พันธกิจ เป้าหมาย ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย
แผนพัฒนาการสหกรณ์ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2566-2570)

พันธกิจ
1. เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการบริหารจัดการสหกรณ์ให้มีประสิทธิภาพสูง มีเสถียรภาพ และธรรมาภิบาล เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูง (High Performance Organization: HPO) และมีความยั่งยืน
2. เพื่อยกระดับขีดความสามารถเชิงธุรกิจสหกรณ์ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้สามารถบริการสมาชิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิกสหกรณ์และชุมชนให้มีความมั่นคงสามารถพึ่งพาตนเองได้ ตลอดจนมีรายได้เพิ่มขึ้นค่าใช้จ่ายลดลง 

เป้าหมาย
1. สหกรณ์มีความเข้มแข็งเพิ่มขึ้น
2. สหกรณ์เป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูงเพิ่มขึ้น
3. สหกรณ์นำเทคโนโลยี นวัตกรรมมาใช้ในการดำเนินงานและบริการสมาชิก

ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย
1. สหกรณ์มีความเข้มแข็งในระดับชั้น 1 และ 2 ในปี 2570
    - สหกรณ์ภาคการเกษตร ร้อยละ 50  โดยมีสหกรณ์ชั้น 1 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 18
   - สหกรณ์นอกภาคการเกษตร ร้อยละ 60  โดยมีสหกรณ์ชั้น 1 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 45
2. สหกรณ์ที่มีสมรรถนะสูง
    - สหกรณ์ภาคการเกษตร ไม่น้อยกว่าร้อยละ 15
    - สหกรณ์นอกภาคการเกษตร ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25
3. สหกรณ์ที่สามารถนำเทคโนโลยีนวัตกรรมให้บริการสมาชิก มีจำนวนอย่างน้อยร้อยละ 10 ต่อปี
4. สหกรณ์ที่นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ในปี 2570
5. ความพึงพอใจของสมาชิกต่อการให้บริการของสหกรณ์ทางด้านเศรษฐกิจและสังคมที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของสมาชิก มีสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ในปี 2570

 - แผนพัฒนาการสหกรณ์
ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2566 - 2570) -

⦿ ดาวน์โหลด ฉบับสมบูรณ์
⦿ ดาวน์โหลด ฉบับย่อ

 - แผนพัฒนาการสหกรณ์
ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2566 - 2570) -

⦿ ดาวน์โหลด ฉบับสมบูรณ์
⦿ ดาวน์โหลด ฉบับย่อ

- VTR -

⦿ สรุปสาระสำคัญแผนฯ คลิกที่นี่
⦿ คลิป VTR ชุดที่ 1: Road map ขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติร่วมกัน คลิกที่นี่
⦿ คลิป VTR ชุดที่ 2: ก้าวใหม่ของสหกรณ์ภาคการเกษตร ก้าวไปสู่อนาคตที่เข้มแข็งและพัฒนาอย่างยั่งยืน คลิกที่นี่
⦿ คลิป VTR ชุดที่ 3: ก้าวใหม่ของสหกรณ์นอกภาคการเกษตร ก้าวไปสู่เศรษฐกิจใหม่ที่เข้มแข็งและเป็นที่พึ่งให้กับเศรษฐกิจฐานราก คลิกที่นี่

 - E-Book -

⦿ คู่มือขับเคลื่อนแผนฯ คลิกที่นี่
⦿ คู่มือเกณฑ์การประเมินความเข้มแข็งสหกรณ์ คลิกที่นี่
⦿ คู่มือเกณฑ์การประเมินความเข้มแข็งกลุ่มเกษตรกร คลิกที่นี่

- เอกสาร/PPT -
ประชุม
คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนแผนฯ

⦿ การประชุมครั้งที่ 1/2566 คลิกที่นี่
⦿ การประชุมครั้งที่ 2/2566 คลิกที่นี่
⦿ การประชุมครั้งที่ 1/2567  30 เมษายน 2567 NEW

6 ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาสหกรณ์ของแผนพัฒนาการสหกรณ์ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2566-2570)

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการในสหกรณ์สู่การเป็นองค์กรสมรรถนะสูงด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

