ข้อมูลหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชานวัตกรรมทางศิลปะและวัฒนธรรม 

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย: หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชานวัตกรรมทางศิลปะและวัฒนธรรม

ภาษาอังกฤษ:  Bachelor of Fine and Applied Arts Program in Arts and Cultural Innovation

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (นวัตกรรมทางศิลปะและวัฒนธรรม)

ชื่อย่อ  (ภาษาไทย): ศป.บ. (นวัตกรรมทางศิลปะและวัฒนธรรม)

ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Bachelor of Fine and Applied Arts (Arts and Cultural Innovation)

ชื่อย่อ  (ภาษาอังกฤษ): B.F.A. (Arts and Cultural Innovation)

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา /คณะ/สาขาวิชา 

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คณะ/สาขาวิชา  คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชาทัศนศิลปและออกแบบนิเทศศิลป

ข้อมูลหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร   126   หน่วยกิต

รูปแบบของหลักสูตร หลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ 


หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมทางศิลปะและวัฒนธรรม (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2566) มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ทักษะ คิดวิเคราะห์และสังเคราะห์อย่างเป็นระบบ บูรณาการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิตอล เพื่อการสร้างนวัตกรรมทางศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลายได้อย่างมืออาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณตามหลักวิชาชีพ และเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกและสังคม ที่มีคุณสมบัติดังนี้

1) เป็นนักสร้างสรรค์นวัตกรรมทางศิลปะและวัฒนธรรม ที่มีความรู้ความเข้าใจในหลักการ ทฤษฎีและมีทักษะปฏิบัติในการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางศิลปะและวัฒนธรรมที่ดีเหมาะสมและหลากหลาย สร้างผลงานที่มีความแตกตาง มีความท้าทาย สู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม

2) เป็นนักบริหารจัดการทางศิลปะและวัฒนธรรม ที่มีความรู้ความเข้าใจในหลักการทฤษฎีกระบวนการขั้นตอนการบริหารจัดการศิลปะและวัฒนธรรม สามารถกําหนดกลยุทธ์และบริหารจัดการศิลปะวัฒนธรรมไปสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ และเป็นมืออาชีพในด้านการบริหารจัดการศิลปะและวัฒนธรรม

3) เป็นนักประยุกต์ส่งเสริม และพัฒนาศิลปะและวัฒนธรรม ที่สามารถใช้ศิลปะและวัฒนธรรมเชื่อมโยงกับการบริหารจัดการในบริบทที่มีความหลากหลาย ทั้งชุมชน สังคม ธุรกิจ หรือสถานการณ์ที่ท้าทาย มีทักษะทาง  ด้านเทคโนโยลีดิจิทัล ทักษะผู้ประกอบการสร้างสรรค์มีความรอบรู้ทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม มีทัศนคติที่เคารพต่อความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทั้งวัฒนธรรมทองถิ่นและโลก มีคุณธรรมและจริยธรรมในบทบาทผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมทางศิลปะและวัฒนธรรม 

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1. นักวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรมในหน่วยงานราชการ เช่น กระทรวงวัฒนธรรม วัฒนธรรมจังหวัด พิพิธภัณฑสถาน หอศิลป์ ศูนย์วัฒนธรรม หอจดหมายเหตุ สํานักงานด้านศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น

2. นักวิจัยทางศิลปะและวัฒนธรรม

3. องค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องในด้านวัฒนธรรม เช่น UNESCO, IUCN, World Heritage Center, World Bank, UNWTO เป็นต้น

4. ผู้ผลิตสื่อรายการโทรทัศน์ภาพยนตร์ สื่อออนไลน์ และสื่อสร้างสรรค์ด้านวัฒนธรรม

5. ผู้ประกอบธุรกิจด้านการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม

6. ผู้ประกอบกิจการสตาร์ทอัพด้านศิลปวัฒนธรรม 

ลิงค์เข้าสู่เว็บไซต์ หลักสูตรนวัตกรรมทางศิลปะและวัฒนธรรม 

https://artsculturalinnova.wixsite.com/my-site-2