Basic Logistics Technology

คำชี้แจง : หลักสูตรระยะสั้น 6 ชั่วโมง เรื่องเทคโนโลยีโลจิสติกส์เบื้องต้น วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้มีโอกาสเข้ามาศึกษาเนื้อหารายวิชาและเมื่อเสร็จแล้ว ผู้สนใจยังสามารถทำแบบทดสอบ ถ้าผ่าน 80 % วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี จะส่งเกียรติบัตรให้ท่านทาง email ที่ท่านได้กรอกไว้ในแบบทดสอบ หากคะแนนไม่ถึงสามารถศึกษาและทำแบบทดสอบได้อีก (เผยแพร่เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2563)

ระบบ RFID (Radio Frequency Identification)

RFID ชื่อเต็มๆ ก็คือ Radio Frequency Identification หรือการระบุข้อมูลสิ่งต่างๆ โดยใช้คลื่นความถี่วิทยุ ซึ่งพวกเราทุกคนคงจะคุ้นเคยกับระบบนี้เป็นอย่างดี เพราะว่า RFID ถูกนำเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวันของเราอย่างหลากหลาย เพียงแต่ว่าเราจะรู้หรือไม่เท่านั้นเองว่าสิ่งเหล่านั้นใช้เทคโนโลยี RFID

นระบบ RFID จะมีองค์ประกอบหลักๆ ด้วยกัน 3 ส่วน คือ

1. ป้าย (Tag, Transponder)

2. เครื่องอ่านป้าย (Reader, Interrogator)

3. ฮาร์ดแวร์ หรือ ระบบที่ใช้ประมวลผล

1. ป้าย (Tag, Transponder)

มาดูที่ส่วนแรกกันเลยนะครับ ป้าย (Tag, Transponder [transceiver-responder]) ดังที่ได้ยกตัวอย่าง ป้าย Tag ที่ติดสินค้ากันขโมย และตั๋วรถไฟฟ้าที่เป็นเหรียญกลมๆ สีดำไปแล้วนะครับ สิ่งเหล่านี้ก็คือ Tag ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ภายในจะประกอบด้วย เสาอากาศ และตัวไมโครชิป ในส่วนของตัวเสาอากาศนั้น จะทำหน้าที่รับส่งสัญญาณคลื่นวิทยุระหว่าง ป้าย (Tag) กับเครื่องอ่าน (Reader) นอกจากนั้นแล้วยังสามารถทำหน้าที่สร้างพลังงานเพื่อป้อนให้กับไมโครชิปได้อีกด้วย

ประเภทของป้ายอาร์เอฟไอดี (RFID)

1. RFID ชนิด Passive ป้ายชนิดนี้ทำงานได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้แหล่งจ่ายไฟจากภายนอก เพราะภายในบัตรมีวงจรกำเนิดไฟฟ้าเหนี่ยวนำ เป็นแหล่งพลังงานในตัวอยู่แล้ว ระยะการอ่านข้อมูลได้ในระยะสั้นๆ เท่านั้นไม่เกิน 1 เมตร (ขึ้นอยู่กับกำลังส่งของเครื่องอ่านและความถี่วิทยุที่ใช้) RFID ประเภทนี้มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา

2. RFID ชนิด Active ป้ายชนิดนี้ต้องอาศัยแหล่งจ่ายไฟจากภายนอก เพื่อจ่ายไฟให้วงจรทำงาน ระยะการอ่านข้อมูลได้ประมาณ 100 เมตร แต่มีข้อเสียคือ ขนาดของป้ายหรือเครื่องอ่านมีขนาดใหญ่ อายุแบตเตอรี่มีอายุการใช้งานประมาณ 3-7 ปี

ชนิดบัตรภายในบรรจุแบตเตอรี่ขนาดเล็กไว้

นอกจากนั้นยังสามารถจัดรูปแบบป้าย RFID จากรูปแบบการอ่านเขียน มีอยู่ 3 รูปแบบดังนี้

1. ป้ายที่ใช้อ่านและเขียนข้อมูลลงไปได้หลายๆครั้ง (Read-Write)

2. ป้ายที่ใช้เขียนได้เพียงครั้งเดียวแต่อ่านได้หลายครั้ง (Write-once Read-many)

3. ป้ายที่ใช้อ่านได้เพียงอย่างเดียว (Read-only)

2. เครื่องอ่านป้าย (Reader, Interrogator)

