อุทกภัย (Flood)

อุทกภัย เป็นสาธารณภัยที่เกิดจากฝนตกหนัก และฝนตกสะสมเป็นเวลานาน ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลัน น้ำท่วมขัง และน้ำล้นตลิ่ง ประชาชนได้รับความเดือนร้อน สิ่งสาธารณประโยชน์ และทรัพย์สินของประชาชนได้รับความเสียหาย สาเหตุของการเกิดอุทกภัย ได้แก่ ลมมรสุม หย่อมความกดอากาศ พายุหมุนเขตร้อน (ดีเปรสชั่น โซนร้อนและไต้ฝุ่น) การระบายน้ำจากเขื่อน น้ำล้นตลิ่ง อ่างเก็บน้ำหรือเขื่อนเก็บน้ำแตก เป็นต้น

1) น้ำท่วมขัง/น้ำล้นตลิ่ง หมายถึง สภาวะน้ำท่วมหรือสภาวะน้ำล้นตลิ่งที่เกิดขึ้นเนื่องจาก ระบบระบายน้ำไม่มีประสิทธิภาพ มีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป อันเป็นผลจากการเกิดฝนตกหนัก ณ บริเวณนั้นๆ ติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน มักเกิดขึ้นในบริเวณที่ราบลุ่มริมแม่น้ำและบริเวณชุมชนเมืองใหญ่ ๆ น้ำท่วมขัง ส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณท้ายน้ำและแผ่เป็นบริเวณกว้างเนื่องจากไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน

2) น้ำท่วมฉับพลัน หมายถึง สภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันในพื้นที่เนื่องจาก ฝนตกหนักในบริเวณพื้นที่ซึ่งมีความชันมาก
และมีคุณสมบัติในการกักเก็บน้ำหรือต้านน้ำน้อย หรืออาจเกิดจาก สาเหตุอื่น ๆ เช่น เขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำพังทลาย

แผนที่แสดงพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยของประเทศไทย ปี พ.ศ.2565 (เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม)

เดือนกรกฎาคม
เดือนสิงหาคม
เดือนกันยายน
เดือนตุลาคม
เดือนพฤศจิกายน
เดือนธันวาคม

ที่มา : ศูนย์ป้องกันวิกฤติน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ

ติดตามสถานการณ์น้ำของประเทศไทยเพื่อเฝ้าระวังอุทกภัย คลิกที่นี่

ที่มา: สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

สื่อความรู้ที่เกี่ยวข้อง