ตำลึง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Coccinia grandis (L.) Voigt

ชื่อวงศ์ : Cucurbitaceae

ชื่ออื่น : ตำลึง, สี่บาท (ภาคกลาง), ผักแคบ (ภาคเหนือ), ผักตำนิน (ภาคอีสาน), แคเด๊าะ (แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทั่วไป : ตำลึงเป็นไม้เถาล้มลุก แยกเพศต่างกัน เกร็ดประดับยาว 2-3 เซนติเมตร โคนรูปหัวใจ ขอบจักฟันเลื่อย ปลายจักมีติ่ง แผ่นใบสากด้านล่าง โคนมีต่อมขนาดเล็ก ก้านใบยาว 1-2.5 เซนติเมตร

ใบ : ใบเรียงเวียน รูปไข่กว้าง หยักตื้นๆ หรือแฉกลึก 3-5 แฉก ยาว 5-10 เซนติเมตร โคนรูปหัวใจ ขอบจักฟันเลื่อย ปลายจักมีติ่ง แผ่นใบสากด้านล่าง โคนมีต่อมขนาดเล็ก ก้านใบยาว 1-2.5 เซนติเมตร

ดอก : ออกดอกเดี่ยวๆ หรือออกเป็นแบบช่อกระจกสั้นๆ มี 2-3 ดอก ก้านดอกยาว 2-5 เซนติเมตร ฐานดอกรูปถ้วย ยาว 6-8 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปลิ่มแคบ ยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร ดอก
รูประฆังกว้าง สีขาว ยาว 1.5-3 เซนติเมตร มีขนสั้นนุ่ม ปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปสามเหลี่ยม เกสรเพศผู้ 3 อัน ติดบนปากฐานดอก อับเรณูชิดกันเป็นก้อน เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 มิลลิเมตร
เป็นหมันในดอกเพศเมีย จานฐานดอกรูปถ้วย รังไข่ใต้วงกลีบ ก้านเกสรเพศเมียยาว 3-5 มิลลิเมตร ยอดเกสรแยก 3 แฉก ยาว 5-7 มิลลิเมตร ปลายจัก 2 พู

ผล : ผลสดมีหลายเมล็ด รูปขอบขนาน ยาว 2.5-6 เซนติเมตร เมื่อสุกสีแดงสด เมล็ดรูปแบน ยาว 6-7 มิลลิเมตร

นิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์ : พบขึ้นกระจายทั่วไปในเอเชียเขตร้อน ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร พบตามพื้นที่ป่ารกร้าง เปิดโล่งริมถนน ริมคันนากุ้ง นาเกลือ

สรรพคุณทางสมุนไพร : ราก : ต้มเป็นยาลดไข้

เมล็ด : ตำกับน้ำมันมะพร้าวใช้ทาแก้หิด

ข้อมูลจาก : รายงานการวิจัย "การศึกษาความหลากหลายและการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรป่าชายเลน เพื่อส่งเสริมสุขภาพชุมชนจังหวัดสมุทรสาคร"
โดย นายกวินท์ พินจำรัส หัวหน้าโครงการและคณะ (วิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร สถาบันวิทยาลัยชุมชน)