โดยหน้าที่ของเครื่องอ่านป้ายคือ จะทำการเชื่อมต่อกับป้ายเพื่อทำการอ่านหรือเขียนข้อมูลลงในป้ายโดยใช้สัญญาณวิทยุ ซึ่งภายในเครื่องอ่านจะประกอบด้วย เสาอากาศ เพื่อใช้รับ-ส่งสัญญาณ, ภาครับ-ภาคส่งสัญญาณวิทยุ, วงจรควบคุมการอ่าน-เขียนข้อมูล และส่วนที่ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ เช่นเดียวกันกับในส่วนของป้าย เครื่องอ่านนั้นจะมีชนิด และลักษณะรูปร่างหลากหลายแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน เช่น แบบมือถือ, แบบติดหนัง จนไปถึงแบบขนาดใหญ่เท่าประตู ลองดูตัวอย่างจากรูปข้างล่างดูนะครับ

3. ฮาร์ดแวร์ หรือ ระบบที่ใช้ประมวลผล

มาถึงในส่วนสุดท้าย คือส่วน ฮาร์ดแวร์ หรือระบบที่ใช้ประมวลผล เป็นส่วนที่จะทำการประมวลผลข้อมูลที่ได้มาจากป้าย (Tag) หรือจะสร้างข้อมูลเพื่อส่งไปยังป้าย (Tag) หรือว่าจะเป็นที่เก็บระบบฐานข้อมูล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระบบที่เรานำเอาไปใช้นะครับ ตัวอย่างอย่างเช่น ระบบการจัดการฟาร์มปศุสัตว์, ระบบคลังสินค้า, ระบบขนส่ง, ระบบการบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ เป็นต้น


บาร์โค้ด (Barcode)

บาร์โค้ด(barcode) หรือในภาษาไทยเรียกว่า “รหัสแท่ง” ประกอบด้วยเส้นมืด(มักจะเป็นสีดำ) และเส้นสว่าง(มักเป็นสีขาว)วางเรียงกันเป็นแนวดิ่ง เป็นรหัสแทนตัวเลขและตัวอักษร ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถอ่านรหัสข้อมูลได้ง่ายขึ้น โดยใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Scanner) ซึ่งจะทำงานได้รวดเร็วและช่วยลดความผิดพลาดในการคีย์ข้อมูลได้มาก บาร์โค้ดเริ่มกำเนิดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1950 โดยประเทศสหรัฐอเมริกาได้จัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจทางด้านพาณิชย์ขึ้นสำหรับค้นคว้ารหัสมาตรฐานและสัญลักษณ์ที่สามารถช่วยกิจการด้านอุตสาหกรรมและสามารถจัดพิมพ์ระบบบาร์โค้ดระบบ UPC-Uniform ขึ้นได้ในปี 1973 ต่อมาในปี 1975 กลุ่มประเทศยุโรปจัดตั้งคณะกรรมการด้านวิชาการเพื่อสร้างระบบบาร์โค้ดเรียกว่า EAN-European Article Numbering สมาคม EAN เติบโตครอบคลุมยุโรปและประเทศอื่นๆ (ยกเว้นอเมริกาเหนือ) และระบบบาร์โค้ด EAN เริ่มเข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี1987

เพื่อให้เข้าใจง่าย เราจะทำการแยกบาร์โค้ดออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ บาร์โค้ด 1 มิติ(Barcode 1D), 2 มิติ(Barcode 2D) และ 3 มิติ(Barcode 3D)

ประเภทของบาร์โค้ด

บาร์โค้ด 1 มิติ(Barcode 1D)

บาร์โค้ด 1 มิติมีลักษณะเป็นแถบประกอบด้วยเส้นสีดำสลับกับเส้นสีขาว ใช้แทนรหัสตัวเลขหรือตัวอักษรโดยสามารถบรรจุข้อมูลได้ประมาณ 20 ตัวอักษร การใช้งานบาร์โค้ดมักใช้ร่วมกับฐานข้อมูลคือเมื่ออ่านบาร์โค้ดและถอดรหัสแล้วจึงนำรหัสที่ได้ใช้เรียกข้อมูลจากฐานข้อมูลอีกต่อหนึ่ง

ตัวอย่างประเภทของ บาร์โค้ด 1 มิติ เช่น Code 39, Code 128, Code EAN-13 ฯโดยข้อมูลในตัวบาร์โค้ด คือ "123456789012" แต่ลักษณะของบาร์โค้ดจะเปลี่ยนแปลงตามประเภทของบาร์โค้ดนั้นๆ ตามรูปตัวอย่าง