เป้าหมาย
“สหกรณ์มีความสามารถในการบริหารจัดการองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีเสถียรภาพและธรรมาภิบาลด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม และบุคลากรมีความเป็นมืออาชีพในด้านการบริหารจัดการองค์กร เพื่อมุ่งไปสู่การเป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูง อำนวยประโยชน์ให้กับสมาชิกสหกรณ์และชุมชนได้อย่างแท้จริง”

ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย
ตัวชี้วัดที่ 1 ร้อยละของสหกรณ์ที่ได้รับการยกระดับการบริหารจัดการและให้บริการสมาชิก ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม (smart coop) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ในปี 2570
ตัวชี้วัดที่ 2 ร้อยละของสหกรณ์ที่มีบุคลากรเหมาะสมกับขนาด/ประเภทธุรกิจของสหกรณ์และมีความเป็นมืออาชีพ ตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ในปี 2570
ตัวชี้วัดที่ 3 ร้อยละของจำนวนกรรมการ ผู้ตรวจสอบกิจการและเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ได้รับการพัฒนาศักยภาพ ร้อยละ 100 ในปี 2570
ตัวชี้วัดที่ 4 ร้อยละของจำนวนสหกรณ์ที่นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ มีเสถียรภาพทางการเงินและประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ในปี 2570

แนวทางการพัฒนา
แนวทางที่ 1 พัฒนารูปแบบการบริหารสหกรณ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานตามบริบทของสหกรณ์  ในด้านการบริหารจัดการองค์ความรู้ในองค์กร รวมถึงการปรับโครงสร้างให้มีความคล่องตัวและยืดหยุ่น
แนวทางที่ 2 พัฒนาบุคลากรของสหกรณ์ให้มีทักษะ ด้านเทคโนโลยี และมีความเป็นมืออาชีพในการดำเนินธุรกิจ โดยพัฒนาหลักสูตรและวาระการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสถานการณ์
แนวทางที่ 3 กำหนดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของกรรมการสหกรณ์ ผู้ตรวจสอบกิจการ และพัฒนาศักยภาพกรรมการสหกรณ์ในด้านการบริหารจัดการ และผู้ตรวจสอบกิจการให้เป็นไปตามลักษณะที่พึงประสงค์
แนวทางที่ 4 สร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ในสหกรณ์ โดยสร้างกระบวนการจัดการเรียนรู้ หรือสร้างแหล่งเรียนรู้ และใช้องค์ความรู้จากบุคลากรผู้สูงอายุ ถ่ายทอดประสบการณ์และภูมิปัญญา เพื่อเป็นตัวอย่างและแนวทางปฏิบัติและสร้างแรงจูงใจ
แนวทางที่ 5 สนับสนุนให้สหกรณ์พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการดำเนินธุรกิจและการบริการสมาชิก

ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมการขับเคลื่อนองค์กรและดำเนินธุรกิจด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม

เป้าหมาย
“มีความร่วมมือของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและขบวนการสหกรณ์ ในการเชื่อมโยงบูรณาการข้อมูล พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศในฐานะผู้จัดทำข้อมูลและผู้ใช้ข้อมูลและใช้ระบบข้อมูลสารสนเทศในการบริหารจัดการ ตัดสินใจ เพื่อให้การบริหารจัดการองค์กรมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน พัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการของสหกรณ์”

ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย
ตัวชี้วัดที่ 1 ร้อยละของสหกรณ์ที่มีระบบจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสมาชิกและการดำเนินธุรกิจ มีความถูกต้องและเป็นปัจจุบัน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ภายในปี 2570
ตัวชี้วัดที่ 2 มีระบบการเชื่อมโยงฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการบริหารจัดการในภาพรวมของขบวนการสหกรณ์
ตัวชี้วัดที่ 3 ร้อยละของสหกรณ์ที่นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินธุรกิจและบริการสมาชิก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ภายในปี 2570
ตัวชี้วัดที่ 4 ร้อยละของบุคลากรสหกรณ์ได้รับการพัฒนาสมรรถนะการวิเคราะห์ข้อมูล และการใช้ข้อมูลเพื่อการวางแผนและการตัดสินใจ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ภายในปี 2570

