ประเภทของสายไฟ

สายไฟฟ้า

สายไฟฟ้า คือ วัสดุที่ประกอบไปด้วยธาตุโลหะที่มีคุณสมบัติในการนำไฟฟ้าและนำความร้อนได้ดี เนื่องจากเนื้อโลหะที่มีความแข็งและเหนียว โดยเฉพาะทองแดงที่สามารถนำมาแปรรูปได้ตามต้องการ สายไฟแต่ละชนิดจะได้รับการออกแบบแตกต่างกันออกไปตามโครงสร้างแลคุณสมบัติการใช้งาน

สายไฟพื้นฐาน 4 ประเภทที่ควรรู้จัก

1 สาย VAF / VAF-G

ายชนิดนี้ มีชื่อเรียกกันว่า วีเอเอฟ (VAF) เป็นสายที่ใช้กันมากตามบ้านทั่วไป เราจะสังเกตุเห็นได้ง่าย นิยมนำมาใช้เดินลอยตีกิ๊บหรือเข็มขัดรัดสายกันภายในอาคาร ตัวสายจะทนอุณหภูมิได้ไม่เกิน 70°C และทนแรงดันได้ 300/500V

300/500V หมายความว่า ตัวสายไฟนี้ทนแรงดันได้ 300V ถ้าวัดระหว่างขั้ว L กับ N แต่ทนแรงดันได้แค่ 500V ถ้าวัดเทียบขั้ว L กับ L

2 สาย THW

ายชนิดนี้มีชื่อเรียกว่า ทีเอชดับเบิลยู (THW) ลักษณะของสายจะเป็นสายแกนเดี่ยว ตัวสายเองทนแรงดันได้ 450/750V โดยมากจะนิยมใช้เดินร้อยท่อ แต่ก็สามารถใช้เดินทั่วไปหรือเดินลอยในอากาศก็ได้

3. สาย VCT / VCT – G

สายชนิดนี้จะเรียกว่า สายวีซีที (VCT) มองด้วยตาจะเห็นว่าเป็นสายกลม ตัวสายจะอ่อนดัดโค้งงอได้ง่าย ทองแดงแกนกลางจะเป็นฝอยๆ และทนการสั่นสะเทือน ทำให้ต่อกับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆได้ง่าย สายสามารถทนความร้อนได้ 70°C และทนแรงดันได้ 450/750V สาย VCT นี้สารพัดประโยชน์มากเพราะใช้เดินสายทั่วไปไม่ว่าจะร้อยท่อ เดินในราง เดินตีกิ๊บ หรือจะฝังดิน หรือจะร้อยท่อฝังดิน สายชนิดนี้ก็ทำได้หมด

4. สาย NYY / NYY–G

สายเอ็นวายวาย (NYY) นิยมใช้งาน เดินฝังดิน หรือ เดินบนราง สายชนิดนี้จะเป็นสายชนิดต้นๆ ที่ช่างจะนึกถึงเมื่อเจองานแบบที่บอกไป เพราะสายตัวนี้ถูกออกแบบมาให้มีฉนวนหุ้ม 2 ชั้น ทำให้มีความคงทนสูงไม่ว่าจะเดินแบบเปล่าหรือเดินร้อยท่อฝังดิน สายที่ขายในบ้านเรา จะมีทั้งแบบแกนเดียวแบบหลายแกน แบบหลายแกนมีสายดิน สามารถเลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสม ซึ่งตัวสายเองยังมีคุณสมบัติ ทนแรงดันได้ 450/750V และ ทนความร้อนได้ 70°C

ส่วนประกอบของสายไฟฟ้า

1. ตัวนำไฟฟ้า (Conductor)

ทำหน้าที่ส่งผ่านกระแสไฟฟ้าหรือสัญญาณไฟฟ้า ตัวนำไฟฟ้าทำจากโลหะที่มีค่าความต้านทานไฟฟ้าต่ำและมีค่าความนำไฟฟ้าสูง ซึ่งโลหะที่นิยมใช้ทำเป็นตัวนำไฟฟ้าได้แก่ ทองแดง และอลูมิเนียม โดยมีคุณสมบัติ ดังนี้

ทองแดง เป็นโลหะที่มีค่าการนำไฟฟ้าสูงมาก (สูงเป็นอันดับสองรองจากโลหะเงิน) มีความแข็งแรง สามารถนำมารีดเป็นเส้นลวดขนาดเล็ก และดัดโค้งงอได้โดยไม่เปราะหักง่าย นำความร้อนได้ดี แต่มีน้ำหนักค่อนข้างมาก และราคาสูงกว่าอลูมิเนียม ดังนั้นจึงนิยมใช้ทองแดงเป็นตัวนำไฟฟ้าสำรหับสายไฟฟ้าที่ใช้ติดตั้งในอาคารและติดตั้งใต้ดิน (Underground cable)

อลูมิเนียม มีค่าการนำไฟฟ้าต่ำกว่าทองแดง (ประมาณ 62% ของทองแดง) แต่เปราะหักได้ง่ายกว่าจึงไม่สามารถรีดเป็นเส้นลวดขนาดเล็กมากได้ อลูมิเนียมมีข้อได้เปรียบทองแดงคือมีน้ำหนักเบากว่ามาก (อลูมิเนียมมีน้ำหนักประมาณ 1 ใน 3 ของทองแดงที่ปริมาตรเท่ากัน) และราคาถูกกว่า ดังนั้นอลูมิเนียมจึงเหมาะสำหรับทำเป็นตัวนำของสายไฟฟ้าที่ติดตั้งแบบแขวนลอยในอากาศ เช่นสายส่งไฟฟ้าแรงสูงเหนือพื้นดินที่ต้องเดินเป็นระยะทางไกล ทำให้การลงทุนในสายส่งและโครงสร้างเสาและอุปกรณ์รับน้ำหนักน้อยลงจากน้ำหนักที่เบากว่าของสายตัวนำอลูมิเนียม และเนื่องจากอลูมิเนียมเปราะหักได้ง่ายกว่าทองแดง ดังนั้นจึงไม่นิยมใช้ทำเป็นตัวนำสายตีเกลียวหรือสายอ่อนขนาดเล็กและตัวนำที่ติดตั้งในอาคารซึ่งต้องการการดัดโค้งของสายในการติดตั้งมากกว่า

