วิชา หลักการประกอบอาหาร

หลักการประกอบอาหารเบื้องต้น

การเลือกซื้อผักและผลไม้

1. การเลือกซื้ออาหารประเภทผัก

ผักที่ใช้เป็นอาหาร ได้มาจากส่วนต่างๆ ของพืช ได้แก่ ใบ ราก ผล เมล็ด ดอก โดยมีวิธีเลือกซื้อผัก ดังนี้ เลือกซื้อตามฤดูกาล จะได้ผักที่มีคุณภาพดี ราคาถูก เลือกซื้อจากสี ขนาด รูปร่าง ความอ่อนแก่ สด ไม่ช้เลือกซื้อตามชนิดของผัก เช่น

- ผักที่เป็นหัว ควรเลือกซื้อที่มีน้ำหนัก เนื้อแน่น ไม่มีตำหนิ

- ผักที่เป็นฝัก ควรเลือกฝักอ่อนๆ เช่น ถั่วฝักยาว ต้องสีเขียว แน่น ไม่พอง อ้วน

- ผักที่เป็นใบ ควรเลือกสีเขียวสด ไม่เหี่ยว ไม่มีรอยช้ำ ไม่มีหนอน ต้นใหญ่ อวบ ใบแน่นติดกับโคน

- ผักที่เป็นผล ควรเลือกสีเขียวสด ไม่เหี่ยว ไม่เสีย

ตัวอย่างการเลือกซื้อผักสดบางชนิด

- หัวไชเท้า เลือกหัวที่ไม่งอ ขนาดกลางยังอ่อนๆ มีผิวเรียบ

- กะหล่ำปลี เลือกหัวแน่นๆ จะมีน้ำหนักมาก

- ผักที่เป็นฝัก เช่น ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา เลือกฝักอ่อนๆ สีเขียว เนื้อแน่นไม่ฝ่อ ฝักแก่จะมีสีขาวนวล

- ผักที่เป็นใบ เช่น ผักคะน้า ผักกาดหอม ฯลฯ เลือกต้นที่มีสีเขียวสด ไม่เหี่ยว ไม่มีรอยช้ำ ต้นใหญ่ ใบติดโคนแน่น

- มะเขือเปราะ มะเขือยาว เลือกขั้วติดแน่น สีสด น้ำหนักมาก ไม่เหี่ยว

- แตงร้าน เลือกลูกที่มีน้ำหนักมาก ลูกยาว สีเขียวอ่อน ไม่มีรอยช้ำ ผิวนวล

- แตงกวา แตงกวาผิวเขียว ดีกว่าผิวขาวนวล ผิวเขียวเนื้อหนาเมล็ดเล็ก เนื้อจะกรอบ กว่าผิวขาวนวล ซึ่งมีเนื้อน้อยและเหนียว

- ฟักทอง เลือกลูกที่มีน้ำหนักมาก ผิวเปลือกขรุขระ เนื้อจะแน่น

2. การเลือกซื้อผลไม้

มีวิธีการเลือกซื้อผลไม้ ดังนี ต้องดูผิวสดใหม่ ขั้วหรือก้านยังเขียวและแข็ เปลือกไม่ช้ำ ขนาดของผลสม่ำเสมอ หากมีมดขึ้นตามกิ่งและผล แสดงว่าไม่สารพิษตกค้าง หรือมีไม่มาก

