วิธีดำเนินการ (20 คะแนน)

ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน (P : Planning)

การวางแผน (Planning) เริ่มต้นด้วยสำรวจปัญหาและบริบทของโรงเรียนร่วมกัน ระหว่างบุคคลผู้เกี่ยวข้องเพื่อให้ทราบถึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ซึ่งเป็นสภาพปัจจุบัน ปัญหาทั้งภายนอกและภายในสถานศึกษา อันจะนำมาเป็นซึ่งข้อมูลพื้นฐานในการกำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ เอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ของสถานศึกษาในการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนา และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ/กิจกรรมที่กำหนดขึ้น และจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนภู่วิทยา พุทธศักราช 2564 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้เทคนิคการ SWOT Analysis การวิเคราะห์องค์กร ดังนี้

กลยุทธ์ S (SWOT Analysis) : การวิเคราะห์องค์กร

โรงเรียนภู่วิทยา โดยความร่วมมือจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้ที่มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน ได้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ ในการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันปัญหาของโรงเรียนโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์กร หรือ SWOT Analysis (2558 : ออนไลน์) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในโรงเรียนซึ่งปัจจัยเหล่านี้แต่ละอย่างจะช่วยให้เข้าใจได้ว่ามีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของโรงเรียนอย่างไร จุดแข็งของโรงเรียนจะเป็นความสามารถภายในที่ถูกใช้ประโยชน์เพื่อการบรรลุเป้าหมาย ในขณะที่จุดอ่อนของโรงเรียนจะเป็นคุณลักษณะภายในที่อาจจะทำลายผลการดำเนินงาน โอกาสทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ให้โอกาสเพื่อการบรรลุเป้าหมายโรงเรียน ในทางกลับกันอุปสรรคทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ขัดขวางการบรรลุเป้าหมายของโรงเรียน ผลจากการวิเคราะห์ SWOT Analysis นี้นำมาเป็นข้อมูลในการการวางแผนเพื่อพัฒนาให้สถานศึกษามีเป้าหมายที่ชัดเจน คือ "ผู้เรียนดี ครูเด่น โรงเรียนดัง"

ขั้นตอนที่ 2 การปฏิบัติ (A : Acting)

เป็นขั้นตอนในการนำแผนปฏิบัติการที่จัดทำขึ้นไปปฏิบัติให้บรรลุตามวัตถุประสงค์/เป้าหมาย โดยใช้วิธีการเชิงระบบ (System Approach) ซึ่งเป็นการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้อย่างประหยัดให้ เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ เพื่อให้การทำงานนั้น ๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ถ้าระบบการทำงานใด ๆ มีผลผลิตหรือผลที่ได้รับ (output) ทั้งคุณภาพและปริมาณมากกว่าทรัพยากร หรือข้อมูล (Input) ที่ใช้ก็ถือว่าระบบนั้นมีประสิทธิภาพ ในทางตรงกันข้ามถ้าหากระบบการทำงาน ใด มีผลผลิต หรือผลที่ได้รับต่ำกว่าทรัพยากรที่ใช้ไป ก็ถือว่าระบบนั้นยังไม่มีประสิทธิภาพ (เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต.2528) มีองค์ประกอบ 3 ประการ ดังนี้


1. ปัจจัยนำเข้า (Input) : จากปีการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า จากปีการศึกษา 2563 ที่ผ่านมาพบว่า ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน
(O-NET) ของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเฉลี่ยรวมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และค่าเฉลี่ยแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระดับชาติ และในปีการศึกษา 2564 สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด-๑๙) ในปัจจุบัน ส่งผลต่อการเรียนการสอนในรูปแบบปกติและส่งผลต่อการเลื่อนเปิดสถานศึกษา เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องสถานที่ การจัดห้องเรียน การได้รับวัคซีนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้เรียน แม่ค้า ผู้ประกอบการรถรับ-ส่งนักเรียน ตลอดจนผู้มาติดต่อราชการ และอุปสรรคต่าง ๆ ที่ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปตามมาตรการ Social Distancing อีกทั้งยังทำให้ผู้เรียนยังขาดคุณลักษณะอันพึงประสงค์บางประการ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เช่น ขาดแรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ และขาดความอ่อนน้อมถ่อมตน จากประเด็นปัญหาดังกล่าวข้าพเจ้าในฐานะผู้อำนวยการโรงเรียนคนปัจจุบัน ได้ตระหนักถึงความสำคัญว่า การจัดเรียนการเรียนรู้ทางออนไลน์ในยุคดิจิทัล เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงวิธีเรียนที่เป็นอยู่เดิม มาเป็นการเรียนแบบใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าสำหรับการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานอย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดผลลัพธ์ (Outcome) ตามวัตถุประสงค์ จึงได้นำเข้าที่ประชุมคณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อปรึกษา หารือร่วมกันวางแผน กำหนดแนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น และนำข้อสรุปที่ได้ ดังนี้


