กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (ลูกเสือ เนตรนารี สามัญรุ่นใหญ่)

โรงเรียนวรราชาทินัดดามาตุวิทยา

วัตถุประสงค์

          วัตถุประสงค์ของการจัดทำเว็บไซต์กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี สามัญรุ่นใหญ่) จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลข่าวสารการดำเนินงานของกองลูกเสือ เนตรนารีโรงเรียนวรราชาทินัดดามาตุวิทยา รวมทั้ง ข้อมูลสารสนเทศ สื่อการสอน แผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ใบงาน ใบความรู้ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่

นายฉลอง คุณประทุม

หัวหน้ากิจกรรมลูกเสือ

ผู้บังคับบัญชาลูกเสือโรงเรียนวรราชาทินัดดามาตุวิทยา

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

นายสุรศักดิ์ พะประโคน

A.L.T.

ผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียน

นางเพียรเพ็ญ อินทร์เลิศ

S.W.B. 

รองผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียน

นางมนพร นุ่มนก

S.S.W.B. 

รองผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียน

นางสาวศิวพร ลอยนภา

S.S.W.B. 

รองผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียน

นายจิรัตน์ แพ่งศรี

S.S.W.B. 

รองผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียน

นายฉลอง คุณประทุม

L.T.C.

หัวหน้ากิจกรรมลูกเสือ

ผู้กำกับกลุ่มลูกเสือ กลุ่มที่ 1

นายสิทธิพงศ์ 

 

ผู้กำกับกลุ่มลูกเสือ กลุ่ม 2

นายเดชา แก้วมล 

S.S.W.B. 

ผู้กำกับกลุ่มลูกเสือ กลุ่ม 3

เครื่องแบบลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่

หมวก [View]

ผ้าผูกคอ เป็นผ้าผูกคอประจำจังหวัด [View]

วอกเกิ้ล [View]

อินทรธนูสีเลือดหมู มีอักษร ล.ญ. นักเรียน ม.1 ยังไม่ต้องประดับ จนกว่าจะเข้าพิธีประจำกอง และผ่านการประเมินเครื่องหมายลูกเสือโลก [View]

ป้ายชื่อ [View]

ป้ายชื่อโรงเรียน [View]

เลขกลุ่ม/กอง [View]

ป้ายคติพจน์ "มองไกล" [View]

เครื่องหมายลูกเสือโลก นักเรียน ม.1 ยังไม่ต้องประดับ จนกว่าจะเข้าพิธีประจำกอง และผ่านการประเมินเครื่องหมายลูกเสือโลก [View]

เข็มขัดลูกเสือ [View]

พู่สีเลือดหมู [View]

ถุงเท้า [View]

รองเท้า [View]

เครื่องแบบเนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่

หมวก [View]

ผ้าผูกคอ เป็นผ้าผูกคอประจำจังหวัด [View]

วอกเกิ้ล [View]

อินทรธนูสีเลือดหมู นักเรียน ม.1 ยังไม่ต้องประดับ จนกว่าจะเข้าพิธีประจำกอง และผ่านการประเมินเครื่องหมายลูกเสือโลก [View]

ป้ายชื่อ [View]

ป้ายชื่อโรงเรียน [View]

เลขกลุ่ม/กอง [View]

เข็มเนตรนารี [View]

เครื่องหมายลูกเสือโลก นักเรียน ม.1 ยังไม่ต้องประดับ จนกว่าจะเข้าพิธีประจำกอง และผ่านการประเมินเครื่องหมายลูกเสือโลก [View]

เข็มขัดเนตรนารี [View]

ถุงเท้า [View]

รองเท้า [View]

เอกสารที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการลูกเสือ

พระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ.2551  [View]

ข้อบังคับฯ ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้บังคับบัญชาลูกเสือ พ.ศ.2553  [View]

ข้อบังคับฯ ว่าด้วยการแต่งตั้งผู้บังคับบัญชาลูกเสือ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2563  [View]

ข้อบังคับฯ ว่าด้วยการปกครองหลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่  [View]

เครื่องหมายประจำตำแหน่งผู้บังคับบัญชาลูกเสือ  [View]

สารานุกรมลูกเสือ  [View]

เพลงมาร์ชลูกเสือไทย [View]

ว่าด้วยเรื่องวุฒิทางลูกเสือ [View]

การแต่งเครื่องแบบผู้บังคับบัญชาลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ [View]

แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 [View]

เอกสารที่เกี่ยวกับงานลูกเสือ

ลส.1-แบบขอจัดตั้งกลุ่ม/กองลูกเสือ  [View]

ลส.2-ใบสมัครเป็นผู้บังคับบัญชาลูกเสือ  [View]

ลส.3-ใบสมัครเข้าเป็นลูกเสือ  [View]

ลส.4-ใบโอนกองลูกเสือ  [View]

ลส.5-รายงานลูกเสือ  [View]

ลส.6-9 ทะเบียนกองลูกเสือ  [View]

ลส.10-รายงานการเงินลูกเสือ  [View]

ลส.11-ใบแต่งตั้งกลุ่มลูกเสือ  [View]

ลส.12-ใบแต่งตั้งกองลูกเสือ  [View]

ลส.13-ใบแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ลูกเสือ  [View]

ลส.14-ใบสำคัญคู่กับเข็มลูกเสือสมมนาคุณ  [View]

ลส.15-18-บัตรประจำตัวลูกเสือ  [View]

ลส.19-ใบเสร็จรับเงิน  [View]

เอกสารประกอบกิจกรรมลูกเสือ

สื่อการอบรมทบทวนวิชาผู้กำกับลูกเสือ [View]

คู่มือวิชาพิเศษ [View]

คู่มือวิชา นักดาราศาสตร์ [View]

คู่มือวิชา นักเดินทางไกล [View]

คู่มือวิชา นักธรรมชาติวิทยา [View]

คู่มือวิชา นักบุกเบิก [View]

คู่มือวิชา นักสะกดรอย [View]

คู่มือวิชา นักสะสม [View]

คู่มือวิชา นักอุตุนิยมวิทยา [View]

คู่มือวิชา ผู้จัดการค่ายพักแรม [View]

คู่มือวิชา ผู้พิทักษ์ป่า [View]

คู่มือวิชา แผนที่ทหารและเข็มทิศ [View]

คู่มือวิชา นักผจญภัย [View]

คู่มือวิชา ล่าม [View]

คู่มือวิชา หัวหน้าคนครัว [View]

ประมวลภาพกิจกรรมลูกเสือ ประจำปีการศึกษา 2565

กิจกรรมการอบรมทบทวนวิชาผู้กำกับลูกเสือ

เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2565

กิจกรรมลูกเสือจิตอาสาวันเฉลิมพระชนมพรรษาราชินี

เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2565

ปฏิบัติหน้าที่งานชุมนุมลูกเสือจิตอาสาฯ

เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. - 2 ก.ค.65

พิธีทบทวนคำปฏิญาณและเดินสวนสนาม

เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2565

โรงเรียนวรราชาทินัดดามาตุวิทยา

เข้ารับการฝึกอบรมลูกเสือจราจร

เมื่อวันที่ 16-18 กันยายน 2565

ณ โรงเรียนวัดป่างิ้ว

พิธีถวายราชสดุดี

เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2565

ณ โรงเรียนวรราชาทินัดดามาตุวิทยา

เข้าร่วมพิธีถวายราชสดุดีจังหวัดปทุมธานี

เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565

ณ ค่ายลูกเสือจังหวัดปทุมธานี

กำเนิดลูกเสือสำรอง

           ลูกเสือสำรองมีชื่อในภาษาอังกฤษที่แปลว่า“ลูกหมาป่า” หมายถึง หมาป่าที่มีอายุน้อยส่วนคำว่า“ลูกเสือ”หมายถึงนักสอดแนมและเป็นผู้พิสูจน์ตัวเองว่าเป็นคนเก่งที่สุดจนได้รับ  ฉายาว่า“หมาป่า”ลูกเสือเด็ก ๆ จึงได้ชื่อว่า“ลูกหมาป่า” ที่เราเรียกว่า “ลูกเสือสำรอง”