ตัวอย่างการเลือกซื้อผลไม้บางชนิด

- ส้มเขียวหวาน เลือกที่มีเปลือกบาง มีสีเขียวเหลือง น้ำหนักพอสมควร

- สับปะรด เลือกตาใหญ่ เปลือกสีเขียวอมเหลือง

- มังคุด เลือกขนาดเล็ก ผิวเรียบ

- ลางสาด เลือกผลยาวรี ผิวสีเหลืองนวล จับดูเนื้อนุ่ม ใกล้ขั้วมีสีเหลืองออกน้ำตาล

- เงาะ เลือกเงาะสดไม่เหี่ยว

- ชมพู่ ผิวเรียบไม่มีแมลงกัดกิน ลูกใหญ่

- องุ่น เลือกที่เป็นพวง ลูกใหญ่

3.การเลือกซื้อเนื้อสัตว์

  1. การเลือกซื้อเนื้อหมู ควรเลือกที่สดใหม่ ต้องเป็นเนื้อสีชมพูอ่อนๆ เนื้อไม่แน่นหรือเนื้อแข็งเกินไป แต่ถ้าเจอเนื้อสีแดงสดใส แสดงว่าเนื้อหมูที่มีสีแดงสดใสนั้นอาจจะใส่สารเร่งเป็นได้ แต่ถ้าสีเนื้อมีสีเขียวคล้ำ หรือเนื้อดูช้ำๆ นั้นหมายความว่าเนื้อนั้นเสียแล้ว และถ้าเนื้อที่มีสีซีดๆหรือเหมือนแช่แข็ง อันนั้นคือหมูเก่า จากนั้นก็ใช้นิ้วกดดูจะยืดหยุ่นได้ดี ไม่มีรอยบุ๋มถือว่าเป็นอันใช้ได้

  2. การเลือกซื้อเนื้อวัว ที่ดีควรมีสีแดงสด มันสีขาว เนื้อแน่น ไม่เป็นรอยบุ๋มยวบเมื่อกดลงไป ไม่มีกลิ่นเหม็นคาว หรือเน่า ไม่มีรอยเขียวคล้ำ ถ้าพบว่าเนื้อเป็นสีเหลือง แสดงว่าไม่ลด และ ไม่ควรแห้งจนเกินไป เนื้อควรมีความชุ่มชื้นพอเหมาะ

  3. การเลือกซื้อปลา เนื้อปลาต้องแน่น ไม่เละ กดดูเนื้อปลาต้องเด้งคืนกลับมาอย่างรวดเร็ว ตาปลาต้องกลมใส ไม่ขุ่นหรือหลุดออกจนโบ๋

เหงือกปลาต้องมีสีแดงสด ไม่เขียวคล้ำ เกล็ดปลาต้องมันเป็นเงา เรียบและไม่หลุดออกจากตัว กลิ่นของปลาต้องมีกลิ่นคาว

ธรรมชาติ ไม่มีกลิ่นเหม็นเน่า บริเวณใต้ท้องปลาต้องไม่แตก

  1. การเลือกซื้อเนื้อไก่ ไก่สดต้องตาใส ผิวของไก่ต้องเต็มไม่เหี่ยวย่น ไม่มีจ้ำเขียวๆ ไม่ซีดมาก ส่วนอกไก่ จะต้องมีลักษณะ

เนื้ออ้วนแน่น ถ้าตัดเนื้อดูจะไม่มีสีเขียว ตรงรอยที่คอจะไม่เขียวซ้ำ ดมแล้วไม่มีกลิ่นเหม็น ขาควรจะเรียบ

4. หลักการประกอบอาหารประเภทต้ม

1.การทำอาหารประเภทต้ม แกง เช่น แกงจืด ต้มปลา ถ้าหากเป็นแกงที่ต้องใส่เนื้อสัตว์ ได้แก่เนื้อหมู เนื้อไก่ ให้ใส่ไปพร้อมกับน้ำตั้งไฟได้ แต่หากเป็นเนื้อปลา ควรให้น้ำเดือดก่อน จึงใส่ปลาลงไปได้ เพื่อป้องกันแกงมีกลิ่นคาว หากเป็นผัก ให้ใส่ผักที่สุกยากลงไปก่อน เช่น ฝักเขียว หน่อไม้ หัวไชเท้า หากเป็นผักที่สุกเร็ว ให้ใส่ลงตอนท้าย แล้วยกหม้อลงเลย เช่น ผักกาดหอม ต้นหอม ขึ้นฉ่าย

2. การลวกผัก การลวกผักที่ดี จะต้องใช้เวลาในการลวกไม่นาน และใช้น้ำน้อย ควรใส่เกลือลงในน้ำลวกผักด้วยเพื่อให้ผักมีสีสวย

