ทำเนียบรุ่นจบการศึกษา

โรงเรียนลานสกาประชาสรรค์ / โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช

เนื่องด้วยโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช ได้เปลี่ยนชื่อจากลานสกาประชาสรรค์มาเป็นสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช จึงได้กำเนิดรุ่นบุกเบิก ซึ่งได้ศึกษาในชื่อเดิมและชื่อใหม่ และได้ใช้ชื่อรุ่นว่า รุ่นบุกเบิก บุกเบิก หมายถึงริเริ่ม ทำเป็นกลุ่มแรก อยู่ในยุคของการเปลี่ยนแปลงจาก ลส.มาเป็น ส.ก.นศ. และตามด้วยชื่อที่รุ่นนั้นได้ตั้งขึ้นเพิ่มเติม  ดังนี้

รุ่น 1 สำเร็จการศึกษา พ.ศ. 2554 รุ่นบุกเบิก 1

รุ่น 2 สำเร็จการศึกษา พ.ศ. 2555 รุ่นบุกเบิก 2

รุ่น 3 สำเร็จการศึกษา พ.ศ. 2556 รุ่นบุกเบิก 3

รุ่น 4 สำเร็จการศึกษา พ.ศ. 2557 รุ่นบุกเบิก  : เฟื้องฟ้า

รุ่น 5 สำเร็จการศึกษา พ.ศ. 2558 รุ่นบุกเบิก  : สุรณดา กุหลาบนคราศรีมาปกรณ์

**หมายเหตุ**ตั้งแต่รุ่นที่ 6 เป็นต้นไป นับเป็นรุ่นที่ 1 ของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช หรือเข้าศึกษารุ่นที่ 1 และจบการศึกษารุ่นที่ 6 ในรั้วสวนนครแห่งนี้ โดยใช้ระยะเวลาศึกษา 6 ปี**

เข้าศึกษารุ่นที่ 1 (รุ่นแรก) และ สำเร็จการศึกษา รุ่นที่ 6 พ.ศ. 2554-2559 ปฐมฤกษ์

เหตุผลเนื่องด้วยนักเรียนรุ่นนี้เป็นนักเรียนรุ่นแรกของการเปลี่ยนชื่อโรงเรียนลานสกาประชาสรรค์มาเป็นโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช โดยเปิดรับสมัครนักเรียนใหม่ในนามโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช เป็นครั้งแรก รุ่นแรก และมีการเปลี่ยนแปลง ก่อสร้างสิ่งต่างๆเกิดขึ้นใหม่มากมายจึงได้ชื่อรุ่นว่า ปฐมฤกษ์ ซึ่งมีความหมายถึงการเริ่มแรก เริ่มต้น 

รุ่น 7 พ.ศ. 2555-2560 ปิยมหาราชานุสรณ์

เหตุผลเนื่องด้วยรุ่นนี้เป็นรุ่นที่โรงเรียนมีการหารายได้สมทบทุนสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๕ โดยการจัดทำผ้าป่าเพื่อการศึกษา ฯลฯ และสำเร็จการศึกษาเมื่อพระบรมราชานุสาวรีย์เสร็จสมบูรณ์ จึงได้ชื่อว่าปิยมหาราชานุสรณ์

รุ่น 8 พ.ศ. 2556-2561 กุหลาบอัฏฐมา

เหตุผลเนื่องจากนักเรียนรุ่นที่ 8  นับเป็นดอกกุหลาบที่จะจบออกไปเป็นรุ่นที่ 8  โดย อัฏฐ (อัด-ถะ) นั้นมีความหมายว่า แปด 8  และใช้ คำเชื่อมเพื่อให้ไพเราะ อัฏฐ+มา  กุหลาบอัฏฐมา จึงเปรียบเสมือน นักเรียนรุ่นที่ 8 ของสวนนคร