Barcode EAN-13เป็นบาร์โค้ด ที่ประเทศไทยเลือกใช้งาน ซึ่งบาร์โค้ดดังกล่าวจะทำการลงทะเบียนบาร์โค้ดก่อน จึงจะสามารถไปใช้งานกับสินค้าได้โดยมีสถาบันสัญลักษณ์รหัสแท่งไทย (Thai Article Numbering Council) หรือ TANC เป็นองค์กรตัวแทน EAN ภายใต้การดูแลของสภาอุตสาหกรรมกรรมแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ระบบ EAN ที่ประเทศไทยใช้นั้นจะมีลักษณะเป็นเลขชุด 13 หลัก

บาร์โค้ด 2 มิติ(Barcode 2D)

บาร์โค้ด 2 มิติเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาเพิ่มเติมจากบาร์โค้ด 1 มิติ โดยออกแบบให้บรรจุได้ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน [1] ทำให้สามารถบรรจุข้อมูลมากได้ประมาณ 4,000 ตัวอักษรหรือประมาณ 200 เท่าของบาร์โค้ด 1 มิติในพื้นที่เท่ากันหรือเล็กกว่า ข้อมูลที่บรรจุสามารถใช้ภาษาอื่นนอกจากภาษาอังกฤษได้ เช่น ภาษาญี่ปุ่น จีน หรือเกาหลี เป็นต้นและบาร์โค้ด 2 มิติสามารถถอดรหัสได้แม้ภาพบาร์โค้ดบางส่วนมีการเสียหาย อุปกรณ์ที่ใช้อ่านและถอดรหัสบาร์โค้ด 2 มิติมีตั้งแต่เครื่องอ่านแบบซีซีดีหรือเครื่องอ่านแบบเลเซอร์เหมือนกับของบาร์โค้ด 1 มิติจนถึงโทรศัพท์มือถือแบบมีกล้องถ่ายรูปในตัวซึ่งติดตั้งโปรแกรมถอดรหัสไว้ ในส่วนลักษณะของบาร์โค้ด 2 มิติมีอยู่อย่างมากมายตามชนิดของบาร์โค้ด เช่น วงกลม สี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือสี่เหลี่ยมผืนผ้าคล้ายกับบาร์โค้ด 2 มิติ ดังรูปที่ 2 เป็นต้น ตัวอย่างบาร์โค้ด 2 มิติ ได้แก่ PD417, MaxiCode, Data Matrix, และ QR Code

บาร์โค้ด 3 มิติ(Barcode 3D)

บาร์โค้ด 3 มิติเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาเพิ่มเติมจากบาร์โค้ด 2 มิติเพื่อบาร์โค้ดติดบนวัตถุได้นาน ทนต่อสภาพสิ่งแวดล้อม โดยการยิงเลเซอร์ หรือทำการสลักตัวบาร์โค้ดลงไปบนเนื้อวัตถุโดยตรง ทำให้บาร์โค้ดมีลักษณะสูงหรือต่ำกว่าพื้นผิวขึ้นมา โดยเราจะพบลักษณะบาร์โค้ดดังกล่าว ในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องมือแพทย์ แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ตัวอย่างบาร์โค้ด 3 มิติ

ประโยชน์ "บาร์โค้ด" กับธุรกิจ

บาร์โค้ด หมายถึง เลขหมายประจำตัวสินค้า สามารถอ่านได้ด้วยเครื่องสแกนเนอร์บาร์โค้ด โดยอาศัยหลักของการสะท้อนแสง หรือ การถ่ายภาพประมวลผล นิยมใช้กับสินค้าอุปโภคบริโภคแทบทุกชนิด และสินค้าสำเร็จรูปต่าง ๆ

การออกเลขหมายให้กับสินค้าแต่ละตัวจะช่วยให้การติดต่อกันระหว่างผู้ค้า (ผู้ผลิต ผู้ค้าส่ง ผู้จัดจำหน่าย และผู้ค้าปลีก) สามารถทำงานได้ราบรื่นขึ้น เปรียบได้กับบัตรประจำตัวประชาชนที่เป็นเครื่องชี้บอกถึงความแตกต่างกันของแต่ละคน เลขหมายประจำตัวสินค้าก็เป็นเครื่องชี้บอกถึงความแตกต่างของสินค้าชนิดนั้นกับสินค้าอื่น ๆ

สินค้าทุกชนิดที่มีความแตกต่างกันไม่ว่าจะเป็น ขนาด สี จำนวนบรรจุ จะมีเลขหมายประจำตัวสินค้าต่างกัน ตัวอย่างเช่น ไอศกรีมรสวนิลาจะมีเลขหมายประจำตัวคนละเลขหมายต่างจากไอศกรีมรสช็อกโกแลต หรือในกรณีกล่องใหญ่ที่บรรจุถ้วย 12 ใบ จะมีเลขหมายประจำตัวแตกต่างจากถ้วย 1 ใบ