หรืออาจใส่น้ำมันเพื่อให้ผักมีความเงาสวยงาม เมื่อลวกผักเสร็จแล้ว ควรนำผักที่ลวกแช่ในน้ำเย็นทันที เพื่อป้องการการสุกต่อไปของผัก

3. การต้มไข่ ในการต้มไข่ มีเทคนิคคือ 1. ใส่ไข่ตอนน้ำยังไม่เดือดป้องกันไข่แตก 2. ให้คนไข่ตลอดการต้ม จะทำให้ไข่แดงอยู่ตรงกลาง 3. ใส่เกลือลงในน้ำต้มไข่ จะทำให้ไข่ปอกง่าย 4. ระยะเวลาในการต้มไข่จะทำให้ไข่มีลักษณะที่แตกต่างกันดังนี้

ต้มนาน 2 นาที - ไข่ขาวยังไม่สุกดีนัก และไข่แดงก็ยังดิบอยู่ หรือ "ไข่ลวก"

ต้มนาน 4 นาที - ไข่ขาวสุกเริ่มดีแล้ว ไข่แดงก็ยังกึ่งสุกกึ่งดิบและเหลวอยู่ หรือ "ไข่ต้มยางมะตูม" เหมาะแก่การทำไข่ลูกเขย ยำไข่ต้ม

ต้มนาน 6 นาที - ไข่ขาวสุกเต็มที่ และไข่แดงก็เกือบจะสุกแล้ว แต่บริเวณกึ่งกลางยังเหนียวอยู่เล็กน้อย

ต้มนาน 8 นาที - ไข่ขาวสุกเต็มที่ และไข่แดงก็เกือบสุกแล้วเช่นกัน แต่ยังอ่อนตัวอยู่เล็กน้อย

ต้มนาน 10 นาที - ทั้งไข่ขาวและไข่แดงสุกเต็มที่ หรือ "ไข่สุก" เหมาะแก่การทำไข่พะโล้

4. การผัด การผัดที่ดี จะต้องเตรียมทุกอย่างให้พร้อม ทั้งเนื้อสัตว์ ผัก เครื่องปรุง เพราะการผัด จำเป็นต้องใช้ไฟแรง และเวลาน้อย

เพื่อรักษาคุณค่าอาหาร และลักษณะของอาหารให้ดี คือ เมื่อผัดเสร็จแล้ว เนื้อสัตว์ต้องสุกทั่ว และผักยังกรอบ ไม่เละ

  1. เทคนิคการทอดปลา น้ำมันที่เหมาะจะใช้ในการทอดปลา คือน้ำมันปาล์ม เพราะน้ำมันปาล์มมีจุดเดือดสูงกว่าน้ำมันชนิดอื่น

การทอดปลาไม่ให้ติดกะทะ สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การนำปลาไปชุปแป้งก่อนทอด หรือทาเกลือ

ในการทอดปลา ควรเอาด้านหนังปลาลงก่อน และให้ด้านหนึ่งสุกก่อนค่อยกลับปลา ไม่ควรกลับปลาไปมา จะทำให้ปลาเละ

  1. อาหารประเภทพริกแกง พริกแกง หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเครื่องเทศและสมุนไพรต่างๆ เช่น พริกสด พริกแห้ง หัวหอม กระเทียม ข่าตะไคร้ ผิวมะกรูด บดผสมให้เข้ากัน อาจมีส่วนประกอบอื่น เช่น กะปิ น้ำตาล น้ำปลา เกลือ แล้วอาจผสมกับกะทิหรือน้ำมันบริโภคตามส่วนประกอบของน้ำพริกแกงแต่ละชนิด บางชนิดเพิ่มสีสันของพริกแกง เช่น พริ่กแกงเขียวหวาน ใส่ใบพริกเพื่อเพิ่มสีสัน และอาจนำไปให้ความร้อนหรือไม่ก็ได้ นำไปประกอบอาหารได้ทันที