งานเครื่องราชอิสริยาภรณ์  มอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบดังนี้  


              มีหน้าที่

                   1.  แต่งตั้งคณะทำงานและมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบ   

                   2.  การเสนอขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์ 

                              -  สำรวจและตรวจสอบคุณสมบัติของข้าราชการที่อยู่ในเกณฑ์สมควรได้รับ       การพิจารณาเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย         การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ศ.2536 โดยศึกษาจากประมวลกฎหมาย เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย (บัญชี 7) 

                              -  สำรวจและตรวจสอบคุณสมบัติของพนักงานราชการที่อยู่ในเกณฑ์สมควรได้รับการพิจารณาเสนอขอ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ โดยศึกษาจากประมวลกฎหมายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย (บัญชี 32) 

                              -  สำรวจและตรวจสอบคุณสมบัติของข้าราชการที่อยู่ในเกณฑ์สมควรได้รับ      การพิจารณาเสนอขอพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย      การขอพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา พ.ศ.2484 โดยพระราชทานให้แก่ข้าราชการ พลเรือนที่รับราชการมาด้วยความเรียบร้อยเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 25 ปีบริบูรณ์ 

                              -  จัดทำแบบประวัติสำหรับเสนอขอพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา จำนวน 4 ฉบับ 

                              -  สำหรับข้าราชการที่มาช่วย / ไปช่วยปฏิบัติราชการให้สถานศึกษาที่มาช่วย / ไปช่วยเป็นหน่วยงานเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญจักรพรรดิมาลา 

                              -  หากเป็นการขอพระราชทานในกรณีเกษียณอายุราชการให้จัดส่งเอกสารประกอบการพิจารณาเสนอขอพระราชทาน 

                   3.  การจ่ายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ 

                              -  จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ได้รับการจ่ายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ 

                              -  จัดทำแบบสรุปบัญชีรายชื่อผู้ได้รับการจ่ายเครื่องราชอิสริยาภรณ์

                              -  จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่วายชนม์ (แบบ ทฐ.5)  ทุกรอบ 4 เดือน คือ ในสัปดาห์แรกของเดือนเมษายน สิงหาคม และธันวาคม (ถ้ามี) 

                              -  จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ชดใช้เงินแทนราคาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่วายชนม์ (แบบ ทฐ.4)   (ถ้ามี) 

                              -  จัดส่งผู้แทนหรือเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบไปตรวจรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญจักรพรรดิมาลา ที่สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ 

                              -  เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญจักรพรรดิมาลาที่ได้รับจัดสรรไปจ่ายให้แก่ ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญจักรพรรดิมาลาในปีที่ได้รับ (ห้ามนำไปจ่ายให้แก่ผู้ได้รับพระราชทานในปีอื่น) 

                              -  ก่อนที่จะดำเนินการจ่ายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ผู้ได้รับพระราชทาน  รายใด ขอให้เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นรองในตระกูลเดียวกัน รวมทั้งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นรองที่ส่งคืนตามกฎหมายแต่ยังไม่ได้ส่งคืน (ถ้ามี) 

                              -  จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ส่งคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นรอง (แบบ ทฐ.3) 

                              -  จัดพิมพ์ชื่อ-ชื่อสกุลของผู้ส่งคืนติดกำกับไว้ที่เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทุกดวงที่ส่งคืน 

                              -  จัดทำจดหมายราชการแยกเรื่องการส่งคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นรอง   จากเรื่องการจ่ายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นต่ำกว่าสายสะพายและเหรียญจักรพรรดิมาลา

                              -  ดำเนินการส่งคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นรองให้เรียบร้อยก่อน จึงให้จ่ายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทานสูงขึ้น 

                              -  บันทึกรายชื่อผู้ได้รับการจ่ายลงในบัญชีรายชื่อผู้ได้รับการจ่าย ลงลายมือชื่อ  ผู้ได้รับการจ่ายอย่างชัดเจน จำนวน 4 ชุด 

                              -  จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ได้รับการจ่ายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในแต่ละชั้นตรา  (แยกบุรุษ-สตรี) ออกจากกันและรวบรวมจัดเรียงเป็นชุด (แยกชั้นตรา/แยกเพศ) 

                              -  สรุปจำนวนลงในแบบบัญชีรายชื่อผู้ได้รับการจ่ายในแต่ละชั้นตรา เพื่อใช้เป็นงบหน้าบัญชีรายชื่อผู้ได้รับการจ่ายในแต่ละชุด 

                   4.  ประเมินผล สรุป และรายงานผลการดำเนินงาน    

                   5.  ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย