ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ขบวนเกวียน, จังหวัดขุขันธ์ ปี ค.ศ.1936 (พ.ศ.2479)

ช่างภาพ Pendleton,Robert Larimore ภาพจาก UWM Libraries

เกวียนน้อย บ้านใจดี ตำบลใจดี อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

ประวัติความเป็นมาของเกวียน

เกวียน เป็นยานพาหนะชนิดหนึ่งที่มีล้อเลื่อน อายุเก่าแก่ที่สุด

ในโลกที่ยังมีใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน มี 2 ล้อ เคลื่อนที่ไปโดยใช้วัวหรือควายเทียมลากไป โดยปกติใช้วัว หรือควาย จำนวน 2 ตัว เกวียนใช้เป็นพาหนะ สำหรับการเดินทาง ตามตำนานกล่าวว่ามนุษย์รู้จักใช้ล้อมาก่อน ยุคประวัติศาสตร์ส่วนเกวียนที่เทียมสัตว์และรถศึกมีปรากฏแน่ชัดในสมัยกรีกและโรมันในสมัยสุโขทัย ซึ่งถือว่าเป็นยุคต้นของไทย มีวรรณคดี พงศาวดาร หลายเรื่องที่กล่าวถึงเกวียน เช่นใน เรื่องพระร่วงส่งส่วยน้ำ คนไทยได้ใช้เกวียนบรรทุกส่วยไปบรรณาการขอมผู้ มีอำนาจในสมัยหลัง ๆ สมุหเทศาภิบาลใช้"เกวียนด่าน" เดินทางจากอุบลราชธานี มายังกรุงเทพฯ โดยนั่งเกวียนคันหนึ่งมาแล้วเปลี่ยนนั่งคันใหม่ต่อกันเป็นทอดๆ ยุคนั้นยังไม่มีรถยนต์ เกวียนถูกใช้เป็นพาหนะในการ ไปตรวจราชการท้องที่ของข้าราชการ โดยได้ใช้ส่วนกลางของเกวียนเป็นที่นอน ใช้ส่วนหน้าเป็นโต๊ะเขียน หนังสือและใช้ใต้ถุนเกวียนเป็นที่หุงหาอาหารเกวียนแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ

เกวียนเทียมวัวและเทียมควาย เกวียน เทียมวัวจะเตี้ยกว่าทางภาคใต้จะนิยม ใช้ควายเทียมเกวียน ส่วนภาคเหนือ และภาคอีสานจะนิยมใช้วัวเทียม เกวียนในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงได้ตรากฎข้อบังคับเพื่อใช้ควบคุมการใช้เกวียนนี้ขึ้น จึงนับว่าเป็นกฎหมายฉบับ แรกว่าด้วยการใช้เกวียน แต่มีผลบังคับเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ ต่อมารัชกาลที่ 6 ได้ทรงดำริว่าขนาดของล้อ เกรียนกว้างเท่ากันทั่วราชอาณาจักรพ.ศ.2460

กำหนดให้ล้อเลื่อนทุกชนิดในเขตพระนครต้องจดทะเบียนรับ ใบอนุญาตขับขี่ทุก ๆ ปี ครั้น หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ได้มีประกาศ พระราชบัญญัติล้อเลื่อน พ.ศ. 2478 กำหนดให้เก็บค่าจดทะเบียนเกวียน เล่มละ 1 บาท นับตั้งแต่เริ่มใช้จน ชั่วอายุเกวียน และผ่อนผันให้ผู้ ขับขี่เกวียนไม่ต้องมีใบอนุญาตขับขี่และนับตั้งแต่นั้นมาก็มิได้มีพระราชบัญญัติ เกี่ยวกับเกวียนอีกเลย ขบวนเกวียน, จังหวัดขุขันธ์ ปี ค.ศ.1936 การทำเกวียนต้องใช้ทั้งทักษะฝีมือและประสบการณ์ในทุกๆ ขั้นตอน ดังนั้นจึงพบว่าแต่ละท้องถิ่นมีช่างทำเกวียน เฉพาะในบางชุมชนเท่านั้น เพราะเป็นความสามารถพิเศษที่ต้องอาศัยฝีมือและแรงงานที่ทำร่วมกันเป็น กลุ่ม และจะถ่ายทอดกัน ในแต่ละกลุ่มหรือชุมชนนั้นๆจากการสำรวจภายในตำบลใจดี มีผู้สืบทอดการทำเกวียนน้อย เพื่อใช้ในการจำหน่าย ได้แก่

