หน่วย 7 งานอาชีพ

ตัวชี้วัด

•อภิปรายแนวทางเข้าสู่อาชีพที่สนใจ (ง ๒.๑ ม.๔-๖/๑)

•เลือกและใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมกับอาชีพ (ง ๒.๑ ม.๔-๖/๒)

•มีประสบการณ์ในอาชีพที่ถนัดและสนใจ (ง ๒.๑ ม.๔-๖/๓)

•มีคุณลักษณะที่ดีต่ออาชีพ (ง ๒.๑ ม.๔-๖/๔)

1. สู่โลกอาชีพ

อาชีพ หมายถึง การทำกิจกรรม การทำงาน การประกอบการที่ไม่เป็นโทษแก่สังคม และมีรายได้ตอบแทน โดยอาศัยแรงงาน ความรู้ ทักษะ อุปกรณ์ เครื่องมือ วิธีการ แตกต่างกันไป กลุ่มอาชีพตามลักษณะการประกอบอาชีพ มี 2 ลักษณะ คือ อาชีพอิสระ และอาชีพรับจ้าง

  1. อาชีพอิสระ หมายถึง อาชีพทุกประเภทที่ผู้ประกอบการดำเนินการด้วยตนเอง
    แต่เพียงผู้เดียวหรือเป็นกลุ่ม อาชีพอิสระเป็นอาชีพที่ไม่ต้องใช้คนจำนวนมาก แต่หากมีความจำเป็นอาจมีการจ้างคนอื่นมาช่วยงานได้ เจ้าของกิจการเป็นผู้ลงทุน และจำหน่ายเอง คิดและตัดสินใจด้วยตนเองทุกเรื่อง ซึ่งช่วยให้การพัฒนางานอาชีพ เป็นไปอย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ การประกอบอาชีพอิสระ เช่น ขายอาหาร ขายของชำ ซ่อมรถจักรยานยนต์ ฯลฯ ในการประกอบอาชีพอิสระ ผู้ประกอบการจะต้องมีความรู้ ความสามารถในเรื่อง การบริหาร การจัดการ เช่น การตลาด ทำเลที่ตั้ง เงินทุน การตรวจสอบ และประเมินผล เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องมีความอดทนต่องานหนัก ไม่ถ้อถอยต่อ ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และมองเห็นภาพการดำเนินงาน ของตนเองได้ทะลุปรุโปร่ง

  2. อาชีพรับจ้าง หมายถึง อาชีพที่มีผู้อื่นเป็นเจ้าของกิจการ โดยตัวเองเป็นผู้รับจ้าง ทำงานให้ และได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าจ้าง หรือเงินเดือน อาชีพรับจ้างประกอบด้วย บุคคล 2 ฝ่าย ซึ่งได้ตกลงว่าจ้างกัน บุคคลฝ่ายแรกเรียกว่า “นายจ้าง” หรือผู้ว่าจ้าง
    บุคคลฝ่ายหลังเรียกว่า “ลูกจ้าง” หรือผู้รับจ้าง มีค่าตอบแทนที่ผู้ว่าจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ ผู้รับจ้างเรียกว่า “ค่าจ้าง”
    การประกอบอาชีพรับจ้าง โดยทั่วไปมีลักษณะ เป็นการรับจ้างทำงานในสถาน ประกอบการหรือโรงงาน เป็นการรับจ้างในลักษณะการขายแรงงาน โดยได้รับค่าตอบ แทนเป็นเงินเดือน หรือค่าตอบแทนที่คิดตามชิ้นงานที่ทำได้ อัตราค่าจ้างขึ้นอยู่กับการกำหนดของเจ้าของสถานประกอบการ หรือนายจ้าง การทำงานผู้รับจ้างจะทำอยู่ภายในโรงงาน ตามเวลาที่นายจ้างกำหนด การประกอบอาชีพรับจ้างในลักษณะนี้มีข้อดีคือ ไม่ต้องเสี่ยง กับกาลงทุน เพราะลูกจ้างจะใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ที่นายจ้างจัดไว้ให้ทำงานตามที่นายจ้าง กำหนด แต่มีข้อเสีย คือ มักจะเป็นงานที่ทำซ้ำ ๆ เหมือนกันทุกวัน และต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบของนายจ้าง ในการประกอบอาชีพรับจ้างนั้น มีปัจจัยหลายอย่างที่เอื้ออำนวยให้ผู้ประกอบอาชีพ รับจ้างมีความเจริญก้าวหน้าได้ เช่น ความรู้ ความชำนาญในงาน มีนิสัยการทำงานที่ดี มีความกระตือรือร้น มานะ อดทน ในการทำงาน ยอมรับกฎเกณฑ์และเชื่อฟังคำสั่ง มีความซื่อสัตย์ สุจริต ความขยันหมั่นเพียร รับผิดชอบ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี รวมทั้ง สุขภาพอนามัยที่ดี อาชีพต่าง ๆ ในโลกมีมากมาย หลากหลายอาชีพ ซึ่งบุคคลสามารถจะเลือกประกอบ อาชีพได้ตามความถนัด ความต้องการ ความชอบ และความสนใจ ไม่ว่าจะเป็นอาชีพ ประเภทใด จะเป็นอาชีพอิสระ หรืออาชีพรับจ้าง ถ้าหากเป็นอาชีพที่สุจริตย่อมจะทำให้ เกิดรายได้มาสู่ตนเอง และครอบครัว ถ้าบุคคลผู้นั้นมีความมุ่งมั่น ขยัน อดทน ตลอดจน มีความรู้ ข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพต่าง ๆ จะทำให้มองเห็นโอกาสในการเข้าสู่อาชีพ และพัฒนา อาชีพใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นอยู่เสมอ

2. แนวทางการเข้าสู่อาชีพ

การเข้าสู่อาชีพที่ตนเองสนใจจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลต่างๆ เกี่ยงกับอาชีพให้เพียงพอ เพื่อให้สามารถเลือกประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับตนเองได้ รวมถึงสามารถเตรียมความพร้อมในการทำงาน หางานและเปลี่ยนงาน เพื่อประกอบอาชีพที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.1 การเตียมตัวหางานและการพัฒนาบุคลิกภาพ

บุคลิกภาพเป็นลักษณะเฉพาะบุคคล ทั้งด้านการคิด อารมณ์ การกระทำและรูปแบบพฤติกรรม เป็นตัวกำหนดท่าทีปฏิกิริยาของผู้นั้นต่อการแสดงตนในสิ่งแวดล้อมซึ่งจะเห็นได้ว่าบุคลิกภาพเป็นสิ่งเอื้ออำนวยต่อการประพฤติปฏิบัติของบุคคลที่สำคัญต่อฤติกรรม และพฤตกรรมก็เป็นสิ่งรั้งหรือผลัดดันให้แต่ละคนก้าวหน้าหรือถอยหลังได้ถ้าบุคคลมีบุคลิกภาพดีคุณค่าของบุคคลนั้นก็ย่อมมากขึ้นคำว่าบุคลิกภาพดีเน้นบุคลิกภาพที่เหมาะสมตามบทบาทหน้าที่และสถานะของบุคคล ในการดำเนินงานซึ่งต้องอาศัยคุณลักษณะส่วนตนของผู้ดำเนินงานด้านไหวพริบการคิดวิเคราะห์ความมีเหตุผล การรู้ทันคน ทันเหตุการณ์ รอบรู้ กล้าได้กล้าเสีย กล้าเสี่ยงพร้อมต่อการพบปะ มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลทุกประเภท ทุกระดับปรับตัวได้รวดเร็วตามบทบาทหน้าที่และสถานะ สายตากว้างไกล ยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ๆ ที่อาจเกิดขึ้น และมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูง เป็นต้นซึ่งเป็นปัจจัยเสริมในการติดต่องานกับผู้อื่น

2.2 การสมัครงาน

หากคุณคือนักศึกษาจบใหม่หรือใกล้สำเร็จการศึกษา และกำลังมองหางาน แต่ไม่ทราบว่าจะเตรียมตัวสมัครงานอย่างไร วันนี้เรามี 5 ขั้นตอนการเตรียมตัวสมัครงานที่จะมาช่วยคุณ เพราะก้าวถัดไปหลังจากรั้วมหาวิทยาลัยนั้นคือโลกเเห่งการทำงาน น้องๆนักศึกษาที่กำลังใกล้สำเร็จการศึกษาอาจเริ่มวางเเผนเส้นทางอนาคตหลังจากนี้ หนึ่งในเรื่องสำคัญเเละเป็นเรื่องที่หลายๆคนกังวลก็คือ การสมัครงานนั่นเอง ด้วยรายละเอียดที่ดูเยอะสำหรับการสมัครงานของนักศึกษาจบใหม่ ประกอบกับความตื่นเต้น และกลัวว่าจะวางตัวไม่ถูกต้อง วันนี้เราจึงมีขั้นตอนการเตรียมตัวของนักศึกษาจบใหม่ตั้งเเต่เรื่องใบสมัครจนถึงการเเต่งตัวเลยทีเดียว หลังจากมองหางานที่ถูกใจได้เเล้วจากช่องทางการประกาศหางานต่างๆ ต่อไปเป็น 5 ขั้นตอนการเตรียมตัวสมัครงานของนักศึกษาจบใหม่

1. กรอกใบสมัครงานให้ครบถ้วน

นักศึกษาจบใหม่มักจะกรอกข้อมูลหรือเขียนเรซูเม่ไม่ครบ ซึ่งข้อมูลที่ให้ผู้ประกอบการนั้นต้องครบถ้วน และช่วยนำเสนอตัวตนของคุณให้โดดเด่นกว่านักศึกษาจบใหม่รายอื่นๆ ข้อมูลทุกอย่างควรเป็นข้อมูลจริง พิสูจน์ได้ หากมีผลการทดสอบที่เกี่ยวข้องกับงาน ควรระบุไว้เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา เช่น ผลการทดสอบวัดระบบภาษาอังกฤษ Toeic หรือ IELTS เป็นต้น

2. เตรียมรูปถ่ายให้พร้อม

เลือกรูปที่ดูเป็นทางการ ไม่ควรใช้รูปที่ถ่ายเล่นๆกับเพื่อนหรือรูปเซลฟี่ เพราะจะทำให้คุณดูไม่เป็นมืออาชีพได้ หากตำเเหน่งงานไหนระบุข้อกำหนดของรูปภาพ เช่น รวบผมเปิดหน้า เห็นใบหูชัดเจน ก็ควรทำตามให้ครบถ้วน การแต่งกายถ้าเป็นไปได้ ควรใส่สูทให้เรียบร้อยเพื่อสร้างความประทับใจตั้งแต่ได้รับใบสมัคร ซึ่งนักศึกษาจบใหม่มักจะลืมรายละเอียดเล็กๆน้อยๆนี้ไป

3. เตรียมเอกสารการสมัครงานให้ครบถ้วน

ถ่ายสำเนาเอกสารสำคัญต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการสมัครงานไม่ว่าจะเป็น บัตรประจำตัวประชาชน, ทะเบียนบ้าน, จดหมายแนะนำตัว (Cover Letter), เรซูเม่ (Resume) โดยเฉพาะนักศึกษาจบใหม่ควรจะมีหลักฐานผลการทดสอบวัดระดับภาษา และประกาศนียบัตรต่างๆที่เคยได้รับขณะที่ศึกษาอยู่ เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นองค์ประกอบในการพิจรณาที่สำคัญ

