เครื่องมืองานช่าง

เครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์งานช่าง

ความหมายของเครื่องมืองานช่าง

การทำงานช่าง สิ่งที่สำคัญคือ เครื่องมือ เพราะเครื่องมือจะช่วยให้การทำงานสะดวกและรวดเร็วขึ้น ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในงานช่างต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานบำรุงรักษา งานติดตั้ง งานซ่อมแซม/ดัดแปลง หรืองานผลิต ส่วนใหญ่จะใช้เครื่องมือวัด ตัด ตอก เจาะ ไส ประกอบการเชื่อมประสาน

เครื่องมืองานช่าง หมายถึง สิ่งที่ใช้ในการซ่อม สร้าง และดัดแปลงเกี่ยวกับงานช่าง เช่น การดัด การตอก การวัด การเจาะ การไส การติดตั้ง

ประเภทของเครื่องมืองานช่าง

เครื่องมือที่จำเป็นในงานช่างพื้นฐานที่ทุกคนควรรู้และสามารถนำไปใช้ประกอบการปฏิบัติงานซ่อมแซมเครื่องใช้ต่างๆ ภายในบ้าน สามารถแยกออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ดังนี้

  1. ตอก

  2. ขันและไข

  3. เจาะ

  4. ไสตกแต่ง

  5. จับยึด

  6. ผ่า ตัด

  7. วัด

เครื่องมือสำหรับตอก

ค้อน สำหรับใช้งานช่างมีหลายชนิด เช่น ค้อนหงอน ทำด้วยเหล็กด้านหน้าเรียบ หงอนด้านบนใช้ถอนตะปู ค้อนเหลี่ยมเล็กใช้ตอกตะปูในการเดินสายไฟ ค้อนไม้เป็นค้อนที่ทำจากเนื้อไม้แข็ง จึงทำให้มีความยืดหยุ่นดีกว่าเหล็ก เมื่อใช้เคาะชิ้นส่วนใดๆ จึงไม่เกิดความเสียหายหรือเกิดความเสียหายน้อย ค้อนยางใช้สำหรับตอกเพื่อรักษาสภาพผิวงาน ค้อนหัวกลมใช้ในการขึ้นรูปโลหะ

การใช้ค้อน

1.ก่อนใช้ควรตรวจหัวค้อนกับด้ามจับว่าสวมกันแน่นหรือไม่

2.ใช้มือข้างที่ถนัดจับค้อน นิ้วก้อยอยู่ห่างประมารณ 2.5 เซนติเมตร

3.วางหน้าค้อนลงบนหัวตะปูหรือชิ้นงานที่จะตอก ตามองที่ชิ้นงาน

4.หากมีการตอกตะปู ให้ตอกเบาๆ ให้ตะปูเกาะเนื้อไม้ก่อน

5.ยกค้อนสูงประมาณระดับไหล่ ด้ามค้อนอยู่ในแนวดิ่ง

6.ตอกลงให้หน้าค้อนสัมผัสกับชิ้นงานเพื่อให้ได้มุมฉาก

7.ในการตอกตะปูต้องให้น้ำหนักของค้อนเฉลี่ยลงบนหัวตะปูเท่าๆกัน มิฉะนั้นจะทำให้ตะปูงอได้

8.ขณะตอกตามมองไปที่ตำแหน่งที่ตอก

การบำรุงรักษา

1.เลือกชนิดของค้อนให้เหมาะกับงาน

2.เมื่อใช้งานเสร็จควรเช็ดทำความสะอาด แล้วทาน้ำมันที่หัวค้อนเพื่อป้องกันสนิม

เครื่องมือสำหรับขันและไข

เครื่องมือสำหรับขันและไข มีดังนี้

ประแจ เป็นเครื่องมือในการขันหัวสกรูหรือนอต ประแจมีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่ใช้ เช่น

ประแจปากตาย ใช้ขัน คลาย ในที่โล่งๆ กว้างๆ และข้อจำกัด จะจับน็อตลื่นได้ง่าย ซึ๋งประแจแหวน โอกาสลื่นได้น้อยกว่า เริ่มจากเบอร์ที่ 6 - 32

