ข้าวฮางงอกอินทรีย์

ข้าวฮางงอกอินทรีย์

การจัดการความรู้ของศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนตำบลสาวะถี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ประวัติความเป็นมา

ในอดีตเกษตรกรในชุมชนมีการทำนาโดยใช้เมล็ดพันธุ์ที่เกษตรกรคัดพันธุ์เองหรือแลกเปลี่ยนระหว่างเกษตรกรด้วยกัน ทำให้ผลผลิต/ไร่ต่ำ คุณภาพข้าวต่ำ เมล็ดพันธุ์ดีจากหน่วยงานไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงได้รวมกลุ่มจัดตั้งเป็น ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนสาวะถี โดยการสนับสนุนของกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อสร้างความเข้มแข็งในด้านการประกอบอาชีพของชุมชน โดยจัดตั้งครั้งแรกเมื่อปี 2543 เป็น 1 ใน 5 กลุ่มในจังหวัดขอนแก่นที่ตั้งเป็นศูนย์ข้าวชุมชน

วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งศูนย์

1) เพื่อส่งเสริมให้ชาวนามีการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีไว้ใช้อย่างเพียงพอและต่อเนื่อง

2) เพื่อเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาชาวนา

3) เพื่อให้มีกองทุนหมุนเวียนในการผลิต

กิจกรรมการเกษตรทั้งหมดของศูนย์

1) เป็นศูนย์เรียนรู้การจัดการดินเพื่อปลูกข้าวอินทรีย์

2) เป็นศูนย์ส่งเสริมการผลิตข้าวชุมชน

3) เป็นศูนย์เรียนรู้การผลิตแปรรูปข้าวครบวงจร

4) เปิดเป็นโรงเรียนชาวนา เพื่อสอนการปลูกข้าวอินทรีย์ให้แก่เกษตรกรที่สนใจ

5) ปลูกหมามุ่ยอินเดียเพื่อจำหน่าย

การอบรมและพัฒนาบุคลากร

โดยการพาสมาชิกในกลุ่มไปศึกษาดูงานนอกสถานที่ หรือสมาชิกในกลุ่มไปพบ

เจอมาด้วยตนเอง ก็สามารถนำความรู้ต่างๆที่ได้รับมาอภิปรายร่วมกัน เพื่อหาแนวทางในการพัฒนากลุ่ม โดยแกนนำหลักของกลุ่มคือประธานกลุ่ม

· การสนับสนุนด้านวิชาการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

- กรมพัฒนาที่ดิน

- เทศบาลตำบลสาวะถี

- มหาวิทยาลัยขอนแก่น

- กระทรวงพลังงาน

- ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวขอนแก่น

- สำนักงานเกษตรจังหวัด/ตำบล

- ก.ศ.น.

- ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลสาวะถี

- ห้างหุ้นส่วนท่านเจ้าคุณจำกัด

กระบวนการผลิตข้าวฮางงอก

· ขั้นตอนการผลิต

1. นำข้าวเปลือกไปแช่น้ำ โดยนำข้าวเปลือกเทใส่ถัง แล้วเติมน้ำให้เต็มเพื่อแช่ ระยะเวลา 2 คืน หากพบว่าข้าวเริ่มมีกลิ่นให้ทำการเปลี่ยนน้ำทันที เพราะถ้าหากไม่มีการเปลี่ยนน้ำกลิ่นอับของข้าวจะติดไปกับข้าวทำให้ข้าวมีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์

2. นำข้าวที่แช่ไว้ขึ้นจากน้ำโดยนำใส่ถุงที่ใส่ข้าวมาไว้ดังเดิม ระยะเวลา 1 คืน เพื่อให้จมูกข้าวงอก

3. นำข้าวไปนึ่งประมาณ 20 นาที ใช้ไฟแรงในการนึ่ง โดยการนึ่งจะนึ่งในหม้อนึ่งซึ่งจะใช้เตาสำหรับนึ่งโดยเฉพาะ โดยเตานึ่งนี้ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงพลังงาน

4. นำไปตากโดยนำเข้าโรงอบพลังงานแสงอาทิตย์ ระยะเวลา 2 วัน โรงอบจะช่วยไล่ความชื้น ทำให้ข้าวฮางงอกที่นำไปตากนั้นแห้ง

5. นำข้าวเปลือกที่อบแห้งแล้วไปกะเทาะเปลือก โดยการนำเข้าเครื่องสีข้าวกล้อง โดยจะทำการสีทั้งหมดจำนวน 4 ครั้ง เพื่อให้ข้าวที่ได้นั้นมีเมล็ดที่สวย น่ารับประทาน

6. นำข้าวที่สีได้มาทำความสะอาดโดยใช้กระด้งในการฝัดเอาเศษฝุ่น เศษดิน และเศษวัชพืชออก โดยการใช้มือในการเก็บแยกออก เพื่อให้ได้ข้าวฮางงอกที่สะอาดพร้อมบรรจุลงถุง

ขั้นตอนการบรรจุภัณฑ์

1. นำข้าวที่คัดแยกเอาเศษวัชพืช เศษเปลือกข้าว และเศษเมล็ดพืช ออกหมดแล้วมากรอกใส่ถุงสำหรับใช้กับเครื่องซีลสูญญากาศ โดยการกรอบใส่ถุงนั้นจะมี 2 ขนาด คือ ขนาด 500 กรัม และ 1,000 กรัม

2. นำข้าวที่บรรจุลงในถุงมาใส่ในบล็อกไม้ที่ใช้ในการซีลด้วยเครื่องสุญญากาศ โดยบล็อกไม้จะมี 2 ขนาด คือ ขนาด 500 กรัม และ 1,000 กรัม หากพบว่าข้าวไม่เต็มถึงปากบล็อกไม้ให้เต็ม การใส่ข้าวใส่จนกระทั่งเต็ม เพื่อเป็นการรักษาปริมาณของข้าวฮางงอกให้มีมาตรฐานเท่ากันทุกถุง และการซีลจะมีคุณภาพ เมื่อใส่ข้าวจนเต็มแล้ว นำฝาที่ทำขึ้นโดยเฉพาะมาปิด โดยการสอดปากถุงเข้าไปในรูที่ทำขึ้น

แหล่งอ้างอิง

ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนตำบลสาวะถี . ม.ป.ป. ข้อมูลพื้นฐานศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนตำบลสาวะถี. (ออนไลน์). http://mueang.khonkaen.doae.go.th. 20 เมษายน 2559.