เรียนรู้กับครูลภน

ห้องเรียนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โรงเรียนท่าลาด สพป.นครราชสีมา เขต ๗

ห้องเรียนครูลภน ลุนไธสง

ชีวิตในโลกยุคใหม่เป็นชีวิตที่นักเรียนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างสะดวกสบาย และรวดเร็วในระดับเสี้ยววินาที ส่งผลให้ห้องเรียนแบบเดิมอาจจะทำให้นักเรียนไม่ได้รับการพัฒนาทักษะต่างๆ ที่มีได้อย่างเต็มตามศักยภาพ ห้องเรียนนี้มีไว้เพื่อให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ เพื่อให้สอดรับกับการเรียนรู้ในยุค Digital Technology

เนื้อหาสาระวิชาที่นักเรียนจะได้เรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ นี้ ตรงตามหลักสูตรสถานศึกษากำหนด นักเรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาและทำความเข้าใจ พร้อมทั้งการทำแบบทดสอบ การลงมือทำแบบฝึกหัดที่คุณครูจัดเตรียมไว้ให้ได้


เมื่อทักษะในโลกเก่า ไม่เก๋าพออีกต่อไป!”

โลกใหม่หมุนเร็ว แต่เราตามทันได้ ถ้าเราหมุนเร็วกว่า!

"การเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด ขอให้เด็ก ๆ ตั้งใจเรียนรู้ ทุกลมหายใจ ทุกก้าวเดิน คือบทเรียนที่ดีที่สุดในชีวิต"

นายลภน ลุนไธสง ครู โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๘๒ (โคกตองเจริญ)

สังกัดกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปฏิบัติหน้าที่ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียน กลุ่มงานวิชาการ

ปีการศึกษา 2564 ปฏิบัติหน้าที่ 1. สอนรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.3-6

2. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แนะแนว ม.1-3


นักเรียนสามารถเข้าเรียนรู้เนื้อหาสาระที่นักเรียนสนใจได้เลยครับ

ขอขอบคุณเจ้าของคลิปทุกท่านที่ผลิตสื่อดีๆ มาให้เด็กๆได้ศึกษากันนะครับ

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 รหัสวิชา ว13101 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปัจจัยในการดำรงชีวิตของมนุษย์

ชีวิตของมนุษย์และสัตว์

มนุษย์และสัตว์ต้องการอาหาร น้ำและอากาศเพื่อการดำรงชีวิตและการเจริญเติบโต อาหารช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและเจริญเติบโต น้ำช่วยให้ร่างกายทำงานได้อย่างปกติ อากาศใช้ในการหายใจ

ปัจจัยในการดำรงชีวิตของสัตว์

ชีวิตของมนุษย์และสัตว์

มนุษย์และสัตว์ต้องการอาหาร น้ำและอากาศเพื่อการดำรงชีวิตและการเจริญเติบโต อาหารช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและเจริญเติบโต น้ำช่วยให้ร่างกายทำงานได้อย่างปกติ อากาศใช้ในการหายใจ

วัฏจักรของสัตว์

ชีวิตของมนุษย์และสัตว์

สัตว์เมื่อเป็นสิ่งมีชีวิตที่เจริญเติบโตเพื่อสืบพันธ์มีลูกหลานเพื่อดำรงเผ่าพันธ์ุให้คงอยู่ต่อไปได้ในช่วงของการเจริญเติบโตสัตว์ทุกชนิดมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างบางชนิดเปลี่ยนแปลงมาก บางชนิดเปลี่ยนแปลงน้อย การเปลี่ยนแปลงนี้เรียกว่า วัฏจักรชีวิตของสัตว์

วัฏจักรชีวิตของสัตว์

ชีวิตของมนุษย์และสัตว์

สัตว์เมื่อเป็นตัวเต็มวัยจะสืบพันธุ์มีลูก เมื่อลูกเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยก็สืบพันธุ์มีลูกต่อไปได้อีกหมุนเวียนต่อเนื่องเป็นวัฏจักรชีวิตของสัตว์ซึ่งสัตว์แต่ละชนิด เช่น ผีเสื้อ กบ ไก่ มนุษย์จะมีวัฏจักรชีวิตที่เฉพาะและแตกต่างกัน

วงจรชีวิต4ขั้น

การเจริญเติบโตของผีเสื้อแตกต่างจากบรรดาแมลงชนิดอื่นทั้งหลาย โดยปรากฏเป็นจตุวัฏจักร ดังนี้ คือ 1. ระยะไข่ 2. ระยะบุ้ง 3. ระยะดักแด้ และ 4. ระยะเจริญวัย

