EQUITY  VOCATIONAL  CARE 

โครงการพัฒนาระบบเสริมสร้างทักษะชีวิต และ การดูแลช่วยเหลือนักเรียนอาชีวศึกษา

ประชาสัมพันธ์

ผลการดำเนินงานกับอาชีวศึกษา ด้วยงบประมาณกสศ. ระหว่างปี 2563-2565

ในงานประชุมวิชาการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง

วิดีโอนำเสนอผลลัพธ์Equity Vocational Careกสศ..mp4

ณ วันที่ 16 ธ.ค. 2565

"หยุดตีตรา แล้วมองปัญหาสุขภาพจิตเป็นความปกติ"

จะช่วยเปิดโอกาสให้น้องๆ มองหาความช่วยเหลือได้ง่ายขึ้น

การเปลี่ยนแปลง ‘ทัศนคติ’ ต่อปัญหา ‘สุขภาพจิต’ คือสิ่งที่ แพทย์หญิง ‘ศุทรา เอื้ออภิสิทธิ์วงศ์’ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตในกลุ่มเด็กวัยรุ่น สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ พยายามทำให้เกิดขึ้น และเป็นที่มาของ ‘โครงการพัฒนาระบบเสริมสร้างทักษะชีวิตและดูแลช่วยเหลือนักเรียนอาชีวะ’ โดยร่วมมือกับ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เพื่อเข้าไปดูแลสุขภาพจิตในกลุ่มเด็กนักเรียนทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง เพราะจากบริบทแวดล้อมและประสบการณ์ที่เด็ก ๆ กลุ่มนี้เคยพบเจอ ก็สามารถพอคาดการณ์เบื้องต้นได้ว่า พวกเขาอาจกำลังต้องการที่ปรึกษาหรือความช่วยเหลือทางด้านจิตใจด้วย ซึ่งเป็นเรื่องลึกขึ้นกว่าความช่วยเหลือเฉพาะปัจจัยพื้นฐานภายนอก 

เปลี่ยนทัศนคติใหม่ไปกับ "พญ.ศุทรา เอื้ออภิสิทธิ์วงศ์"

ผู้ทำงานช่วยเหลือปัญหาสุขภาพจิต ‘เด็กอาชีวะ’ ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง 

ความยืดหยุ่นทางใจ ล้มแล้วลุกได้ รับมือกับปัญหาได้ คือ คุณลักษณะสำคัญ ที่จิตแพทย์และนักจิตวิทยา เข้ามามีบทบาทในการช่วยครูอาจารย์ผู้ที่ต้องดูแลประคับประคองนักศึกษาทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง

        แพทย์หญิงชนิกา ศฤงคารชยธวัช จิตแพทย์ประจำโรงพยาบาลพังงา : การที่จิตแพทย์และนักจิตวิทยา ได้พูดคุยสอบถามนักศึกษาตั้งแต่วันแรกๆ หลังจากประเมินด้วยแบบสอบถามด้านจิตวิทยาในเบื้องต้น จะเป็นประโยชน์ในการช่วยครูอาจารย์ จัดกลุ่มนักศึกษาเพื่อจัดกระบวนการดูแลได้มากขึ้น และช่วยให้นักศึกษาเรียนรู้วิธีการปรับตัว และมีความยืดหยุ่นทางจิตใจ สามารถช่วยให้นักศึกษาผ่านพ้นปัญหาที่ต้องเผชิญได้


“ส่วนของหมอกับทีมจะเป็นการฟังสิ่งที่น้องเล่า ดูว่าเขามีจุดออ่อนจุดแข็งอย่างไร เขารู้หรือไม่ว่าบุคลิกเขาเป็นแบบไหน แล้วเขามีวิธีในการรับมือกับปัญหาที่เข้ามาในชีวิตเขาอย่างไร เขามีการปรับตัวอย่างไร รวมถึงบางคนมีปัญหาพ่วงมาจากที่บ้าน แล้วเขาทำอย่างไร ... หมอจะวัดเรื่องของ Resilience ก็คือความยืดหยุ่นทางใจ ... ถ้าเด็กมีความยืดหยุ่นทางจิตใจ ไม่ว่าจะเจอปัญหาอะไร เขาก็ปรับตัวได้ เราอาจจะเตรียมความพร้อมทางจิตใจให้เขา ก่อนที่เขาจะสตาร์ทในลู่สายวิชาชีพของเขา เพื่อให้เขายังคงอยู่ในทุนนี้ได้จนจบ ตามความตั้งใจของเด็กแต่ละคน ซึ่งหมอเชื่อว่าเด็กทุกคนที่มาคือเขาตั้งใจ แต่ว่าระหว่างทาง เขาอาจจะเจออุปสรรค แล้วเนื่องด้วยความด้อยโอกาสของเขา ทำให้เขาไม่มีต้นทุน หมอกับทีมของหมออาจจะมาช่วยเติมต้นทุนตรงนี้ให้กับเขา”

#Resilience #ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง #กสศ

การนำโปรแกรมเสริมสร้างทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนอาชีวศึกษาไปใช้