ที่ว่าการอำเภอบ้านแท่น

ยินดีต้อนรับ

สภาพทั่วไป/ข้อมูลพื้นฐาน

ความเป็นมาของอำเภอบ้านแท่น

ชื่อของอำเภอบ้านแท่นตั้งตามชื่อ“พระแท่นบัลลังก์” พระพุทธรูปโบราณ ศิลปะสุโขทัย พระคู่บ้านคู่เมือง ซึ่งเป็นที่สักการะบูชาและเป็นหลักรวมจิตใจของชาวบ้านแท่นทั้งมวล

จากหลักฐานทางโบราณสถานสำคัญในพื้นที่ อันได้แก่ ปรางค์กู่ ศิลปะขอมโบราณ(ตั้งอยู่บ้านวังหิน ตำบลบ้านเต่า ห่างจากที่ว่าการอำเภอบ้านแท่นประมาณ 3.5กม.) นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า ก่อสร้างราวพุทธศตวรรษที่ 18 ในสมัยของ พระเจ้าชัยวรมันที่7 แห่งอาณาจักรเขมร อยู่ในราวปีมหาศักราช 1108 หรือ ปีพุทธศักราช 1729 (ก่อนสมัยสุโขทัย)จึงอาจกล่าวได้ว่าบริเวณอำเภอบ้านแท่นนั้น เป็นที่อยู่ของชุมชนโบราณสลับสับเปลี่ยนตั้งบ้านเรือนมาไม่น้อยกว่า 800 ปี

ชุมชนยุคปัจจุบันเริ่มจากการตั้งถิ่นฐานรอบแหล่งน้ำที่ชาวบ้านเรียกกุดหญ้าม้ากุดนาเริง กุดนาโหล่ง และกุดแช่กลอย ชุมชนสำคัญประกอบด้วย บ้านแท่นและบ้านมอญ ตั้งอยู่คนละฟากแหล่งน้ำแต่เดิมเรียกชุมชนบริเวณนี้ว่า“บ้านแท่น เมืองมอญ”บ้านมอญเป็นหมู่บ้านใหญ่มีฐานะเป็นตำบลขึ้นกับอำเภอภูเขียวตอนหลังบ้านแท่นได้ขึ้นกับตำบลสามสวนและได้รับการยกฐานะเป็นตำบลขึ้นกับอำเภอภูเขียวในเวลาต่อมา ได้รับการยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอเมื่อปีพ.ศ.2508 โดยแยกเอาพื้นที่ 3 ตำบลออกจากอำเภอภูเขียว อันได้แก่ ตำบลสามสวน ตำบลบ้านเต่า และตำบลบ้านแท่น และได้รับการยกฐานะจัดตั้งเป็นอำเภอตามพระราชกฤษฎีกา เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์พ.ศ.2512 ปัจจุบันแบ่งการปกครองเป็น 5 ตำบล 66 หมู่บ้าน


พระแท่นบัลลังก์

พระคู่บ้านคู่เมือง

ปรางค์กู่

โบราณสถานสำคัญสภาพสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดชัยภูมิ

ส้มโอพันธุ์ทองดี

หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ของตำบลบ้านแท่น อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ

โครงสร้างองค์กร.pdf

โครงสร้างการบริหารงานของที่ทำการปกครองอำเภอบ้านแท่น แบ่งออกเป็น 6 งาน ดังนี้

1. กลุ่มงานบริหารงานปกครอง แบ่งงานภายในออกเป็น 3 ฝ่ายคือ

1.1 ฝ่ายบริหารงานปกครอง

อำนาจหน้าที่

(1) ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารจัดการปกครองท้องที่ การจัดทำแผนที่แนวเขตการปกครอง และการดูแล รักษา ที่สาธารณประโยชน์ในอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ

(2) ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และคณะกรรมการหมู่บ้าน

(3) สนับสนุนการจัดเลือกตั้งในทุกระดับ เว้นแต่การดำเนินการส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบัญชีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง

(4) กำกับดูแลการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และส่วนราชการอื่นในอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอตามที่กฎหมายกำหนด

(5) ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ในความรับผิดชอบของกรมการปกครอง

(6) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นหรือที่ได้รับมอบหมาย

(7) ปฏิบัติงานโครงการจังหวัดเคลื่อนที่

(8) ปฏิบัติงานโครงการจิตอาสาพระราชทาน

(9) ปฏิบัติงานนโยบายสำคัญกรมการปกครอง

1.2 ฝ่ายการอนุญาตทางการปกครอง

อำนาจหน้าที่

(1) ดำเนินการเกี่ยวกับการจดแจ้ง ขออนุมัติ ขออนุญาต เกี่ยวกับสถานบริการโรงแรม โรงจํานํา อาวุธปืน การค้าของเก่าและขายทอดตลาด การพนัน การเรี่ยไร มูลนิธิ สมาคม และกฎหมายอื่นๆในความรับผิดชอบของกรมการปกครองตามที่กฎหมายกำหนด