วงจรชีวิต3ขั้น

การเจริญเติบโตของแลงปอมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบไม่ครบชั้น มีการเปลี่ยนแลงรูปร่างเพียง 3 ขั้น 1.ระยะไข่ 2.ระยะตัวอ่อนในน้ำ และ 3. ระยะตัวเต็มวัย

วงจรชีวิต3ขั้น

การเจริญเติบโตของปลวกมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบไม่ครบชั้น มีการเปลี่ยนแลงรูปร่างทีละน้อยไม่ครบขั้น มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเพียง 3 ขั้น 1.ระยะไข่ 2.ระยะตัวอ่อน และ 3. ระยะตัวเต็มวัย

วงจรชีวิตชีวิตของไก่

วัฏจักสัตว์ออกลูกเป็นไข่ แบบ 3 ระยะ ที่รูปร่างตัวอ่อนมีรูปร่างลักษณะคล้ายพ่อแม่

วัสดุในชีวิตประจำวัน

การทำให้วัสดุเปลี่ยนแปลง

แรงและการเเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุ

วัตถุต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเราสามารถเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ได้เมื่อมีแรงมากระทำต่อวัตถุเหล่านั้น เช่นการออกเรงเตะลุกฟุตบอล จะทำให้ลูกฟุตบอลเคลื่อนที่ไปในทิสทางเดียวกับแรงที่มากระทำต่อลูกฟุตบอล

การเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุ

มหัศจรรย์แรงแม่เหล็ก

ใบความรู้วิทยาศาสตร์ ป.1-3 แบบฝึกทักษะการเรียนรู้ แบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

แบบทดสอบออนไลน์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ผลการเรียนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1/2564 ภาคเรียนที่ 2/2564

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 รหัสวิชา ว14101 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต

ใบความรู้วิทยาศาสตร์ ป.4

ชุดที่ 1 การจำแนกสิ่งมีชีวิต

สิ่งมีชีวิตรอบตัวเรามีหลายชนิด ซึ่งสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีลักษณะสำคัญบางอย่างเหมือนกัน และมีลักษณะสำคัญบางอย่างแตกต่างกันไป โดยเราสามารถใช้ความเหมือนและความแตกต่างของลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต มาจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิตออกจากกันได้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มพืช กลุ่มสัตว์ และกลุ่มที่ไม่ใช่พืชและสัตว์

แบบฝึกทักษะการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ป.4

ชุดที่ 1 การจำแนกสิ่งมีชีวิต

ประกอบด้วยใบงาน เรื่องการจำแนกสิ่งมีชีวิต ลักษณะของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายของพืช พืชดอก ความหลากหลายของสัตว์ สัตว์มีกระดูกสันหลัง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

นักวิทยาศาสตร์จัดกลุ่มสิ่งมีชีวิตออกเป้น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มพืช กลุ่มสัตว์ และกลุ่มที่ไม่ใช่พืชและสัตว์ แต่ละกลุ่มสามารถจำแนกเป็นกลุ่มย่อยได้หลายกลุ่ม

การจำแนกพืช

การจำแนกสัตว์

เกมทายประเภทสัตว์

ใบความรู้วิทยาศาสตร์ ป.4

ชุดที่ 2 เรื่องส่วนต่าง ๆ ของพืช

พืชดอกมีส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งส่วนต่าง ๆ เหล่านี้จะทำหน้าที่ต่างกันไป

รากเป็นโครงสร้างของพืชที่อยู่ใต้ดินและแผ่ขยายออกไป เพื่อยึดลำต้นให้ตั้งอยู่บนดิน มีหน้าที่ดูดน้ำและแร่ธาตุจากดินขึ้นไปสู่ส่วนต่างๆ ของพืชโดยผ่านทางลำต้น ส่วนลำต้นมีหน้าที่ลำเลียงน้ำ แร่ธาตุ และอาหาร ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของพืช เพื่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุจากดิน และลำเลียงอาหารจากใบพืช ใบเทำหน้าที่สร้างอาหารคือน้ำตาลจะเกิดขึ้นเมื่อมีแสง โดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง และหายใจเอาคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนแก๊สเช่นเดียวกับคนและสัตว์ ใบของพืชทำหน้าที่คายน้ำและปล่อยออกซิเจนออกมาสู่อากาศซึ่งการคายน้ำมีประโยชน์ต่อพืช เพราะช่วยทำให้เกิดการลำเลียงน้ำและแร่ธาตุอย่างต่อเนื่อง

แบบฝึกทักษะการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ป.4

ชุดที่ 2 เรื่องส่วนต่าง ๆ ของพืช

ประกอบด้วยใบงาน เรื่อง โครงสร้างของพืช รากพืช ลำต้นพืช ใบพืช กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช และดอกพืช

