ชื่อนวัตกรรม : นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีทางการศึกษา

วิชาดนตรี-นาฏศิลป์ไทย

ด้วยหลักการ “SK COVID MODEL” 

 INNOVATION AND INFORMATION TECHNOLOGY FOR EDUCATION

ปีการงบประมาณ 2566

กรอบแนวคิดหรือการวิเคราะห์สภาพปัญหา

       ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงเรียนชุมชนวัดสมรโกฏิ(อยู่พูนราษฎร์บำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 ได้นำข้อกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอนทางไกลในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019(COVID-19)โดยมีการประชุมปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างคณะครูคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ ผู้ปกครอง จึงได้กำหนดเป็นหลักการในการจัดการเรียนการสอนทางไกล on-line หลังจากเปิดการเรียนการสอนได้ตามปกติในปีการศึกษา 2565  นักเรียนขาดความต่อเนื่องในการเรียน  และยังเป็นช่วงเวลาในการแพร่ระบาด  เมื่อผู้เรียนได้รับการติดเชื้อ  ก็ต้องหยุดเรียนเพื่อพักรักษาตัวเป็นเวลานาน  จึงทำให้นักเรียนขาดเรียน  และไม่ต่อเนื่องตามเพื่อนร่วมชั้นเรียนไม่ทันและส่งผลต่อการเรียนตามมา  

ข้าพเจ้านางสาวอินทิรา  สมพันธ์ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนชุมชนวัดสมรโกฏิ(อยู่พูนราษฎร์บำรุง)

จึงทำนวัตกรรมการสอนในรายวิชาดนตรี-นาฏศิลป์ภายใต้ชื่อห้องเรียนดนตรี-นาฏศิลป์ด้วยแนวคิด 

"ห้องเรียนกลับด้าน" คือ เรียนที่บ้านเรียนที่โรงเรียน เรียนได้ทุกที่ทุกเวลา ผู้เรียนสามารถศึกษาเนื้อหานั้นๆ ด้วยตนเอง ตามหลักการ“SK COVID MODEL” 

วัตถุประสงค์ของการสร้างนวัตกรรมหรือสื่อ

       1.เพื่อริเริ่ม คิดค้นและพัฒนาศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาดนตรี-นาฏศิลป์ ด้วยหลักการ SK COVID MODEL

       2.เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้เรียน กล้าคิดกล้าแสดงออกและการเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสาร และเปิดโอกาสเรียนในช่องทางเพิ่มเติมผ่านช่องทางอื่นนอกห้องเรียน

       3.เพื่อริเริ่ม คิดค้นและพัฒนาพัฒนาทักษะทางด้านการผลิตสื่อ/นวัตกรรมทางการศึกษาของผู้สอน

4. เพื่อริเริ่ม คิดค้นและพัฒนาแก้ปัญหาผู้เรียนและสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียนเกิดทักษะการปฏิบัติ มีความภาคภูมิใจและรักความเป็นไทย 

ขั้นตอนการผลิตนวัตกรรม/สื่อ

       การออกแบบ website : นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีทางการศึกษาวิชาดนตรี-นาฏศิลป์ไทย ด้วยหลักการ “SK COVID MODEL”  INNOVATION AND INFORMATION TECHNOLOGY FOR EDUCATION เน้นแนวคิดการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีโอกาสในการเข้าถึงการเรียนในช่องทางเพิ่มเติมผ่านเทคโนโลยี สามารถเข้าถึงได้ผ่านช่องทาง เรียนรู้ผ่านระบบทางไกล (Online) ริเริ่มพัฒนาทักษะการปฏิบัติดนตรี-นาฏศิลป์ตามแนวคิด "ห้องเรียนกลับด้าน" คือ เรียนที่บ้านเรียนที่โรงเรียน เรียนได้ทุกที่ทุกเวลา ผู้เรียนสามารถศึกษาเนื้อหานั้นๆ ด้วยตนเอง โดยครูบันทึกวิดีโอการสอนให้ผู้เรียนไปดู ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับหลักสูตรของสถานศึกษาตามบริบทของโรงเรียน การเรียนการสอนแบบ "ห้องเรียนกลับด้าน" ทำให้ครูมีเวลาชี้แนะนักเรียนและช่วยนักเรียนสร้างสรรค์แนวคิดต่างๆ ได้ มากขึ้น มีการจัดระบบการจัดการเรียนการสอนของครูบนระบบแพลตฟอร์ม จึงได้มีความสนใจ“การริเริ่มพัฒนาการจัดการเรียนการสอนรูปแบบหน่วยการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์บนแพลตฟอร์มเวปไซต์ห้องเรียน วิชาดนตรี-นาฏศิลป์ โรงเรียนชุมชนวัดสมรโกฏิ(อยู่พูนราษฎร์บำรุง) เน้นแก้ปัญหาโดยการตอบคำถามและแบบทดสอบผ่านระบบทางไกล (Online) โดยนักเรียนสามารถรู้ผลคะแนนได้ทันทีทำให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจ ที่สำคัญคือเน้นให้ผู้เรียนที่มีความสามารถแตกต่างกันสามารถมีส่วนร่วมได้มากขึ้น

