โกงกางใบใหญ่

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhizophora mucronata Poir.

ชื่อวงศ์ : RHIZOPHORACEAE

ชื่ออื่น : กงกอน (ชุมพร), กงกางนอก (เพชรบุรี), กงเกง (นครปฐม), พังกางใบใหญ่ (ภาคใต้)

ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ต้นขนาดกลาง – ขนาดใหญ่ สูง 30 - 40 เมตร เปลือกหยาบ เปลือกสีเทาคล้ำถึงดำ แตกเป็นร่องตื้นๆตามยาวและตามขวาง หรือแตกเป็นร่องตารางสี่เหลี่ยม หากทุบเปลือกทิ้งไว้สักครู่ ด้านในสีของเหลืองจะเป็นสีเหลืองถึงส้ม รอบๆ โคนต้น มีรากค้ำจุนทำหน้าที่พยุงลำต้น บางครั้งพบว่ามีรากอากาศที่ออกจากกิ่งอยู่บ้าง แต่ไม่มากนัก

ใบ : เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับทิศทางกัน แผ่นใบอวบใหญ่ รูปรีกว้างหรือรูปรี ขนาด 5 - 13 X 8 - 24 เซนติเมตร ปลายใบแหลม มีติ่งแหลมเล็กและแข็ง ฐานใบสอบเข้าหากันรูปลิ่ม ก้านใบสีเขียว ยาว ก้านใบยาว 2.5 - 6 เซนติเมตร หูใบ ที่ปลายยอด สีเขียวอมเหลือง ยาว 5-9 เซนติเมตร ใบเกลี้ยง ใบด้านบนสีเขียวอ่อน ท้องใบสีออกเหลือง มีจุดสีดำเล็กๆ กระจายอยู่เต็มท้องใบ

ดอก : ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ก้านช่อดอกยาว 3 - 7 เซนติเมตร ก้านดอกยอดยาว 0.4-1 เซนติเมตร ช่อหนึ่งๆ มี 2-12 ช่อดอก กลีบเลี้ยงสีเหลืองอ่อน 4 กลีบ รูปไข่ แต่ละกลีบมีขนาด 0.5-0.8 x 1.2-1.5 เซนติเมตร กลีบดอก 4 กลีบ ร่วงง่ายสีขาว รูปใบหงอก ยาว 0.6-1 เซนติเมตร มีขนปกคลุมตามขอบ ดอกดอกเดือนกันยายน-ตุลาคม

ราก : แบบค้ำจุนขนาดใหญ่ โดยจะงอกจากลำต้นออกเป็นจำนวนมาก ดูไม่เป็นระเบียบเพราะแตกแขนงระเกะระกะ และมีลักษณะเป็นทรงเรือนยอดรูปกรวยคว่ำแบบแคบๆ

ผล : รูปไข่ ยาวแคบลงทางส่วนปลาย ผลขนาด 2-3.5 x 3.8 เซนติเมตร สีน้ำตาล-เขียว ผิวผลหยาบ งอบตั้งแต่ผลยังติดอยู่บนต้น ลำต้นใต้ใบเลี้ยง หรือ “ฝัก” สีเขียว มีตุ่มทั่วทั้งฝัก ขนาด 1.4-1.9 x 30-80 เซนติเมตร ฝักตรง โคนแหลม ใบเลี้ยงที่ยื่นออกมายาว 24 เซนติเมตร สีเขียว ฝักแก่เดือนมีนาคม-สิงหาคม

นิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์ : จังหวัดสมุทรสาครพบโกงกางใบใหญ่บริเวณริมชายฝั่งทะเลที่มีน้ำเค็มท่วมถึงเป็นระยะเวลานาน บริเวณดินเลนปนทราย และมักขึ้นอยู่ในบริเวณที่ชิดติดกับแม่น้ำหรือลำคลอง

สรรพคุณทางสมุนไพร : ใบ : ชงน้ำดื่มแก้ไข้ ใบอ่อนบดหรือเคี้ยวให้ละเอียด พอกแผลสด ห้ามเลือดและป้องกันเชื้อโรค

เปลือก : ต้มกับน้ำดื่ม ห้ามโลหิต แก้อาเจียนเป็นโลหิต สมานแผล แก้ท้องร่วง แก้บิด แก้คลื่นเหียนอาเจียน แก้บิดเรื้อรัง บำบัดเบาหวาน แก้แผลฟกช้ำ บวม น้ำเหลืองเสีย หรือต้าพอกห้ามเลือด
และบาดแผลสด หรือ เผาใส่แผลสด

รากอ่อน : กินเป็นยาบ้ารุงก้าลัง ผลอ่อน เคี้ยวพ่นใส่แผล แก้พิษปลาดุกทะเล ปลากระเบนทะเล

ประโยชน์อื่นๆ : เปลือกล้าต้นไม้โกงกางเป็นแหล่งผลิตแทนนินที่สำคัญ ใช้ในการฟอกหนัง ฟอกย้อมและเพิ่มความแข็งแรงของ เชือกและแห อวนในการทำประมง ใช้ในการผลิตกาวในอุตสาหกรรมแผ่นชิ้นไม้อัด ลำต้นใช้เผาทำถ่านเป็นไม้ เชื้อเพลิงคุณภาพดี ใช้ทำกับดักปลา ก่อสร้าง

ข้อมูลจาก : รายงานการวิจัย "การศึกษาความหลากหลายและการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรป่าชายเลน เพื่อส่งเสริมสุขภาพชุมชนจังหวัดสมุทรสาคร"
โดย นายกวินท์ พินจำรัส หัวหน้าโครงการและคณะ (วิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร สถาบันวิทยาลัยชุมชน)