ส่วนประกอบของพืช

รากพืช

ลำต้นพืช

ใบพืช1

ใบพืช2

ดอกพืช

พืชดอก หมายถึง พืชที่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะมีดอกให้เห็น พืชดอกจัดเป็นพืชชั้นสูงที่มีอวัยวะต่างๆ ครบสมบูรณ์ คือ ราก ลำต้น ใบ ตา ดอกและ เมล็ด มีไว้เพื่อสำหรับขยายพันธุ์ พืชดอกมีอยู่ทั่วไปหลายชนิด มีทั้งที่อยู่บนบกและอยู่ในน้ำ ดอกของพืชก็จะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป

ใบความรู้วิทยาศาสตร์ ป.4

ชุดที่ 3 เรื่องแรงโน้มถ่วงของโลกและตัวกลางแสง

แรงโน้มถ่วงของโลก เป็นแรงดึงดูดที่โลกกระทำต่อมวลของวัตถุทุกชนิดที่อยู่บนโลกและที่อยู่ใกล้โลก ซึ่งเป็นแรงไม่สัมผัส และมีทิศทางเข้าสู่จุดศูนย์กลางของโลก ทำให้วัตถุมีน้ำหนักและตกลงสู่พื้นโลกเสมอ ซึ่งเราสามารถ วัดน้ำหนักของวัตถุได้โดยใช้เครื่องชั่งสปริง

มวลของวัตถุ คือ ปริมาณเนื้อของสารทั้งหมดที่ประกอบกันเป็น

วัตถุ ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุ วัตถุที่มีมวลมากจะเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่หรือเคลื่อนย้ายได้ยากกว่าวัตถุที่มีมวลน้อย

เมื่อมองสิ่งต่าง ๆ โดยมีวัตถุต่างชนิดกันมากั้นแสง จะทำให้มอง

เห็นสิ่งนั้น ๆ ชัดเจนแตกต่างกันไป จึงจำแนกวัตถุที่กั้นแสงได้เป็นตัวกลางโปร่งใส ตัวกลางโปร่งแสง และวัตถุทึบแสง เรียกว่า ตัวกลางแสง


แบบฝึกทักษะการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ป.4

ชุดที่ 3 เรื่องแรงโน้มถ่วงของโลกและตัวกลางแสง

ประกอบด้วยใบงาน เรื่อง แรงโน้มถ่วงของโลก มวลที่มีผลต่อการเคลื่อนที่ของวัตถุ แหล่งกำเนิดแสสง และตัวกลางแสง

แรงโน้มถ่วงของโลก

การเคลื่อนที่ของวัตถุ

แหล่งกำเนิดแสง

ตัวกลางแสง

ใบความรู้วิทยาศาสตร์ ป.4

ชุดที่ 4 วัสดุและสสารในชีวิตประจำวัน

วัสดุมีหลายชนิดสามารถแบ่งออกเป็น โลหะ เซรามิก และพอลิเมอร์ ซึ่งแต่ละชนิดอาจมีสมบัติเหมือนกันหรือแตกต่างกัน

ความแข็งของวัสดุ คือ ความทนทานของวัสดุต่อการขีด

สภาพยืดหยุ่น คือ ลักษณะของวัสดุที่เมื่อถูกแรงมากระทำแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปและสามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมได้เมื่อหยุดแรงกระทำต่อวัสดุนั้น

การนำความร้อนของวัสดุ คือ การถ่ายโอนความร้อนผ่านของแข็งจากบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงไปยังบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำ

การนำไฟฟ้าของวัสดุ คือ สมบัติของวัสดุที่พลังงานไฟฟ้าสามารถถ่ายโอนผ่านวัสดุชนิดนั้นได้

สสารในชีวิตประจำวันมีมากมายหลายชนิด แต่ละชนิดมีสถานะที่แตกต่างกัน สสารบางชนิดอยู่ ในสถานะของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส

แบบฝึกทักษะการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ป.4

ชุดที่ 4 วัสดุและสสารในชีวิตประจำวัน

ประกอบด้วยใบงาน เรื่องสมบัติวัสดุ ประเภทวัสดุ สมบัติทางกายภาพของวัสดุ การใช้ประโยชน์จากวัสดุ สสารและสถานะของสาร เครื่องมือที่ใช้ในการวัดมวลและปริมาตรของสาร

สมบัติของวัสดุตอนที่1

สมบัติของวัสดุตอนที่2

หมวดของสสาร

เครื่องมือวัดมวลและปริมาตร

ใบความรู้วิทยาศาสตร์ ป.4

ชุดที่ 5 ดวงจันทร์และระบบสุริยะ

สิ่งมีชีวิตรอบตัวเรามีหลายชนิด ซึ่งสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีลักษณะสำคัญบางอย่างเหมือนกัน และมีลักษณะสำคัญบางอย่างแตกต่างกันไป โดยเราสามารถใช้ความเหมือนและความแตกต่างของลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต มาจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิตออกจากกันได้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มพืช กลุ่มสัตว์ และกลุ่มที่ไม่ใช่พืชและสัตว์

แบบฝึกทักษะการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ป.4

ชุดที่ 5 ดวงจันทร์และระบบสุริยะ

ประกอบด้วยใบงาน การจำแนกสิ่งมีชีวิต ลักษณะของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายของพืช พืชดอก ความหลากหลายของสัตว์ สัตว์มีกระดูกสันหลัง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

ดวงจันทร์

การเปลี่ยนรูปร่างดวงจันทร์

ระบบสุริยะ

ดาวหาง อุกาบาต

แบบทดสอบออนไลน์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ผลการเรียนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1/2564 ภาคเรียนที่ 2/2564

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 รหัสวิชา ว15101 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆ กับสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่ เรียกว่า ระบบนิเวศ (ecosystem) การรวมกันขนาดใหญ่ของระบบนิเวศหลากหลายระบบเรียกว่า ชีวภาคหรือโลกของสิ่งมีชีวิต (biosphere) ระบบนิเวศแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ระบบนิเวศธรรมชาติและระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น ระบบนิเวศธรรมชาติ

การปรับตัวของสิ่งมีชีวิต (Adaptation) หมายถึง กลไกทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตที่ทำการปรับเปลี่ยนลักษณะโครงสร้างทางกายภาพ สรีรวิทยา รวมถึงพฤติกรรมบางประการ ให้เหมาะสมต่อสภาพแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาในระบบนิเวศ ทั้งเพื่อป้องกันตนเองจากภัยคุกคามหรือผู้ล่า การเลือกแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหาร รวมถึงปัจจัยในด้านต่าง ๆ อีกมากมายที่ส่งผลต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต

การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

ห่วงโซ่อาหาร

ห่วงโซ่อาหาร (Food chain) หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดพลังงานในรูปของอาหารเป็นลำดับขั้นจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปยังสิ่งมีชีวิตอีกหนึ่งโดยการกินกันเป็นทอดๆ ห่วงโซ่อาหาร คือการกินกันของสิ่งมีชีวิต ทำให้สารอาหารและพลังงานถ่ายทอดไปในหมู่สิ่งมีชีวิตและตกลงสู่สิ่งแวดล้อม

การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม

ลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต

การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต

การสืบพันธ์ของสัตว์

การสืบพันธ์แบบไม่อาศัยเพศของสัตว์

การสืบพันธ์ของพืชดอก

สารในชีวิตประจำวัน

สมบัติของสาร

การจำแนกสาร

การเปลี่ยนแปลงของสาร

แบบทดสอบออนไลน์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ผลการเรียนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1/2564 ภาคเรียนที่ 2/2564

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รหัสวิชา ว16101 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

อาหารและการย่อยอาหาร

อาหารหลัก 5 หมู่

อาหาร หมายถึง สิ่งที่เรารับประทานเข้าไปในร่างกายได้อย่างปลอดภัยและมีประโยชน์ต่อร่างกาย

สารอาหาร คือสารเคมีที่อยู่ในอาหารโดยร่างกายนำไปใช้ในกระบวนการต่าง ๆ เพื่อการเจริญเติบโต

การบริโภคอาหารอย่างมีสัดส่วน

การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนทุกวัย และความต้องการอาหารในแต่ละช่วงอายุมีความแตกต่างกัน

การตรวจสอบสารอาหาร

ระบบย่อยอาหาร

การดูแลรักษาระบบย่อยอาหาร

การแยกสารเนื้อผสม

การจำแนกสาร

การแยกสาร

แรงไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้า

แรงไฟ้า

การต่อวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย

ประโยชน์ของการต่อไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนาน

ตัวนำและฉนวนไฟฟ้า

เครื่องกำเนิดไฟฟ้า

เซลล์สุริยะ

แบบทดสอบออนไลน์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผลการเรียนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1/2564 ภาคเรียนที่ 2/2564

สะสมผลงานนักเรียน



สะสมผลงานคุณครู

ผลงานคุณครู

แผนการสอน ป.3

แผนการสอน ป.4

แผนการสอน ป.5

แผนการสอน ป.6

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามข้อตกลงพัฒนางาน ปีงบประมาณ 2565 ส่วนที่ 2 ประเด็นท้าทาย

วิดิโอประเด็นท้าทาย

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

แผนการจัดการเรียนรู้

สื่อ นวัตกรรม และแหล่งเรียนรู้