สภาพปัญหาและความต้องการพัฒนา

พัฒนาให้สถานศึกษามีเป้าหมายที่ชัดเจน คือ "ผู้เรียนดี ครูเด่น โรงเรียนดัง"

วัตถุประสงค์/เป้าหมายของนวัตกรรม

เพื่อส่งเสริมให้ให้สถานศึกษามีเป้าหมายที่ชัดเจน คือ "ผู้เรียนดี ครูเด่น โรงเรียนดัง "

2. กระบวนการ (Process) : เป็นขั้นตอนการดำเนินการตามโครงการ/กิจกรรมตามแผนปฏิบัติการฯ โดยใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน โดยเฉพาะ บ้าน วัด โรงเรียน เป็นสถาบันเบื้องต้นของชุมชนและสังคมซึ่งมักนิยมเรียกรวมตัวกันตามอักษรย่อ "บวร" หากสถาบันทั้ง 3 มีความแข็งแกร่ง ชุมชน และสังคมย่อมมีความแข็งแกร่งด้วย การมีส่วนร่วมในการพัฒนาซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญของความสำเร็จในการนำองค์การเป็นสู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศ การมีส่วนร่วมในการพัฒนาคนของสถาบันหลักนั้น เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน เป็นฐานของการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับโรงเรียนและชุมชน ที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน


3. ผลผลิต (Output) : จากการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการฯ ผ่านกระบวนการดำเนินการซึ่งได้รับความร่วมมือจาก บ้าน วัด โรงเรียน และสามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) ว่าผลผลิตของระบบ บรรลุเป้าหมายหรือไม่ อย่างไร กรณีพบจุดบกพร่อง ต้องย้อนกลับไปปรับปรุงขั้นตอนที่ 1 ถึง 3 ทั้งนี้ เพื่อให้ผลผลิตบรรลุเป้าหมายของโรงเรียน (School Quality) ส่งผลให้ผู้เรียนเป็นคนดีมีคุณภาพ นั่นก็คือ "ผู้เรียนมี ภูมิรู้ (เก่ง) ภูมิธรรม (ดี) ภูมิฐาน (มีสุข)"

ขั้นตอนที่ 3 การสังเกต (O : Observing)

จากการวิเคราะห์องค์การโดยใช้เทคนิค SWOT Analysis จึงทำให้ได้ข้อมูลนำมาใช้ในการวางแผนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดีมีคุณภาพ และเป็นโรงเรียนดีมีคุณภาพอย่างยั่งยืน โดยผ่านกระบวนการวิธีเชิงระบบ (System Approach) หลังจากนั้นจำเป็นต้องมีการนิเทศติดตามและประเมินผล เพื่อให้ทราบถึงผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ (Glickman, 1990)


1. การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการนิเทศ : เป็นขั้นที่ผู้บริหาร ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศทำการประชุมปรึกษาหารือเพื่อให้ได้มาซึ่งปัญหาและความต้องการจำเป็นตามสภาพที่เป็นจริงและตามตัวบ่งชี้ด้านต่าง ๆ ของโรงเรียนขณะนั้น มีการวิเคราะห์ที่ตัวบ่งชี้ตามเกณฑ์มาตรฐานที่หน่วยงานต้นสังกัดกำหนด มีการสำรวจและประเมินความต้องการของครู ลำดับความสำคัญของปัญหาและความต้องการ ตลอดจนวิเคราะห์สาเหตุของ ปัญหา กำหนดทางเลือกในการแก้ปัญหา และการดำเนินการตามความต้องการ