แนวทางการพัฒนา
แนวทางที่ 1 จัดหาและสนับสนุนระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านงานเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละประเภทสหกรณ์
แนวทางที่ 2 พัฒนาและปรับเปลี่ยนกรอบความคิดและทัศนคติเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมแก่บุคลากรสหกรณ์เพื่อให้มีความพร้อมและรองรับต่อการปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบดิจิทัล
แนวทางที่ 3 พัฒนาระบบสารสนเทศโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสร้างระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS) สนับสนุนการดำเนินงานของสหกรณ์และเครือข่ายการสหกรณ์
แนวทางที่ 4 พัฒนาหลักสูตรการวิเคราะห์ข้อมูล และการใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ สำหรับบุคลากรสหกรณ์

ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยกระดับศักยภาพและสมรรถนะการดำเนินธุรกิจตามลักษณะธุรกิจและประเภทของสหกรณ์

เป้าหมาย
สร้างและพัฒนาสหกรณ์ให้เป็นผู้ประกอบการที่มีความสามารถในการสร้างและใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมตลอดกระบวนการการผลิตและบริการ การจัดการ และการตลาด สามารถบริหารจัดการธุรกิจและบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใสโดยการสร้างและพัฒนาทักษะ องค์ความรู้รอบด้านที่จำเป็นต่อการประกอบธุรกิจในยุคใหม่ที่มีการแข่งขันสูงเพื่ออำนวยประโยชน์และแก้ปัญหาให้สมาชิก

ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย
ตัวชี้วัดที่ 1 ร้อยละของสหกรณ์ที่ดำเนินธุรกิจมีผลประกอบการไม่ขาดทุน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ภายในปี 2570
ตัวชี้วัดที่ 2 ร้อยละของสหกรณ์ที่มีแผนธุรกิจเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และบริการของสหกรณ์ให้สอดคล้องตามแนวทาง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ภายในปี 2570
ตัวชี้วัดที่ 3 ร้อยละของสหกรณ์ที่มีแผนบริหารความต่อเนื่องจากธุรกิจ (BCM)
ตัวชี้วัดที่ 4 ร้อยละของสมาชิกที่มีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจกับสหกรณ์
ตัวชี้วัดที่ 5 ความสำเร็จของการทบทวนและปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ทุกธุรกิจ
ตัวชี้วัดที่ 6 ได้รูปแบบระบบเครือข่ายทางการเงินในระบบสหกรณ์ที่เหมาะสม

แนวทางการพัฒนา
แนวทางที่ 1 ยกระดับขบวนการสหกรณ์ให้เป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูงในการดำเนินงาน
แนวทางที่ 2 สร้างมูลค่า (Value Creation) และเพิ่มมูลค่า (Value Added) แก่ผลิตภัณฑ์และบริการของสหกรณ์ เพื่อสร้างขีดความสามารถในการหารายได้ของสมาชิก และสหกรณ์ รวมถึงการลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการด้วยการปรับปรุงกระบวนการสำคัญ นวัตกรรม และการนำดิจิทัลเทคโนโลยีมาใช้ โดยมีแนวทางในการพัฒนา ดังนี้
      2.1) ธุรกิจด้านการเกษตร การเกษตรสร้างมูลค่า โดยการสนับสนุนทรัพยากรและองค์ความรู้เพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิตทั้งในเชิงปริมาณและมูลค่า และความหลากหลายของสินค้าเกษตร ประกอบด้วย (1) เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น (2) เกษตรปลอดภัย (3) เกษตรชีวภาพ (4) เกษตรแปรรูป และ (5) เกษตรอัจฉริยะ 

      2.2) ธุรกิจด้านการเงิน พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเงิน โดย 1) เพิ่มประสิทธิภาพ และขยายโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการเงิน โดยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสถาบันการเงิน และสหกรณ์ประเภทออมทรัพย์ และเครดิตยูเนี่ยน เพื่อให้สมาชิกรวมถึงสหกรณ์ในระบบสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างทั่วถึง และ 2) พัฒนานวัตกรรมทางการเงินรูปแบบใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการและบริบทการเปลี่ยนแปลง สนับสนุนให้สหกรณ์แต่ละประเภทออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิน 3) การวางรูปแบบและสนับสนุนให้มีศูนย์กลางทางการเงินระหว่างสหกรณ์ต่างประเภท

