รวมเรื่องสั้น

ผู้เฒ่าไมโล

ประวัติของเริงศักดิ์ กำธร

เรื่องส่วนตัว

เกิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2503 ที่ อ.ห้วยยอด จ.ตรัง เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้อง 5 คน ของนายสุพัตร์กับนางประภา กำธรสมรสกับนางสุรัตน์ ราชศิริ มีบุตร 1 คน ชื่อ เด็กชายเริงชัย กำธร กับนางอัมพร อินดิรุด (เลิกกันตั้งแต่สมัยเรียนอยู่ ม.ศ.4)

การศึกษา

เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนห้วยยอดประศาสตร์วิทย์ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ไปจบม.ศ.3 ที่โรงเรียนมัธยมราษฎร์วิทยาลัยแล้วไปต่อที่โรงเรียนเขลางนคร โดยสอบเข้าเรียนได้ในอันดับที่ 3 แผนกวิทย์-คณิต เพราะมีนักเรียนมาสมัครสอบแค่ 3 คนระหว่างที่เรียนเป็นประธานชมรมกีฬาแต่ถูกเชิญให้ออกกลางคันขณะที่เรียนอยู่ ม.ศ.4 (สาเหตุเรื่องชู้สาวและได้บุตรชายในระหว่างเรียน) แล้วไปจบม.ศ.5 ที่โรงเรียนสุราษฎร์ธานี (สายศึกษาผู้ใหญ่) จังหวัดสุราษฎร์ธานี แล้วมาเข้าเรียนระดับปริญญาตรีคณะบริหารงานบุคคลที่มหาวิทยาลัยเทคนิคสยาม (ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นมหาวิทยาลัยสยาม) ระหว่างเรียนได้เป็นหัวหน้าพรรคสามพลัง ถูกพักการเรียนหนึ่งเทอม (ในข้อหาไปรับจ้างใครมาโจมตีวิทยาลัยในขณะหาเสียง) ปัจจุบันกำลังศึกษาในระดับปริญญาโทที่มศว.ประสานมิตรโดยสอบเข้าได้คะแนนสูงเป็นอันดับที่ 1 ในสาขาการศึกษาผู้ใหญ่

ประสบการณ์

หนีออกจากบ้าน 14 ครั้งใช้ชีวิตอยู่นอกบ้านมาโดยตลอดครั้งที่ไปไกลที่สุดไปถึงประเทศพม่าโดยไปอาศัยวัดพม่าอยู่ถึง 7 วัน
ในระหว่างที่หนีไปอยู่จังหวัดสุราษฎร์ยึดอาชีพเป็นนักมวยใช้ชื่อบัวขาว ศิษย์ศักดาและไปเป็นกรรมกรก่อสร้าง ขณะที่มาเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยสยามอาศัยอยู่กับหลวงลุงสมโพธิ เขมโก คณะ 2 วัดสังข์กระจาย เจริญพาสน์ ระหว่างนี้ตอนกลางคืนเป็นบ๋อยอยู่ที่ภัตตาคารซีพีชาลีการ์เด้น ปิ่นเกล้า
เป็นเซลล์แมนขายไม้จิ้มฟัน กระดาษชำระ เครื่องสำอาง หัวเชื้อน้ำมันเครื่องและขับแท็กซี่ป้ายดำ
เป็นนักเล่นกลขายยาตามตลาดนัด
เป็นแชมป์มวยสากลของสถาบันอุดมศึกษาแห่งประเทศไทยในปี 2522 ในรุ่นไลต์เวลเตอร์เวต

อาชีพ

มีตำแหน่งเป็นผช.บรรณาธิการข่าวสิ่งแวดล้อม น.ส.พ.เดลินิวส์และนักเขียนคอลัมน์นิสต์หลายนามปากกา
นามปากกาที่ใช้ ยอด ห้วยแห้ง รุ่ง เรืองตะวัน เขมโก ประภารัตน์และนามประกาผู้หญิงที่ไม่เปิดเผยอีก 1 นาม
ยอด ห้วยแห้งใช้เขียนประเภทเสียดสีประชดประชันในวงการศึกษา
รุ่ง เรืองตะวันใช้เขียนแนวปรัชญาชีวิต
เขมโก เขียนบทความทางศาสนาและวงการสงฆ์ในคอลัมน์ "ร่มผ้าเหลือง"
ประภารัตน์ใช้เขียนบทความทางวิชาการสารคดีทั่วไป
เริงศักดิ์ กำธร เขียนเรื่องสั้นสารคดีตามไปดูและนวนิยายทั่วไปที่ต้องการเผยนามผู้เขียน
ในปี พ.ศ.2530 ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้สื่อข่าวดีเด่นของ น.ส.พ.เดลินิวส์ที่เป็นผู้ขุดคุ้ยเสนอข่าวทุจริตสอบครู สปช. ปีพ.ศ. 2532 ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้สื่อข่าวสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมเข้ารับพระราชทานโล่จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในปี 2533 ได้เป็นตัวแทน น.ส.พ.เดลินิวส์ เข้ารับโล่เกียรติยศจากการเสนอข่าวสารคดีบทความสิ่งแวดล้อมดีเด่นประจำปี 2500 ขอของสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย

"... หลังจากที่หนังสือรวมเรื่องสั้นชุดผู้เฒ่าไมโลได้รับการพิจรณาตัดสินจกคณะกรรมการ วรรณกรรมเรื่องสั้นรางวัลรีไรท์-วรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซี่ยน ประจำปี 2533 เข้ารอบสุดท้าย 7 เรื่อง และให้ถือว่ได้อันดับสองรองจากรวมเรื่องสั้นชุดอัญมณีแห่งชีวิต ของอัญชัญ
ข้าพเจ้าได้ถูกสื่อมวลชนสัมภาษณ์สอบถามถึงความรู้สึก ว่ารู้สึกอย่างไร ข้าพเจ้าตอบอย่างตรงไปตรงมาไม่เสแสร้งหรือดัดจริตว่า "ดีใจครับ" แต่ก็ดีหน่อยหนึ่งที่เขาไม่ถามต่อว่าเพราะอะไร ซึ่งข้าพเจ้าจะบอกเสียตรงนี้เลยว่า ที่ดีใจนั้นเนื่องจากไม่เคยคิดเคยฝันมาก่อนว่า ข้าพเจ้าจะได้เป็นเจ้าของหนังสือเล่มนี้
ก่อนที่มันจะเป็นรูปเล่มให้ได้อ่านกันเป็นความบังเอิญแท้ ๆ ผู้ที่มีพระคุณทำให้หนังสือเล่มนี้เกิดขึ้นมาในบรรณพิภพคือคุณทัดดาว ลออโรจน์วงศ์ นักวิจัยสังคมศาสตร์ กรมพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทย
คืนนั้นเกือบสองยามแล้วข้าพเจ้ากับภรรยาหอบตนฉบับ "ใต้-ฝุ่นเกย์" ของเพื่อนนักเขียนท่านหนึ่งเอาไปให้เธอดูเพื่อจะจัดพิมพ์เผยแพร่เป็นหนังสืองานศพของคุณเฉลิม รื่นเริงดี
คุณทัดดาวเปิดอ่านดูตนฉบับที่ข้าพเจ้าเตรียมไปแล้ว บอกข้าพเจ้าว่า ทำไมไม่เอาเรื่องสั้นของข้าพเจ้าที่เคยตีพิมพ์อยู่ในหนังสือต่าง ๆ มาพิมพ์ล่ะ อย่างน้อยตัวเองจะได้มีผลงานออกมาอีกสักหนึ่งเล่ม
"เรื่องของคุณเริงศักดิ์ ดีนะแต่ต้องคัดให้ดีหน่อย เผลอ ๆ เข้ารอบสุดท้ายรางวัลชีไรท์ก็ได้" จากจุดนั้นเองที่ทำให้ข้าพเจ้ามารื้อแฟ้มทบทวนอ่านงานองตัวเองอีกครั้งหนึ่งแล้วมันก็ได้หนังสือ "ผู้เฒ่าไมโล" เป็นหนังสืองานศพกับเขามาเล่มหนึ่ง ไม่ได้คิดอะไรให้มันไกลไปกว่านี้เลย
เมื่อเขาเอาไปอ่านกัน เขาก็บอกว่ามันดีนะ พิมพ์ขายสิ เผื่อขายได้ หลังจากนั้นอาจารย์ขนิษฐา คุณาลัย ประชาสัมพันธ์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเพาะช่างโทรศัพท์มาบอกข่าวร้ายกลางดึกว่า
"คุณเริงศักดิ์ คุณอาจ ศรีสมวงษ์ พี่ชายดิฉันตายแล้ว จะเผาวันที่ 9 ก..นี้ ไม่รู้จะเอาหนังสืออะไรมาแจกในวันนั้น"
ข้าพเจ้าบอกเธอว่าเอาเรื่องสั้นชุดผู้เฒ่าไมโล ของผมไปพิมพ์เลย ผมไม่คิดอะไรหรอก เพลตผมมีอยู่แล้ว ค่าเรื่องก็ไม่ต้องเสีย เอาไปเลยสำหรับพึ่ จากนั้นข้าพเจ้ากับคุณสุรัตน์ ราชศิริ ภรรยาคู่ทุกข์คู่ยาก ก็ตะรอนไปไหว้วานพรรคพวกเพื่อนฝูงที่อยู่องค์การค้าคุรุสภา ช่วยกันพิมพ์ตัวคอมพิวทไปติดต่อร้านเพลต และโรงพิมพ์เพื่อให้มันเสร็จออกมาทันในงานฌาปนกิจศพในวันที่ 9 ก.. ก็เป็นอันว่าหนังสือโนเนมเล่มนี้ก็ได้พิมพ์ออกมาเป็นครั้งที่ 3
และครั้นเมื่อสำนักพิมพ์บางหลวงได้ส่งเข้าประกวด รางวัลซีไรท์ แล้วปรากฎว่าเป็นหนังสือเข้ารอบสุดท้าย 7 เล่ม ซึ่งกรรมการถือว่าเป็นอันดับสองรองจากรวมเรื่องสั้นอัญมณีแห่งชีวิต ในวันรุ่งขึ้นทางบริษัทามัคคีสาส์น ได้เช็ดยอดหนังสือจากร้านต่าง ๆ ปรากฏว่าเหลือเพียง 6 เล่มเท่านั้น ก็สั่งให้พิมพ์เพิ่มอีก 4,000 เล่ม ก็เป็นอันว่าหนังสือเล่มนี้ได้พิมพ์เป็นครั้งที่ 4 ถ้าหากมีใครมาถามความรู้สึกตอนนี้ ข้าพเจ้าก็คงต้องตอบว่า
"ดีใจครับ" และขอขอบคุณทุกท่านที่ให้การสนับสนุนผลงานของข้าพเจ้าด้วยดีเสมอมา ..."


เริงศักดิ์ กำธร

ผลงานนักเขียน

อ้างอิง

รวมเรื่องสั้น ผู้เฒ่าไมโล โดยสำนักพิมพ์บางหลวง