           ลอร์ด เบเดน โพเอลล์ หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “บี.พี.” แห่งกิลเวลล์  เป็นผู้ให้กำเนิดการลูกเสือ วงการลูกเสือโดยทั่วไปถือว่าการที่ บี.พี. นำเด็กไปทดลองอยู่ค่ายพักแรมที่เกาะบราวน์ซี เมื่อปี ค.ศ.1907 (พ.ศ. 2450) เป็นการเริ่มต้นของการลูกเสือโลกจึงบันดาลให้เกิดลูกเสือสามัญขึ้นและเพื่อเป็นการวางรากฐานกิจการลูกเสือในจิตใจของเด็กตั้งแต่เยาว์วัย  บี.พี. จึงได้จัดตั้งกองลูกเสือสำรองขึ้นเมื่อ ค.ศ.1916 (พ.ศ. 2459) โดยรับเด็กตั้งแต่อายุ 8 ขวบขึ้นไป การฝึกอบรมให้ลูกเสือสำรองรู้จักปรับตัวเองให้เป็นผู้มีระเบียบวินัย โดยให้เริ่มเรียนรู้จากการเข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรม โดยร่วมมือทำงานในกองลูกเสือสำรองซึ่งเรียกว่า “แพ็ค”  

           ลอร์ด เบเดน โพเอลล์ นำนิยายเรื่องป่าดงพงพีของริดยาร์ด คิปลิ่ง มาเล่าให้เด็กฟังเป็นอุทาหรณ์เพื่อให้เด็กรู้จักคิดรู้จักเชื่อฟังผู้ใหญ่ และรู้หน้าที่ของตนเอง

           สำหรับประเทศไทยได้จัดตั้งกองลูกเสือสำรองขึ้นเป็นกองแรกเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม  2501


กำเนิดลูกเสือชาวบ้าน

9 สิงหาคม 2564

50 ปี วันกำเนิดลูกเสือชาวบ้าน

        บุคคลที่มีบทบาทในการก่อตั้งคือ พล.ต.ต.สมควร หริกุล ผู้กำกับการตำรวจชายแดนเขต 4 ร่วมมือกับข้าราชการท้องถิ่นอีกหลายคน ได้จัดการอบรมลูกเสือชาวบ้านรุ่นที่ 1 เมื่อวันที่ 9 -12 สิงหาคม 2514 ที่บ้านเหล่ากอหก กิ่งอำเภอนาแห้ว อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ต่อมา พล.ต.ต.เจริญฤทธิ์ จำรัสโรมรัน รองผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ก็ได้เข้าร่วมผลักดัน จุดมุ่งหมายเริ่มแรกของการจัดตั้งลูกเสือชาวบ้านคือ การสร้างความสามัคคีในหมู่ข้าราชการและประชาชน เพื่อให้ประชาชนช่วยส่งข่าวและรวบรวมข้อมูลให้กับทางราชการเกี่ยวกับคอมมิวนิสต์ ต่อมาใน พ.ศ. 2515 สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ก็ได้รับกิจการลูกเสือชาวบ้านไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ และโปรดเกล้าฯ ให้สมุหราชองครักษ์ ทำหนังสือถึงกระทรวงมหาดไทย ตามหนังสือของกรมราชองครักษ์ที่ กห.0204/2477 ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2515 ให้แจ้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด สนับสนุนกิจการลูกเสือชาวบ้าน โดยให้ความร่วมมือกับตำรวจตระเวนชายแดน และต่อมายังได้พระราชทานผ้าผูกคอลูกเสือ วอกเกิล (ห่วงสวมผ้าผูกคอ) และหน้าเสือ แก่ลูกเสือชาวบ้านที่สำเร็จการอบรมทุกนาย ทั้งยังเสด็จไปพระราชธงลูกเสือด้วยพระองค์เองเสมอ

