ขอบคุณคริปจาก Thai PBS 

รายละเอียดแบบทดสอบ

คู่มือการจัดการเรียนรู้
(สำหรับคุณครู)

ดาวน์โหลดเกียรติบัตร

เกี่ยวกับแบบทดสอบ

การรู้เท่าทันสื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการเสริมสร้างพลังอำนาจให้แก่ประชาชน
ผู้บริโภคสื่อ ซึ่งการรู้เท่าทันสื่อนั้นต้องอาศัยทักษะในการเข้าถึง วิเคราะห์และประเมินข้อมูลข่าวสารจากสื่อ อย่างมีประสิทธิภาพ แบบทดสอบฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อวัดและประเมินผลทักษะการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียน เด็กและเยาวชน ประชาชนทั่วไป ภายใต้โครงการส่งเสริมการพัฒนาและเพิ่มความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อของประชาชน “คนทันสื่อ” ระดับภูมิภาค โครงการละอ่อนสอนสื่อ โรงเรียนสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่

การสื่อสารนั้นเป็นพื้นฐานและเป็นกระบวนการสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคต พัฒนาการของการสื่อสารในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและก้าวกระโดด ข้อมูลข่าวสารซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในการสื่อสารถูกส่งต่อด้วยสื่อแขนงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น สื่อสิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ และวิทยุที่กำลังถูกเชื่อมโยงกันด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและได้เคลื่อนเข้าสู่ยุคสื่อหลอมรวม (Media Convergence) ซึ่งมีส่วนสำาคัญในการเปลี่ยนวิถีการดำาเนินชีวิตดังนั้นการเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล จึงเป็นทักษะสำาคัญของพลเมือง ที่จะต้องสร้างขึ้นจนเป็นสมรรถนะ ทั้งนี้เพื่อการเข้าถึงสื่อสารสนเทศและดิจิทัลอย่างเท่าเทียม มีความเข้าใจและสามารถคิดวิเคราะห์วิพากษ์ ประเมินคุณค่า สร้างสรรค์สื่อ และใช้ประโยชน์จากการสื่อสารเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้สังคมดีขึ้น

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 70 ขึ้นไป จึงจะได้รับ Certificate of Completion หากท่านทำแบบทดสอบไม่ผ่านเกณฑ์สามารถทำใหม่ได้ แต่หากทำแบบทดสอบผ่านแล้วจะสามารถรับ Certificate of Completion ได้ 1 ใบต่อ 1 อีเมลในแบบทดสอบนั้นๆ โดยการค้นหา Certificate of Completion ผ่านระบบสืบค้นเกียรติบัตรด้านบนแถบของ Website โดยกรอก E-Mail และเลือกชื่อแบบทดสอบที่ทำ และกดค้นหาเพื่อดาวน์โหลดเกียรติบัตร

มาตรฐานการจัดการเรียนรู้

ในปัจจุบันการติดต่อสื่อสาร การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนการแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อต่าง ๆ เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แม้จะก่อให้เกิดผลดีหลายประการแต่ก็ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นในสังคมได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น การกลั่นแกล้งผ่านโลกไซเบอร์ การขาดวิจารณญาณในการใช้สื่อและสารสนเทศตลอดจนการขาดทักษะในการใช้สื่ออย่างปลอดภัย กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เยาวชนเกิดทักษะการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล (Media Information Digital Literacy: MIDL) และมีคุณลักษณะที่สำาคัญของพลเมือง (citizenship) จึงเป็นสิ่งที่จะช่วยส่งเสริมสมรรถนะสำคัญของการเป็นพลเมืองโลกในศตวรรษที่ 21 

ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553 มาตราที่ 6 ได้กำหนดให้การศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และมาตราที่ 7 ได้ระบุให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำาหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ รวมถึงแผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564) ได้ระบุตัวชี้วัดที่ 4 “ร้อยละคะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนทุกระดับการศึกษามีความเป็นพลเมือง และพลโลก” อีกทั้งยังถูกกำาหนดในเป้าหมายรวมในข้อที่ 1 ระบุว่า “คนไทยมีคุณลักษณะเป็นคนไทยที่สมบูรณ์ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีความเป็นพลเมืองตื่นรู้ ทำประโยชน์ต่อส่วนรวม เป็นนวัตกรรมสร้างสรรค์ทางสังคม มีความสุขทั้งมิติทางกาย ใจ สังคมและจิตวิญญาณ มีวิถีชีวิตที่พอเพียง มีความเป็นไทย และมีความสามารถ เชิงการแข่งขันในเวทีโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี”

องค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) ได้จัดทำาเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ทั้งหมด 17 ประการ ซึ่งเป็นพันธกิจที่ประเทศสมาชิกต้องนำาไปพัฒนา โดยในหัวข้อที่ 4.7 ได้ระบุให้การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การเป็นพลเมืองโลก และการอยู่ร่วมกันในวัฒนธรรม ที่มีความหลากหลาย

นอกจากคุณลักษณะที่สำาคัญที่มุ่งเน้นผู้เรียนให้เป็นพลเมืองที่ดีในสังคมแล้ว ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เป็นอีกหนึ่งในทักษะสำาคัญในศตวรรษที่ 21 ที่ผู้เรียนต้องได้รับการพัฒนาเพื่อการรู้เท่าทันและนำไปปรับใช้ในการดำาเนินชีวิตท่ามกลางสังคมที่มีความเปลี่ยนแปลง แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 - 2579 ได้กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุขสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21” โดยมีเป้าหมายด้านผู้เรียน คือ มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (3Rs8Cs) ประกอบด้วยทักษะและคุณลักษณะต่อไปนี้ (สำานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2560)