Transportation Management System(TMS) ระบบการจัดการการขนส่ง

Transportation Management System (TMS) หรือ ระบบการจัดการการขนส่ง, โปรแกรมจัดการการขนส่ง , ระบบขนส่ง โลจิสติกส์, การจัดการ Logistics คือระบบที่จะช่วยให้ บริษัทได้มีการบริหารจัดการ อย่างมีประสิทธิภาพ เชื่อถือได้ และค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพในการขนส่งสิน ค้า การขนส่งสินค้าจากต้นทางไปยังปลายทาง TMS ครอบคลุมโซลูชั่นสำหรับการย้ายการขนส่งสินค้าในทุกโหมด กระบวนการ TMS รวมถึงการขนส่งสินค้าขนส่งขาเข้าหรือขาออกในประเทศหรือต่างประเทศและการใช้สินทรัพย์และบุคคลากรของบริษัท ที่ขนส่งเอง หรือแม้กระทั่งใช้บริการผู้ให้บริการขนส่งภายนอก สามารถบริหารจัดการได้โดย TMS สามารถบริการได้ตั้งแต่พัสดุหรือจะเป็นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ขนาดใหญ่และสามารถใช้งานร่วมกับ ระบบ บาร์โค้ด (Barcode system), ระบบ RFID , Smart phone, Mobile printer

Transportation Management System มีขอบเขตที่ครอบคลุมทุกด้านที่สำคัญทั้งหมดของการวางแผนและการดำเนินการ การสิ้นสุดกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง รวมทั้งการสร้างแนะนำการใช้เส้นทาง การวางแผนและการเพิ่มประสิทธิภาพ การแลกเปลี่ยนสื่อสารกับผู้ให้บริการ (ประกวดราคา รองรับกระบวนการย่อยของการโหลด) การสร้างเอกสาร, การจัดการมองเห็นและการยกเว้น การตรวจสอบการขนส่งสินค้าและการจัดการให้มีประสิทธิภาพ สำหรับการจัดส่งระหว่างประเทศก็ยังจะรวมถึงการจัดส่งการแจ้งเตือนล่วงหน้า คู่มือช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในขั้นตอนการคัดเลือก TMS ในการตัดสินใจที่ดีขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

benefits

มีหลายวิธีเพื่อที่จะประหยัดเงินหรือค่ายานพาหนะในการขนส่ง แต่เหตุผลหลักที่ บริษัท ดำเนินการ TMS คือการลดการใช้จ่ายการขนส่งสินค้า TMS ประสบความสำเร็จในการลดต้นทุ่นเหล่านี้ขึ้นอยู่กับการบังคับใช้กระบวนการวิเคราะห์และการเพิ่มประสิทธิภาพ การประยุกต์ใช้กับซอฟต์แวร์อื่น ๆ จำนวนมากเพื่อนำเสนอในรูปแบบที่แตกต่างกันของการเพิ่มประสิทธิภาพ

การวิจัยตลาด TMS ของเราแสดงให้เห็นว่านี่คือหนึ่งในการเติบโตเร็วที่สุดของตลาดซอฟต์แวร์องค์กร เห็นได้ชัดว่าหลายๆ บริษัท กำลังจะผ่านกระบวนการที่ซับซ้อนและใช้เวลานาน การเลือกผู้จัดส่งสินค้า TMS ซับซ้อนจะเพิ่มขึ้นเพราะมีเส้นทางที่แตกต่างกันโดยพื้นฐานมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันที่

คุณสมบัติของ TMS (Solution Features)

เราเข้าใจความท้าทายที่องค์กรจะต้องเอาชนะ เรารู้ว่าคุณสมบัติที่แก้ปัญหา TMS ยังสามารถใช้งานร่วมกับ Computer mobile, Printer barcode, Scanner, Mobile printer, Computer Mobile, RIFD reader, RFID TAG,GPS ที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์รวมไปถึง:

•การจัดเส้นทางขนส่งสินค้า ต้นแบบ ( Routing )

•มอบหมายพนักงานขับรถและทะเบียนรถที่ต้องการใช้งาน (Assign work order)

•การติดตามด้วยระบบ GPS ( GPS Tracking )

•การจัดสินค้าในการขนส่ง (Transport Status)

•มีระบบซ่อมบำรุง รักษา รถขนส่ง (Truck Maintenance )

