Smart Farmer ต้นแบบ ด้านเกษตรผสมผสาน/เศรษฐกิจพอเพียง

นางสุภาพร ศิริจันทร์

เกษตรกรต้นแบบ

Smart Farmer ต้นแบบ ด้านเกษตรผสมผสาน/เศรษฐกิจพอเพียง

บ้านโคกมะเขือ ตำบลใจดี อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

ข้อมูล Smart Farmer ต้นแบบ

1 ชื่อ – นามสกุล นางสุภาพร ศิริจันทร์

2 วัน เดือน ปีเกิด 21 สิงหาคม 2522

3 ระดับการศึกษา มัธยมศึกษาตอนปลาย

4 สถาบันการศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

อำเภอขุขันธ์

5 ที่อยู่ เลขที่ 31 หมู่ที่ 8 ตำบลใจดี อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

รหัสไปรษณีย์ 33140

6 เบอร์โทรศัพท์ 08-5206-6494 Line : 0852066494

7 เข้าร่วมโครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) ปี พ.ศ. 2565

จุุดเด่น

  1. เป็นศูนย์เรียนรู้/อบรม/ศึกษาดูงาน สาขาเศรษฐกิจพอเพียง/เกษตรผสมผสาน

  2. การบริหารจัดการพื้นที่การเกษตร แบ่งสัดส่วนได้อย่างเหมาะสม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

  3. เป็นอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.)

  4. ปลูกผักกะหล่ำปลีปลอดภัย และพืชผักสวนครัว

ปัจจัยความสำเร็จในการประกอบอาชีพการเกษตร ของ Smart Farmer ต้นแบบ

1 การใช้นวัตกรรม หรือ เทคโนโลยีการผลิต หรือ มีการปรับปรุงวิธีการผลิตอะไร

เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยการทำการเกษตรแบบผสมผสานด้าน

การปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ การประมง การทำปุ๋ยหมัก ซึ่งเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรในชุมชนและเกษตรกรทั่วไปปี พ.ศ. 2550 จุดเริ่มต้นจากการทำนาเพียงอย่างเดียวแล้วเกิดวิกฤติเกี่ยวกับสภาวะฝนทิ้งช่วงทำให้ได้ผลผลิตข้าวลดลง จึงเกิดแรงบันดาลใจในการคิดหาวิธีการปรับเปลี่ยนอาชีพการเกษตรจากการทำนาเพียงอย่างเดียวมาทำการเกษตรแบบผสมผสาน จากนั้นจึงได้เริ่มดำเนินการขุดบ่อเลี้ยงปลา (ปลาดุก) ทำบ่อเลี้ยงกบ พร้อมทั้งได้มีการปลูกกล้วยน้ำว้า ปลูกผักสวนครัว กะหล่ำปลี มะเขือพวง พริก เลี้ยงโค เลี้ยงไก่พื้นบ้าน เพื่อเป็นแหล่งอาหารสำหรับครัวเรือน โดยได้มีการพัฒนาต่อยอดด้านการเกษตรอย่างต่อเนื่อง ต่อมาจึงได้สร้างที่พักเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย

2 การนำนวัตกรรม หรือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี มาใช้ในกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ และเกิดผลอย่างไร (เช่น สามารถเพิ่มผลผลิต หรือลดต้นทุนการผลิตได้ ลดลง/เพิ่มขึ้น/มีประสิทธิภาพมากขึ้นจากเดิมอย่างไร เป็นต้น)

ใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักแห้ง น้ำหมักหอยเชอร์รี่ แทนการใชัปุ๋ยเคมีเพื่อเป็นการปรับปรุงบำรุงดิน ซึ่งปุ๋ยเคมีมีราคาสูง ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงตามไปด้วย หลังจากได้รับความรู้ในการทำการเกษตรการปรับปรุงบำรุงดิน การตรวจวิเคราะห์ ได้นำดินไปตรวจวิเคราะห์ และใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน มีการนำถั่วพร้า ถั่วเขียวมาปลูกหลังฤดูทำนา เพื่อเป็นปุ๋ยพืชสด เพิ่มธาตุไนโตรเจนให้กับดิน ทำให้ถึงฤดูทำนาอัตราการใช้ปุ๋ยเคมีน้อยลง ช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิต ทำให้ครอบครัวมีรายได้เพิ่มขึ้น

