
หมอนอิงจากผ้าที่หลากหลาย ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมอนอิง การทาหมอนอิง บ้านเขื่อน หมู่ที่ ๔ ตาบลบ้านเหล่า เนื่องมาจากในชุมชนมีการทอผ้าขาวม้าเป็นจานวนมาก ตัวแทนสตรีในหมู่บ้านจึงมีแนวคิดอยากเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นของขวัญของที่ระลึกในงานสาคัญ คือ งานแต่งงานเพื่อนรัก จึงได้ทดลองแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้าขาวม้า เป็นหมอนอิง ต่อมาได้มีแนวคิดในการสร้างงานให้กับชุมชนเพื่อเป็นรายได้เสริมหลังฤดูทานา จึงได้ชักชวนเพื่อนจัดตั้งกลุ่มขึ้นมา เพื่อแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้าจาหน่ายเป็นรายได้เสริม ต่อมาได้นาหมอนอิงมาลงทะเบียนสินค้าชุมชน “หนึ่งตาบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” และได้ส่งผลิตภัณฑ์หมอนอิง เข้าร่วมการคัดสรรสุดยอด หนึ่งตาบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ปี ๒๕๔๖ ได้ระดับ ๓ ดาว และปี ๒๕๔๗ ได้ระดับ ๒ ดาว จึงได้มีแรงบันดาลใจให้กลุ่มมีความเข้มแข็ง พัฒนาผลิตภัณฑ์หมอนอิงจากผ้าหลาย ๆ ชนิดและพัฒนารูปแบบที่หลากหลาย เป็นที่ต้องการของชุมชนและเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น กระติบข้าว
กระติบข้าว:ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ไม่อาจมองข้ามได้ เพราะเพียงหัตถกรรมพื้นบ้านธรรมดาเช่นนี้ กลับกลายเป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่งให้กับครอบครัวหรือชุมชน อนาคตงานจักสานจะดำเนินไปในทิศทางใด ก็ขึ้นอยู่กับคนรุ่นใหม่ที่จะช่วยกันอนุรักษ์ไว้ กระติบข้าวของชาวอีสานเป็นภาชนะเก็บอาหารที่ทรงคุณค่ามากด้วยภูมิปัญญา เก็บความร้อนได้ดี ในขณะที่ยอมให้ไอน้ำระเหยออกไปได้ ทำให้ข้าวเหนียวที่บรรจุภายในกระติบไม่แฉะด้วยไอน้ำ ส่วนประกอบกระติบข้าว 1. กระติบข้าว 2. ฝากระติบข้าว 3. ตีนกระติบข้าว 4. สายกระติบข้าว ลายกระติบข้าว 1. กระติบข้าว ด้านนอกจะสานด้วยลาย 2 ยืน และ 2 นอน ด้านในจะสาน ด้วยลายคุบ แล้วพับช้อนกันเป็น 2 ชั้น 2. ฝากระติบข้าว ด้านนอกจะสานด้วยลาย 2 ยืน และ 2 นอน ด้านในจะสานด้วยลายคุบ แล้วพับช้อนกันเป็น 2 ชั้น 3. ก้นของกระติบข้าว นั้นจะสานเป็นแผ่นแบนสองอันมาประกบกัน 2 ชั้น ส่วนลายแหลวห่อหรือตรามะกอก ส่วนอีกฝาด้านในสานลายขัด
|
|
|