รุ่น 9 พ.ศ. 2557-2562 ปฐมาอลงกรณ์

เหตุผลเนื่องจากนักเรียนรุ่นที่ 9 เป็นนักเรียนรุ่นแรกที่มีการประดับเข็มตราโรงเรียนที่หน้าอก ในวันปฐมนิเทศนักเรียนใหม่ จึงได้นำคำสองคำมารวมกัน คือคำว่า ปฐม ซึ่งเเปลได้ว่า แรกหรือใหม่ และคำว่า อลงกรณ์ ซึ่งมีความหมายว่าการประดับ เมื่อนำคำทั้งสองคำนี้มารวมกัน (ปฐม+อลงกรณ์) ก็เชื่อมกันได้ว่า ปฐมาอลงกรณ์ ซึ่งเเปลความได้ว่า การประดับเข็มตราโรงเรียนครั้งแรกของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช โดยตรงกับปีที่เข้าศึกษาของนักเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช รุ่นที่ 9 

รุ่น 10 พ.ศ. 2558-2563 60 พรรษา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร

เหตุผลเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ 60 พรรษา ในวันที่ 2 เมษายน 2558 ซึ่งตรงกับปีที่เข้าศึกษาของนักเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช รุ่นที่ 10 จึงใช้ชื่อว่า 60 พรรษา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร 

รุ่น 11 พ.ศ. 2559-2564 เดชะพระบารมี 

เหตุผลเนื่องจากเป็นปีมหามงคล ซึ่งเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติมาถึงปัจุบัน เป็นเวลากว่า 7๐ ปีแห่งการครองราชย์ ที่ยุติ "ทุกข์ของแผ่นดิน" ด้วย "เดชะพระบารมี"ในวันที่ 9 มิถุนายน 2559 ซึ่งตรงกับปีที่เข้าศึกษาของนักเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช รุ่นที่ 12 จึงใช้ชื่อรุ่นว่า เดชะพระบารมี 

รุ่น 12 พ.ศ. 2560-2565 อภิรักษ์วัชราภรณ์

เหตุผลในปีนี้โรงเรียนได้มีการรับการประเมิน TO BE NUMBER ONE ในสถานศึกษาระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ที่สามารถรักษามาตรฐาน พร้อมเป็นต้นแบบระดับเพชร ปี ๒ ซึ่งอภิรักษ์นั้นหมายถึงการรักษา ระวัง ป้องกัน ส่วนวัชราภรณ์หมายถึงเพชร เมื่อนำคำทั้งสองคำนี้มารวมกัน(อภิรักษ์+วัชราภรณ์) จึงหมายถึงการรักษาเพชร หรือการรักษามาตรฐานต้นแบบระดับเพชร ของ TO BE NUMBER ONE SUANNAKHO ซึ่งตรงกับปีที่เข้าศึกษาของนักเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช รุ่นที่ 12 

รุ่นที่ 13 พ.ศ. 2561-2566 ปฐมาภูมินทร์

เหตุผลคำว่า ปฐมาภูมินทร์ มาจากการนำคำสองคำมารวมกันคือทำว่าปฐมา มาจากคำว่า ปฐม ซึ่งเเปลได้ว่า แรกหรือใหม่ และคำว่าภูมินทร์ ซึ่งแปลว่าพระเจ้าแผ่นดิน และเมื่อนำคำทั้งสองคำนี้มารวมกัน (ปฐม+ภูมินทร์) ก็เชื่อมกันได้ว่า ปฐมาภูมินทร์ ซึ่งเเปลความได้ว่า พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ ซึ่งประเทศไทยในขณะนี้เป็นช่วงของการเกิดการเปลี่ยนแปลงการครองราชย์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 ซึ่งตรงกับปีที่เข้าศึกษาของนักเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช รุ่นที่ 13 ซึ่งเป็นนักเรียนรุ่นแรกในแผ่นดินรัชกาลที่ 10 

รุ่นที่ 14 พ.ศ. 2562-2567 ราชาภิเษก

ราชาภิเษก ชื่อรุ่นนักเรียนใหม่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รุ่นที่ 14 ประจำปีการศึกษา 2562 เนื่องด้วยในปีพุทธศักราช 2562 เป็นปีที่มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว อย่างสมบูรณ์ตามโบราณราชประเพณี และพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม นับว่าเป็นโอกาสอันเป็นมงคลสำหรับนักเรียนใหม่รุ่นที่ 14 ที่ได้ใช้ชื่อรุ่นนี้ เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุทธาพิมลลักษณ์ พระบรมราชินี

