ดอกไม้หมก

ดอกไม้หมก

เป็นเรื่องบอกเล่ากันมาช้านานหลายอายุคน ในกลุ่มของเผ่ากูย"ส่วย"คนเผ่ากูยรู้จักนำดอกไม้ใบไม้ต้นไม้ที่มีกลิ่นหอมมาทำเป็นดอกไม้ให้มีกลิ่นหอมชวนดมสำหรับคนหนุ่มสาววัยชราเป็นดอกไม้ที่แสดงถึงความรักของ"กะมอล"(หญิงสาว)ที่มอบให้กับ"โปร๊ะ"(ชายหนุ่ม)ซึ่งเป็นเรื่องเล่าต่อกันมา

จากคำบอกเล่ามีอยู่ว่า"กะมอล"(หญิงสาว)มีชื่อว่าคำแสนเป็นหญิงสาวที่สวยงามเป็นที่ต้องใจของ"โปร๊ะ"(ชายหนุ่ม)ในหมู่บ้านละแวกนั้นและ"โปร๊ะ"(ชายหนุ่ม)แต่ละคนก็อยากเห็นตกกลางคืนจะมีหนุ่มมาเที่ยวสาวโดยการเป่าแคนเป็นเพลงขอความรักให้"กะมอล"(หญิงสาว)ซึ่งกำลังตำข้าวในเวลากลางคืนฟังหลายวันหลายคืนผ่านไปทำให้"กะมอล"(หญิงสาว)คำแสนมีความสนิทสนมกับ"โปร๊ะ"(ชายหนุ่ม)ต่างบ้านมากมายแต่"กะมอล"(หญิงสาว)คำแสนรู้สึกพอใจ"โปร๊ะ"(ชายหนุ่ม)มีชื่อว่าคำสอนซึ่งอยู่บ้านเดียวกันสองหนุ่มสาวได้พูดคุยกันในขณะที่ตำข้าวทุกวันแต่"กะมอล"(หญิงสาว)คำแสน ไม่เคยบอกคำสอนว่าตัวเองนั้นมีใจรักคำสอน นางคิดว่าจะทำอย่างไรจึงจะให้"โปร๊ะ(ชายหนุ่ม)คำสอน รู้ว่าตัวเองรักจึงคิดทำดอกไม้ที่มีความแตกต่างจากดอกไม้ประเภทอื่นและเป็นดอกไม้ที่มีเสน่ห์เป็น ดอกไม้หมก และมอบให้กับ"โปร๊ะ"(ชายหนุ่ม)ในคืนต่อมาและทั้งคู่ได้แต่งงานกันอยู่ด้วยกันจนแก่เฒ่ายังมีความสุข

สมัยก่อน สาวชาวกูยที่รักใครชอบใครจะนิยมทำดอกไม้หมกและเมื่อพบกันเวลาตำข้าวหรือการไป"จกสาว"แสดงว่ารักหรือชอบ ต่อมาดอกไม้หมกได้นำมาใช้ในประเพณีต่างๆในท้องถิ่นชาวกูย เช่น ลำอ้อ(รำผีฟ้า)สู่ขวัญข้าว บูชาเทวดา หรือไว้สำหรับตัดหูเป็นเครื่องหอมของผู้หญิงเวลาไปทำบุญที่วัด เวลาคนเดินผ่านจะมีกลิ่นหอมมีเสน่ห์ดอกไม้มุกจะมีเอกลักษณ์พิเศษคือกลิ่นหอมจะติดทนนานซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชาวส่วย อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ

ปีลถะบูล หรือ ดอกไม้หมก

ดอกไม้หมก มรดกทางวัฒนธรรม ของชนชาติพันธุ์กวย กูย รวบรวมสมุนไพรหลายชนิด ที่มีคุณสมบัติเด่นเรื่องกลิ่น นอกจากจะให้ความหอมแล้ว ยังช่วยเรื่องป้องกันริ้น ไร และแมลงต่างๆอีกด้วย ความหอมจากสมุนไพร ผ่านการย่างด้วยไฟอ่อน ๆ เพื่อทำให้หอมยิ่งขึ้น คลุกด้วยขมิ้นในขั้นตอนสุดท้าย สีเหลืองสดใส กลิ่นหอมอ่อนๆ จากสมุนไพรเหล่านี้ ช่วยทำให้ระบบทางเดินหายใจปลอดโปร่ง

วัตถุดิบประกอบด้วย

1. ขมิ้นชัน (ละหมี่ดปลอที)

2. ว่านเปราะหอม (ปลอกะฉอลรึ)

3. อบเชยเถา (ตำยาน เกษม) (กราน กราน)

4. ขมิ้นผง (ละหมื่ดเกลาะฮ์)

5. ใบเล็บครุฑ (สลาเสาะย่อง)

6. เนียมอ้ม (สลาอ้ม)

7. หญ้าแฝกหอม (กะเษร) (แหละกะแซลรึ)

8. หนามตะคอง (หนามคอง) (ไปลขลวง)

9. น้ำมันละหุ่ง (น้ำมันถะวอง)

10. ดอกการะเกด (ดอกเกด) (ปีลลูเกด)

11. ดอกสะเลเต (ปีลอือแต้)

12. คำพอง (ปีลตองเผลีย)

13. เนียมขน (ปีลอันฉะแมะ)

แล้วนำวัตถุดิบห่อใบตอง ก่อนนำไปย่างไฟอ่อนๆ จนดอกไม้หมกสุกได้ที ก็จะนำมาทัดไว้ที่ใบหู เดินไปไหนมาไหน ดอกไม้หมกก็จะส่งกลิ่นหอมแก่ผู้คนที่พบเห็นเดินผ่าน เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของชาติพันธุ์ กวย กูย และความเชื่ออีกอย่างหากใครที่โสดก็จะเหน็บไว้ที่ใบหู โดยการนำก้านดอกหันออกมาทางนอก แต่หากใครแต่งงานแล้ว ก็จะหันก้านดอกไม้หมก กลับเข้าไปไว้ด้านใน

สมัยก่อน บรรดาผู้หญิงทั้งหลายก็ได้ เครื่องหอม เป็นเครื่องให้ความหอมฟุ้งจรุงใจ เครื่องหอม โบราณที่ชาวกวย กูย ในอดีตได้คิดค้นขึ้นเพื่อปรุงแต่งกลิ่นกาย และใช้สำหรับงานต่าง ๆ ซึ่งเครื่องหอมในยุคก่อนนั้นไม่ใช่เพียงแค่มีกลิ่นหอมสดชื่นอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์จากสมุนไพรที่เป็นส่วนผสม ปลอดภัยไร้สาร เพราะทั้งวัตถุดิบและกระบวนการนั้น ล้วนมาจากธรรมชาติทั้งสิ้น

ดอกไม้หมก กลุ่มชาติพันธุ์กวย กูย

เป็นเรื่องบอกเล่ากันมาช้านานหลายอายุคนในกลุ่มของเผ่ากวย กูย (ส่วย) คนเผ่ากวย กูยรู้จักนำดอกไม้ ใบไม้ ต้นไม้ ที่มีกลิ่นหอม มาทำเป็นดอกไม้ให้มีกลิ่นหอมชวนดม สำหรับคนหนุ่ม สาว วัยชรา เป็นดอกไม้ที่แสดงถึงความรักของ กะมอล (หญิงสาว) ที่มอบให้กับ โปร๊ะ (ชายหนุ่ม)ซึ่งเป็นเรื่องเล่าต่อๆกันมา

จากคำบอกเล่ามีอยู่ว่า "กะมอล" (หญิงสาว) มีชื่อว่าคำแสนเป็นหญิงสาวที่สวยงามเป็นที่ต้องใจของ "โปร๊ะ" (ชายหนุ่ม) ในหมู่บ้านละแวกนั้น และ "โปร๊ะ" (ชายหนุ่ม) แต่ละคนก็อยากเห็น ตกกลางคืนจะมีหนุ่มมาเกี้ยวสาวโดยการเป่าแคน เป็นเพลงขอความรักให้ "กะมอล" (หญิงสาว) ซึ่งกำลังตำข้าวในเวลากลางคืนฟัง หลายวันหลายคืนผ่านไป ทำให้ "กะมอล" (หญิงสาว) คำแสน มีความสนิทสนมกับ "โปร๊ะ" (ชายหนุ่ม) ต่างบ้านมากมาย แต่ "กะมอล" (หญิงสาว) คำแสน รู้สึกพอใจ "โปร๊ะ" (ชายหนุ่ม) มีชื่อว่า คำสอน ซึ่งอยู่บ้านเดียวกันสองหนุ่มสาวได้พูดคุยกันในขณะที่ทำข้าวทุกวัน แต่ "กะมอล" (หญิงสาว) คำแสน ไม่เคยบอกคำสอนว่าตัวเองนั้นมีใจรักคำสอน นางคิดว่าจะทำอย่างไรถึงจะให้ "โปร๊ะ" (ชายหนุ่ม) คำสอน รู้ว่าตัวเองรัก จึงคิดทำดอกไม้ ที่มีความแตกต่างจากดอกไม้ประเภทอื่นและเป็นดอกไม้ที่มีเสน่ห์ เป็นดอกไม้หมก และมอบให้กับ "โปร๊ะ" (ชายหนุ่ม) ในคืนต่อมาและทั้งคู่ด้วยแต่งงานกัน อยู่ด้วยกันจนแก่เฒ่าอย่างมีความสุข สมัยก่อนสาวชาวกวย กูยที่รักใคร ชอบใครจะนิยมทำดอกไม้หมกและเมื่อพบกันเวลาตำข้าว หรือการไป จกสาว เวลากลางคืน "กะมอล" (หญิงสาว) ก็จะมอบให้ "โปร๊ะ" (ชายหนุ่ม) แสดงว่ารักหรือชอบต่อมา ดอกไม้หมก ได้นำมาใช้ในประเพณีต่างๆในท้องถิ่นของชาวกวย กูย เช่น ลำอ้อ สู่ขวัญข้าว บูชาเทวดา หรือไว้สำหรับทัดหูเป็นเครื่องหอมของผู้หญิงเวลาไปทำบุญที่วัด มีความสัมคัญตั้งแต่เกิดจนตาย เวลาคนเดินผ่านจะมีกลิ่นหอมมีเสน่ห์ดอกไม้หมกจะมีเอกลักษณ์พิเศษคือกลิ่นหอมจะติดทนนานซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชาวกวย กูยในชุมชนแถบนี้

ดอกไม้หมก เป็นดอกไม้จากภูมิปัญญา ที่สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษชาวกวย กูย กลิ่นของดอกไม้หมกจะหอมยาวนานต่อไปได้นานแค่ไหน อยู่ที่คนรุ่นใหม่จะสืบสาน และร่วมอนุรักษ์ไว้ เรียนรู้ภูมิปัญญา