ประกาศผลการคัดเลือกผลงานดีเด่นด้าน Coding

“CODING Achievement Awards”

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ในการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้โค้ดดิ้งในโรงเรียน เห็นควรให้มีการดำเนินการจัดเผยแพร่องค์ความรู้และแสดงผลงานดีเด่นด้าน Coding “CODING Achievement Awards”  ทั้งในรูปแบบ Unplugged และ Plugged ใน ๔ ภูมิภาค ได้แก่ ภาคกลางและภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ โดยดำเนินการคัดเลือกผลงานดีเด่น ผ่านคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยครูและบุคลากรทางการศึกษาในระดับภูมิภาค เพื่อให้สอดคล้องกับการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาโดยใช้พื้นที่เป็นฐานร่วมกับนักวิชาการจากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนักวิชาการจากสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นั้น

บัดนี้ การดำเนินการคัดเลือกผลงานดีเด่นด้าน Coding “CODING Achievement Awards” ระดับภาคกลางและภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคเหนือ เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงขอประกาศรายชื่อผู้ได้รับคัดเลือกผลงานดีเด่นฯ เพื่อรับโล่รางวัล พร้อมเกียรติบัตรดังนี้


ประกาศผลภาคกลางและภาคตะวันออก รวม ๓๘​ ผลงาน

ประเภท Unplugged ระดับประถมศึกษา จำนวน ๑๐ คน

ประเภท Plugged ระดับประถมศึกษา จำนวน ๑๐ คน

ประเภท Unplugged ระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๘ คน

ประเภท Plugged ระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๑๐ คน


ประกาศผลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  รวม ๔๐ ผลงาน

ประเภท Unplugged ระดับประถมศึกษา จำนวน ๑๐ คน

ประเภท Plugged ระดับประถมศึกษา จำนวน ๑๐ คน

ประเภท Unplugged ระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๑๐ คน

ประเภท Plugged ระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๑๐ คน


ประกาศผลภาคใต้ รวม ๓๐ ผลงาน 

ประเภท Unplugged ระดับประถมศึกษา จำนวน ๑๐ คน

ประเภท Plugged ระดับประถมศึกษา จำนวน ๑๐ คน

ประเภท Unplugged ระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๓ คน

ประเภท Plugged ระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๗ คน


ประกาศผลภาคเหนือ รวม ๓๘​ ผลงาน

ประเภท Unplugged ระดับประถมศึกษา จำนวน ๑๐ คน

ประเภท Plugged ระดับประถมศึกษา จำนวน ๑๐ คน

ประเภท Unplugged ระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๘ คน

ประเภท Plugged ระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๑๐ คน



ทั้งนี้ มีผู้ร่วมส่งผลงานซึ่งเป็นตัวแทนจากแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ได้รับเกียรติบัตรร่วมส่งผลงาน ดีเด่นด้าน Coding “CODING Achievement Awards” ระดับภาคกลางและภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคเหนือ มีดังนี้


ภาคกลางและภาคตะวันออก รวม ๓๗ ผลงาน

ประเภท Unplugged ระดับประถมศึกษา จำนวน ๑๘ คน

ประเภท Plugged ระดับประถมศึกษา จำนวน ๔ คน

ประเภท Unplugged ระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๗ คน

ประเภท Plugged ระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๘ คน


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม ๗๙ ผลงาน

ประเภท Unplugged ระดับประถมศึกษา จำนวน ๒๖ คน

ประเภท Plugged ระดับประถมศึกษา จำนวน ๒๑ คน

ประเภท Unplugged ระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๑๑ คน

ประเภท Plugged ระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๒๑ คน


ภาคใต้ รวม ๑๔ ผลงาน

ประเภท Unplugged ระดับประถมศึกษา จำนวน ๔ คน

ประเภท Plugged ระดับประถมศึกษา จำนวน ๓ คน

ประเภท Unplugged ระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๒ คน

ประเภท Plugged ระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๕ คน


ภาคเหนือ รวม ๕๕ ผลงาน

ประเภท Unplugged ระดับประถมศึกษา จำนวน ๒๑ คน

ประเภท Plugged ระดับประถมศึกษา จำนวน ๑๔ คน

ประเภท Unplugged ระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๖ คน

ประเภท Plugged ระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๑๔ คน


ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๕ และเพิ่มเติม ณ วันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๕

 ที่มาและความสำคัญ

ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้มีการประกาศใช้มาตรฐานหลักสูตรการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) โดยเพิ่มเติมสาระที่ ๔ เทคโนโลยี ซึ่งมีวิชาวิทยาการคำนวณ (Computing Science) ที่ประกอบด้วยองค์ความรู้หลัก ๓ ด้าน ได้แก่ ๑) วิทยาการคอมพิวเตอร์ เช่น การแก้ปัญหา Coding การใช้ตรรกะ ๒) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการแก้ปัญหา ๓) การใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัยและรู้เท่าทัน 

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้ร่วมกันขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณและโค้ดดิ้ง โดยมีการจัดอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจในมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และแนวทางการจัดการเรียนรู้ให้ครูผู้สอนสาระเทคโนโลยีทั้งในรูปแบบการอบรมออนไลน์และแบบพบหน้าทั่วประเทศ ในการนี้ สพฐ. และสสวท. เห็นพ้องต้องกันว่า ควรมีการจัดเผยแพร่องค์ความรู้และแสดงผลงานดีเด่นด้าน Coding ทั้งในรูปแบบ Unplugged และ Plugged  ใน ๔ ภูมิภาค ได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ โดยเปิดรับสมัครให้คุณครูผู้สอนในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือกลุ่มสาระอื่นที่ได้นำองค์ความรู้ด้านโค้ดดิ้งไปบูรณาการให้เข้ากับบริบทของท้องถิ่นอย่างเหมาะสมทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ร่วมส่งผลงานเพื่อคัดเลือกเป็นผลงานดีเด่นรวมทั้งสิ้นจำนวน ๔๐ ผลงานในแต่ละภูมิภาค โดยมีผลงานรวมทั้งสิ้น ๑๖๐ ผลงาน