รุ่นที่ 15 พ.ศ. 2563-2568 กุหลาบรวีโรจน์ (New Normal Rose)

กุหลาบรวีโรจน์ ชื่อรุ่นนักเรียนใหม่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รุ่นที่ 15 ประจำปีการศึกษา 2563 เนื่องด้วยในวันแรกเข้าของนักเรียน เป็นช่วงหลังเกิดวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 นับเป็นช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ของประเทศไทยที่หลังจากนี้จะเป็นความปกติใหม่ที่เกิดขึ้นระบบการศึกษาก็จะต้องรับตัวให้ตอบรับมากยิ่งขึ้น จึงได้ใช้ชื่อรุ่นนักเรียนรุ่นนี้ว่า กุหลาบรวีโรจน์ ซึ่งหมายถึงกุหลาบช่อใหม่ที่จะแบ่งบานเปรียบเสมือนแสงแห่งการศึกษาดั่งแสงพระอาทิตย์หลัง COVID-19


รุ่นที่ 16 พ.ศ. 2564-2569  ทศวรรษ


ทศวรรษ เป็นคำสันสกฤตเต็มรูป มีความหมายถึง ครบรอบ 10 ปี ซึ่งตรงกับช่วงวันแรกเข้าของนักเรียน เป็นช่วงเวลาของการเฉลิมฉลองเข้าสู่การครบรอบ 1 ทศวรรษ สวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช 3 มีนาคม 2564 ประกอบกับในปีนี้โรงเรียนได้มีจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้น เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ มีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น จึงได้ใช้ชื่อรุ่นนักเรียนรุ่นนี้ว่า ทศวรรษ


รุ่นที่ 17 พ.ศ. 2565-2570  นวาระบารมี


นวาระบารมี (นะ-วา-ระ-บา-ระ-มี) ชื่อรุ่นนักเรียนใหม่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รุ่นที่ 17 ประจำปีการศึกษา 2565  โดย "นวาระ" มีความหมายว่า  กุหลาบ  เปรียบเสมือนชื่อสถาบันสวนกุหลาบวิทยาลัย และ "บารมี" ในที่นี้เป็นความหมายของคำว่า เกียรติยศ   เมื่อนำคำสองคำมารวมกันเป็น นวาระบารมี จึงมีความหมายว่า "กุหลาบแห่งเกียรติยศ" ของนักเรียนใหม่ทุกคน ซึ่งในโอกาสที่นักเรียนรุ่นนี้ เข้าศึกษานับเป็นช่วงเวลาในวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่เริ่มเข้าสู่สถานการณ์ที่ดีขึ้น นับเป็นนิมิตหมายอันดีให้นักเรียนรุ่นนี้ และนักเรียนทุกคนได้กลับมาเรียนที่โรงเรียนอีกครั้งในปีการศึกษานี้


รุ่นที่ 18 พ.ศ. 2566-2571  เบญจทศวรรษ 


เบญจทศวรรษ (BenjaTossawat) เบญ-จะ-ทด-สะ-วัด  ชื่อรุ่นนักเรียนใหม่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รุ่นที่ 18 ประจำปีการศึกษา 2566  โดย "เบญจ" เป็นภาษาบาลี มีความหมายว่า ห้า หรือลําดับที่ 5 และ "ทศวรรษ" หมายถึงรอบ 10 ปี  “เบญจทศวรรษ” จึงมีความหมายว่า ครบรอบ 50 ปี  ช่วงเวลาตั้งแต่ปี 2516 – 2566  แห่งการสถาปนาโรงเรียน นามลานสกาประชาสรรค์จวบจนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช



รุ่นที่ 19 พ.ศ. 2567-2572  (รอเปิดรับสมัครนักเรียนใหม่ ประจำปีการศึกษา 2567)