      2.3) ธุรกิจด้านการบริการ พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการบริการ โดยพัฒนาแพลทฟอร์มและช่องทางการบริการ สำหรับการดำเนินธุรกิจที่เหมาะสมกับการบริการสมาชิกภายใต้บริบทที่เปลี่ยนแปลง
แนวทางที่ 3 สหกรณ์พัฒนาต่อยอดองค์ความรู้และทักษะความเชี่ยวชาญของสมาชิก ทั้งในภาคการเกษตร และภาคนอกการเกษตร ในการพัฒนากระบวนการผลิต การให้บริการ การดำเนินธุรกิจ ให้เหมาะสมกับบริบท และสภาพแวดล้อมความท้าทายที่เปลี่ยนแปลงไปของโลก รวมถึงสนับสนุนการจัดสวัสดิการแก่สมาชิกที่เหมาะสมกับช่วงวัย
แนวทางที่ 4 สนับสนุนการส่งเสริมการประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับสังคมสูงวัยในชุมชน ที่สอดคล้องกับธุรกิจและบริบทของสหกรณ์ ให้สามารถพึ่งพาตัวเองได้ทางเศรษฐกิจ
แนวทางที่ 5 พัฒนาความรู้เรื่องการดำเนินธุรกิจ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแก่เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ
แนวทางที่ 6 ฝึกทักษะการวางแผนธุรกิจที่คำนึงถึงการบริหารความเสี่ยงของบุคลากรสหกรณ์

ยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างการเชื่อมโยงและร่วมมือกันทางธุรกิจและสังคมเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

เป้าหมาย
“มุ่งเน้นการเพิ่มความเข้มแข็งและการบูรณาการร่วมกันของขบวนการสหกรณ์ ทั้งภาคการเกษตร และนอกภาคการเกษตร ระหว่างสหกรณ์เดียวกันและต่างประเภท หรือสหกรณ์ในระดับจังหวัด หรือระหว่างสหกรณ์และชุมนุมสหกรณ์ โดยผ่านการสร้างการมีส่วนร่วมตลอดห่วงโซ่อุปทาน และเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วน ประกอบด้วย ภาครัฐ ภาคเอกชนและสถาบันการศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตจนถึงการจำหน่าย (ครอบคลุมต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ) ของขบวนการสหกรณ์ โดยใช้ประโยชน์จากความหลากหลายและความพร้อมของขบวนการสหกรณ์”

ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย
ตัวชี้วัดที่ 1 จำนวนข้อตกลงความร่วมมือการดำเนินธุรกิจ ทั้งสหกรณ์ภาคการเกษตรและสหกรณ์นอกภาคการเกษตร หรือหน่วยงานภาคีเครือข่ายการพัฒนาเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 10 ต่อปี
ตัวชี้วัดที่ 2 จำนวนชนิด/มูลค่าสินค้าและบริการ/ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากความตกลง
ความร่วมมือระหว่างสหกรณ์ภาคการเกษตรและสหกรณ์นอกภาคการเกษตร
กับหน่วยงานเครือข่ายการพัฒนาเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 10 ต่อปี
ตัวชี้วัดที่ 3 จำนวนความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาหรือองค์กรอื่นที่มีองค์ความรู้
หรือมีนวัตกรรมที่จะมาช่วยสหกรณ์เพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 20 ต่อปี 

แนวทางการพัฒนา
แนวทางที่ 1 สร้างกลไกการเป็นห่วงโซ่อุปทานระหว่างประเภทสหกรณ์ โดยออกแบบโครงสร้างขบวนการสหกรณ์ให้มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ของสหกรณ์ทุกประเภทและทุกระดับ ทั้งทางด้านธุรกิจและการร่วมมือในการพัฒนาสหกรณ์ทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม
แนวทางที่ 2 สร้างระบบนิเวศทางธุรกิจ โดยการรวมตัวกันของธุรกิจ บุคลากร องค์กร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริม เกื้อหนุนกันให้ทุก ๆ ฝ่ายสามารถพัฒนาไปข้างหน้าได้ ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ยกระดับความสัมพันธ์ สร้างความร่วมมือ และการเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจกับทุกภาคส่วน
แนวทางที่ 3 พัฒนาให้ชุมนุมสหกรณ์ในแต่ละระดับ วางแผนการเชื่อมโยงธุรกิจของสหกรณ์ เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันทางธุรกิจและสังคม
แนวทางที่ 4 การควบรวมสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรเพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดีและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการสมาชิก

ยุทธศาสตร์ที่ 5 สร้างธรรมาภิบาลในสหกรณ์

.

