ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์แฟ้มผลงานอิเล็กทรอนิกส์ (E-Portfolio) ของ อาจารย์กิตติยา ประยงค์หอม

ข้อมูลผู้รับการประเมิน

ชื่อ - สกุล นางสาวกิตติยา ประยงค์หอม

ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย

แผนกวิชา การจัดการโลจิสติกส์

วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา


ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

1.1 ชั่วโมงการสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 23 ชั่วโมง/สัปดาห์ ดังนี้

รายวิชา การจัดการขนส่ง รหัสวิชา 30214-2006 จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชา คลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า รหัสวิชา 30214-2005 จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชา เทคนิคการขายในธุรกิจค้าปลีก รหัสวิชา 20211-9005 จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชา การค้ากลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน รหัสวิชา 20202-2111 จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชา การวิจัยในงานโลจิสติกส์และซัพพลายเชน รหัสวิชา 30214-2106 จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชา งานการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน 4 รหัสวิชา 30214-5104 จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์

ปฏิบัติหน้าที่ผู้ช่วยงานบุคลากรวิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี

1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน - ชั่วโมง/สัปดาห์


2. งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ) ต้องแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติที่คาดหวัง คือ การปรับประยุกต์ การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังที่สูงกว่าได้)

ประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์ เอกสารที่เกี่ยวข้องในเรื่องการจัดการขนส่ง เพื่อพัฒนาทักษะการใช้งานเอกสารที่เกี่ยวข้อง

1. สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียน

การจัดการเรียนการสอนสาขาการจัดการโลจิสติกส์ เป็นสาขาวิชาชีพที่เปิดทำการสอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ซึ่งในหลักสูตรการเรียนการสอน ระดับ ปวส. ได้มุ่งเน้นการคิด วิเคราะห์และสังเคราะห์ ในรายวิชาการจัดการขนส่ง หน่วยการเรียนเอกสารที่เกี่ยวข้องในการขนส่ง เป็นเนื้อหาสำคัญที่ผู้เรียนต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้อง เพี่อผู้เรียนสามารถนำความรู้และทักษะไปประยุกต์ใช้งานได้ถูกต้อง เอกสารประกอบการเรียนที่ใช้ตามหลักสูตร ขาดรายละเอียดการชี้แจง กระบวนการที่เหมาะสมกับผู้เรียน จึงทำให้ผู้เรียนไม่สามารถทำความเข้าใจและพัฒนาทักษะเป็นไปได้ช้าและไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนการสอน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้กระบวนการจัดการเรียนการสอน เพื่อมุ่งแก้ปัญหา(ตรงตามระดับความคาดหวังวิทยฐานะ) โดยการจัดทำสื่อการสอนแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าตรงตามหลักสูตร

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566 สร้างสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์รายวิชาการการจัดการขนส่ง หน่วยการเรียนรู้ เอกสารที่เกี่ยวข้องในการขนส่ง ด้วยการพัฒนาหลักสูตร ออกแบบหน่วยการจัดการเรียนรู้ ศึกษาการจัดทำชุดการสอนตามหลักวิชาการ

3. ผลการพัฒนาที่คาดหวัง

3.1 เชิงปริมาณ ผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 ที่เรียนในรายวิชาการจัดการขนส่ง รหัสวิชา 30214-2006 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น

3.2 เชิงคุณภาพ

- ผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 ที่เรียนในรายวิชาการจัดการขนส่ง รหัสวิชา 30214-2006 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น คือมีผลการเรียนระดับ 2.00 ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 80

- ผู้เรียนร้อยละ 80 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ผ่านตามเกณฑ์การประเมิน

แบบทดสอบ

งาน

สัปก