•บูรณาการกับการใช้งานขององค์กรกับบริษัทขนส่ง (กรณีใช้บริการขนส่งจากข้างนอก)

•มีศักยภาพในธุรกิจผู้ผลิตและการขนส่ง ( BI Dashboards & Reporting )

•ความสามารถในการใช้งานทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ (Multi Language)

•รูปแบบการสนับสนุนการฝึกอบรมการใช้งาน คู่มือการใช้งาน และบริการหลังการขาย

ประโยชน์ที่ได้จากการจัดทำระบบ TMS

1.ลดความผิดพลาดจากการทำงานด้วยคนจากการวางแผน และติดตามการจัดส่งสินค้าโดยใช้ระบบอัตโนมัติร่วมกับระบบข้อมูลกลาง (SAP) และ GPS ทุกยี่ห้อ/ทุกผู้รับเหมาขนส่ง แทน

2.ด้านการติดตามปัญหาการทุจริตจากการจัดส่งสินค้า

3.ด้านความปลอดภัยและกฎหมายในการใช้รถใช้ถนน

4.เพื่อเพิ่มความพึงพอใจและความไว้วางใจให้กับลูกค้าในการจัดส่งสินค้า โดยสินค้าส่งถึงที่หมายตามเวลา และตรวจสอบได้แบบ Real Time

5.สามารถดูภาพรวมการกระจายสินค้าทั่วประเทศในจุดเดียว (TRANSPORTATION CENTER ROOM)

6.ใช้เป็นข้อมูลในการประเมินประสิทธิภาพของผู้รับเหมา

ระบบการจัดการคลังสินค้า Warehouse Management System

WMS คือ ระบบที่ใช้บริหารจัดการคลังสินค้า โดยจะมีกระบวนการจัดการตั้งแต่สินค้าเข้าคลังจนออกจากคลัง ซึ่งกระบวนการหลักคือ การรับสินค้า การจัดเก็บสินค้า และการเบิกสินค้า

การรับสินค้า เป็นกระบวนการแรกที่เกิดขึ้นในคลัง ซึ่งเมื่อสินค้าถูกนำนำส่งมาที่คลัง เจ้าหน้าที่คลังจะทำการบันทึกรายละเอียดของสินค้าซึงสามารถทำได้โดย Manual คือการคีรย์ข้อมูลเข้าระบบ หรือ จะใช้การ Interface ข้อมูลเพื่อใช้เป็นค่าตั้งต้นก็ได้ ซึ่งการInterfaceนี้ จะประหยัดเวลา ในการคีรย์ข้อมูลเข้า ซื่งค่าตั้งต้นนี้อาจจะมีการนำข้อมูลมาจาก PO จากโปรแกรมบัญชี หรือ ข้อมูลอื่นๆเช่น ASN Advance Ship Notice หรือจะนำเข้ามาจาก EDI ก็ได้

การจัดเก็บสินค้า เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการรับ ทางเจ้าหน้าที่คลังสินค้าสามารถใช้ WMS เพื่อค้นหาตำแหน่งจัดเก็บที่เหมาะสม ซึ่งระบบจะช่วยคิดให้ว่า ตรงไหนมีที่ว่าง และตรงไหนที่ควรจะเก็บสินค้า ซึ่ง WMS จะช่วยให้การให้เก็บสินค้าถูกต้อง และสามารถคำณวนพื้นที่ในคลังได้

การเบิกสินค้า เป็นกระบวนการนำสินค้าออก โดยระบบ WMS จะมีเงื่อนไขที่ช่วยค้นหาสินค้าได้รวดเร็วและถูกต้องมากขึ้น เช่นสินค้าบางประเภท ต้องการ Lot ที่ถูกต้อง

ระบบบริหารคลังสินค้า (WMS) ช่วยแก้ปัญหาการหาได้อย่างไร

1. กระบวนการรับสินค้า (Receiving) :

ระบบ WMS สามารถ Reserve พื้นที่ หรือจองพื้นที่ให้ล่วงหน้าเพื่อช่วยในการวางแผนการใช้พื้นที่ในคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะคลังสินค้าบางที่ไม่มีระบบที่ดี เมื่อรับสินค้าเข้าคลังก็เอาไปตามใจชอบ สุดท้ายก็จำไม่ได้ว่านำไปเก็บไว้ที่ไหน

2. กระบวนการจัดเก็บ (Put Away) :

ระบบ WMS สามารถ แนะนำตำแหน่งที่เหมาะสมในการจัดเก็บ และมีการยืนยันตำแหน่งการจัดเก็บที่ถูกต้อง

Manual : โดยผู้ตรวจเซ็นอนุมัติ หลังจากตรวจสอบว่าจัดเก็บในตำแหน่งนั้นจริง

Barcode Scanner : โดยการยิง Barcode Scanner ในตำแหน่งที่จัดเก็บจริง ซึ่งตรงนี้จะช่วยในการ Confirm ตำแหน่งจัดเก็บอย่างถูกต้องซึ่งจะช่วยลดปัญหาการหาของไม่เจอได้

3. กระบวนการเบิก (Picking) :

ระบบ WMS จะมีระบบ Search เพื่อช่วยในการค้นหาได้อย่างง่ายดายแค่กรอกเงื่อนไข ระบบก็สามารถค้นหาสินค้าให้เอง ไม่ว่าจะเป็นการเบิกแบบ FIFO, LIFO ,FEFO หรือสามารถ กำหนดเองได้

คลังสินค้าจำเป็นต้องใช้ WMS หรือไม่

“คลังสินค้าทุกคลังไม่จำเป็นต้องใช้ WMS” แต่ สิ่งที่แน่นอนคือว่า หากคลังสินค้าใดนำ WMS ไปใช้จะต้องได้รับประโยชน์จากการใช้ซอฟแวร์อย่างแน่นอนเช่น การลดจำนวนของสินค้าคงคลัง การลดปริมาณการใช้คนงาน การเพิ่มการใช้ประโยชน์พื้นที่การจัดเก็บอย่างเต็มที เพิ่มความรวดเร็วในการให้บริการลูกค้า และสุดท้ายคือการเพิ่มความถูกต้องให้กับระบบสินค้าคงคลัง

ประโยชน์ที่ได้รับจาก WMS

•เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความรวดเร็วและลดความผิดพลาด

•มีความถูกต้องแม่นยำในการจัดการกับระบบคลังสินค้า

• ลดระยะเวลาในการทำงานในการจัดสรรค์พื้นที่

• สามารถใช้พื้นที่ได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด

• ลดปัญหาสินค้าค้างสต็อก

• ควบคุมกระบวนการทำงานต่างๆ

• การปฎิบัติงานประจำวัน (Daily Operation)

• การตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูล (Inventory Control and Analysis)

• งานบัญชีและการเงิน (สำหรับ 3pl)


EDI (Electronic Data Interchange)

EDI (Electronic Data Interchange) คือ การแลกเปลี่ยนเอกสารทางธุรกิจระหว่างบริษัทคู่ค้าในรูปแบบมาตรฐานสากลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง โดยระบบ EDI จะมีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 2 อย่างคือ การใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์แทนเอกสารที่เป็นกระดาษ และเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ต้องอยู่ในรูปแบบมาตรฐานสากล ด้วยสององค์ประกอบนี้ทำให้ทุกธุรกิจสามารถแลกเปลี่ยนเอกสารกันได้ทั่วโลก EDI ยังเหมาะกับธุรกิจที่ต้องค้าขายระหว่างประเทศ ธุรกิจการขนส่งสินค้านำเข้าส่งออกชิปปิ้งต่างๆเป็นต้น

ข้อดีของ EDI

  • ลดความผิดพลาดของเอกสารข้อมูลต่างๆ เพิ่มความรวดเร็วและความถูกต้องในการรับส่งเอกสาร

  • ลดงานซ้ำซ้อน และลดขั้นตอนในการจัดการรับส่งเอกสาร

  • ลดค่าใช้จ่ายต่างๆจากการเตรียมเอกสารและขนส่งเอกสารรวมถึงการเก็บรักษาเอกสาร

  • สามารถค้นหาสืบค้นข้อมูลเอกสารต่างๆย้อนหลังได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว

Paperless

เป็นระบบที่กรมศุลกากรได้นำมาใช้ในการดำเนินการพิธีการศุลกากรทั้งขาเข้าและขาออกเพื่อให้ขั้นตอนในการดำเนินการมีความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยระบบ Paperless จะใช้ในการจัดทำและส่งใบขนผ่านพิธีการ รวมถึงขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูลโดยกรมศุลกากรได้นำข้อมูลจากทางผู้นำเข้าและตัวแทนผู้นำเข้าไปตรวจสอบกับทาง Freightforwarder หรือ เอเย่นต์ อีกครั้ง ก่อนที่จะอนุญาตให้ดำเนินการในขั้นตอนต่อไปได้ นอกจากนั้นระบบ Paperless ยังสามารถใช้ส่งข้อมูลใบเคลื่อนย้ายสินค้า (Goods Control List), ส่งข้อมูลรายงานเรือเข้า (E-Manifest) และส่งข้อมูลชำระภาษีขาเข้า (E-Payment) ได้อีกด้วย

ข้อดีของระบบ Paperless

  • ลดการสิ้นเปลืองทรัพยากรจากการใช้เอกสารจำนวนมากในการเดินพิธีการศุลกากร

  • ลดเวลาในการดำเนินการลงได้มาก รวมถึงสามารถลงลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์รับรองใบขนได้เลยผ่านระบบออนไลน์

  • เป็นระบบที่รวมข้อมูลการขนส่งจากหลายฝ่ายมาตรวจสอบและจัดเก็บข้อมูลไว้อย่างเป็นระเบียบก่อนที่จะประยุกต์ใช้และพัฒนาเพิ่มเติมต่อไปในอนาคต

  • มีการเข้ารหัสข้อมูลที่ส่งทำให้ข้อมูลมีความปลอดภัยมากขึ้น


ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning)

ERP ย่อมาจาก Enterprise Resource Planning หมายถึง การวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กรโดยรวม เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุดของทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร

ERP จึงเป็นเครื่องมือที่นำมาใช้ในการบริหารธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในองค์กร อีกทั้งยังช่วยให้สามารถวางแผนการลงทุนและบริหารทรัพยากรขององค์กรโดยรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ERP จะช่วยทำให้การเชื่อมโยงทางแนวนอนระหว่างการจัดซื้อจัดจ้าง การผลิต และการขายทำได้อย่างราบรื่น ผ่านข้ามกำแพงระหว่างแผนก และทำให้สามารถบริหารองค์รวมเพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด

ระบบ ERP เป็นระบบสารสนเทศขององค์กรที่นำแนวคิดและวิธีการบริหารของ ERP มาทำให้เกิดเป็นระบบเชิงปฏิบัติในองค์กร ระบบ ERP สามารถบูรณาการ (integrate)รวมงานหลัก (core business process) ต่างๆ ในบริษัททั้งหมด ได้แก่ การจัดจ้าง การผลิต การขาย การบัญชี และการบริหารบุคคล เข้าด้วยกันเป็นระบบที่สัมพันธ์กันและสามารถเชื่อมโยงกันอย่าง real time

ลักษณะสำคัญของระบบ ERP คือ

1. การบูรณาการระบบงานต่างๆ ของระบบ ERP

จุดเด่นของ ERP คือ การบูรณาการระบบงานต่างๆ เข้าด้วยกัน ตั้งแต่การจัดซื้อ จัดจ้าง การผลิต การขาย บัญชีการเงิน และการบริหารบุคคล ซึ่งแต่ละส่วนงานจะมีความเชื่อมโยงในด้าน การไหลของวัตถุดิบสินค้า (material flow) และการไหลของข้อมูล (information flow) ERP ทำหน้าที่เป็นระบบการจัดการข้อมูล ซึ่งจะทำให้การบริหารจัดการงานในกิจกรรมต่างๆ ที่เชื่อมโยงกันให้ผลลัพธ์ออกมาดีที่สุด พร้อมกับสามารถรับรู้สถานการณ์และปัญหาของงานต่างๆ ได้ทันที ทำให้สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาองค์กรได้อย่างรวดเร็ว

2. รวมระบบงานแบบ real time ของระบบ ERP

การรวมระบบงานต่างๆ ของระบบ ERP จะเกิดขึ้นในเวลาจริง(real time) อย่างทันที เมื่อมีการใช้ระบบ ERP ช่วยให้สามารถทำการปิดบัญชีได้ทุกวัน เป็นรายวัน คำนวณ ต้นทุนและกำไรขาดทุนของบริษัทเป็นรายวัน

3. ระบบ ERP มีฐานข้อมูล(database) แบบสมุดลงบัญชี

การที่ระบบ ERP สามารถรวมระบบงานต่าง ๆ เข้าเป็นระบบงานเดียว แบบ Real time ได้นั้น ก็เนื่องมาจากระบบ ERP มี database แบบสมุดลงบัญชี ซึ่งมีจุดเด่น คือ คุณสมบัติของการเป็น 1 Fact 1 Place ซึ่งต่างจากระบบแบบเดิมที่มีลักษณะ 1 Fact Several Places ทำให้ระบบซ้ำซ้อน ขาดประสิทธิภาพ เกิดความผิดพลาดและขัดแย้งของข้อมูลได้ง่าย


ระบบMRP (Material Requirement Planning)

MRP – (Material Requirement Planning) หมายถึง การใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการควบคุมวัสดุและการวางแผนการผลิต ระบบวางแผนความต้องการวัสดุจะพิจารณาความต้องการวัสดุจนถึงระดับผลิตภัณฑ์ โดยคำนวณความต้องการส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ในแต่ละช่วงเวลา เพื่อจัดการสั่งผลิตหรือสั่งซื้อส่วนประกอบนั้นๆ นอกจากนี้ ระบบวางแผนความต้องการวัสดุยังทำหน้าที่เป็นกลไกในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง

ตารางการผลิตเมื่อมีการทบทวนแผนงาน และเป็นระบบที่ใช้ในงานบริหารการผลิตในธุรกิจประเภทอุตสาหกรรมการผลิต เป็นระบบที่ช่วยในการวางแผนเกี่ยวกับความต้องการใช้วัตถุดิบว่าใช้ในช่วงใดบ้าง ปริมาณเท่าใด นำไปใช้ในเงื่อนไขอะไร (ผลิต, ขาย) เพื่อให้ปริมาณสินค้าคงคลังอยู่ในระดับที่เหมาะสม (ไม่สูงหรือต่ำเกินไป) รวมไปถึงการจัดการเรื่อง เงินทุน แรงงาน และเครื่องจักร และ การจัดการวางแผน และ ควบคุมการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

หลักการทำงานต้องการผลิตสินค้าให้ทันเวลาและเพียงพอกับความต้องการของลูกค้า โดยควบคุมให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อผลตอบแทนที่ดีที่สุด การทำงานของระบบ โดยเริ่มจากปริมาณสินค้าทั้งหมดที่ต้องการ โดยคำนวณจากจำนวนยอดขายทั้งหมดที่ลูกค้าสั่งซื้อเข้ามา จำนวนยอดสินค้าที่ค้างส่ง และ ปริมาณการใช้สินค้าในกรณีอื่นๆ เมื่อได้ยอดสินค้าทั้งหมดแล้ว จากนั้นก็จะต้องตรวจสอบกับสินค้าในคลังสินค้าสำเร็จรูปพร้อมขาย ว่ามีจำนวนเพียงพอหรือไม่ ถ้ามีเพียงพอ ก็จะจัดเตรียมสินค้า และ จัดส่งสินค้าให้ลูกค้า

แต่ถ้าหากสินค้ามีไม่พอที่จะส่งให้ลูกค้า ก็จะต้องทำการวางแผนการผลิตสินค้า ตามจำนวนที่ยังขาดอยู่ โดยการวางแผนเกี่ยวกับความต้องการวัตถุดิบ ว่าจะต้องใช้วัตถุดิบอะไรบ้าง จำนวนเท่าไร และต้องใช้เวลาใดบ้าง ใช้เครื่องจักรไหนบ้าง ใช้พนักงานเท่าไหร่ โดยคำนวณจากรายการวัตถุดิบ (Bill of Material) ซึ่งได้กำหนดว่าสินค้าสำเร็จรูปแต่ละชนิดประกอบด้วยวัตถุดิบอะไรบ้าง และ รายการใช้วัตถุดิบในกรณีอื่นๆ เมื่อได้วัตถุดิบทั้งหมดแล้ว ก็จะต้องมาตรวจสอบวัตถุดิบ ว่ามีเพียงพอหรือไม่

โดยตรวจสอบจาก ยอดคงเหลือของวัตถุดิบคงคลัง และ รายการวัตถุดิบที่ค้างรับจากการสั่งซื้อ (อยู่ในระหว่างการจัดส่งจากผู้จำหน่าย) ถ้าวัตถุดิบเพียงพอ ก็เบิกวัตถุดิบไปผลิตสินค้า ตามแผนการผลิต ขบวนการผลิต และ การควบคุมการผลิต เมื่อผลิตเสร็จก็จัดส่งสินค้าให้กับลูกค้า ระบบก็เชื่อมต่อไปยังการบริหารข้อมูลทางด้านต้นทุน บัญชี และการเงิน เป็นระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการจัดทำแผนความต้องการวัสดุ

MBAlogistic5sec2ru

โดยมีองค์ประกอบของข้อมูลนำเข้าที่สำคัญ 3 รายการ คือ ตารางการผลิตหลัก แฟ้มข้อมูลบัญชีรายการวัสดุ (Bill of material File) และ แฟ้มข้อมูลสถานะคงคลัง (Inventory status file) แผนจากระบบ MRP จะให้สารสนเทศในการตัดสินใจเกี่ยวกับ ช่วงเวลาที่ควรออกใบสั่ง และ จำนวนการสั่งที่เหมาะสม