รำแม่มด

รำแม่มด เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งของชาวอำเภอไพรบึง

เป็นพิธีกรรม...อย่างหนึ่งของชาวอำเภอไพรบึงเชื้อสายเขมรมีความเชื่อว่าคนทุกคนมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คอยปกป้องคุ้มครองบุคคลนั้นอยู่ประจำในขณะมีชีวิตอยู่ซึ่งเรียกว่าเป็นครู หรือ "กรู” ในภาษาเขมร และเมื่อเสียชีวิตไปแล้ววิญญาณของบรรพบุรุษก็ยังวนเวียนอยู่เพื่อคอยปกป้องดู และลูกหลานของตน ให้อยู่เย็นเป็นสุข มีความเจริญรุ่งเรืองในการประกอบสัมมาอาชีพ ตามความเชื่อนี้ชนเผ่าเขมรจึงมีความเคารพและไม่ล่วงเกินต่อกันและกัน เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นการทำผิดต่อครูซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของบุคคลอื่น รวมถึงมีความเคารพยำเกรงต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว และมีจารีตการปฏิบัติที่แสดงออกถึงการระลึกถึงบุญคุณบรรพบุรุษอยู่เสมอ เช่น ก่อนการประกอบพิธีกรรมทุกอย่างของชนเผ่าเขมร ต้องมีการเซ่นไหว้เพื่อบอกกล่าวต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว เช่น ก่อนลงมือทำนาในครั้งแรก งานแต่งงาน งานบวช งานขึ้นบ้านใหม่ ฯลฯ ความเชื่อของชาวเขมรนั้นเมื่อมีคนในครอบครัวมีอาการป่วยหรือผิดปกติทางด้านร่างกายหรือจิตใจอย่างใดอย่างหนึ่งญาติจะขอให้ร่างทรงทำนายว่าเกิดอะไรขึ้นกับผู้ป่วยซึ่งโดยมากแล้วร่างทรงก็จะบอกสาเหตุของอาการป่วยซึ่งเป็นเรื่องทางไสยศาสตร์และบางครั้งก็จะมีสาเหตุมาจากครูของบุคคลนั้น หรือบรรพบุรุษโกรธเคืองที่ลูกหลานละเลยไม่ให้ความเคารพนบถือ ไม่มีการแสดงออกถึงความยำเกรง หรือไม่สามัคคีกันในหมู่พี่น้อง ก็จะบันดาลให้บุคคลนั้นหรือหนึ่งในหมู่เครือญาติที่ร่างกายกำลังอ่อนแอ อยู่ในช่วงดวงไม่ค่อยดีเกิดความผิดปกติทางด้านจิตใจหรือการเจ็บไข้ได้ป่วยทางร่างกาย จากนั้นญาติของผู้ป่วยก็จะทำพิธีกรรมเรือมมะม็วดเพื่อเป็นการชุมนุมกันของบรรดาร่างทรงของครูและบรรพบุรุษร่ายรำถวายเพื่อขอขมาลาโทษ และถามถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการป่วย เมื่อรู้สาเหตุแล้ว ก็ถามต่อไปว่า จะให้ทำ อย่างไรจึงจะหาย

อัตตลักษณ์...และความเชื่อในการรำแม่มดหรือรำผีแถนในแต่ละแห่งมักเลือกวันอังคารหรือพฤหัสบดีถือ เป็นวันครู จะไม่เลือกวัน ข้างขึ้น หรือ แรม โดยมีการเซ่นไหว้บอกกล่าวบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วก่อนเริ่มพิธี...

ความเชื่อ...อย่าลบหลู่ ชาวเขมรนั้น เมื่อมีคนในครอบครัวมีอาการป่วยหรือผิดปกติทางด้านร่างกายหรือจิตใจอย่างใดอย่างหนึ่งญาติจะขอให้ร่างทรงทำนายว่าเกิดอะไรขึ้นกับผู้ป่วยซึ่งโดยมากแล้วร่างทรงก็จะบอกสาเหตุของอาการป่วยซึ่งเป็นเรื่องทางไสยศาสตร์และบางครั้งก็จะมีสาเหตุมาจากครูของบุคคลนั้น หรือบรรพบุรุษโกรธเคืองที่ลูกหลานละเลยไม่ให้ความเคารพนบถือ

ครูมะม้วดจะเข้าที่นั่งทรงดนตรี ก็จะเริ่มบรรเลงผู้เข้าทรงจะเอามือ 2 ข้างจับขันในขณะที่จุดเทียนไว้บนขันนั้น เข้าจะเพ่งเทียน หมุนขันไปมาครูประจำตัวจะเริ่มเข้าประทับทรง มีการแต่งตัวแล้วร่ายรำดาบ ทำท่ารบพุ่งกับภูตผีปีศาจอาการของคนทรง จะมีลักษณะอากัปกิริยาที่ต่างไปจากคนเดิม บางคนร้องไห้ บางคนแสดงอาการโกรธผู้ป่วยเพราะทำผิด ขณะเดียวกันเจ้าภาพแลญาติจะต้องถามว่าความผิดนั้นเป็นอย่างไร ทำอย่างไรจึงจะพ้นผิด ผู้เข้าทรงก็จะบอกให้ทำพิธีตาม เป็นการจัดพิธีถวายเพื่อให้หายป่วย