ระแจแหวน ใช้ขัน หรือคลายเข้าในที่เป็นซอกหรือหลุม แต่ลึกไม่มาก เริ่มจากเบอร์ที่ 6 - 32

ประแจเลื่อน ใช้ขันเกลียว น๊อต หรือ ยึด อุปกรณ์ต่างๆ มีลักษณะเป็นด้ามยาวส่วนหัวมีรูปทรงพอดีกับอุปกรณ์ เพื่อใช้สำหรับล็อกอุปกรณ์เช่น น๊อต

ประแจขอม้า ใช้ในงานขันท่อโลหะ หรือข้อต่อที่มีผิวกลม ไม่เหมาะสำหรับใช้ขันน็อต เพราะจะทำให้หัวน็อตเสียหาย

ประแจบล็อก ใช้แทนขัน หรือคลาย หรือจับน็อต


ารบำรุงรักษา

1.ไม่ใช้ประแจตอกหรือตีแทนค้อน

2.ทำความสะอาดหลังเลิกใช้งาน

3.หลีกเลี่ยงการใช้ประแจที่มีขนาดใหญ่กว่าสกรูหรือนอต

ไขควง เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการขันหรือคายตระปูเกลียว ไขควงแต่ละชนิดมีลักษณะคล้ายๆกัน คือ มีส่วนที่เป็นด้ามจับทำด้วยไม้หรือพลาสติก ส่วนที่เป็นไขควงจะเป็นเหล็กกลมหรือสี่เหลี่ยม ไขควงแบ่งออกได้ดังนี้

ไขควงแบน เป็นไขควงที่ใช้สำหรับขันสกรูที่มีช่องผ่าตลอด

ไขควงแฉก มีลักษณะเหมือนไขควงแบน ต่างกันตรงปลายไขควงจะเป็นสี่แฉกใช้ขันสกรูที่มีช่องผ่าสี่แฉก

การบำรุงรักษา

1.ใช้ไขควงให้เหมาะสมกับกับลักษณะงานและร่องของนอตสกรู

2.หลังใช้งานเช็ดทำความสะอาด แล้วเก็บใส่กล่องเครื่องมือ

ไขควงบล็อก มีลักษณะเหมือนไขควงแบน ต่างกันตรงปลายไขควงจะเป็นหัวเหลี่ยมใช้สำหรับนอตหัวเหลี่ยม

เครื่องมือสำหรับเจาะ

เครื่องมือประเภทเจาะ มีดังนี้

สว่าน ใช้สำหรับเจาะรูเพื่อใส่สกรูหรือเดือย มีดังนี้

สว่านมือหรือสว่านเฟือง ใช้สำหรับเจาะรูขนาดเล็ก

สว่านไฟฟ้า เป็นเครื่องมือเจาะที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน ใช้เจาะวัสดุต่างๆ เช่น คอนกรีต ปูน โลหะ ไม้ และพลาสติก ใช้งานได้สะดวกและรวดเร็ว เพราะใช้พลังงานไฟฟ้าในการทำงาน

สว่านข้อเสือ มีลักษณะเป็นรูปตัวยู มีคันหมุน ต้องใช้ร่วมกับดอกสว่านที่มีขนาด ระหว่าง ¼ - 1 นิ้ว มักใช้ในงานไม้

ดอกสว่านมี 19 เบอร์ เริ่มจากเบอร์ที่ 1-1.5-2-2.5-3 จนกระทั้งถึงเบอร์ที่ 10

ดอกสว่านมี 3 ชนิด

1. ดอกสว่านเจาะโลหะ

- ดอกสว่านแบบ HS High Speed ใช้สำหรับเจาะวัตถุเช่น ไม้ พลาสติก

- ดอกสว่านแบบ HSS Hih Speed Steel ใช้สำหรับเจาะเหล็กชนิดต่าง ๆ เช่น เหล็กแผ่น เหล็กอ่อน เหล็กเหนียว เหล็กหล่อ มีความแข็งสูงมาก

2. ดอกสว่านเจาะปูน

3. ดอกสว่านเจาะไม้ ดอกสว่านที่ใช้งานจะมีหลายขนาด การนำไปใช้งานต้องคำนึงถึงความเร็วที่จะใช้เจาะรูด้วย - ดอกสว่าน ขนาดเล็ก ใช้ความเร็วในการเจาะ สูง - ดอกสว่าน ขนาดใหญ่ ใช้ความเร็วในการเจาะ ต่ำ

การใช้และบำรุงรักษา

1. ลับดอกสว่านให้คมอยู่เสมอ โดยการใช้หินเจียร

2. ถอดดอกสว่านออก แล้วหมุนหัวจับดอกสว่านให้เข้าที่ หลังการใช้งานทุกครั้ง

3. ทาจารบีที่เฟืองและหัวจับดอกสว่านเดือนละครั้ง

4. เลือกดอกสว่านให้มีฟันเลี้อยและคมจิกที่เหมาะสมกับงาน

5. เลือกความเร็วรอบให้เหมาะสมกับชนิดของวัสดุ และขนาดของรูที่จะเจาะ

6. ไม่ควรใช้มือดึงเศษโลหะในขณะทำการเจาะ

7. ถ้าสว่านติดขัดกับรูเจาะควรปิดสวิทส์ทันที

8. ก่อนเจาะควรตอกเหล็กนำศูนย์ตามตำแหน่งต้องการเจาะเสียก่อน

9. จับชิ้นงานให้แน่น

10.ควรให้คมตัดทั้งสองเริ่มตัดเจาะในตำแหน่งที่ถูกต้อง

เครื่องมือสำหรับไสตกแต่ง

เครื่องมือสำหรับไสและตกแต่ง มีดังนี้

กบไสไม้

1.1กบล้างสั้น มีความยาว 6-8 นิ้ว ใช้ไสไม้ที่มีขรุขระ แอ่น บิดงอ ซึ่งกบชนิดอื่นไม่สามารถไสได้ ใบกบทำมุมกับตัวกบ 45 องศา

1.2กบล้างยาว มีลักษณะคล้ายกบล้างสั้น มีความยาว 16-18 นิ้ว ใช้ล้างแนวไม้ให้ตรงใช้ไสไม้ก่อนเพราะติดล้างกัน





1.3กบขูดหรือกบแต่ง ใช้แต่งไม้โค้งเพื่อผิวเรียบซึ่งกบธรรมดาไม่อาจแต่งได้


ารบำรุงรักษา

1.หลังการใช้งานต้องทำความสะอาดและชโลมน้ำมันบางๆ บนส่วนที่เป็นโลหะ

2.ควรสำรวจความคมของใบกบก่อนใช้งานทุกครั้ง


ตะไบ

เป็นเครื่องมือที่ทำหน้าที่ปรับผิวชิ้นงานให้เรียบหรือตกแต่งชิ้นงานให้มีขนาดตามต้องการ ตะไบทำจากเหล็กผสมคาร์บอน ส่วนตะไบที่ต้องการความคงทนสูงทำด้วยเหล็กกล้า รูปร่างของตะไบนอกจากถูกกำหนดโดยลายตัดขวาง ความถี่ และความลึกของร่องตัด ยังมีผลต่อขนาดของฟันอีกด้วย คือ ตะไบหยาบจะมีฟันลึกและห่างใช้สำหรับงานปาด ส่วนตะไบละเอียดจะมีฟันตัดตื้นและถี่ เหมาะสำหรับงานตกแต่งขั้นสุดท้าย ตะไบมีหลายแบบ ดังนี้ ตะไบแบน ตะไบท้องปลิง ตะไบสามเหลี่ยม ตะไปกลม ส่วนตะไบที่ใช้ในงานไม้ เรียกว่า บุ้ง

ตะไบแบน ใช้กับโลหะที่เป็นรูปทรงแนงนอนหรือแนวตั้ง

ตะไบท้องปลิง ใช้กับโลหะที่มีรูปทรงเป็นวงรี

ตะไบสามเหลี่ยม ใช้กับโลหะที่เป็นรูปสามเหลี่ยม

ตะไบกลม ใช้กับโลหะที่มีรูปทรงเป็นวงกลม

ขนาดของตะไบ มี 4 ขนาด

1. หยาบมาก

2. หยาบปลานกลาง

3. ละเอียดมาก

4. ละเอียดปลานกลาง

วิธีใช้ตะใบ

1.การใช้ตะไบต้องตรวจสอบชิ้นงานให้ยึดติดกับปากกาให้แน่น

2.มือซ้ายจับที่ปลายตะไบ ส่วนมือขวาจับที่ด้ามตะไบ

3.วางตะไบให้สัมผัสกับผิวชิ้นงานแล้วดันไปข้างหน้า เมื่อสิ้นสุดชิ้นงานให้ดึงกลับ ทั้งนี้จะต้องถูไปมาให้หน้าตะไบสัมผัสกับชิ้นงานตลอด

4.การใช้ตะไบควรเลือกตะไบให้เหมาะสมกับลักษณะงาน

5.การตะไบทุกครั้งจะต้องดันตะไบไปข้างหน้าแล้วดึงกลับ ไม่ควรถูตะไบไปมาอย่างรวดเร็ว

6.ก่อนใช้ตะไบและกบทุกครั้ง ควรตรวจสอบสภาพให้พร้อมใช้งาน เพื่อความปลอดภัยต่อตนเองและผู้อื่น

การจัดเก็บบำรุงรักษา

1. ตรวจดูความเรียบร้อยของใบกบก่อนเก็บเข้าที่

2. ทำความสะอาดตัวกบโดยใช้แปรงปัดเศษไม้ออก

3. ชโลมน้ำมันใบกบก่อนเก็บเข้าที่เก็บ

4. ทำความสะอาดตะไบโดยใช้แปรงทองเหลืองปัดเศษโลหะออก

5. ไม่ควรวางตะไบทับกันเพราะจะทำให้คมตะไบสึกหรอได้ง่าย

เครื่องมือสำหรับจับยึด

เครื่องมือสำหรับจับยึด มีดังนี้ คีม เป็นเครื่องจับยึดชิ้นงานให้ติดกันหรือดึงชิ้นงาน นอกจากนั้นยังใช้จับ บีบ ดัด ตัด คีมจะมีด้ามโลหะติดกับปากคีม ถ้าใช้ในงานไฟฟ้าจะมีฉนวนหุ้มด้ามคีมทั้งสองข้างอีกครั้ง คีมที่นิยมใช้มีดังนี้

คีมปากกลม ใช้สำหรับบิดหรือม้วนโลหะ

คีมปากเรียว ใช้สำหรับจับชิ้นงานชิ้นเล็กๆ หรือตะปูสั้น

คีมปากแบน ใช้สำหรับจับโลหะแบนหรือสายไฟ

คีมตัด ใช้สำหรับตัดลวดหรือโลหะเนื้ออ่อน

คีมรวม ใช้จับ ตัด ม้วนโลหะ

คีมปากเลื่อน ใช้จับน็อตโดยสามารถเลื่อนความกว้างของคีมได้

คีมปากนกแก้ว ใช้สำหรับถอนตะปู ตัดหัวตะปู ตัดลวดและโลหะเนื้อแข็ง

คีมล็อก ใช้จับนอตหรือชิ้นงานเพื่อป้องกันการหมุนหรือเลื่อนโดยปากปรับขยายให้กว้างได้และล็อกให้แน่น

การบำรุงรักษา

1.ใช้คีมให้ถูกประเภทกับงาน

2.ไม่ควรบีบคีมแรงเกินไปเพราะจะทำให้คีมหัก

3.ไม่ควรใช้ค้อนทุบคีมแทนการตัด

4.ไม่ใช้คีมแทนค้อนหรือเครื่องมืออื่นๆ

5.เช็ดทำความสะอาด หยดน้ำมันที่จุดหมุน แล้วชโลมน้ำมันหลังการใช้งาน


เครื่องมือสำหรับตัดและผ่า มีดังนี้

เลื่อยลันดาชนิดตัด ใช้ตัดขวางเสี้ยนไม้ ปลายของฟันจะแหลม เวลาตัดต้องทแยงใบเลื่อยทำมุมกับชิ้นงานประมาณ 15 – 30 องศา

การบำรุงรักษา

1.ระวังอย่าให้สกรูจับใบเลื่อยหลุดหาย

2.ทำความสะอาดและทาน้ำมันทุกครั้งหลังการใช้งาน

เลื่อยฉลุ เป็นเลื่อยขนาดเล็ก รูปร่างของโครงเลื่อยเป็นตัวอยู่ ทำด้วยโลหะ ใบเลื่อยเล็กใช้ในงานฉลุลวดลายหรือเลื่อยสิ่งของเล็กๆ

การบำรุงรักษา

1.ระวังอย่าให้สกรูจับใบเลื่อยหลุดหาย

2.ทำความสะอาดและทาน้ำมันทุกครั้งหลังการใช้งาน

เลื่อยตัดเหล็ก โครงเลื่อยเหล็กมีรูปร่างลักษณะที่แตกต่างกัน แล้วแต่บริษัทผู้ผลิต แต่ช่วงที่ใส่ใบเลื่อยจะมีระยะห่างเท่ากัน มีรูและสลักสำหรับยึดให้ใบเลื่อยตึงและปรับระยะได้ตามขนาดความยาวของใบเลื่อย

การบำรุงรักษา

1.หลังจากการใช้งานให้คลายใบเลื่อยออกเล็กน้อย เพื่อยืดอายุใบเลื่อยให้ใช้งานได้ยาวนานขึ้น

2.ใช้แปรงปัดทำความสะอาดทุกส่วน ทาด้วยน้ำมัน แล้วเก็บไว้ในที่เก็บหลังการใช้งาน

เครื่องสำหรับวัด มีดังนี้

ไม้บรรทัด ใช้สำหรับวัดระยะสั้นๆ และขีดเส้น

การบำรุงรักษา

1.ทำความสะอาดหลังเลิกใช้งาน

2.เก็บรักษาให้เรียบร้อย

ตลับเมตร ใช้สำหรับวัดระยะมีลักษณะเป็นตลับสี่เหลี่ยมขนาดพอจับมือ ตัวตลับทำด้วยโลหะหรือพลาสติก ส่วนแถบวักทำด้วยเหล็กบางเคลือบสี ปลายแถบวัดจะมีขอเกี่ยวเล็กๆ ติดอยู่

การบำรุงรักษา

1.ระวังรักษาขอเกี่ยวปลายเทปไม่ให้หัก

2.เมื่อจะปล่อยเส้นเทปกลับมี่เดิมต้องค่อยๆผ่อน ถ้าปล่อยให้กลับเร็วเกินไปปลายของเกี่ยวอาจชำรุดเสียหายได้

3.ทำความสะอาดหลังเลิกใช้งานแล้วเก็บให้เป็นระเบียบ

ฉาก เป็นเครื่องมือวัดละเอียดที่ใช้ทางตรงหรือตั้งได้ฉากของงาน รวมทั้งวัดมุมต่างๆ ฉากมี 2 ชนิด คือ

1.ฉากตาย ยึดติดกันตายตัวใช้วัดมุม 90 องศา และ 45 องศา

2.ฉากเป็น ใช้วัดมุมต่างๆ สามารถถอดแยกออกจากกันได้

การบำรุงรักษา

1.หลังการใช้งานต้องทำความสะอาด

2.ไม่ใช้ด้ามฉากเคาะหรือตอกแทนค้อน

3.ระมัดระวังอย่าให้ฉากตกลงพื้น เพราะจะทำให้เคลื่อนที่ได้