2. การวางแผนการนิเทศ : เป็นการนำผลการวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการมาจัดทำแผนการ นิเทศโดยกำหนดรายละเอียด ขั้นตอน ระยะเวลาที่ชัดเจน การวางแผนนิเทศภายในโรงเรียนเป็นขั้นตอนที่นำเอาทางเลือกที่จะดำเนินการมารวมกันกำหนดรายละเอียด กิจกรรมและจัดลำดับขั้นตอน การปฏิบัติ เขียนเป็นโครงการนิเทศภายในโรงเรียน เป็นขั้นตอนของการให้ความรู้ความเข้าใจถึงสิ่งที่ จะดำเนินการว่าจะต้องอาศัยความรู้ความสามารถอย่างไรบ้าง จะมีขั้นตอนการดำเนินการอย่างไร และจะทำอย่างไรจึงจะทำให้ได้ผลงานออกมาอย่างมีคุณภาพ หากสามารถสร้างทักษะพื้นฐานและสร้างเจตคติควบคู่ไปด้วยก็จะดีมาก การสร้างกฎเกณฑ์ในการทำงานร่วมกัน เป็นการสร้างข้อตกลงที่ ทำขึ้นโดยกลุ่มผู้ปฏิบัติงานซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำหรับควบคุมการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี


3. การปฏิบัติการนิเทศ : การปฏิบัติการนิเทศเป็นการดำเนินการตามกิจกรรมที่กำหนดในโครงการนิเทศภายใน โรงเรียน ผู้บริหารหรือผู้นิเทศจะต้องนำหลักการนิเทศ เทคนิค ทักษะ สื่อ กิจกรรมและเครื่องมือนิเทศ ไปใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และผู้รับการนิเทศ เพื่อให้การนิเทศเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ผู้บริหารและผู้นิเทศควรเตรียมความพร้อมก่อนการนิเทศแล้วจึงปฏิบัติการนิเทศเพื่อเสริมแรงใจ กำลังใจ รับทราบปัญหาและความต้องการของผู้รับการนิเทศแล้วนำมาพิจารณาหาทางช่วยเหลือ สนับสนุน ด้วยเหตุที่ต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่ายจึงควรยึดหลักประชาธิปไตยในการทำงาน ยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ภารกิจที่สำคัญในขั้นตอนนี้มีดังนี้

3.1 การบันทึกการนิเทศ ผู้นิเทศควรจดบันทึกผลการนิเทศทุกครั้งเพื่อเป็นหลักฐานหรือสัญญาร่วมกันระหว่างผู้นิเทศและผู้รับ

การนิเทศว่ามีสิ่งใดที่ยังต้องปรับปรุงพัฒนาให้ได้ตามข้อกำหนดที่ต้องการ

3.2 การรายงานผลการนิเทศ เมื่อเสร็จสิ้นการนิเทศแต่ละครั้ง ผู้นิเทศจำเป็นต้องจัดทำ

รายงานผลการนิเทศให้ผู้บริหารรับทราบเพื่อการวินิจฉัยสั่งการและนำรายงานนั้นเก็บเข้าพร้อมนิเทศและนำไปประกอบ การรายงานผลการนิเทศซึ่งประกอบด้วยประเด็นที่สำคัญ อาทิ วัตถุประสงค์ของการนิเทศ กิจกรรมการนิเทศ เนื้อหาสาระของการนิเทศ ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ แนวทางแก้ไขปัญหาเร่งด่วน ยุทธศาสตร์ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงหรือการพัฒนา ผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ก่อนและภายหลังการพัฒนา

3.3 การสนับสนุนจากผู้บริหาร ผู้บริหารควรมีส่วนร่วมในการสนับสนุนปัจจัย ทรัพยากรที่จำเป็นแก่ผู้รับการนิเทศตามความเหมาะสม เช่น สื่อ งบประมาณ การพัฒนาบุคลากร เป็นต้น

3.4 การพัฒนากิจกรรม ผู้นิเทศนำผลจากการนิเทศเข้าที่ประชุมของสถานศึกษาเพื่อร่วมกันพิจารณาแนวทางในการแก้ปัญหา และนำไปวางแผนการนิเทศในครั้งต่อไป ในขั้นตอนนี้ เป็นการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผู้รับการนิเทศได้ในขณะปฏิบัติการนิเทศ นอกจากผู้นิเทศจะให้คำแนะนำ ข้อคิดเห็นแก่ผู้รับการนิเทศแล้วควรให้การยกย่อง ชมเชยเป็นครั้งคราว ตามโอกาสอันควรส่งผลให้เกิดการแก่ผู้ปฏิบัติงานอย่างยิ่ง


4. การประเมินผล : เป็นการตรวจสอบความสำเร็จของโครงการกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้ มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ ประเมินความพึงพอใจของผู้รับการนิเทศ ประเมินกระบวนการนิเทศ ภายในโรงเรียน สรุปรวมผลการประเมินเพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการปรับปรุงการปฏิบัติงานในโอกาสต่อไป ผู้นิเทศควรสร้างข้อตกลงร่วมกันในการกำหนดเกณฑ์การประเมินผลซึ่งการประเมินผลควรจะประเมินระหว่างการดำเนินงานเป็นระยะ ๆ ซึ่งจะทำให้ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศมีข้อมูลเพื่อการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง ทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ขั้นตอนที่ 4 การสะท้อนผล (R : Reflecting)