นายเกิด เตารัตน์ (เสียชีวิต) นายหวล ไกลถิ่น นายสมเกียรติ เตารัตน์

(ลูกชายของนายเกิด) นายหยาด เทพแสง (ลูกเขยของนายเกิด) และนายทัด สอนพูดปัจจุบันแม้จะไม่ค่อยพบมี การใช้เกวียนในวิถีชีวิตประจำวันแล้ว แต่บ้านใจดี ตำบลใจดี อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ก็ยังคงมีการผลิต เกวียนขนาดเล็กโดยเลียนแบบเกวียนที่ใช้งานจริงในอดีต เพื่อทำเป็นของประดับตกแต่งหรือสามารถใช้เป็น ของที่ระลึกได้กลุ่มผลิตเกวียนน้อยบ้านใจดีกลุ่มผลิตเกวียนน้อยบ้านใจดี ตั้งอยู่เลขที่ 325 หมู่ที่ 1 บ้านใจดี ตำบลใจดี อำเภอขขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ มีนายสมเกียรติ เตารัตน์ เป็นประธานกลุ่ม มีสมาชิก 30 คน สมาชิกสามารถผลิตเกวียนน้อย จำหน่ายให้เกิดรายได้เสริมและสร้างชื่อเสียงให้ กับชาวบ้านใจดี และอำเภอขุขันธ์เป็นอย่างดี อีกทั้งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ของอำเภอขุขันธ์ด้วย เป็นกลุ่มที่มีความรู้ความสามารถด้านการผลิตเกวียนน้อย ซึ่งเป็นเกวียนเลียนแบบการใช้งานจริง เพื่อทำเป็นของประดับตกแต่งหรือสามารถใช้เป็นของที่ระลึกได้โดยกลุ่มผลิตเกวียนน้อยบ้านใจดีสามารถ ผลิต เกวียนน้อยจำหน่ายให้เกิดรายได้เสริมและสร้างชื่อเสียงให้กับชาวบ้านใจดีและอำเภอขุขันธ์เป็นอย่างยิ่ง

นายสมเกียรติ เตารัตน์

ประธานกลุ่มเกวียนน้อย

วัสดุ/อุปกรณ์ที่ใช้ ประกอบด้วย

Ø ไม้ไผ่

Ø รากไม้ประดู่ไม้โมก

Ø ไม้ต้นกระท้อน

Ø ไม้อัด

Ø เชือกไนล่อนลวด

Ø สีประดู่ทาเนื้อไม้

Ø น้ำมันเคลือบเงามีดตอก

Ø เหล็กเจาะ

Ø เลื่อย เลื่อยฉลุ เหล็กตะไบ กระดาษทราย ค้อน

Ø เครื่องกลึงกระดาษทอง

ซึ่งไม้ที่นำมาใช้หาได้จากท้องถิ่น โดยมีกระบวนการผลิตจะ

แบ่งทำเป็นส่วนๆ ก่อน คือโครงเกวียนน้อย ล้อ โครงประทุนและหลังคาประทุน แล้วจึงนำมาประกอบเข้าเป็นตัวเกวียนทีหลังสถานที่จำหน่าย จ หน่ายที่ ทำการกลุ่ม, ร้านประเสริฐสมัยศรีสะเกษ, ร้านจักรินศรีสะเกษร้านผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น ห้างเทสโก้ โลตัส สาขาขุขันธ์ และจำหน่ายตามเทศกาลต่างๆ

เกวียนน้อย คุณสมเกียรติ เตารัตน์ 325 หมู่ที่ 1 ตำบลใจดี

อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ โทร. 084-8886438 กลุ่มทีมงานช่างทำ/ประกอบเกวียนใหญ่ ระดับมืออาชีพ จากบ้านใจดี หมู่ที่ 10 ตำบลใจดี อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นกลุ่มช่างทำเกวียนรุ่นหลังจากช่างเกิด เตารัตน์(เสียชีวิตแล้ว มีความชำนาญ ใน การทำและประกอบเกวียนใหญ่แบบโบราณ กลุ่มทีมงานช่างทำ/ประกอบเกวียนใหญ่ ระดับมืออาชีพ จาก บ้านใจดี หมู่ที่ 10 ตำบลใจดี อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นกลุ่มช่างทำเกวียนรุ่นหลังจากช่างเกิด เตา รัตน์(เสียชีวิตแล้ว มีความชำนาญในการทำและประกอบเกวียนแบบโบราณ

คลิปวิดีโอเกี่ยวกับการทำเกวียนน้อยใจดี

ตำแหน่งที่ตั้งแหล่งเรียนรู้การทำเกวียนน้อย