(2) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นหรือที่ได้รับมอบหมาย

1.3 ฝ่ายการเงินและบัญชี

อำนาจหน้าที่

(1) ดำเนินการเกี่ยวกับการงบประมาณ การเงิน การคลัง การบัญชี การดูแลรักษาพัสดุ ครุภัณฑ์ในความรับผิดชอบของกรมการปกครอง

(2) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นหรือที่ได้รับมอบหมาย


2. งานทะเบียนและบัตร แบ่งงานภายในออกเป็น 4 งานคือ

2.1 งานทะเบียนทั่วไป

อำนาจหน้าที่

(1) ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยงานทะเบียนครอบครัว ทะเบียนชื่อบุคคล ทะเบียนพินัยกรรม และทะเบียนอื่นๆที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมการปกครอง

(2) พัฒนาและปรับปรุงระบบการให้บริการประชาชนของอำเภอ

(3) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นหรือที่ได้รับมอบหมาย

2.2 งานบัตรประจำตัวประชาชน

อำนาจหน้าที่

1 ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชน

2 กำกับ ดูแลการปฏิบัติงานบัตรประจำตัวประชาชนของสำนักทะเบียนท้องถิ่น

3 พัฒนาและปรับปรุงระบบการให้บริการประชาชนของอำเภอ

4 ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นหรือที่ได้รับมอบหมาย

2.3 งานทะเบียนราษฎร

อำนาจหน้าที่

1 ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร

2 กำกับ ดูแล การปฏิบัติงานการทะเบียนราษฎรของสำนักทะเบียนในอำเภอ

3 สนับสนุนการจัดการเลือกตั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำและจัดพิมพ์ต่างๆเกี่ยวกับผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง และสนับสนุนการจัดการเลือกตั้งอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับงานทะเบียนตามที่ได้รับการร้องขอ

4 พัฒนาและปรับปรุงระบบการให้บริการประชาชนของอำเภอ

5 ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นหรือที่ได้รับมอบหมาย

2.4 งานสถานะบุคคลและสัญชาติ

อำนาจหน้าที่

(1) ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ กฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองในส่วนของบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชนในส่วนของชนกลุ่มน้อยแลคนต่างด้าวอื่นๆ

(2) ดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนชนกลุ่มน้อยและบัตรประจำตัวบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยและแรงงานต่างด้าว

(3) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นหรือที่ได้รับมอบหมาย


3. งานความมั่นคง แบ่งงานภายในออกเป็น 3 งานคือ

3.1 งานรักษาความสงบเรียบร้อย

อำนาจหน้าที่

(1) ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายในประเทศ การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง การจัดระเบียบสังคม การควบคุมและกำกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ โรงแรม การพนัน และกฎหมายอื่นๆตามที่ได้รับมอบหมาย

(2) ดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติดในความรับผิดชอบของกรมการปกครองที่ได้รับมอบหมาย

(3) สนับสนุนและช่วยเหลือการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ

(4) ดำเนินการเกี่ยวกับงานกิจการอาสารักษาดินแดน

(5) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นหรือที่ได้รับมอบหมาย

(6) ปฏิบัติงานจิตอาสาภัยพิบัติ

3.2 งานรักษาความมั่นคงภายใน

อำนาจหน้าที่

(1) ดำเนินการเกี่ยวกับงานมวลชน การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กองกำลังภาคประชาชน และการพัฒนาความรู้ ความสามารถ ทักษะการรักษาความสงบเรียบร้อยให้กับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ และงานกิจการมวลชนอื่นๆตามที่ได้รับมอบหมาย

(2) ดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านการข่าว

(3) ดำเนินการเกี่ยวกับงานกิจการผู้อพยพ งานกิจการชนกลุ่มน้อย

(4) ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง ปฏิบัติงานด้านสังคมจิตวิทยามวลชน แก้ไขปัญหาความขัดแย้งและการชุมนุมสาธารณะ การสร้างความปรองดองสมานฉันท์ และการป้องกันและแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่

(5) ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารองค์กรศาสนาอิสลามและกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมกิจการฮัจย์

(6) ดำเนินการเกี่ยวกับการควบคุม กำกับ ดูแล บุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทย

(7) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นหรือที่ได้รับมอบหมาย

3.3 งานสื่อสาร

อำนาจหน้าที่

(1) ดำเนินการด้านการสื่อสารตามระเบียบกรมการปกครองว่าด้วยการสื่อสารกรมการปกครอง

(2) กำกับ ดูแลสถานีวิทยุคมนาคมในโครงข่ายสถานีวิทยุคมนาคมของกรรมการปกครองในเขตพื้นที่อำเภอ

(3) ปฏิบัติงานด้านการสื่อสารร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การสื่อสารในภาวะฉุกเฉิน เหลืองานอื่น ๆ ในลักษณะเดียวกัน

(4) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นหรือที่ได้รับมอบหมาย

4. กลุ่มงานอำนวยความเป็นธรรม แบ่งงานภายในออกเป็น 2 ฝ่ายคือ

4.1 ฝ่ายดำรงธรรม

อำนาจหน้าที่

(1) ดำเนินการเกี่ยวกับการรับเรื่องร้องเรียนหรือร้องทุกข์จากประชาชนหรือที่ได้รับจากจังหวัด รวมถึงการสอบสวนข้อเท็จจริงหรือดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับแจ้งจากหน่วยงานต่างๆ

