เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน

ภายในบ้านของเรามีอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ มากมายหลายชนิด ตั้งแต่ที่มีความจำเป็นมาก ๆ ไปจนถึงสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ซึ่งนับวันก็ดูจะยิ่งมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องปรับอากาศ พัดลม ดวงโคม ตู้เย็น ทีวี หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าอีกมากมายหลายขนานที่วางตัวเกะกะอยู่ในครัว ตั้งแต่เครื่องปั่น เครื่องทำกาแฟ เครื่องสกัดน้ำผลไม้ ไปจนถึง หม้อหุงข้าวที่ต้องใช้งานกันทุกวัน วันนี้เราลองมาดูกันดีกว่า ว่าภายในบ้านของเรานั้น มีอุปกรณ์ไฟฟ้าอะไรซ่อนอยู่บนฝ้าสวยๆ หรือแม้แต่หลังฝาตู้ อุปกรณ์เหล่านั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้อุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านั้น สามารถใช้งานเพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้กับชีวิตของเราได้อย่างที่เป็นอยู่

ประเภทของเครื่องใช้ไฟฟ้า

พลังงานไฟฟ้าสามารถเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานรูปอื่นได้ อุปกรณ์เครื่องใช้ในบ้านเรามากมายล้วนแต่ใช้ไฟฟ้าทั้งสิ้น สามารถแบ่งประเภทของเครื่องใช้ไฟฟ้าตามประโยชน์จากเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ดังนี้

1. เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทให้แสงสว่าง ได้แก่ หลอดไฟ โคมไฟต่างๆ ฯลฯ

ประเภทของหลอดไฟ

1.หลอดไส้ (Incandescent Lamp) เป็นหลอดไฟที่มีการใช้งานมานานมาก มีอีกชื่อที่เรียกคือ “หลอดดวงเทียน” เพราะมีแสงแดงๆคล้ายแสงเทียน หลายๆคนน่าจะคุ้นเคยกับหลอดชนิดนี้กันเป็นอย่างดี มีทั้งชนิดแบบแก้ว และฝ้า ไส้หลอดทำมาจากทังสเตนให้ความร้อนสูง หลักการทำงานคือกระแสไฟฟ้าจะผ่านไส้หลอดเปลี่ยนจากพลังงานไฟฟ้าเป็นความร้อน เมื่อไส้หลอดร้อนจะเปล่งแสงออกมา หลอดไส้นั้นมีข้อเสียคือเมื่อมีความร้อนสะสมมากๆ อายุการใช้งานจะยิ่งสั้นลง โดยกินไฟมากเนื่องจากสูญเสียไปกับความร้อนที่เกิดขึ้น

2. หลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent tube) Fluorescent หรือหลอดเรืองแสง ให้แสงสว่างมากกว่าหลอดไส้ถึง 5 เท่า อายุการใช้งานนานกว่าหลอดไส้ประมาณ 7-8 เท่าตัว โดยตัวหลอดมีไส้โลหะทังสเตนติดอยู่ที่ปลายทั้ง 2 ข้าง ของหลอด ผิวภายในฉาบด้วยสารเรืองแสง โดยมีการใส่ไอปรอทไว้เล็กน้อย หลักการทำงานคือเมื่อกระแสไฟฟ้าใหลผ่านปรอทจะคายพลังงานในรูปแบบรังสีอัลตราไวโอเลตเมื่อกระทบสารเรืองแสงที่ฉาบไว้หลอดก็จะเปล่งแสงออกมา อายุการใช้งานมีตั้งแต่ 6000 ถึง 20000 ชั่วโมง

3.หลอดฮาโลเจน (Halogen) พัฒนามาจากหลอดไส้ที่ใช้ก๊าซฮาโลเจนบรรจุภายในทำให้ทนทานกว่าหลอดไส้ปกติให้ค่าความถูกต้องของสีถึง 100 % มักใช้กับพื้นที่ที่ต้องการแสงสว่างเป็นพิเศษ เช่นพื้นที่งานแสดงสินค้า มุมอับของบ้านห้องทำงาน อายุการใช้งาน 1500-3000 ชั่วโมง

4.หลอดเมทัลฮาไลด์ (Metal halide) เป็นหลอดที่จัดอยู่ในกลุ่มให้ความเข้มแสงสูง หลักการทำงานคือ Arc ไฟฟ้าวิ่งผ่านก๊าซในโคมไฟ หลอด arc ที่มีขนาดเล็กจะผสมกับแรงดันสูงของอาร์กอน ปรอทและความหลากหลายของโลหะผสมกัน ทำให้เกิดสีสันต่างๆ ความร้อนที่เกิดขึ้นจากการแตกตัวของปรอทและไอโลหะที่ผลิตไฟนี้จะทำให้ อุณหภูมิและความดันเพิ่มขึ้น หลอดเมทัลฮาไลด์จึงทำงานภายใต้ความดันและอุณหภูมิสูง ส่วนใหญ่จะใช้ส่องสว่างในสนามกีฬา ใช้เป็นไฟสาดอาคารเพื่อเน้นความสวยงาม โดยมีอายุการใช้งานถึง 24000 ชั่วโมง

5. หลอดแสงจันทร์ หรือ หลอดไฟไอปรอท หลอดประเภทนี้ทำงานด้วยการปล่อยประจุความเข้มข้นสูงหลักการทำงานคือใช้ไฟฟ้าแรงสูงกระโดดผ่านไอปรอทที่อยู่ภายในหลอดเพื่อให้เกิดแสงสว่าง มีอายุการใช้งานประมาณ 24000 ชม มีค่าความถูกต้องของสีค่อนข้างต่ำ ให้แสงสีขาวค่อนข้างเข้ม แสงจะออกนวลมีปริมาณแสงสว่างต่อวัตต์สูงกว่าหลอดชนิดอื่นๆ แสงส่องสว่างได้ไกลเหมาะกับ โรงงาน โกดังสินค้า สนามกีฬา

6. หลอดคอมแพคต์ฟลูออเรสเซนต์ หรือหลอดตะเกียบ มีการทำงานคล้ายหลอดฟลูออเรสเซนต์ ที่เราคุ้นหน้าคุ้นตาก็คือ”หลอดตะเกียบ” ซึ่งมีแบบที่บัลลาสต์ในตัว และแบบอยู่ภายนอก มีรูปร่างที่หลากหลาย เช่นแบบเกลียว แบบหลอด แบบหลอดสี่แถวเป็นต้น โดยจะมีอายุการใช้งานที่มากกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์

7. หลอด LED โดยหลอดไฟ LED ถือว่าได้รับการพัฒนามาจากเทคโนโลยีในยุคใหม่ๆ หลักการทำงานจะต่างจากหลอดทั่วๆไป โดยแสงสว่างเกิดขึ้นจากการเคลื่อนของอิเล็กตรอนภายในสารกึ่งตัวนำหลอด LED ลดจุดด้อยต่างๆ ของหลอดไฟที่ผ่านมา เช่น เรื่องความร้อนเนื่องจากไม่มีการเผาไส้หลอด มีอายุการใช้งานที่นาน 50000 ชั่วโมง ใช้ Watt น้อยแต่ให้แสงสว่างมากกว่า ถนอมสายตา เนื่องจากมีการกระพริบของหลอดน้อยมาก ไม่มีสาร UV ทั้งยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเนื่องจากไม่มีการใช้สารปรอท

การเลือกซื้อหลอดไฟ

1. สีของไฟ

ก่อนที่เราจะเลือกหลอดไฟไปติดตั้งในห้องสักห้องนั้น อย่างแรกเลยเราต้องรู้ฟังก์ชั่นการใช้งานในห้องนั้นๆเสียก่อน เพราะสีไฟที่ต่างกัน ก็เหมาะกับการใช้งานที่ต่างกัน เช่น ห้องนอน ห้องรับแขก เหมาะกับไฟสีส้ม เพราะทำให้บรรยากาศดูนุ่มนวล ผ่อนคลาย ส่วนไฟสีขาวนั้นเหมาะกับห้องทำงาน ห้องครัว เพราะเป็นพื้นที่ที่ต้องการสมาธิในการใช้งาน ไฟสีขาวจะช่วยทำให้สีในห้องไม่ผิดเพี้ยนและสามารถเห็นรายละเอียดต่างๆได้ชัดเจนกว่าไฟสีส้ม ซึ่งโดยทั่วไปสีไฟที่นิยมใช้กันในบ้านก็มี สี warm white (แสงสีเหลืองๆ อมส้ม) และสี cool white (แสงสีฟ้าขาว)

