เจ้าแม่กูยรำแกลมอ


เจ้าแม่กูยรำแกลมอ

พิธีกรรมแกลมอ เป็นประเพณีของชาวบ้านตรึม เรียกตามภาษาถิ่นว่าแกลมอ

มีมาตั้งแต่เมื่อใดไม่พบหลักฐานที่แน่ชัด

ทราบแต่เพียงว่า พิธีกรรมเหล่านี้มีมานานแล้ว

พวกชาวไทยกูยรับถ่ายทอดต่อเนื่องกันมาเป็นทอดๆ

และปฏิบัติกันมาโดยตลอดจนกระทั่งถึงทุกวันนี้

โดยจัดขึ้นใน 3 โอกาส คือ เป็นการเคารพบูชาครูอาจารย์

ปู่ ย่า ตา ยายที่เคารพ เมื่อถึงวันสำคัญในรอบปีก็ดำเนินพิธีกรรมขึ้น

ปีละ1ครั้งในวันขึ้น 8หรือ15ค่ำเดือนยี่ของทุกปี

เป็นการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถบันดาล

ทุกข์สุขเป็นการประกอบพิธีกรรมเพื่อรักษาผู้ป่วย

ซึ่งเป็นการอัญเชิญดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ

มาให้ความช่วยเหลือ ขอคำแนะนำผ่านล่าม

หรือคนทรงเพื่อหาสาเหตุของการเจ็บป่วย

และหาทางรักษาตามความเชื่อ

การแสดงชุดเจ้าแม่กวยรำ ระบำแกลมอของตำบลเมืองจันทร์ได้สร้างคุณค่าทางภูมิปัญญาและคุณค่าทางมรดกวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษดำเนินสืบเนื่องต่อกันมาให้ลูกหลานได้สืบทอด การแสดงชุดนี้ได้ประดิษฐ์คิดขึ้นบนพื้นฐานความเชื่อและความศรัทธาของชาวกูยผสมผสานกับแนวคิดชีวิตอย่างพอเพียง ซึ่งการแสดงทั้งหมดเป็นการสมมุติให้เกิดขึ้นตามบทบาทและความเป็นจริงโดยผสมผสานความทันสมัยด้านการแต่งกาย เครื่องประดับและอุปกรณ์การแสดงให้เกิดความสมจริงและความพอเพียงในการแสดงเพื่อให้เกิดความสวยงามและศักดิ์สิทธิ์ของการแสดงอีกด้วย