2. ฉนวน (Insulation)

ทำหน้าที่ป้องกันกระแสไฟฟ้าไม่ให้ไหลผ่านไปยังส่วนอื่นๆที่สามารถก่อให้เกิดอันตรายได้ เช่นไฟรั่ว หรือไฟฟ้าลัดวงจร ฉนวนส่วนใหญ่ทำจากพลาสติกโพลีเมอร์หรือยางที่มีคุณสมบัติทนความร้อนและป้องกันของเหลวไหลผ่านสามารถป้องกันไม่ให้ไฟฟ้าไหลผ่านได้ วัสดุที่ใช้ทำฉนวนมีด้วยกันหลายชนิด แต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งวัสดุที่นิยมใช้มากที่สุด คือ โพลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl Chloride: PVC) และ ครอสลิงค์ โพลีเอททีลีน (Cross-Linked Polyethylene: XLPE)

ฉนวน PVC มีความนิ่มและอ่อนตัว สามารถดัดโค้งงอได้ง่าย นิยมใช้เป็นฉนวนสายแรงดันต่ำ โดยเฉพาะสายที่ใช้ติดตั้งในอาคารเนื่องจาก PVC มีคุณสมบัติต้านทานการลุกไหม้ไฟในตัวเอง ฉนวน PVC ใช้กับสายไฟฟ้าที่มีพิกัดอุณหภูมิตัวนำสูงสุด 70 oC

ฉนวน XLPE ผลิตโดยการทำให้ โพลีเอททีลีน (PE) เกิดปฏิกิริยาเคมีเปลี่ยนเป็นครอสลิงค์ โพลีเอททีลีน (XLPE) ซึ่งมีความแข็งแรงและทนความร้อนได้มากขึ้น ฉนวน XLPE ใช้กับสายไฟฟ้าที่มีพิกัดอุณหภูมิตัวนำสูงสุด 90 oC นิยมใช้เป็นฉนวนสายไฟฟ้ากำลัง โดยเฉพาะสายไฟฟ้าแรงดันสูง ฉนวน XLPE มีคุณสมบัติที่เหนือกว่า PVC ได้แก่ ทนอุณหภูมิได้สูงกว่า มีความแข็งแรงมากกว่า ความต้านทานไฟฟ้าสูงกว่า ป้องกันการซึมผ่านของน้ำได้ดีกว่า แต่มีข้อเสียคือเมื่อติดไฟแล้วจะลุกลามไฟได้อย่างรวดเร็ว จึงไม่นิยมใช้สายไฟฟ้าฉนวน XLPE ติดตั้งในอาคาร ยกเว้นแต่เป็นสายที่ออกแบบให้ผ่านการทดสอบการลุกลามไฟเป็นพิเศษ


3. เปลือกนอก (Sheath)

เปลือกนอก หรือ Over Sheath คือ พลาสติกโพลิเมอร์ที่อยู่ชั้นนอกสุดของสายไฟฟ้า ทำหน้าที่ปกป้องสายไฟฟ้าจากสภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น การขูดขีดระหว่างติดตั้ง แรงกระแทกกดทับ แสงแดด น้ำและความชื้น และการกัดกร่อนจากสภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น

PVC มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับฉนวนพีวีซีเหมาะกับสายไฟฟ้าที่ใช้ติดตั้งภายในอาคาร

PE มีความแข็งแรงสูง ทนต่อการขูดขีดและแรงกระแทกกดทับได้ดี และป้องกันการซึมผ่านของน้ำได้ดี แต่มีข้อเสียเรื่องการลุกลามไฟเช่นเดียวกับฉนวน XLPE ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับใช้เป็นเปลือกของสายที่ใช้ติดตั้งใต้ดิน

LSHF (Low Smoke Halogen Free) พัฒนาขึ้นสำหรับสายไฟฟ้าที่ใช้ติดตั้งในพื้นที่ที่ต้องการความปลอดภัยมากเป็นพิเศษ เนื่องจากเปลือก LSHF มีคุณสมบัติต้านทานการลุกลามไฟ ควันน้อยและไม่ปล่อยก๊าซที่มีฤทธิ์เป็นกรดเมื่อถูกไฟไหม้ มีข้อเสียคือ ความแข็งแรงไม่สูงมากเท่า PVC และ PE และไม่เหมาะกับการติดตั้งแบบฝังดิน เนื่องจากมีการดูดซึมความชื้นสูง

ชื่อเรียกสายไฟที่ช่างนิยมเรียก

  • สายเดี่ยว หรือ สายกลม หมายถึง สายไฟ THW

  • สายตีกิ๊ฟ หรือ สายแบน หมายถึง สายไฟ VAF

  • สายฝังดิน หมายถึง สายไฟ NYY

  • สายอ่อน สายฝอย หมายถึง สายไฟ VCT

  • สายคอนโทรล หมายถึง สายไฟ VSF และ CVV