GAP คือ อะไร

หลายคนยังคงสงสัย ต้องขอเกริ่นก่อนว่าประเทศไทยเป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารที่สำคัญ แต่ที่ผ่านมาผลผลิตสินค้าเกษตรและ อาหารยังไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคเท่าที่ควร เนื่องจากมีสารเคมีตกค้าง มีศัตรูพืชและจุลินทรีย์ปนเปื้อน ทำให้คุณภาพไม่เป็นไปตามมาตรฐาน

ดังนั้นควรส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย ตามระบบการจัดการคุณภาพหลักปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ซึ่งเป็นระบบที่ป้องกันหรือลดความเสี่ยงของอันตรายที่เกิดขึ้นในสินค้าเกษตรและอาหาร 

การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) คืออะไร 

การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) GAP คือ แนวทางในการทำการเกษตร เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีและปลอดภัยตามมาตรฐานที่กำหนด โดยขบวนการผลิตจะต้องปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค ปราศจากการปนเปื้อนของสารเคมีไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมมีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ผลผลิตสูงคุ้มค่าการลงทุน การผลิตตามมาตรฐาน GAP คือ การก่อให้เกิดความยั่งยืนทางการเกษตร สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ มาตรฐาน GAP เป็นมาตรฐานที่ครอบคลุมการผลิตสินค้าเกษตรอย่างครบวงจร ตั้งแต่ ปัจจัยการผลิต การผลิต การเก็บเกี่ยว การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การบรรจุหีบห่อ และการขนส่งการผลิต สำหรับการผลิตสินค้าเกษตร 3 ประเภท ได้แก่

พืชผล

เช่น ผัก ผลไม้ ชา กาแฟ ฝ้าย ฯลฯ

ปศุสัตว์

เช่น วัว ควาย แกะ หมู ไก่ ฯลฯ

สัตว์น้ำ

เช่น ปลาน้ำจืดประเภทลำตัวยาวมีเกล็ด เช่น ปลาแซลมอน และปลาเทร้าท์ กุ้ง ปลานิล ฯลฯ

การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP พืช)

การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช เป็นมาตรฐานการปฏิบัติที่ระบุรายละเอียดข้อกำหนดด้านการจัดการกระบวนการผลิตที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติที่ดีทางการผลิตพืชทุกชนิด โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สุขภาพ ความปลอดภัย และสวัสดิภาพของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ปลอดจากศัตรูพืชเหมาะสม กับการบริโภค และมีคุณภาพเป็นที่พึงพอใจของผู้บริโภค

แหล่งน้ำ     แหล่งน้ำต้องสะอาด ไม่มีการปนเปื้อนของวัตถุหรือสิ่งที่เป็นอันตราย

พื้นที่ปลูก                     ต้องไม่มีวัตถุหรือสิ่งที่เป็นอันตรายที่จะทำให้เกิดการตกค้างหรือปนเปื้อน

การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร                   ใช้ตามคำแนะนำหรืออ้างอิงของกรมวิชาการเกษตร ที่ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง

การจัดการกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตผลคุณภาพ ปฏิบัติและจัดการการผลิตตามแผนควบคุมการผลิต

การผลิตให้ปลอดจากศัตรูพืช                                   สำรวจ ปูองกัน และกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้อง

การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว         เก็บเกี่ยวผลผลิตในระยะเวลาที่เหมาะสมตามแผนควบคุมการผลิต

การเก็บรักษาและการขนย้ายผลิตผลภายในแปลง สถานที่เก็บรักษาต้องสะอาด อากาศถ่ายเทได้ดีสามารถปูองกันการปนเปื้อนของวัตถุ

การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับ (GAP ฟาร์มปศุสัตว์)

การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มปศุสัตว์ เป็นมาตรฐานรับ รองคุณภาพสินค้าเกษตรและ อาหารตามกระบวนการผลิตทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีถูกสุขลักษณะและปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยการกำกับดูแลให้มีความปลอดภัยตลอดห่วงโซ่อาหาร เริ่มตั้งแต่ระดับฟาร์มเลี้ยงสัตว์ อาหารสัตว์ โรงงานผลิตอาหารสัตว์ โรงฆ่าสัตว์ จนถึงโรงงานแปรรูปเนื้อสัตว์ เพื่อยกระดับการจัดการฟาร์ม คุ้มครองผู้บริโภคในทางการค้า

องค์ประกอบของฟาร์ม ทำเลที่ตั้งของฟาร์ม สถานที่ตั้งควรอยู่ห่างไกลจาก แหล่งชุมชนเมือง ผู้เลี้ยงสัตว์รายอื่น                                                                                     แหล่งน้ำสาธารณะ และแหล่งปนเปื้อนของสิ่งอันตรายทางกายภาพ เคมีและชีวภาพ     ลักษณะของฟาร์มควรมีเนื้อที่เหมาะสมกับขนาดของฟาร์ม ลักษณะของโรงเรือน ควรมี     โรงเรือนต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรง

การจัดการฟาร์ม หาพันธุ์สัการจัดการโรงเรือนและอุปกรณ์ควรมีโรงเรือนพอเพียงตามวัตถุประสงค์ของ     การใช้งาน การจัดการฝูงควรคัดเลือกและจัดฝูงสัตว์ตามขนาด อายุและเพศและมีการ     คัดเลือกจัดตว์เพื่อทดแทน การจัดการอาหารสัตว์อาหารหยาบและอาหารข้น ต้องมี     คุณภาพดีมีคุณค่าทางอาหาร และเพียงพอกับความต้องการ

การจัดการด้านสุขภาพสัตว์       การป้องกันและควบคุมโรค ควรมีระบบปูองกันเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์ม โดยเฉพาะยานพาหนะ                                                                                 และบุคคล การป้องกันและรักษาโรคอยู่ในความดูแลของสัตวแพทย์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย 

การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม       การจัดการของเสีย สิ่งปฏิกูล มูลสัตว์ น้ำทิ้ง และขยะต่างๆ ต้องผ่านการจัดการที่เหมาะสม     ไม่ก่อให้เกิดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ หรือก่อความรำคาญต่อผู้อยู่อาศัยข้างเคียง และไม่ก่อให้                                                                                เกิด มลภาวะ เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม

การจัดการด้านสวัสดิภาพสัตว์       ผู้เลี้ยงต้องตรวจสอบสัตว์อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าสัตว์มีสุขภาพดี ภายในโรง                                                                                เรือนต้องสะอาดถูกสุขอนามัย จัดการพื้นที่ให้เหมาะสมกับจำนวนสัตว์ ดูแลสัตว์ให้ได้รับ                                                                                   อาหารอย่างทั่วถึง

การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับ (GAP ฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ)

มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานและหลักเกณฑ์ สำหรับกระบวนการผลิต ผลผลิตและผลิตภัณฑ์ประมง โดยจะต้องควบคุมมาตรฐานสินค้าเกษตร และอาหาร มีการจัดการสุขอนามัยของฟาร์มที่ดี เพื่อให้กระบวนการผลิตของผู้ประกอบการประมง เป็นไปตามมาตรฐาน และหลักเกณฑ์ที่กำหนด ส่งผลให้ผลิตผลมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค

สถานที่     บ่อเลี้ยงควรมีการขึ้นทะเบียนฟาร์มอย่างถูกต้อง ใกล้แหล่งน้ำสะอาด ห่างจากแหล่งกำเนิด                                                                               มลพิษ และมีระบบการถ่ายเทน้ำที่ดี กระชังควรมีการขึ้นทะเบียนฟาร์มอย่างถูกต้อง การ                                                                                  คมนาคมสะดวก มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน อยู่ในบริเวณที่ได้รับอนุญาต 

การจัดการทั่วไป                                             บ่อเลี้ยงควรปฏิบัติตามคู่มือการเลี้ยงสัตว์น้ำ ของกรมประมงหรือวิธีการอื่นที่ถูกต้องตามหลัก                                                                           วิชาการ มีแผนที่แสดงแหล่งที่ตั้งและแผนผังฟาร์มเลี้ยง การเลี้ยงต้องดำเนินการอย่างถูก                                                                                   สุขลักษณะ

ปัจจัยการผลิต                                             ต้องใช้ปัจจัยการผลิต เช่น อาหาร อาหารเสริม วิตามิน ฯลฯ ที่ขึ้นทะเบียนกับทางราชการ (ใน                                                                           กรณีที่กำหนดให้ปัจจัยการผลิตนั้นต้องขึ้นทะเบียน) และไม่หมดอายุ ปัจจัยการผลิตต้องไม่                                                                               ปนเปื้อนยาและสารเคมีต้องห้ามในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ าตามประกาศทางราชการ

การจัดการดูและสุขภาพสัตว์น้ำ                     บ่อเลี้ยงควรมีการเตรียมบ่อและอุปกรณ์อย่างถูกวิธีเพื่อปูองกันโรคที่จะเกิดกับสัตว์น้ำ เมื่อ                                                                               สัตว์น้ำมีอาการผิดปกติไม่ควรใช้ยาและสารเคมีทันที ควรพิจารณาด้านการจัดการ เช่น การ                                                                              เปลี่ยนถ่ายน้ำ เพิ่มอากาศ ก่อนใช้ยาและสารเคมี ทำความสะอาดกระชังอุปกรณ์เป็นระยะๆ                                                                             ตลอดการเลี้ยง

การเก็บเกี่ยวและการขนส่ง                           วางแผนเก็บเกี่ยวผล ผลิตถูกต้องตามความต้องการของตลาด และมีหนังสือกำกับการ                                                                                      จำหน่ายสัตว์น้ำและลูกพันธุ์สัตว์น้ำ ผลผลิตสัตว์น้ำที่เก็บเกี่ยวต้องไม่มียา หรือสารเคมี                                                                                       ตกค้างเกินมาตรฐาน