วิธีการนำไปสู่การปฏิบัติ

       การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เกมเป็นฐาน สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในทุก

ขั้นการสอนโดยระบุไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้ ตั้งแต่

       1) ขั้นการนำเข้าสู่บทเรียนก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหา โดยสามารถประยุกต์ใช้เกมกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนก่อนเข้าบทเรียน

       2) ขั้นการสอน โดยประยุกต์ใช้เกมเป็นสื่อในการนำความรู้ให้กับผู้เรียน

       3) ขั้นขยายความรู้ นำเกมมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ของผู้เรียน

       4) ขั้นสรุปนำเกมมาประยุกต์ใช้ในการสรุปเนื้อหาร่วมกับผู้เรียน

             4.1. ความสำเร็จ : ในการบรรยายหรือการปฏิบัติแต่ละครั้งจะต้องอยู่บนฐานของวัตถุประสงค์เพื่อนำผู้เรียนไปสู่ความสำเร็จ โดยสร้างความเข้าใจและทักษะใหม่ๆ ที่ก่อให้เกิดความเชี่ยวชาญ  ด้วยกิจกรรมและสื่อที่ท้าทายผู้เรียน

             4.2. แรงจูงใจ : ศาสตร์ที่เกี่ยวกับประเด็นหัวข้อที่น่าสนใจทั่วไป ซึ่งผู้สอนควรจูงใจผู้เรียนอย่างต่อเนื่องโดยเน้นการเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาของหลักสูตรและชีวิตกับเรื่องของผู้เรียน

             4.3. การประเมินผล : เป็นเรื่องสำคัญ การให้รางวัลตอบแทนการทำดีในโรงเรียนจะช่วยเพิ่มความเข้าใจและความสามารถใหม่ๆ สิ่งเหล่านี้เป็นการแสดงออกในรูปแบบของเกรด แต้ม หรือข้อเสนอแนะอย่างละเอียด

จำนวนผู้เข้าชม

จัดทำเผยแพร่เพื่อการศึกษาเท่านั้น

นวัตกรรมสื่อ VDO การสอน

YouTube


นวัตกรรมสื่อเกมการสอน

ผลิตโดยนางสาวอินทิรา  สมพันธ์ 

จัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาเท่านั้น

เกมนาฏศิลป์ไทยมหาสนุก

สื่อเกมการสอนบิงโกนาฏศิลป์ไทย

นาฏยศัพย์

นวัตกรรมสื่อเกมการสอน

เมืองดนตรีมหาสนุก

สื่อเกมการสอนบิงโกดนตรีไทย

สื่อเกมการสอนบิงโกดนตรีสากล

โน้ตสากล

นวัตกรรมสื่อ VDO การสอน

ผลิตโดยนางสาวอินทิรา  สมพันธ์ 

จัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาเท่านั้น

เพลงงามแสงเดือน

เพลงแว่วเสียงแคน

สัญลักษณ์ทางดนตรี

ท่องโน้ตเพลงชาติ

การไล่เสียงขลุ่ยเพียงออ

ประเภทเครื่องดนตรีไทย

กำเนิดเสียง

ลักษณะการเกิดเสียง

รูปร่างลักษณะของเครื่องดนตรีไทย

หลักการฟังเพลง

โน้ตสากล

Recorder

เพลงสื่อการสอนจาก youtube