สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 2
วิทยาลัยเทคนิคตรัง
วิทยาลัยเทคนิคตรัง
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พ.ศ. 2567
ประเภทวิชาอุตสาหกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ
กลุ่มอาชีพฮาร์ดแวร์
สาขาช่างเทคนิคคอมพิวเตอร์
รับ...ผู้จบ ม.3 หรือเทียบเท่า
ประเภทวิชาอุตสาหกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ
กลุ่มอาชีพ ฮาร์ดแวร์
สาขาวิชาช่างเทคนิคคอมพิวเตอร์ (ระดับ ปวช.)
💫รายละเลียดของสาขาวิชา
มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้มี ความรู้และทักษะทางเทคนิคในงานด้านคอมพิวเตอร์และเครือข่าย รวมถึงการเขียนโปรแกรม การติดตั้งและดูแลระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยผู้เรียนจะได้เรียนรู้การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ICT การติดตั้งระบบเครือข่าย การแก้ปัญหาทางเทคนิค และการรักษาความปลอดภัยในระบบเครือข่าย นอกจากนี้ หลักสูตรยังพัฒนาทักษะ การทำงานร่วมกัน การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และความสามารถในการประยุต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆให้สอดคล้องกับความต้องการของอุตสหกรรม ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพได้หลากหลาย
🔰การเรียนการสอน
◼ วางแผน ดำเนินงานตามหลักการและกระบวนการ โดยคํานึงถึงการบริหารงานคุณภาพ การอนุรักษ์พลังงาน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม หลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
◼ ปฏิบัติงานพื้นฐานอาชีพช่างเทคนิคคอมพิวเตอร์ตามหลักการและกระบวนการ
◼ เลือก ใช้และบํารุงรักษาเครื่องมือวัสดุ อุปกรณ์ในงานอาชีพตามหลักการและกระบวนการ โดยคํานึงถึงความประหยัดและความปลอดภัย
◼ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ เพื่อพัฒนาและสนับสนุนงานอาชีพ
◼ อ่านแบบ เขียนแบบในงานอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย การประเมินราคา และการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
◼ ตรวจสอบและทดสอบวงจรไฟฟ้ากระแสตรงและวงจรไฟฟ้ากระแสสลับ
◼ ตรวจสอบคุณสมบัติ ประกอบ ทดสอบวงจร อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
◼ ควบคุมระบบไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ด้วยคอมพิวเตอร์
◼ ประกอบติดตั้ง บริการงานตรวจซ่อมและบํารุงรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
◼ เขียนโปรแกรมพัฒนาระบบงาน โปรแกรมประยุกต์ โปรแกรมเว็บไซต์ ระบบมัลติมีเดียเบื้องต้น
🔰การเชื่อมโยงกับมาตราฐานอาชีพ
ปวช. ชั้นปีที่1
มาตราฐานของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ
🔴อาชีพผู้ให้บริการทางด้านคอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์ ระดับ 3
มาตราฐานฝีมือแรงงาน
🔴สาขาช่างซ่อมไมโครคอมพิวเตอร์ ระดับ 1
มาตราฐานฝีมือแรงงาน
เขียนโปรแกรมพัฒนาระบบงาน โปรแกรมประยุกต์ โปรแกรมเว็บไซต์ ระบบมัลติมีเดียเบื้องต้น
ปวช. ชั้นปีที่2
มาตราฐานของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ
🟢อาชีพนักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (ภาษาซี) ระดับ 1
🟢อาชีพช่างสนับสนุนด้านเทคนิค ระดับ 3
🟢อาชีพผู้จัดหาและคัดเลือกวัสดุและอุปกรณ์สำหรับการผลิต ผลิตภัณฑ์ไอซีที ระดับ 3
ปวช. ชั้นปีที่3
มาตราฐานของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ
🔵อาชีพนักออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ไอซีที ระดับ 3
💢แนวทางการประกอบอาชีพ
◼ ผู้ประกอบวิชาชีพการขายด้านเทคโนดลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
◼ ผู้ประกอบอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
◼ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
◼ ช่างเทคนิคให้ความช่วยเหลือและแก้ปัญหาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กับผู้ใช้งาน
◼ ช่างติดตั้งและผู้ให้บริการด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
◼ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสาร
◼ ช่างซ่อมไมโครคอมพิวเตอร์
◼ นักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
◼ ผู้ดูแลระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
รายได้ (เริ่มต้น)
ภาครัฐ ปวช. เงินเดือน เริ่มต้น 9,400 – 10,340 บาท
ภาคเอกชน เงินเดือนเริ่มต้น 12,000 บาท
อาชีพอิสระ ขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์
แนวทางการศึกษา(ต่อ) ในระดับสูง
สามารถศึกษา(ต่อ) ในระดับ ปวส. และปริญญาตรีได้
* สาขาในระดับ ปวส. ที่สามารถศึกษา(ต่อ)
- แผนกวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
- แผนกวิชาแมคคาทรอนิกส์
- แผนกวิชาอิเล็กทรอนิกส์
- แผนกวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
* สาขาในระดับ ปริญญาตรี ที่สามารถศึกษา(ต่อ)
- สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- สาขาวิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
- สาขาวิศวกรรมนวัตกรรมคอมพิวเตอร์
- สาขาแอนิเมชันและมัลติมีเดีย
- สาขาวิศวกรรมเครือข่ายและความปลอดภัย
การแข่งขันทักษะวิชาชีพและทักษะพื้นฐาน ระดับภาคใต้
ครั้งที่ 33 ประจำปีการศึกษา 2565 ณ จังหวัดชุมพร
ครั้งที่ 33 ประจำปีการศึกษา 2565 ณ จังหวัดชุมพร
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 " ทักษะการเขียนโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์ IoT ระดับ ปวช. ประเภททีม" ในงานประชุมองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย การแข่งขันทักษะวิชาชีพและทักษะพื้นฐาน ระดับภาค ภาคใต้ ครั้งที่ 33 ประจำปีการศึกษา 2565 ณ จังหวัดชุมพร
นายจรณินทร์ แซ่ซั่ว (นักเรียน)
นายภัทรภณ กลิ่นจันทร์ (นักเรียน)
นายทัณฑธร เสนาจักร์ (นักเรียน)
นายยุทธนากร แสงแก้ว (ครูผู้ควบคุม)
หลักสูตรที่เปิดสอน ปีการศึกษา 2567
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 📌คลิก
สาขาวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์
เว็บไซต์สำหรับนักเรียน
เว็บไซต์อื่นๆ
DEEP (Digital Education Excellence Platform)