กลุ่มอนุรักษ์ผึ้งโพรงเคียนซา

การเลี้ยงผึ้งโพรงไทย

จะต้องสำรวจตัวเองเสียก่อนว่าแพ้ต่อการโดนผึ้งต่อยหรือไม่ มีตั้งแต่ อาการเจ็บปวด หายใจไม่ออก เป็นไข้ ผู้ที่ไม่แพ้จะมีอาการเพียงเล็กน้อย คนเลี้ยงผึ้งนั้นจะโดนผึ้งต่อยเป็นธรรมดา แต่ถ้าเราระวัง ก็อาจหลีกเลี่ยงการโดนต่อย

ชุดหีบเลี้ยงผึ้งโพรงไทย

ชุดหีบเลี้ยงผึ้งมักเป็นไม้ที่มีน้ำหนักเบา อบแห้งสนิท ไม่ยืด ไม่หด ต้องใช้ไม้เบา เพราะทุ่นแรงในการยกขึ้น-ลง โดยทางภาคเหนือนิยมใช้ไม้สัก และยิ่งให้ดีกว่านั้น ควรใช้ไม้เก่าเพราะผึ้งโพรงชอบทำรังอาศัย ขนาดของหีบประมาณ 30x50 ซม.

ลักษณะทำเล

สถานที่เหมาะแก่การเลี้ยงผึ้ง ควรให้อยู่ใกล้กับแหล่งพืชเป็นอาหารของผึ้ง ดอกไม้บานตลอดปี ควรจะเป็นลานโล่งใกล้กับแหล่งน้ำ เรียกว่า "ลานเลี้ยงผึ้ง"

การล่อผึ้งโพรง

ในธรรมชาติของผึ้งโพรงจะมีการแยกรัง และอพยพไปตามแหล่งอาหารที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น

  • เดือนมีนาคม - สิงหาคม สวนมะพร้าว

  • เดือนสิงหาคม - ธันวาคม ป่าชายเลน

  • เดือนธันวาคม - กุมภาพันธ์ ไม้ป่าต่างๆ

  • เดือนมกราคม - เมษายน ไม้ผลต่างๆ

การเก็บน้ำผึ้ง

หลังจากที่เกษตรกรเลี้ยงผึ้งได้ประมาณ 3 เดือน ให้ทำการเช็ครวงผึ้ง ว่าเก็บได้หรือไม่ ไม่ควรเก็บหมดให้เหลือไว้ประมาณ 3-4 รวง วิธีการเก็บคือให้ตัดเฉพาะส่วนที่เป็นน้ำผึ้งเท่านั้น จากนั้นนำไปสับบนตะแกรงที่มีถังสำหรับเก็บน้ำผึ้งรองอยู่ด้านล่าง ทิ้งไว้ 3 วัน เศษผงลอยขึ้นมาใก้ตักทิ้ง ไม่ควรใช้มือบีบรวงผึ้งเพราะจะทำให้ตัวอ่อนลงไปในน้ำผึ้ง ซึ่งอาจส่งผลต่อรสชาติ


รายการ

"เรียนนอกรั้ว เพื่อการศึกษาตลอดชีวิต"


ช่อง NBT


ตอน กศน.อำเภอเคียนซาและกลุ่มอนุรักษ์ผึ้งโพรงเคียนซา

ผู้ที่สนใจการเลี้ยงผึ้งโพรงสามารถติดต่อเข้าชมได้ที่

กลุ่มอนุรักษ์ผึ้งโพรงเคียนซา

26 หมู่ที่ 4 บ้านปลายคลอง ต.เคียนซา

อ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี

087-2874535, 089-9092132