันถึงมียี่ห้อเบียร์ถึง 200 กว่าแบรนด์ เป็นต้น

ขั้นตอนการสานกระติบข้าว

ข้อมูลผู้จัดทำ

คุณครูสุภาวดี สินเทาว์ (ครูอ้อย)

ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบล

กศน.อำเภอเฝ้าไร่

อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย

สำกัดสำนึกงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย