ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โรงเรียนโคกกะเทียมวิทยาลัย
โรงเรียนโคกกะเทียมวิทยาลัย ได้รับการรับรองให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๓

ความภาคภูมิใจของพวกเราชาวโคกกะเทียมวิทยาลัย..ช่วงเวลา 1.33.47 นาที
โรงเรียนโคกกะเทียมวิทยาลัย ได้รับการคัดเลือกเป็นสถานศึกษาพอเพียงในปี 2554 และ ได้รับการคัดเลือกเป็นสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบในปี 2562 มีการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาจัดการศึกษา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในปัจจุบันที่ต้องให้ความสำคัญกับผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองและเป็นความรู้ที่ยั่งยืน มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล สู่การดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของผู้เรียน ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และชุมชนอย่างต่อเนื่อง และทำให้เกิดคุณลักษณะ “อยู่อย่างพอเพียง” ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษ ที่ 2 โดยให้ความสำคัญและเชื่อมั่นว่า ถ้ากำหนดให้สถานศึกษาได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา ให้เป็นวิถีปฏิบัติของครูและบุคลากรทางการศึกษา ในการบริหารจัดการสถานศึกษา การจัดทำหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จะทำให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะดัง ข้อที่ 8 “อยู่อย่างพอเพียง” ได้อย่างถาวรด้วยความเชื่อมั่นในหลักการที่ว่า หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น เป็นสิ่งที่สามารถสร้างขึ้นได้ในสังคมทุกระดับ เพื่อที่จะได้นำสังคมไทยสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” ซึ่งอุปนิสัยพอเพียงที่เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน จะได้นำพาสังคมไทยให้เป็นสังคมที่มั่นคงและยั่งยืนต่อไป
คลิปวีดีโอการนำเสนอการประเมินสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบ ปี 2562
คลิปวีดีโอการนำเสนอการประเมินศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2563
ของเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2563

Power Point ประกอบการพิจารณาการประเมินเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ด้านการศึกษา ปี 2563
ด้านการศึกษา ปี 2563
ฐานการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ฐานการเรียนรู้ออแกนิคชาโค (ฺBamboo)
Learning base for Organic Charcoal (Bamboo)
Learning base for Organic Charcoal (Bamboo)
นักเรียนได้ความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องการทำน้ำยาซักผ้า แชมพูสมุนไพร สบู่ไอโอนิคชาโคล น้ำยาล้างจาน น้ำยาเอนกประสงค์ สบู่เหลวฆ่าเชื้อโรคโควิด และแอลกอฮอล์เจล เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถเพิ่มรายได้ให้ครอบครัวได้ นอกจากนั้นยังสามารถนำผลผลิตที่ได้ ไปใช้ประโยชน์ภายในโรงเรียน
โคก-กะ-เทียม โมเดล (K and T’s Model)
โคกกะเทียมโมเดล
เป็นโมเดลที่นำเสนอแนวคิดและการดำเนินงานที่สำคัญของโรงเรียนโคกกะเทียมวิทยาลัยจากการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาบูรณาการสู่อัตลักษณ์ของโรงเรียน และนำเสนอผ่านรูปแบบโมเดลที่ถอดความตามชื่อของโรงเรียนดังจะอธิบายได้ดังนี้
กระบวนการดำเนินงาน
