ภูมิลักษณ์

ภาคเหนือ

ภูมิลักษณ์ของภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทย

1. ภูมิลักษณ์ภาคเหนือ

ภูมิประเทศภาคเหนือพิจารณาเป็นเขตภูมิลักษณ์ ได้ดังนี้

เขตเทือกเขาและหุบเขาตะวันตก ได้แก่ พื้นที่เทือกเขาและหุบเขาด้านตะวันตกของภูมิภาค ครอบคลุมบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอนและบ่างส่วนของจังหวัดเชียงใหม่

ประกอบด้วยเทือกเขาถนนธงชัย ซึ่งแทรกสลับด้วยหุบเขาและแอ่งที่ราบระหว่างภูเขา ที่สำคัญได้แก่ แอ่งแม่แจ่ม แอ่งปาย แอ่งแม่ฮ่องสอน และแอ่งแม่สะเรียงเขตภูมิลักษณ์นี้มีโครงสร้างธรณีของหินแกรนิตเป็นหินฐาน ซึ่งถูกปิดทับด้านบนด้วยหินตะกอน และหินแปรต่างๆเช่น หินทราย หินปูนเนื้อต่างๆ หินกรวดมน หินดินดาน หินเชิร์ต นอกจากนี้ยังมีหินแปรชนิดหินไนส์และหินชีสต์ปิดประกบ แทรกสลับอยู่เป็นตอนๆ ขณะที่ตามหุบเขาและแอ่งที่ราบระหว่างภูเขาสะสมด้วยตะกอนน้ำพายุควอเทอร์นารีที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง เหมาะสำหรับการทำเกษตรกรรมในแอ่งที่ราบ ดังนั้นจึงพบแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ในแอ่งที่ราบต่างๆ เช่น แอ่งแม่ฮ่องสอน แอ่งแม่สะเรียง เป็นต้น

ลักษณะสำคัญของภูมิลักษณ์เขตเทือกเขาและหุบเขาตะวันตก คือ

1) เป็นเขตเทือกเขาสลับซับซ้อนและมีระดับสูงที่สุดของประเทศ ประกอบด้วยเทือกเขาถนนธงชัยตะวันออกเทือกเขาถนนธงชัยกลาง และเทือกเขาถนนธงชัยตะวันตก

2) เป็นเขตที่มีพุน้ำร้อนปรากฏอยู่มาก ที่สำคัญ เช่น พุน้ำร้อนผาบ่อง พุน้ำร้อนโป่งสัก จังหวัดแม่ฮ่องสอนพุน้ำร้อนฝาง พุน้ำร้อนเทพพนม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น พุน้ำร้อนดังกล่าวให้ประโยชน์ในการเป็นแหล่งพลังงานผลิต กระแสไฟฟ้า และสามารถใช้เพื่อท่องเที่ยวได้



มนต์เสน่ห์แห่งอารยธรรม

ภาคเหนือ หรือล้านนา ดินแดนแห่งความหลากหลายทางประเพณีและวัฒนธรรมที่มีความน่าสนใจไม่น้อยไปกว่าภาคอื่นของไทย เพราะเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยเสน่ห์มนตร์ขลัง ชวนให้น่าขึ้นไปสัมผัสความงดงามเหล่านี้ยิ่งนัก ส่วนบรรดานักท่องเที่ยวที่ไปเยี่ยมชม ต่างก็ประทับใจกับสถานที่ท่องเที่ยวมากมายและน้ำใจอันล้นเหลือของชาวเหนือ