สาขาวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวและสุขภาพ (Human Kinetics and Health)

วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์

วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดหลักสูตรใหม่ระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวและสุขภาพ (Human Kinetics and Health) ในปีการศึกษา 2562

ความเป็นมา

เนื่องจากประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนไทย การพึ่งพาเทคโนโลยี การพัฒนาของสังคมเมือง พฤติกรรมการบริโภค ฯลฯ ทำให้การเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สถิติผู้ป่วยจากโรคไม่ติดต่อ (NCDs) เช่น กลุ่มโรคหลอดเลือดหัวใจ-โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน เพิ่มขึ้นและกลายเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในคนไทย

จุดเด่น

สาขาวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวและสุขภาพ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ถือเป็นหลักสูตรแรกในประเทศไทย โดยมีจุดมุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้สามารถประยุกต์ใช้ความรู้พื้นฐานทางด่านวิทยาศาสตร์สุขภาพ เช่น ชีวกลศาสตร์ (Biomechanics) สรีรวิทยาการออกกำลังกาย (Exercise Physiology) จิตวิทยา (Psychology) โภชนาการ (Nutrition) กายวิภาคศาสตร์ (Anatomy) เป็นต้น มาใช้ในการวิเคราะห์และออกแบบโปรแกรมเพื่อพัฒนาร่างกาย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ป่วยโรคต่างๆ กลุ่มผู้ที่ต้องการมีสุขภาพที่ดี

ตัวอย่างอาชีพที่สามารถปฏิบัติงานได้หลังจบการศึกษา

- นักวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวและสุขภาพ ประจำหน่วยงานด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู/เวชศาสตร์การกีฬา ในโรงพยาบาล

- ผู้ฝึกสอน/แนะนำการออกกำลังกาย (Trainer) ในสถานประกอบการด้านสุขภาพ (Fitness Center)

- ผู้ฝึกสอน/แนะนำการออกกำลังกายในศูนย์สุขภาพ (Health and Wellness Center)

- ผู้ฝึกสอนสมรรถภาพในทีมกีฬา (Fitness Coach)

การแทรกแซงของเทคโนโลยีต่อวิชาชีพ

การปฏิบัติงานของนักศึกษาจากสาขาวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวและสุขภาพ ต้องอาศัยความรู้พื้นฐาน รวมกับทักษะทางด้านการสื่อสารและความเข้าใจในความแตกต่างของแต่ละบุคคล ซึ่งการเรียนการสอนจะกระตุ้นให้นักศึกษามีแรงบันดาลใจในการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวและสุขภาพไปใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อสังคมโดยรวม ดังนั้นผลกระทบต่อการเข้ามาของเทคโนโลยี เช่น Artificial Intelligence (AI) ไม่อาจส่งผลต่อการปฏิบัติงานของนักศึกษาได้ ในทางกลับกันสาขาวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวและสุขภาพมุ่งเน้นการเรียนการสอนให้นักศึกษาสามารถนำเทคโนโลยีต่างๆมาปรับใช้เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพของการทำงานในวิชาชีพให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ทุนสนับสนุน

นักศึกษามีโอกาสได้รับทุนการศึกษาตลอดหลักสูตรจากวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์

โอกาสในการปฏิบัติ

นักศึกษาที่จบการศึกษา สาขาวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวและสุขภาพ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ มีโอกาสเข้าปฏิบัติงานในโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และโรงพยาบาลเครือข่าย ในตำแหน่ง นักวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหว

การรับสมัคร

สาขาวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวและสุขภาพ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ เปิดรับตามระบบ TCAS ปี 2562 รอบที่ 1 (Portfolio) “โครงการเพชรจุฬาภรณ์” โดยจะเปิดรับสมัครวันที่ 1 – 15 ธันวาคม พ.ศ. 2561 สำหรับน้องๆที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดได้ทาง Facebook: สาขาวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวและสุขภาพวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์