เป้าหมาย
“ขบวนการสหกรณ์มีกระบวนการและกลไกที่มีประสิทธิภาพในการสร้างธรรมาภิบาลในระบบสหกรณ์ โดยปรับกระบวนการเข้าสู่การนำระบบดิจิทัลและการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
ที่สนับสนุนการป้องกันและแก้ไขข้อบกพร่องและ
การทุจริตในสหกรณ์ รวมถึงการพัฒนา เครือข่ายความร่วมมือระหว่างสหกรณ์และสมาชิกในการต่อต้านการทุจริต”

ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย
ตัวชี้วัดที่ 1 ร้อยละของสหกรณ์ที่มีการกำหนดเรื่องจรรยาบรรณของบุคลากรสหกรณ์ร้อยละ 100 ในปี 2570
ตัวชี้วัดที่ 2 มีนวัตกรรมการตรวจสอบการดำเนินงานของสหกรณ์ (ด้านการป้องกันสมาชิก/ตรวจสอบการดำเนินงานของกรรมการ/ตรวจสอบการดำเนินงานฝ่ายจัดการ)
ตัวชี้วัดที่ 3 สหกรณ์มีผลการประเมินระดับคุณภาพการควบคุมภายในอยู่ในเกณฑ์ดี
ขึ้นไป ร้อยละ 70 ภายในปี 2570
ตัวชี้วัดที่ 4 ร้อยละความสำเร็จของ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับข้อบกพร่องและการทุจริตในสหกรณ์ที่นำมาทบทวน ได้รับการปรับปรุงร้อยละ100 ภายในปี 2570
ตัวชี้วัดที่ 5 จำนวนสหกรณ์ที่มีข้อบกพร่อง ข้อสังเกต และการทุจริตลดลงเมื่อเทียบกับปีฐาน ร้อยละ 10 ภายในปี 2570 

แนวทางการพัฒนา
แนวทางที่ 1 กำหนดจรรยาบรรณของบุคลากรสหกรณ์ โดยกำหนดไว้ในข้อบังคับของสหกรณ์ รวมทั้งตั้งคณะกรรมการด้านจรรยาบรรณที่มีความเป็นอิสระจากฝ่ายกรรมการและฝ่ายจัดการ และมีการประเมินผลในเรื่องดังกล่าว
แนวทางที่ 2 สนับสนุนการสร้างวัฒนธรรมองค์กร ที่เน้นเรื่องการบริหารจัดการที่ดีและธรรมาภิบาลในสหกรณ์
แนวทางที่ 3 สร้างกลไกในการเฝ้าระวัง กำกับ ติดตาม การบริหารจัดการของสหกรณ์ และระบบควบคุมภายใน เพื่อป้องกันข้อบกพร่องและทุจริตในสหกรณ์ รวมถึงพร้อมต่อการเผชิญปัญหาและการเปลี่ยนแปลงทุกรูปแบบ
แนวทางที่ 4 สร้างนวัตกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตในสหกรณ์เชิงรุก โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการตรวจสอบการดำเนินงานของสหกรณ์ให้อยู่ในกรอบของกฎหมาย
แนวทางที่ 5 ทบทวน ปรับปรุง ข้อกฎหมาย ให้เอื้อต่อการแก้ปัญหา กรณีเกิดข้อบกพร่องหรือทุจริตให้ทันท่วงที 

ยุทธศาสตร์ที่ 6 การปรับโครงสร้างและบทบาทหน้าที่ขบวนการสหกรณ์และภาครัฐเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

เป้าหมาย
“ชุมนุมสหกรณ์และสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย มีบทบาทและโครงสร้างที่สอดคล้องกับบริบทการพัฒนาสหกรณ์รวมถึงหน่วยงานภาครัฐที่ทำหน้าที่ในการส่งเสริมและกำกับสหกรณ์ มีการปรับบทบาทและโครงสร้าง ให้เหมาะสมกับการส่งเสริมสหกรณ์อย่างมีประสิทธิภาพ”


ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย
ตัวชี้วัดที่ 1 มีผลการศึกษาวิจัยโครงสร้างของขบวนการสหกรณ์และหน่วยงานภาครัฐ
ตัวชี้วัดที่ 2 มีการทบทวนบทบาทหน้าที่และโครงสร้าง ของชุมนุมสหกรณ์ฯ สันนิบาตสหกรณ์ฯ ให้สอดคล้องกับบริบทของการพัฒนาสหกรณ์
ตัวชี้วัดที่ 3 ทบทวนบทบาทหน้าที่โครงสร้างของหน่วยงานภาครัฐ และแนวทางการส่งเสริมสหกรณ์

แนวทางการพัฒนา
แนวทางที่ 1 ศึกษาวิจัย รวมถึงการวิเคราะห์ฉากทัศน์ในอนาคตของสหกรณ์แต่ละประเภท ในด้านการบริหารจัดการ การดำเนินธุรกิจ การลงทุน เพื่อประกอบการปรับปรุง ทบทวน โครงสร้างการสหกรณ์ในประเทศไทยที่เหมาะสม
แนวทางที่ 2 สร้างความเข้มแข็งของชุมนุมสหกรณ์ทุกระดับและสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย โดยการปรับปรุง ทบทวน โครงสร้าง บทบาทหน้าที่ ชุมนุมระดับจังหวัด/ระดับประเทศ สันนิบาตสหกรณ์ฯ เพื่อสนับสนุนส่งเสริมสหกรณ์
แนวทางที่ 3 เสริมสร้างศักยภาพในการส่งเสริมและกำกับดูแลสหกรณ์ โดยการปรับปรุงโครงสร้างและบทบาท หน้าที่ ของหน่วยงานภาครัฐ ให้มีโครงสร้างที่เหมาะสมและทำหน้าที่ในการส่งเสริมสหกรณ์และการกำกับดูแลสหกรณ์ ให้มีประสิทธิภาพ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

📝 รมช.มนัญญา เปิด Kick Off ประกาศนโยบายขับเคลื่อนความเข้มแข็งสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรแบบบูรณาการ พุ่งเป้าสู่องค์กรสมรรถนะสูง เติบโตอย่างยั่งยืน - 27 มิถุนายน 2566 [ไทยโพสต์]

📝 กรมส่งเสริมสหกรณ์จับมือกรมตรวจบัญชีสหกรณ์บูรณาการความร่วมมือพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมุ่งสู่ความเข้มแข็ง พร้อมก้าวทันสู่การเปลี่ยนแปลง โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมขับเคลื่อนงานสหกรณ์ - 27 มิถุนายน 2566 [พิมพ์ไทย]

📝 รมช.มนัญญา เปิด Kick Off ประกาศนโยบายขับเคลื่อนความเข้มแข็งสหกรณ์-กลุ่มเกษตรกรแบบบูรณาการ - 27 มิถุนายน 2566 [สยามรัฐ]

📝 "Kick Off" ประกาศนโยบายขับเคลื่อนความเข้มแข็งของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร บูรณาการยกระดับสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเข้มแข็งอย่างยั่งยืน - 27 มิถุนายน 2566 [เดลินิวส์]

📝 "มนัญญา" Kick Off ขับเคลื่อนความเข้มแข็งสหกรณ์ พุ่งเป้าองค์กรสมรรถนะสูง - 27 มิถุนายน 2566 [OK Nation]

📝 "รมช.มนัญญา" เปิด Kick Off ประกาศนโยบายขับเคลื่อนความเข้มแข็งสหกรณ์แบบบูรณาการ พุ่งเป้าสู่องค์กรสมรรถนะสูง - 27 มิถุนายน 2566 [Voice-TV]

ประกาศนโยบายขับเคลื่อนความเข้มแข็งของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรแบบบูรณาการ พุ่งเป้าสู่องค์กรสมรรถนะสูง และเติบโตอย่างยั่งยืน

วันที่ 27 มิถุนายน 2566 เวลา 09.00 น.
      ณ  ห้องประชุม 126 กรมส่งเสริมสหกรณ์  กรุงเทพมหานคร

      และผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting 🎥

🔅 ดูบันทึก Zoom ย้อนหลัง และดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม คลิกที่นี่