(2) ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือด้านกฎหมายแก่ประชาชน

(3) ดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์บริการประชาชน

(4) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นหรือที่ได้รับมอบหมาย

(5) ปฏิบัติงานโครงการศูนย์ดํารงธรรมอําเภอ...ยิ้มเคลื่อนที่

4.2 ฝ่ายอำนวยความเป็นธรรม

อำนาจหน้าที่

(1) ดำเนินการเกี่ยวกับการสืบสวนสอบสวนคดีอาญาของฝ่ายปกครอง และการเปรียบเทียบปรับคดีอาญาตามที่กฎหมายกำหนด เว้นแต่กฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายทะเบียนและบัตร

(2) ดำเนินการเกี่ยวกับการร่วมชันสูตรพลิกศพในหน้าที่ของพนักงานฝ่ายปกครอง

(3) ดำเนินการเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่งและอาญาในอำนาจหน้าที่ของอำเภอ

(4) ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการทวงถามหนี้

(5) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงาน ได้รับมอบหมาย

5. งานสำนักงานอำเภอ แบ่งงานภายในออกเป็น 3 ฝ่ายคือ

5.1 งานบริหารทั่วไป

อำนาจหน้าที่

(1) ดำเนินงานเกี่ยวกับการบริหารงานทั่วไป งานเก็บรวบรวมข้อมูลและบรรยายสรุปของอำเภอ ประสานงานกับส่วนราชการอื่นที่ไม่มีหน่วยงานปฏิบัติในระดับพื้นที่ งานธุรการ งานสารบรรณ กรมประชาสัมพันธ์ งานประชุมประจำเดือนของอำเภอ

(2) ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการ พนักงานราชการ แล้วลูกจ้างทุกประเภทในสังกัดกรมการปกครอง

(3) ดำเนินงานเกี่ยวกับงานรัฐพิธีและงานประเพณีต่างๆ

(4) ดูแลรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของที่ว่าการอำเภอและอาคารสถานที่บริเวณที่ว่าการอำเภอ

(5) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นหรือที่ได้รับมอบหมาย

(6) งานดูแล อาคาร สถานที่ ที่ว่าการอำเภอ หอประชุมอำเภอ บ้านพักข้าราชการ

5.2 ฝ่ายกิจการพิเศษ

อำนาจหน้าที่

(1) ดำเนินงานเกี่ยวกับงานนโยบายรัฐบาล จังหวัด รวมทั้งภารกิจของส่วนราชการอื่นที่ไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบในระดับพื้นที่

(2) ดำเนินการเกี่ยวกับงานส่งเสริมและพัฒนาอาชีพตามที่ได้รับมอบหมาย

(3) สนับสนุนและประสานงานเกี่ยวกับการสงเคราะห์และช่วยเหลือราษฎรผู้ประสบภัยในอำเภอ

(4) ดำเนินการเกี่ยวกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่

(5) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นหรือที่ได้รับมอบหมาย

5.3 ฝ่ายแผนยุทธศาสตร์พัฒนาอำเภอ

อำนาจหน้าที่

(1) ดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนาอำเภอ การส่งเสริมการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน และการจัดทำข้อมูลเพื่อการบริหารและพัฒนาพื้นที่อำเภอแบบบูรณาการ

(2) ดำเนินการประสานแผนพัฒนาระดับต่างๆในพื้นที่อำเภอกับแผนพัฒนาจังหวัด รวมทั้งแผนพัฒนาของหน่วยงานต่างๆที่อยู่ในพื้นที่อำเภอ

(3) ดำเนินงานเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหารงานอำเภอ (กบอ.)

(4) ดูแลรักษาระบบการสื่อสารข้อมูลของกรมการปกครอง ทั้งเครือข่ายภายใน (Intranet) และเครือข่ายภายนอก (Internet) ที่อยู่ในความรับผิดชอบของศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารงานปกครอง

(5) ดำเนินการเกี่ยวกับการบันทึกและการประมวลผลข้อมูลสารสนเทศในความรับผิดชอบของกรมการปกครองเพื่อรายงานผลให้กับส่วนกลาง

(6) ดำเนินการเกี่ยวกับการปรับปรุงฐานข้อมูลสารสนเทศในความรับผิดชอบของกรมการปกครอง การบูรณาการข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบันเพื่อจัดทำเป็นศูนย์ข้อมูลอำเภอ

(7) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นหรือที่ได้รับมอบหมาย

(8) ปฏิบัติงานการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ งานสงเคราะห์ ผู้พิการ ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส

6. งานศูนย์ดํารงธรรมอําเภอ มีหน้าที่

(1) ทำหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ของประชาชนในพื้นที่

(2) ให้บริการข้อมูลข่าวสาร

(3) ให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่ประชาชน

(4) รับเรื่องปัญหา ความต้องการและข้อเสนอแนะของประชาชน

(5) ทำหน้าที่เป็นศูนย์บริการร่วมตามมาตรา 32 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546