3 ด้านการบริหารจัดการ ที่โดดเด่นหรือแตกต่างจากเกษตรกรท่านอื่น

1) กระบวนการผลิต : มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการทำเกษตรผสมผสาน การลดต้นทุนการผลิต การทำปุ๋ยหมัก การปลูกพืชหมุนเวียน ทำนา เลี้ยงปลาดุก เลี้ยงไก่พื้นบ้าน เลี้ยงกบ เลี้ยงโคขุน กะหล่ำปลี กล้วยปลูกพืชผักสวนครัวเป็นกิจกรรมที่ทำตลอดทั้งปี

2) การจัดการผลผลิต : ผลิตปุ๋ยหมักใช้เอง ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาในการป้องกันเชื้อราในพืชผัก

3) การจัดการด้านการตลาด : เก็บผลผลิตวันต่อวัน จำหน่ายในชุมชน ตลาดในตัวอำเภอ และมีพ่อค้ามารับผลผลิตถึงสวน

4 การแสวงหาองค์ความรู้ในการประกอบอาชีพ และการเชื่อมโยงเครือข่าย

มีการศึกษาหาความรู้ทางด้านการเกษตรในอินเตอร์เน็ต รายการโทรทัศน์ที่เกี่ยวกับด้านการเกษตร และสมัครเข้าร่วมฝึกอบรมกับหน่วยงานของรัฐเวลามีการจัดกิจรรมที่ให้ความรู้ด้านการเกษตร การใช้เทคโนโลยีด้านการเกษตร และศึกษาดูงานกับปราชญ์เกษตรท่านอื่นๆเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

การขยายผลความสำเร็จของตนเองไปสู่ชุมชน มีวิธีการ/รูปแบบอย่างไร และเกิดผลสำเร็จอย่างไรบ้าง

ส่วนใหญ่ลงมือปฏิบัติทำกิจกรรมด้านเกษตรผสมผสานเพื่อเป็นแบบอย่างให้กับชุมชน และเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้กับชุมชน และบุคคลภายนอก ยังได้มีการแบ่งปันพันธุ์พืชผักสวนครัวให้หน่วยงานต่าง ๆนำพืชผัก ไปแจกจ่ายให้กับเกษตรในพื้นที่และนอกพื้นที่ แบ่งพันธุ์กบเพื่อให้เกษตรกรที่สนใจนำไปเลี้ยง และแบ่งปันพันธุ์พืชให้เกษตรนำไปปลูกในพื้นที่ มีการนำผลผลิตพืชผักสวนครัวไปแจกจ่ายให้กับชาวบ้านในการจัดงานและกิจกรรมที่สำคัญในพื้นที่ จากการดำเนินการดังกล่าวทำให้เกิดเป็นรายได้หลักของครอบครัว

จตนารมณ์ในการประกอบอาชีพการเกษตร

เกษตรกรและครอบครัว มีความมุงมั่นที่จะดำเนินตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยยึดคติ เตือนใจที่วา“สิ่งที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จ ไม่ใช่การขอพร แต่คือการลงมือทำ”

ที่มาของข้อมูล

1 นางสุภาพร ศิริจันทร์

2 นางวันเพ็ญ ธรรมบุตร ตำแหน่งนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร

3 สำนักงานเกษตรอำเภอขุขันธ์ สำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ

ตำแหน่งที่ตั้งแหล่งรู้เกษตรกรต้นแบบ

ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย นางสาวสุกัญญา กิ่งคำ

ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นางสาวสุกัญญา กิ่งคำ/นางสุภาพร ศิริจันทร์/สำนักงานเกษตรอำเภอขุขันธ์