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อติดตามผลการนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ในชั้นเรียนอย่างเป็นรูปธรรม

๒. เพื่อคัดเลือกนวัตกรรมหรือรูปแบบการจัดการเรียนการสอนด้าน Coding ที่สามารถเผยแพร่เป็นแบบอย่างให้กับครู

๓. เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติและสร้างขวัญกำลังใจให้กับครูผู้สอน 

ประเภทรายการครูดีเด่น

๑. Unplugged Coding ระดับประถมศึกษา จำนวน ๑๐ ผลงาน/ภูมิภาค รวม ๔๐ ผลงาน

๒. Unplugged Coding ระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๑๐ ผลงาน/ภูมิภาค รวม ๔๐ ผลงาน

๓. Plugged Coding ระดับประถมศึกษา จำนวน ๑๐ ผลงาน/ภูมิภาค รวม ๔๐ ผลงาน

๔. Plugged Coding ระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๑๐ ผลงาน/ภูมิภาค รวม ๔๐ ผลงาน

ผู้ส่งผลงาน

ครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทั่วประเทศ ซึ่งเป็นครูผู้สอนในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือกลุ่มสาระอื่นที่ได้นำองค์ความรู้ด้าน Coding ไปบูรณาการให้เข้ากับบริบทของท้องถิ่นอย่างเหมาะสม สามารถส่งผลงานเข้าประกวดได้ ๒ ประเภทตามระดับชั้นที่สอน คือ 

๑. การจัดการเรียนรู้การเขียนโปรแกรมแบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์ Unplugged Coding 

๒. การจัดการเรียนรู้การเขียนโปรแกรมแบบใช้คอมพิวเตอร์ Plugged Coding 


หลักเกณฑ์การประกวด

๑. ผู้ส่งผลงาน 

     ครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทั่วประเทศ โดย ๑ คนสามารถส่งผลงานเข้าคัดเลือกได้เพียง ๑ ประเภท คือ Unplugged หรือ Plugged Coding เท่านั้น โดยเป็นผลงานการสอนในปีการศึกษาที่ ๒๕๖๔ - ๒๕๖๕ 

๒. องค์ประกอบผลงานที่ส่งเข้าประกวด

     ๒.๑ รูปเล่มการจัดการเรียนรู้ Coding ไม่เกิน ๕๐ หน้า (ให้บันทึกเป็น .pdf) ประกอบด้วย

      ๒.๑.๑ ปก คำนำ สารบัญ สารบัญตาราง สารบัญภาพ 

      ๒.๑.๒ ส่วนที่ ๑ รายงานการดำเนินการวิเคราะห์จัดการเรียนรู้ Coding อย่างเป็นระบบ มีองค์ประกอบแสดงถึงแนวทางการวิเคราะห์ ผลการวิเคราะห์เพื่อการจัดการเรียนรู้ Coding 

     ๒.๑.๓ ส่วนที่ ๒ แผนการจัดการเรียนรู้รายชั่วโมง จำนวน ๑ แผน โดยในแผนจะต้องมีใบกิจกรรมหรือใบงาน อย่างใดอย่างหนึ่ง อย่างน้อย ๑ อย่าง เกณฑ์การวัดและประเมินผล บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ และได้รับการรับรองแผนการจากผู้บริหารสถานศึกษา/รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ และหัวหน้ากลุ่มการเรียนรู้ ที่แนบต่อท้ายมาด้วย

      ๒.๑.๔ ส่วนที่ ๓ หลักฐานการจัดการเรียนรู้ Coding และหลักฐานการรับรองความถูกต้องด้านเนื้อหา และสื่อการสอนที่ปรากฏในวีดิทัศน์นำเสนอการจัดการเรียนรู้ Coding จากครูผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้น/รองหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้/หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 

      ๒.๑.๕ ส่วนที่ ๔ หลักฐานผลที่เกิดจากการจัดการเรียนรู้ Coding 

   ๒.๒ วีดิทัศน์การจัดการเรียนรู้ Coding ที่มีความยาวไม่เกิน ๑๕ นาที สร้างขึ้นด้วยตนเอง ตัดต่อได้ ไม่เคยเผยแพร่ ไม่เคยได้รับรางวัล ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ใดของบุคคลอื่น โดยนำวีดิทัศน์ดังกล่าวไปเผยแพร่ในช่องทาง YouTube จำนวน ๑ วีดิทัศน์ 

๓. วิธีการส่งผลงานเข้าประกวด

     ๓.๑ จัดส่งรูปเล่มการจัดการเรียนรู้ Coding เป็น Google drive และส่ง Url ตาม Google form ที่กำหนด 

     ๓.๒ จัดส่งวีดิทัศน์การจัดการเรียนรู้ Coding โดยส่ง Url YouTube ตาม Google form ที่กำหนด 

(ส่งข้อ ๓.๑ และ ๓.๒ ไปยังเขตพื้นที่การศึกษาที่ท่านสังกัดอยู่ ) 

กำหนดการ

 รายละเอียดและหลักเกณฑ์การประกวด

รายชื่อศูนย์จัดแสดงผลงานส่วนภูมิภาค และผู้ประสานงาน

ดูรายละเอียดเขตพื้นที่การศึกษาในแต่ละภูมิภาคได้ที่ https://bit.ly/3NqHkGn