4. สร้างความประทับใจเเรกพบ

เมื่อถึงคิวสัมภาษณ์การสร้างความประทับใจย่อมเป็นเรื่องสำคัญที่นักศึกษาจบใหม่ทุกๆคนควรคำนึงถึง โดยการแต่งตัวจะเป็นสิ่งแรกที่สามารถร้างความประทับใจได้ เคล็บลับการเเต่งตัวในวันสมัครงาน คือ เลือกชุดที่สุภาพเรียบร้อย ดูเป็นมืออาชีพ สาวๆสามารถเเต่งหน้าทำผมได้เพื่อเพิ่มความมั่นใจ เเต่ไม่ควรมากเกินไป เช่น ทาปากสีสันเเฟชั่นจนเกินงาม เน้นความสะอาด เรียบร้อย ดูเป็นมืออาชีพเหมาะสมกับตำเเหน่งงานที่สมัครเป็นหลัก ส่วนหนุ่มๆนั้นลองเลือกเสื้อเชิ้ตสีสุภาพ กางเกงสเเล็ค รองเท้าหนังหุ้มส้น จัดทรงผมให้เรียบร้อย ดูสะอาดสะอ้านเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ การตรงต่อเวลาก็เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการนัดสัมภาษณ์ เพราะจะไม่เป็นการสร้างภาพลักษณ์ในเชิงลบให้กับตัวเองที่พึ่งเป็นนักศึกษาจบใหม่อีกด้วย

5. พกรอยยิ้มเเละความมั่นใจไปในวันสัมภาษณ์

เพราะรอยยิ้มเป็นการสร้างมิตรภาพ และความเป็นกันเองของผู้สมัครงาน เพียงเตรียมตัวให้พร้อมเท่านี้ก็ทำให้เรามีความมั่นใจ ลดความตื่นเต้น และดูเป็นมืออาชีพสำหรับงานใหม่งานแรกของพวกเรานักศึกษาจบใหม่ได้แล้ว

2.3 การสัมภาษณ์

การสัมภาษณ์เป็นขั้นตอนหนึ่งในแนวทางการเข้าสู่อาชีพที่สำคัญ ผู้สมัครสามารถแสดงทัศนคติไหวพริบ ความสามารถ รวมถึงแสดงบุคลิกภาพในขณะสัมภาษณ์ให้เป็นที่ประทับใจ โดยนำเสนอคุณสมบัติของตนเองอย่างเหมาะสม ตอบคำถามอย่างมั่นใจ

2.4 หลักการทำงาน

ในชีวิตการทำงานของแต่ละคน ไม่สามารถทำงานคนเดียวและอยู่อย่างโดดเดี่ยวได้ เพราะเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของการทำงานให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร คนทำงาน จึงเป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อนทุกสิ่งทุกอย่าง ดังนั้น การทำงานกับคนทำงานด้วยกันเองจึงมีความสำคัญที่ต้องมีหลักปฏิบัติตัวอย่างถูกวิธีและเหมาะสม เพื่อลดความขัดแย้งและร่วมแรงร่วมมือ ร่วมใจกันสร้างสรรค์งานให้เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์

2.5 การเปลี่ยนงาน

การเปลี่ยนงานหรือการเปลี่ยนลักษณะงานที่ทำเกิดจากหลายสาเหตุ มีทั้งต้องการความท้าทาย ความก้าวหน้า และผลตอบแทนที่สูงขึ้น รู้สึกเบื่อหน่าย ไม่ชอบสิ่งแวดล้อมในที่ทำงาน ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนร่วมงานได้

  • ทบทวนตนเอง

  • วางแผน

  • ทำความรู้จักหน่วยงานใหม่

  • วิเคราะห์ความเสี่ยง

  • กลยุทธ์การเปลี่ยนงาน

3. การเลือกใช้เทคโนโลยีในงานอาชีพ

เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจึงต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบในการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้มีความเหมาะสมกับลักษณะขอบเขตของระบบสารสนเทศและงบประมาณที่กำหนด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผลในการทำงาน

4. ประสบการณ์ในอาชีพ

ประสบการณ์ในการประกอบอาชีพเป็นอีกสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ได้ฝึกปฏิบัติงานต่างๆ ในอาชีพที่สนใจ ช่วยในการค้นหาความถนัด การสร้างประสบการณ์ในอาชีพเพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่อาชีพในอนาคต

4.1 การจำลองอาชีพ

การทำกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ ที่นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติในชั้นเรียนจะทำให้เรามีความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถและทักษะในการทำงาน เพื่อเป็นพื้นฐานนำไปสู่งานอาชีพในอนาคตได้ นักเรียนจะได้รับประสบการณ์ เจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพอีกทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมในการประกอบอาชีพในอนาคตอันใกล้อีกด้วย การจำลองอาชีพเป็นการทดลองจัดกิจกรมหรือโครงการเพื่อการเรียนรู้กับอาชีพต่างๆ ที่โรงเรียนจัดให้ โดยสร้างสถานการณ์จริงเพื่อให้เป็นแนวทางในการประกอบอาชีพได้ในอนาคต

4.2 กิจกรรมอาชีพ

กิจกรรมอาชีพ (activity) หมายถึง งานที่ทำเพื่อให้ผลผลิตที่ทำนั้นมีการมอบหมายให้ผู้รับผิดชอบ กิจกรรมจึงเป็นผลมาจากการผสมผสาน แรงงาน เทคโนโลยี วัตถุดิบ วีธีการและสภาพแวดล้อมต่างๆ เข้าด้ายกันเพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์

อาชีพ (career) หมายถึง การทำกิจกรรม การทำงาน การประกอบการที่ไม่เป็นโทษแก่สังคมและมีรายได้ตอบแทน โดยอาศัยแรงงาน ความรู้ ทักษะ อุปกรณ์ เครื่องมือ วีธีการแตกต่างกันไป

การประกอบอาชีพ หมายถึง การทำงานเลี้ยงตนเอง ซึ่งเป็นการสร้างรายได้และสร้างคุณค่าให้กับตนเอง โอยอาจเลือกทำงานที่บ้าน หรือทำธุรกิจโดยเป็นผู้ประกอบการเอง หรืออาจเป็นลูกจ้าง ดังนั้นจึงควรมีการวางแผนการประกอบอาชีพให้ตรงกับความต้องการของตนเองให้มากที่สุด

5. คุณลักษณะที่ดีต่ออาชีพ

คุณลักษณะที่ดีต่ออาชีพ คือสมรรถนะที่โดดเด่นในอาชีพนั้นๆ ซึ่งประกอบด้วยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความมุ่งมั่นในการทำงาน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันดีงามของสังคมไทย สมรรถนะ คือ ความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถ ความชำนาญพฤติกรรมที่เหมาะสมในการทำงานของบุคลากร และอุปกรณ์ หรือเครื่องมือต่างๆที่จำเป็นในการทำงาน

5.1 คุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบอาชีพ

คุณธรรมในการประกอบอาชีพ คือ สิ่งที่ควรประพฤติปฎิบัติเพื่อให้เกิดคุณงามความดี ยึดมั่นในคุณธรรม เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฎิบัติงานให้ราบรื่น

5.2 ค่านิยมในการประกอบอาชีพ

ค่านิยมเกี่ยวกับอาชีพและการทำงาน เป็นความเชื่อเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ ซึ่งมักเกิดขึ้นจากการเรียนรู้และประสบการณ์ที่ได้รับการบอกเล่าจากบุคคลหรือพบในสื่อต่างๆ ทำให้เกิดความคิดว่าทำอย่างนั้นดี ทำอย่างนี้ถูก หากมีคนอื่นๆ ในสังคมคิดตรงกันก็จะทำให้เชื่อว่าเป็นสิ่งที่ดีจริง ถูกต้องจริง กลายเป็นค่านิยมที่นำไปสู่การประพฤติปฏิบัติตามความเชื่อนั้นๆ