การสะท้อนผลเป็นขั้นสุดท้ายของวงจรการทำงานวิจัยปฏิบัติการ เพื่อประเมินหรือตรวจสอบผลของการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน บรรลุตามเป้าหมายส่งผลให้ผู้เรียนเป็นคนดีมีคุณภาพ นั่นก็คือ"ให้สถานศึกษามีเป้าหมายที่ชัดเจน คือ "ผู้เรียนดี ครูเด่น โรงเรียนดัง " โดยพิจารณาจากผลลัพธ์ (Outcomes) ของการพัฒนาโดยใช้การขับเคลื่อนกระบวนการ PLC (Professional Learning Community) "ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ" โดยมีกระบวนการในการทำงาน ดังต่อไปนี้

1. ต้องมีการรวมกลุ่ม และกลุ่มนั้นต้องมีลักษณะคล้ายๆกัน เช่น

1.1 จัดกลุ่มครูที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน

- กลุ่มครูที่สอนวิชา/กลุ่มสาระเดียวกันในระดับชั้นเดียวกัน

- กลุ่มครูที่สอนวิชา/กลุ่มสาระเดียวกันในช่วงชั้นเดียวกัน

- กลุ่มครูตามลักษณะงาน/โครงการ/กิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย

1.2 จำนวนสมาชิก 6-8 คน ผู้บริหาร/ศึกษานิเทศก์ หมุนเวียนเข้าร่วม ทุกกลุ่ม

1.3 ระยะเวลา 2-3 ชม.ต่อสัปดาห์ ตลอดหนึ่งปีการศึกษา กำหนดเป็นชั่วโมงชัดเจนจะดีมาก

1.4 จัดชั่วโมงอยู่ในภาระการสอนของครู/ภาระงาน เพื่อไมให้ครูถือว่าเป็นภาระเพิ่มขึ้น

1.5. การจัด PLC โดยใช้ ICT ในการเข้ากลุ่มระหว่างการดำเนินการ

2. บทบาทของบุคคลในการทำ PLC

2.1 ผู้อำนวยความสะดวก

- รักษาระดับการมีส่วนร่วมของสมาชิก

- ควบคุมประเด็นการพูดคุย

- ยั่วยุให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยให้ทุกคนแสดงความคิดเห็น

2.2 สมาชิก

- เปิดใจรับฟัง และเสนอความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์

- รับแนวทางไปปฏิบัติและนำผลมาเสนอ พร้อมต่อยอด

2.3 ผู้บันทึก

- สรุปประเด็นการสนทนาและแนวทางแก้ปัญหา พร้อมบันทึก Logbook

3. กลุ่มร่วมกันคิด “ปัญหาที่เกิดจากการดำเนินการตามโครงการ/กิจกรรม” ในแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา หาปัญหาสำคัญที่สุด สิ่งที่ต้องระวัง คือ การไม่ช่วยกันค้นหาปัญหาที่แท้จริง ผลักปัญหาออกจากตัว

4. หาสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหา จากนั้นกลุ่มอภิปรายหาสาเหตุที่แท้จริง

5. หาแนวทางแก้ไข “ปัญหาที่เกิดจากการดำเนินการตามโครงการ/กิจกรรม” ในแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา ที่สำคัญนั้น
จะแก้ไขอย่างไรดูสาเหตุของปัญหา แนวทางแก้ปัญหาอาจใช้ประสบการณ์ของครูที่ทำให้เกิดความสำเร็จ ผู้ทรงคุณวุฒิ งานวิจัย หรือแหล่งอื่นๆ ที่มีการเสนอแนวทางไว้แล้ว จากนั้น สรุปแนวทางการแก้ปัญหาสำคัญ 1 เรื่อง หรือ 2 เรื่องตามสภาพของโรงเรียน

6. นำแนวทางที่สรุปเพื่อนำไปแก้ไขปัญหา มาช่วยกันสร้างงาน สร้างแผนงาน เลือกการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL) โดยมีสิ่งที่ต้องทำต่อ คือ ทำอย่างไร ทำเมื่อไร ใช้อย่างไร และตรวจสอบการทำงานอย่างไร จะเสนอผลระหว่างทำงานและสรุปผลเมื่อไร