กลุ่มผลิตภัณฑ์จากใบตองแห้ง

ผลิตภัณฑ์จากใบตอง

ที่อยู่/ที่ตั้งกลุ่ม ๑๓/๓ หมู่ที่ ๓ ตำบล อ่างทอง อำเภอ บรรพตพิสัย จังหวัด นครสวรรค์

โทรศัพท์ ๐๙๘-๗๖๗๐๓๙๒ นางสุทัศน์ พลีสัตย์ (ประธานกลุ่ม)

ประวัติความเป็นมา

การทำหมวกและการทำกระเป๋าจากใบตองกล้วย สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ คนเท่าคนแก่ โดยเริ่มแรก นางอุบล พิลึกได้ไปฝึกวิธีการทำจาก นางแตงอ่อน แก่นภักดี ผู้เป็นครู ที่อยู่บ้านหนองแคน ตำบลดอนจาน อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยฝึกเรียนรู้วิธีที่เรียกว่า ฝั่น การฝั่นคือการเอาใบตองฉีกให้เป็นเส้น ๒ เส้น แล้วใช้มือฝั่นลงบนหน้าแข้งให้เกิดเป็นเส้นเล็กๆ สมัยก่อนชาวบ้านจะฝั่นเส้นใยปอแก้วให้เป็นเชือกเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เช่น ใช้ผูกมัดสิ่งของ ผูกระหว่างควายกับคันไถที่เรียกว่า คร่าว ครอบครัวในชนบทจึงมีประสบการณ์ฝั่นเชือก วิธีการนี้จึงนำมาทดลองกับใบตองกล้วยฉีก ให้เป็นเส้นเล็กๆ ใช้มือฝั่นลงหน้าแข้งเพื่อทำให้เกิดเป็นเส้นเชือก จากนั้นนำมาถักเปียเย็บขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตามที่ออกแบบไว้ เช่น กระเป๋า หมวก ที่ใส่กระดาษชำระ เครื่องประดับ ฯลฯ

ศิลปะประดิษฐ์ จากผลิตภัณฑ์จากใบตอง จึงสะท้อนความเป็นอยู่ที่มีวิถีชีวิต ในการทำเกษตรแบบเรียบง่าย ใช้วัสดุใกล้ตัว ที่มีอยู่ในท้องถิ่นของตน บางคนอาจมองไม่เห็นคุณค่าวัสดุธรรมชาติที่มีอยู่รอบๆ ตัว สามารถนำมาทำให้เกิดประโยชน์ เกิดรายได้ ทั้งไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมด้วย

ลักษณะที่โดดเด่นของผลิตภัณฑ์จากใบตอง คือ เป็นผลิตภัณฑ์ที่นำวัสดุจากธรรมชาติที่ไม่ใช้ประโยชน์แล้ว นำมาฝั่น ทัก และเย็บด้วยมือเป็นกระเป๋า หรือ ผลิตภัณฑ์ต่างๆ มีรูปแบบสวยงามตามธรรมชาติ และ มีความคงทนทาน

ปี พ.ศ ๒๕๕๗ นางอุบล พิลึก จึงได้มาปรึกษากับครู กศน.ตำบล จึงจัดเป็นการฝึกอาชีพให้กับประชาชนในตำบลเพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับประชาชนและเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

และต่อมาอีก ปี พ.ศ ๒๕๖๑ นางสุทัศน์ พลีสัตย์ กลุ่มสตรีหมู่บ้านอ่างทอง ได้ไปเรียนผลิตภัณฑ์จากใบตองมาและได้นำมาพัฒนาต่อยอดโดยการนำกี่เข้ามาช่วยแทนการควั่น เนื่องจากการควั่นใบตองช้าและเสียเวลา จึงทดลองนำกี่ที่มีอยู่แล้วมาทำการทดลองทอ ผลปรากฏว่าสามารถทำได้ จึงได้เริ่มการเรียนรู้สนับสนุนโดยครู กศน.ตำบลอ่างทองและจะลองพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์แบบต่างๆต่อไป


ผลิตภัณฑ์จากใบตองแห้ง

กระเป๋าใบตองขนาดเล็ก


กระเป๋าสตางค์จากใบตอง


ใบตองแก้วเยติ


รองเท้าใบตอง

รองเท้าลำรอง

กระเป๋า

หมวก

ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย นางสาวรัชดาวรรณ อังชัญ

ภาพถ่าย/ภาพประกอบโดย นางสาวรัชดาวรรณ อังชัญ