อได้สีแล้ว ก็ต้องมาดูโทนสีของแสงจาก Color Temperature Scale ซึ่งบนกล่องจะมีลูกศรชี้บอกโทนสี แต่ช่วงอุณหภูมิแสงที่นิยมใช้กันมากที่สุดก็อยู่ที่ช่วง 2700-3000K (K=Kelvin หน่วยอุณหภูมิของแสง) เป็นสี warm white ออกไปในโทนเหลือง ให้ความรู้สึกอบอุ่น ใช้สร้างบรรยากาศให้กับห้องนอน ห้องนั่งเล่น

ซึ่งอุณหภูมิของแสงก็สามารถวัดความสว่างได้เหมือนกัน แต่อาจบอกค่าความสว่างได้ไม่ละเอียดนัก ดูง่ายๆคือ ในห้องเดียวกัน แต่ที่อุณภูมิ 1000K จะรู้สึกสว่างน้อยกว่า 30

2.วัตตต์

วัตต์ (Watt หรือ W) คือ หน่วยวัดกำลังไฟฟ้าที่เป็นตัวบอกอัตราการกินไฟของหลอดไฟ เช่น หลอดไฟ 100 วัตต์ หมายความว่า หลอดกินไฟ 100 วัตต์ต่อชั่วโมง อธิบายง่ายๆคือ ยิ่งวัตต์มากก็ให้แสงที่สว่างมาก และผลที่ตามมาก็กินไฟมากเช่นกัน ดังนั้นจึงมีการคิดค้นหลอดประหยัดไฟขึ้นมา เช่น หลอด LED ถึงแม้จะมีราคาแพง แต่ถ้าเทียบกับค่าไฟในระยะยาวก็ถือว่าคุ้ม เพราะกินไฟน้อยหลอดไส้หลายเท่าตัว แต่ให้ความสว่างได้เท่ากับหลอดไฟที่มีกำลังวัตต์มาก แถมอายุการใช้งานยังยาวนานกว่าอีกด้วย ฉะนั้นเวลาเลือกหลอดไฟทั่วไปก็ดูที่วัตต์มากก็สว่างมาก ส่วนหลอด LED เค้าก็จะเขียนว่าวัตต์เท่านี้ เทียบเท่าความสว่างของหลอดไส้ทั่วไปกี่วัตต์



2. เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทให้ความร้อน ได้แก่ เตาไฟฟ้า เตารีด หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เครื่องเป่าผม เตาอบ ฯลฯ

ส่วนประกอบในเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงานความร้อน มีดังนี้

1. ขดลวดความร้อน หรือแผ่นความร้อน มักทำจากโลหะผสมระหว่างนิเกิลกับโครเมียม เรียกว่า นิโครม ซึ่งมีสมบัติคือมีจุดหลอมเหลวสูงมากจึงทนความร้อนได้สูงเมื่อมีความร้อนเกิดขึ้นมากๆจึงไม่ขาด และมีความต้านทานสูงมาก

2. เทอร์โมสตาร์ท หรือสวิตซ์ความร้อนอัตโนมัติ ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิไม่ให้ร้อนเกินไป มีส่วนประกอบเป็นโลหะต่างชนิดกัน 2 แผ่นมาประกบกัน เมื่อได้รับความร้อนจะขยายตัวได้ไม่เท่ากัน เช่น เหล็กกับทองเหลือง โดยให้แผ่นโลหะที่ขยายตัวได้น้อย(เหล็ก)อยู่ด้านบน ส่วนโลหะที่จะขยายตัวได้มาก(ทองเหลือง)อยู่ด้านล่าง เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านแผ่นโลหะทั้งสองมากขึ้น จะทำให้มีอุณหภูมิสูงจนแผ่นโลหะทั้งสองซึ่งขยายตัวได้ต่างกันโลหะที่ขยายตัวได้มากจะขยายตัวโค้งงอ เป็นเหตุให้จุดสัมผัสแยกออกจากกัน เกิดเป็นวงจรเปิด กระแสไฟฟ้าจึงไหลผ่านไม่ได้ และเมื่อแผ่นโลหะทั้งสองเย็นลงก็จะสัมผัสกันเหมือนเดิม เกิดเป็นวงจรปิด กระแสไฟฟ้าจึงไหลผ่านได้อีกครั้งหนึ่ง

3. แผ่นไมกา หรือ แผ่นใยหิน ซึ่งเป็นฉนวนไฟฟ้า ในเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้พลังงาน ความร้อนบางชนิด เช่นเตารีด หม้อหุงข้าว เตาไฟฟ้า จะมีแผ่นไมกา หรือใยหิน เพื่อป้องกันไม่ให้ขดลวดหลอมละลาย และป้องกันไฟฟ้ารั่วขณะใช้งาน

3. เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทมอเตอร์หมุน ได้แก่ พัดลม เครื่องซักผ้า เครื่องผสมอาหารไฟฟ้า

หน้าที่และการทำงานของคาปาซิเตอร์ (Capacitor) ในพัดลม

คาปาซิเตอร์ (Capacitor) หรือตัวเก็บประจุ ทำหน้าที่ในการเก็บประจุไฟฟ้า ซึ่งจะเก็บประจุไฟฟ้าไว้ที่คาปาซิเตอร์จนเต็มเพื่อดึงไปใช้เมื่อเริ่มสตาร์ท โดยจะช่วยสตาร์ทมอเตอร์ในการเปิดสวิตช์ครั้งแรกเพื่อให้ใบพัดเริ่มทำงานและช่วยลดแรงกระชากลงเมื่อเกิดการสตาร์ท เพราะหากไม่มีคาปาซิเตอร์ในการเก็บประจุไฟฟ้าจะทำให้มีแรงกระชากเมื่อเกิดการสตาร์ทหรือการเริ่มทำงาน ส่งผลให้มอเตอร์และชิ้นส่วนต่าง ๆ ทำงานหนัก คาปาซิเตอร์พัดลมจึงช่วยยืดอายุการทำงานของพัดลมให้ยาวนานขึ้นได้ โดยจะอยู่ในพัดลมแบบตั้งโต๊ะ และพัดลมอีกหลายชนิด รวมถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ด้วย

หลักการทำงานของคาปาซิเตอร์ (Capacitor) ทำงานร่วมกับมอเตอร์ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับขดลวด ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะมีขดลวดอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ ขดรันและขดสตาร์ทเพื่อให้เกิดแรงผลักดันขึ้น คาปาซิเตอร์ที่ใช้ในพัดลมแต่ละรุ่นจะมีค่าไมโครฟารัดที่ไม่เหมือนกัน ในการเปลี่ยนคาปาซิเตอร์จึงควรเปลี่ยนรุ่นที่มีค่าไมโครฟารัดตรงกัน เพราะอาจทำให้คาปาซิเตอร์ไหม้และเสียหายได้ เพราะหลายคนเข้าใจผิดว่าการใส่คาปาซิเตอร์ที่มีค่าไมโครฟารัดสูงขึ้นจะช่วยให้พัดลมหมุนแรงขึ้น แต่ความจริงแล้วค่าไมโครฟารัดที่สูงขึ้นเพิ่มความแรงแค่ในช่วงที่สตาร์ทหรือช่วงที่ออกตัวเท่านั้น เกิดจากการหมุนในรอบที่มากกว่าเดิม ไม่ได้ช่วยให้พัดลมเย็นขึ้นในระยะยาว แต่จะทำให้พัดลมพังเร็วขึ้นมากกว่าเดิม ทางที่ดีควรเลือกคาปาซิเตอร์ที่มีค่าเท่าเดิมจะดีกว่า เพราะช่วยยืดอายุการใช้งานของพัดลมให้ยาวนานขึ้นได้เยอะเลย


4. เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทให้ความเย็น ได้แก่ ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ฯลฯ

แอร์ที่มีขนาด BTU ที่สัมพันธ์กับพื้นที่ห้อง เหมาะสมกับขนาดของตัวห้องแต่ละขนาด

ขนาด BTU ห้องปกติ ห้องติดหลังคา (โดนแดด)

9,000 BTU 10-15 ตารางเมตร 9-14 ตารางเมตร

12,000 BTU 16-21 ตารางเมตร 14-18 ตารางเมตร

15,000 BTU 22-27 ตารางเมตร 20-26 ตารางเมตร

18,000 BTU 28-35 ตารางเมตร 24-32 ตารางเมตร

24,000 BTU 32-40 ตารางเมตร 28-36 ตารางเมตร

28,000 BTU 40-50 ตารางเมตร 35-45 ตารางเมตร

33,000 BTU 44-59 ตารางเมตร 41-55 ตารางเมตร

42,000 BTU 59-65 ตารางเมตร 55-61 ตารางเมตร

คิวบิกฟุต คืออะไร

คิวบิกฟุต มาจากคำว่า cubic foot/feet หมายถึงลูกบาศก์ฟุต

คือ การคำนวณจากความจุของเนื้อที่ภายในตู้เย็น ที่มีหน่วยเป็น “คิว” ที่เราคุ้นหูกัน ขนาดของตู้เย็นวัดเป็นลิตร หรือ คิว เช่น 100 ลิตร (3.53 คิว) เป็นช่องแช่แข็ง กับ 140 ลิตร (4.94 คิว) สำหรับช่องธรรมดา

สูตรการคำนวณขนาดตู้เย็น

กว้าง (ฟุต) x ความสูง (ฟุต) x ความลึก (ฟุต) = ขนาดคิวบิกฟุต

ตัวอย่าง : ตู้เย็นขนาด กว้าง 1 ฟุต 7 นิ้ว x สูง 3 ฟุต 9 นิ้ว x ลึก 1 ฟุต 7 นิ้ว

เมื่อนำมาคำนวณในหน่วยฟุต [(1+(7/12))x(3+(9/12))x(1+(7/12))] = 4.94 คิวบิกฟุต


ขนาดตู้เย็นที่เหมาะสมกับจำนวนคน

  • จำนวนคน 1-2 คน ควรจะใช้ตู้เย็น ขนาดประมาณ 7-13 คิว (200-380 ลิตร)

  • จำนวนคน 3-4 คนควรจะใช้ตู้เย็น ขนาดประมาณ 12 – 18 คิว (350-530 ลิตร)

  • จำนวนคน 5 คนขึ้นไป ควรจะใช้ตู้เย็น ขนาดไม่ต่ำกว่า 15 คิว (440 ลิตร)


5. เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องคอมพิวเตอร์

อุปกรณ์สำหรับความปลอดภัยในการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ควรรู้จัก

หน้าที่ของอุปกรณ์สำหรับความปลอดภัยในการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ควรรู้จัก ที่สำคัญๆ มีดังนี้

1.เมนสวิตซ์ (Main Switch) หรือสวิตซ์ประธาน เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้สำหรับตัดต่อวงจรของสายเมนเข้าออกอาคารกับสายภายในทั้งหมด เป็นอุปกรณ์สับปลดวงจรไฟฟ้าตัวแรกถัดจากเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า (มิเตอร์) ของการไฟฟ้าเข้ามาในบ้าน เมนสวิตซ์ประกอบด้วยเครื่องปลดวงจร (Disconnecting Means) และเครื่องป้องกันกระแสเกิน (Over current Protective Device)

หน้าที่ของเมนสวิตซ์ คือ คอยควยคุมการใช้ไฟฟ้าให้เกิดความปลอดภัย ในกรณีที่เกิดกระแสไฟฟ้าเกินหรือไฟฟ้าลัดวงจร เราสามารถสับ หรือปลดออกได้ทันที เพื่อตัดไม่ให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้ามายังอาคาร

2. เบรกเกอร์ (breaker switch)เซอร์กิตเบรกเกอร์ หรือสวิตซ์อัตโนมัติ) หมายถึง อุปกรณ์ที่สามารถใช้สับหรือปลดวงจรไฟฟ้าได้ ในขณะเดียวกันก็สามารถปลดวงจรที่มีการใช้กระแสไฟฟ้าเกินและกระแสลัดวงจรได้โดยอัตโนมัติ โดยกระแสลัดวงจรนั้นต้องไม่เกินขนาดพิกัดในการตัดกระแสลัดวงจรของเครื่อง (IC)

3. ฟิวส์ (fuse) เป็นอุปกรณ์นิรภัยชนิดหนึ่งที่อยู่ในเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยจะป้องกันการลัดวงจร และการใช้กระแสเกินในวงจรไฟฟ้า โดยจะหลอมละลาย และตัดกระแสไฟออกจากวงจรเพื่อป้องการอุปกรณ์เสียหาย โดยฟิวล์จะเป็นเส้นลวดเล็ก ๆ ทำจากตะกั่วผสมดีบุก มีจุดหลอมเหลวที่ต่ำ มีหลายชนิดให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมของการใช้งาน

คุณสมบัติของฟิวส์

1.ฟิวส์เป็นโลหะผสมประกอบด้วย บิสมัท (Bi) ร้อยละ 50 ตะกั่ว (Pb) ร้อยละ25 และดีบุก (Sn) ร้อยละ 25 โดยมวล

2.ฟิวส์มีจุดหลอมเหลวต่ำ ขณะที่กระแสไฟฟ้าผ่านฟิวส์ พลังงานไฟฟ้าจะเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนให้กับฟิวส์เล็กน้อยแต่เมื่อมีการใช้กระแสไฟฟ้าเกินกำหนด หรือเกิดไฟฟ้ลัดวงจร กระแสไฟฟ้าปริมาณมากจะผ่านฟิวส์ พลังงานไฟฟ้าจะเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนให้กับฟิวส์มากขึ้น จนฟิวส์หลอมละลาย ทำให้วงจรไฟฟ้า ในบ้าน ถูกตัดกระแสไฟฟ้าไหลผ่านอีกไม่ได้

3.การหลอมละลายของฟิวส์ไม่ทำให้เกิดประกายไฟ หรือเปลวไฟ หรือเปลวไฟหรือเกิดการหลอมละลายใดๆที่ทำให้อุปกรณ์เสียหาย


ฟิวส์ที่พบในชีวิตประจำวัน

ฟิวส์ชนิดอยู่ในหลอดแก้ว เป็นฟิวส์ที่ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าเล็กๆ โดยตัวฟิวส์จะอยู่ในหลอดแก้วภายในจะบรรจุก๊าซช่วยดับไฟ และดับการสปากของไฟ

ฟิวส์ชนิดก้ามปู

ฟิวส์ชนิดกระเบื้อง

ฟิวส์อิเล็กทรอนิกส์หรือเซอกิตเบรกเกอร์

ฟิวส์ปลั๊ก (Plug Fuse) มีรูปร่างคล้ายจุกก๊อกทรงกระบอก ปลายด้านหนึ่งใหญ่กว่าปลายอีกด้านหนึ่ง หลอดฟิวส์ทำด้วยกระเบื้อง ภายในหลอดฟิวส์มีเส้นฟิวส์และทรายบรรจุอยู่ เวลาใช้ฟิวส์ต้องใส่ลงในตลับฟิวส์ และหมุนฝาครอบฟิวส์ปิดฟิวส์ให้แน่น ที่ฝาครอบฟิวส์มีช่องสำหรับดูสภาพของฟิวส์ ถ้าเส้นฟิวส์ขาด ปุ่มบอกสภาพฟิวส์จะหลุดออกจากหลอดฟิส์ สามารถมองเห็นได้ ฟิวส์ปลั๊กนิยมใช้ทั้งในวงจรไฟแสงสว่าง และวงจรที่ใช้กำลังไฟฟ้าสูงๆ ทั้งนี้เพราะการเปลี่ยนฟิวส์ทำได้ง่าย มีความปลอดภัยในขณะเปลี่ยนฟิวส์ และขณะฟิวส์หลอมละลายจะไม่มีการกระเด็นของเศษฟิวส์จึงไม่เกิดอันตราย

ารเลือกใช้ฟิวส์

ควรเลือกฟิวส์ที่ทนกระแสไฟฟ้าสูงสุด ได้มากกว่ากระแสไฟฟ้าสูงสุดที่ใช้ภายในบ้านเล็กน้อย และไม่ควรใช้ลวดหล็ก หรือลวดทองแดงที่มีจุดหลอมเหลวสูงแทนฟิวส์ เพราะเมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านมากเกินไป ลวดเหล็กหรือลวดทองแดงจะไม่หลอมละลาย จึงไม่ช่วยตัดวงจรไฟฟ้าในบ้าน ฟิวส์ที่ใช้ตามบ้านมีหลายขนาด เช่น ขนาด 10 15 และ 30 แอมแปร์ ฟิวส์ขนาด 15แอมแปร์ คือ ฟิวส์ที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ไม่เกิน 15 แอมแปร์ ถ้ากระแสไฟฟ้าผ่านมากว่านี้ ฟิวส์จะหลอมละลาย ทำให้วงจรขาด ดังนั้น การเลือกใช้ฟิวส์จึงต้องเลือกขนาดของฟิวส์ให้พอเหมาะกับปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่าน ฟิวส์มีหลายชนิด แต่ละชนิดจะใช้แตกต่างกัน ดังนั้นจึงควรเลือกใช้ให้เหมาะสม เลือกฟิวส์ต้องเลือกความเร็วในการ ขาดของมันด้วย - เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป เลือกแบบขาดช้า ขนาดเป็นสองเท่าของโหลดที่ใช้


4.เครื่องตัดไฟรั่วหรือเครื่องตัดวงจรเมื่อมีกระแสไฟฟ้ารั่วลงดิน( ELCB, GFCI, RCD, RCD, RCBO) หมายถึง สวิตซ์อัตโนมัติที่สามารถปลดวงจรได้อย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาที่กำหนดเมื่อมีกระแสไฟฟ้ารั่วไหลลงดินในปริมาณมากกว่าค่าที่กำหนดไว้เครื่องตัดไฟรั่วมักจะใช้เป็นอุปกรณ์ป้องกันเสริมกับระบบสายดินเพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูด กรณีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้มีไฟรั่วเกิดขึ้น

5.สายดินเพื่อความปลอดภัย สายดินของอุปกรณ์ไฟฟ้า สายดินเครื่องใช้ไฟฟ้า (Equipment grounding Conductor หรือ Protective Conductor หรือ P.E.) คำเหล่านี้ล้วนมีความหมายเดียวกันคือ หมายถึง ตัวนำ หรือสายไฟฟ้าที่ต่อจากส่วนที่เป็นเปลือกโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ติดตั้งทางไฟฟ้าซึ่งปกติส่วนที่ไม่มีไฟและมักมีการจับต้องขณะใช้งานเพื่อให้เป็นเส้นทางให้กระแสไฟรั่วให้ไหลลงดินโดยผู้ใช้หรือบุคคลทั่วไปไปที่มาสัมผัสแล้วไม่เกิดอันตราย ขณะเดียวกันก็เป็นเส้นทางให้กระไฟรั่วไหลย้อนกลับไปยังหม้อแปลงไฟฟ้าได้สะดวกเพื่อให้เครื่องตัดไฟฟ้าอัตโนมัติทำงานตัดไฟออกทันที โดยทั่วไปสายไฟดัวกล่าวมักจะเรียวกันสั้นๆว่า สายดิน

6.หลักดิน (Ground Rod) หมายถึง แท่งหรือโลหะที่ฝังอยู่ในดินเพื่อทำหน้าที่แพร่หรือกระจายประจุไฟฟ้าหรือกระแสไฟฟ้าให้ไหลลงสู่ดินได้โดยสะดวกวัตถุที่จะนำมาใช้เป็นหลักดิน เช่น ทองแดงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 16 มิลลิเมตร (5/18) ยาวไม่น้อยกว่า 2.40 เมตร เป็นต้น

7.เต้ารับ หรือปลั๊กตัวเมีย คือ ขั้วรับสำหรับหัวเสียบจากเครื่องใช้ไฟฟ้า ปกติเต้ารับจะติดตั้งอยู่กับที่ เช่น ติดอยู่กับผนังอาคารเป็นต้น

8.เต้าเสียบ หรือปลั๊กตัวผู้ คือ ขั้วหรือหัวเสียบจากเครื่องไฟฟ้าเพื่อเสียบเข้ากับเต้ารับทำให้สามารถใช้เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นได้