ภาพเล่าเรื่อง

ซุ้มอ่านหนังสือ

ซุ้มอ่านหนังสือ เดิมตั้งอยู่ริมสระน้ำ ได้มีการปรับพื้นที่เป็นอาคารโภชนาการ 2 บริเวณด้านข้างสนามกีฬากลาง มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ในปัจจุบันนี้

เอกลักษณ์ของอาคารที่โดดเด่น

อาคารที่เป็นสีน้ำตาลอิฐ มีลักษณะโดดเด่นและสบายตา ตัดกับต้นไม้สีเขียว มีการกล่าวว่า "สถาปนิกเขาอยากได้ Pyrotile เพราะสวยงามก่อง่ายลงตัวดี กรรมการเห็นด้วยกับการสร้างอาคารให้ดูมีลักษณะเป็นอาคารสีอิฐ"

ประพันธ์พงศ์ เวชชาชีวะ

โต๊ะทำงานตัวแรก

วัตถุทางประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยอีกอันหนึ่งที่มีความสำคัญคือ ชุดโต๊ะ-เก้าอี้ทำงานของผู้อำนวยการกองโรงเรียนพยาบาลและผดุงครรภ์ทำจากไม้สักทองเป็นเครื่องเรือนที่มีสไตล์เฟ็ดเดอรอล (Federal) ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในคริสตศตวรรษที่ 18 ภายหลังยุคสมัยปฏิรูปสังคมอเมริกัน ริเริ่มโดยชาวอเมริกัน 2 ท่านคือ จอร์จ เฮ็ปเบิ้ลไวท์ (George Hepplewhite) และโทมัธ เชอราตัน (Thomas Sheraton) เครื่องเรือนสไตล์เฟ็ดเดอรอล (Federal) นี้เป็นสไตล์ที่พัฒนารูปแบบมาจากสไตล์ชิปเพนเดล (Chippendale) ในประเทศอังกฤษ ชุดโต๊ะและเก้าอี้ทำงานเป็นเครื่องเรือนที่มีลักษณะรูปทรงเรขาคณิตซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากการออกแบบผสมผสานศิลปะระหว่างศิลปะร็อกโคโค (Rococo) ของฝรั่งเศส ศิลปะโกธิค (Gothic) ของอังกฤษ และการประดับตกแต่งลวดลายอย่างเรียบง่ายแบบจีน

รูปปั้น "คณะผู้ก่อตั้ง"

รูปปั้นคณะผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ณ เบื้องพระพักตร์พระรูปครึ่งพระวรกายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ในฉลองพระองค์ครุยประดิษฐานอยู่ด้วย จัดแสดงภายในอาคารเฉลิมพระเกียรติ ณ บริเวณชั้น 2

สวนลวดลาย

สวนลวดลาย มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีสัญลักษณ์โดดเด่นประดับด้วยต้นไม้ชนิดต่างๆ เช่น ต้นแก้ว ต้นนีออน และเทียนหยด การปลูกต้นไม้มีลักษณะเป็นลวดลายสลับกัน รายล้อมรอบเสาธงชาติและเสาธงสีเหลืองสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย ถ่ายภาพจากด้านบนอาคารจะเห็นลวดลายสลับกันไปมาอย่างชัดเจน สวยงามมักเป็นจุดนัดพบสำหรับการนัดหมายระหว่างนักศึกษา บุคลากร คณาจารย์ บุคคลทั่วไป และผู้ปกครอง ในโอกาสต่างๆ เดินทางไปนอกสถานที่ หรืองานพิธีประสาทปริญญาบัตร