วิทยาการคำนวณ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้>>>สื่อการสอนเกี่ยวกับ CS / DL / ICT

สสวท. แจกฟรีเอกสารด้านสะเต็มศึกษา กิจกรรมและคู่มือช่วงชั้นที่ 1 ช่วงชั้นที่ 2 ช่วงชั้นที่ 3

“ความรู้เบื้องต้นสะเต็มศึกษา” http://bit.ly/28LrnGP “เอกสารกิจกรรมสะเต็ม ช่วงชั้นที่ 1” http://bit.ly/28U0frH “คู่มือกิจกรรมสะเต็ม ช่วงชั้นที่ 1” http://bit.ly/28MbFNz “เอกสารกิจกรรมสะเต็ม ช่วงชั้นที่ 2” http://bit.ly/28Oc8QD “คู่มือกิจกรรมสะเต็ม ช่วงชั้นที่ 2” http://bit.ly/28NPOZJ “เอกสารกิจกรรมสะเต็ม ช่วงชั้นที่ 3” http://bit.ly/28NPYAc “คู่มือกิจกรรมสะเต็ม ช่วงชั้นที่ 3” http://bit.ly/28PhsDS “เอกสารกิจกรรมสะเต็ม ช่วงชั้นที่ 4” http://bit.ly/28MhFXO “คู่มือกิจกรรมสะเต็ม ช่วงชั้นที่ 4” http://bit.ly/28Nujrv

ป้าหมายของวิทยาการคำนวณ>>>ไม่ได้ต้องการให้ทุกคนที่เรียนจะต้องไปเป็นคนเขียนโปรแกรม หรือโปรแกรมเมอร์ แต่ต้องการเพิ่มทักษะคิดเชิงคำนวณสำหรับแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน, สามารถมองได้ว่าปัญหาใดแก้ด้วยระบบอัตโนมัติได้, ทำความเข้าใจว่าระบบอัตโนมัติเพิ่มประสิทธิภาพงานได้ และที่สุดคือมีความรู้ที่จะควบคุมระบบอัตโนมัติได้ในเบื้องต้น ซึ่งทักษะที่ว่ามานี้ เป็นสิ่งจำเป็นและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ไม่ว่าจะไปเป็นคนในสายวิทยาศาสตร์ ศิลปะ ดนตรี หรือแม้แต่วรรณกรรม

โครงสร้างของหลักสูตร วิทยาการคำนวณ แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักคือ

  1. Computer Science : CS (วิทยาการคอมพิวเตอร์) หัวใจหลักของวิชานี้ ให้ผู้เรียนสามารถคิดได้เป็นขั้นตอน นำการเขียนโปรแกรมมาเป็นเครื่องมือในการฝึกคิดเป็นขั้นตอน ตามแนวทาง Computational Thinking
  2. ICT (เทคโนโลยีสารสนเทศ) ให้ผู้เรียนสามารถรวบรวมข้อมูล จัดการข้อมูล นำข้อมูลมาประมวลผล และทำการตัดสินใจจากพื้นฐานของข้อมูลได้
  3. Digital Literacy :DL(รู้เท่าทันดิจิทัล) ให้ผู้เรียนรู้ทันเทคโนโลยี ไม่ตกเป็นทาสเทคโนโลยี สามารถสร้างสรรค์ผลงานบนเทคโนโลยีได้
ที่มา:https://www.blognone.com/node/102435