โคกกะเทียมวิทยาลัยมีกระบวนการดำเนินงานตามรูปแบบวงจรเดมมิ่ง (PDCA Cycle) กล่าวคือ มีขั้นตอนการวางแผน (Plan), การปฏิบัติ (Do), การตรวจสอบ (Check) และการปรับปรุงการดำเนินการอย่างเหมาะสม(Act)ภายใต้กรอบแนวคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ ๒ เงื่อนไข ๓ ห่วง และ ๔ มิติ และสะท้อนไปสู่การบูรณาการเข้าสู่อัตลักษณ์ของโรงเรียนผ่านกระบวนการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ตามความถนัดและสนใจร่วมกันของครูผู้สอนกับนักเรียนโคกกะเทียมวิทยาลัยผ่านหลักการดำเนินงานดังนี้
๑. โรงเรียนพอเพียง : KOK [Knowledge, Organization, Keystone]
หลักการในการบริหารจัดการสู่การเป็นโรงเรียนพอเพียง โรงเรียนโคกกะเทียมวิทยาลัยได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักการสำคัญ และยังได้นำองค์ความรู้และประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนรูปแบบต่างๆ มาผสมผสานเพื่อออกแบบแนวทางการดำเนินงานที่สะท้อนการเป็นโรงเรียนพอเพียงต้นแบบที่มีความรู้ ความเข้าใจ และพร้อมที่จะนำไปสู่การปฏิบัติ
๒. นักเรียนพอใจ : KA [Keen on Activities]
แนวทางการขับเคลื่อนที่สำคัญของโรงเรียนโคกกะเทียมวิทยาลัยได้แก่ การขับเคลื่อนผ่านนักเรียนซึ่งถือเป็นตัวแปรตามที่สำคัญในการส่งต่อแนวคิดด้านเศรษฐกิจพอเพียง ดังนั้นในการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนอกหลักสูตรจึงต้องเน้นหนักกิจกรรมที่เกิดจากความสนใจและความถนัดร่วมกันระหว่างครูผู้สอนและนักเรียนผู้ปฏิบัตินอกจากนี้ยังเน้นกิจกรรมที่สามารถต่อยอดพัฒนาองค์ความรู้และทักษะในการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้ในชีวิตจริงต่อไปอีกด้วย
๓. ห่วงใยชุมชน : THIAM [Thoughtfulness, Hospitality, Immunization, Awareness, Moderate Practice]
หลักการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของโรงเรียนโคกกะเทียมวิทยาลัย คือการให้ความสำคัญต่อชุมชน ซึ่งชุมชนในที่นี้จะหมายถึงทั้งตัวโรงเรียนโคกกะเทียมวิทยาลัยเองในฐานะชุมชนขนาดเล็กที่มีสมาชิกคือบุคลากรในโรงเรียนและนักเรียน และยังรวมไปถึงชุมชนในบริเวณใกล้เคียง กล่าวคือ โรงเรียนเองก็ถือเป็นชุมชนที่ต้องการความห่วงใยใส่ใจและต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่จากสมาชิกในโรงเรียนเพื่อความอยู่รอดขององค์กร ขณะเดียวกันชุมชนใกล้เคียงของโรงเรียนก็มีส่วนสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรอยู่เสมอ ดังนั้นการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของทางโรงเรียนจึงเห็นควรสร้างการตระหนักรู้ (Awareness) ถึงความสำคัญในเรื่องนี้ และกระตุ้นให้ชุมชนเกิดความร่วมมือ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมสร้างประโยชน์หรือส่งเสริม ป้องกันและแก้ไขปัญหาให้แก่ชุมชนบนทางสายกลาง (Moderate Practice) ซึ่งเป็นหลักการสำคัญตามหลักปรัชญา
ซึ่งการบริหารจัดการดังกล่าวได้มีการดำเนินการขับเคลื่อนและจัดกิจกรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาสามารถนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาพัฒนาครู บุคลากร และนักเรียนอย่างต่อเนื่อง จนเกิดอุปนิสัยพอเพียง เกิดคุณประโยชน์อย่างยิ่งในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ครู บุคลากร ผู้ปกครองนักเรียน สถานศึกษาอื่น ชุมชน องค์กร และเครือข่ายต่างๆ ที่จะนำองค์ความรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต ตลอดจนนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาที่จะส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ระดับท้องถิ่นและระดับชาติ เพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงสู่ประชาคมอาเซียนและประชาคมโลกอย่างยั่งยืน
ข้อมูลประกอบการพิจารณาประเมินเป็นศูนย์การศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ด้านการศึกษา ปีการศึกษา 2563