          ดังนั้น ในระยะหลัง 14 ตุลาคม 2516 กิจการลูกเสือชาวบ้านจึงขยายตัวอย่างมากและมีนายทหารและนักการเมืองสำคัญเข้าร่วมหลายคน เช่น พล.ต.ชาติชาย ชุณหะวัณ ซึ่งเป็นผู้ตรวจการลูกเสือชาวบ้าน นายธรรมนูญ เทียนเงิน เป็นผู้อำนวยการลูกเสือชาวบ้านพระนคร จนถึง พ.ศ.2519 ลูกเสือชาวบ้านทั่วประเทศจึงมีจำนวนหลายล้านคน มีทั้งเด็กผู้ใหญ่จนถึงคนชรา ส่วนมากแล้วจะถูกปลุกให้ยึดมั่นอยู่กับชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และกระหายจะกวาดล้างคอมมิวนิสต์หรือผู้ที่ที่คิดว่าเป็นคอมมิวนิสต์ จากรายงานของกระทรวงมหาดไทยในวันที่ 2 มิถุนายน 2519 ระบุว่า มีผู้รับการอบรมลูกเสือชาวบ้านไปแล้ว 2,794 รุ่น เป็นจำนวน 9.1 แสนคน และยังแจ้งด้วยว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งกับเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ของกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนว่า ถ้าฝึกอบรมสมาชิกลูกเสือชาวบ้านได้ถึง 5 ล้านคน บ้านเมืองของเราจะสงบเรียบร้อยมากขึ้น

          ด้วยเหตุนี้ในกรณี 6 ตุลาคม เมื่อถูกปลุกว่านักศึกษาเป็นคอมมิวนิสต์ และหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ลูกเสือชาวบ้านก็กลายเป็นกำลังสำคัญที่ร่วมชุมนุมต่อต้านนักศึกษาที่พระบรมรูปทรงม้าเมื่อเย็นวันที่ 5 ตุลาคม จากนั้น เช้ามืดวันที่ 6 ตุลาคม ลูกเสือชาวบ้านนำโดย พล.ต.ต.เจริญฤทธิ์ จำรัสโรมรัน และนายธรรมนูญ เทียนเงิน ก็ร่วมกับองค์กรฝ่ายขวากลุ่มอื่น เคลื่อนขบวนมายังท้องสนามหลวงในบริเวณตรงข้ามกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลูกเสือชาวบ้านจึงกลายเป็นกองกำลังหนึ่งที่มีส่วนร่วมในการปราบปรามขบวนการนักศึกษา และลูกเสือชาวบ้านยังคงชุมนุมอยู่จนถึงเวลาเย็นวันที่ 6 ตุลาคม 2519 จึงได้สลายก่อนการรัฐประหารเพียงเล็กน้อย

ลูกเสือชาวบ้านในพระบรมราชานุเคราะห์

          พระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรในกิจการลูกเสือชาวบ้าน

1. ห้ามมิให้นำกิจการลูกเสือชาวบ้านไปเกี่ยวข้องกับการเมือง

2. ห้ามมิให้มีการแสดงแสนยานุภาพในกิจการลูกเสือชาวบ้าน

3. ห้ามมิให้นำระบบราชการไปใช้ในกิจการลูกเสือชาวบ้าน

4. ลูกเสือชาวบ้านไม่มีเครื่องแบบ แต่มีเครื่องหมายเพียงอย่างเดียวคือ ผ้าผูกคอ ห่วงรัดผ้าผูกคอ และหน้าเสือ ให้หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องแบบและเครื่องหมายอื่น ๆ ทุกชนิด

5. ทรงปรารถนาให้กิจการลูกเสือชาวบ้านเป็นของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน

6. ทรงให้ลูกเสือชาวบ้านเป็นผู้นำในการพัฒนาตนเอง พัฒนาอาชีพ และพัฒนาท้องถิ่น

7. ทรงให้ลุกเสือชาวบ้านเป็นผู้นำในการสร้างระเบียบ มีวินัย และประหยัด

8. ห้ามมิให้มีการใช้จ่ายในการฝึกอบรมลูกเสือชาวบ้าน หรือการแสดงรอบกองไฟอย่างฟุ่มเฟือย และห้ามเสพเครื่องดองของเมาทุกชนิด ในระหว่างการฝึกอบรม

9. ให้ยึดมั่นและเผยแพร่ระบบหมู่ของลูกเสือเข้าสู่ประชาชน เพื่อสร้างสรรค์ความสามัคคี ความพร้อมเพรียง เป็นอันหนึ่งอันเดียว

10. ห้ามใช้งบประมาณทางการเมืองในกิจการลุกเสือชาวบ้าน

11. ให้ลูกเสือชาวบ้านเป็นผู้นำในการใช้ของไทย และบริโภคอาหารที่ผลิตขึ้นในประเทศไทย

12. ให้ลุกเสือชาวบ้านเป็นผู้นำในการฟื้นฟู และรักษาชนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมที่ดีของแต่ละท้องถิ่นไว้