ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็ปไซด์เเฟ้มผลงานอิเล็กทรอนิกส์ (E-Portfolio) ของ ครูกานต์ธิดา โพธิมา

ข้อมูลผู้ประเมิน

  • ชื่อ-สกุล นางสาวกานต์ธิดา โพธฺมา

  • ตำแหน่ง ครู

  • แผนกวิชา การออกแบบ

  • วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

  • สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

  • เป็นครูที่ปรึกษานักเรียน ปวช.3 สาขาวิชาการออกแบบ

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำเเหน่ง

1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 34 ชั่วโมง/สัปดาห์ดังนี้

ภาคเรียนที่ 2/2565

รายวิชาคอมพิวเตอร์และสารสนเทศเพื่องานอาชีพ จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ (ปวช.) จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาการเขียนแบบดิจิตอลเบื้องต้น จำนวน 10 ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาโครงงาน จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะ จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาการออกแบบเขียนแบบดิจิทัล จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์








ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ) ต้องแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติที่คาดหวัง คือ การปรับประยุกต์ การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น(ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังที่สูงกว่าได้)

ประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกปฏิบัติ เรื่อง การสร้างรูปร่าง รูปทรงพื้นฐานโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี

1. สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้

จากการจัดการเรียนการสอน ปัญหาที่พบคือ จากการบันทึกหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาการเขียนแบบดิจิตอลเบื้องต้น ที่ผ่านมาพบว่า การสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยส่วนใหญ่นักเรียนจะไม่สามารถเขียนแบบที่ถูกต้องได้ สืบเนื่องจากการใช้เครื่องมือที่ไม่ถูกต้องและขาดการทำงานจากการวัดสัดส่วนของเฟอร์นิเจอร์ หรืองานต้นแบบจริง ทำให้งานที่เขียนออกมาผิดสัดส่วน จากสภาพปัญหาดังกล่าว จึงตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะการเขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์ เรื่องหลักการพื้นฐานการใช้งานโปรแกรมGoogle Sketch up เพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาได้ด้วยการสอน การฝึกฝน การอบรมส่งเสริมอย่างเหมาะสม


2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

- การวางแผน (Plan)

1. ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตร รายวิชาการเขียนแบบดิจิตอลเบื้องต้น ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเพื่อจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับคำอธิบายรายวิชา สมรรถนะรายวิชาและจุดประสงค์รายวิชา

2. ออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้รายวิชาการเขียนแบบดิจิตอลเบื้องต้น ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเรื่องหลักการพื้นฐานการใช้งานโปรแกรมGoogle Sketch up

3. สร้างแบบฝึกปฏิบัติเรื่องการสร้างรูปร่าง รูปทรงพื้นฐานโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป

4. แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อตรวจสอบคุณภาพ

5. ปรับปรุง/พัฒนาแบบฝึกปฏิบัติเรื่องการสร้างรูปร่าง รูปทรงพื้นฐานโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป

- การปฏิบัติ (Do)

นำแบบฝึกปฏิบัติเรื่องหลักการพื้นฐานการใช้งานโปรแกรมGoogle Sketch up ที่ผ่านการปรับปรุงแล้วไปจัดการเรียนรู้กับกลุ่มเป้าหมาย

- การตรวจสอบ (Check)

1. ศึกษาประสิทธิผลของแบบฝึกปฏิบัติเรื่องหลักการพื้นฐานการใช้งานโปรแกรมGoogle Sketch up

2. ศึกษาข้อมูลตอบกลับของผู้เรียน ต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกปฏิบัติในการจัดการเรียนรู้เรื่องการสร้างรูปร่าง รูปทรงพื้นฐานโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป

- การปรับปรุงแก้ไข (Act)

ปรับปรุงแก้ไขแบบฝึกปฏิบัติเรื่องการสร้างรูปร่าง รูปทรงพื้นฐานโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป โดยรวบรวมข้อมูลตอบกลับจากผู้เรียนเพื่อแยกประเด็นในการพัฒนา แล้วนำประเด็นดังกล่าวเข้าสู่วง PLC เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและแนวทางการพัฒนาตามประเด็น

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

3.1 เชิงปริมาณ

นักเรียนที่เรียนในรายวิชาการเขียนแบบดิจิตอลเบื้องต้นร้อยละ 60 เมื่อได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกปฏิบัติเรื่องการสร้างรูปร่าง รูปทรงพื้นฐานโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

3.2 เชิงคุณภาพ

นักเรียนที่เรียนในรายวิชาการเขียนแบบดิจิตอลเบื้องต้น มีความกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองสามารถคิดคล่องคิดหลากหลาย คิดละเอียด คิดชัดเจน คิดกว้าง คิดไกล คิดลึกซึ้ง รวมทั้งคิดอย่างมีเหตุผลได้