หลักการเพาะเลี้ยงปลา
คุณสมบัติของดินที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลา คุณสมบัติของดินที่เหมาะในการเลี้ยงปลา หมายถึง สภาพของดินที่สามารถเก็บกักน้ำเพื่อเลี้ยงปลาได้และทำให้ปลาที่เลี้ยงมีการเจริญเติบโตดี คุณสมบัติของดินที่เหมาะสม - เป็นดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทราย - สภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินอยู่ระหว่าง 6.5-8.5 ดินเปรี้ยวสามารถแก้ไข - ก่อนเลี้ยงปลาในบ่อที่มีการขุดใหม่ให้ระบายน้ำเข้า-ออกจากบ่อปลาบ่อย ๆ ความเป็นกรดของดินจะค่อย ๆ ลดลง - ใช้ปูนขาวใส่ลงในดินตามอัตรา ดังตาราง อัตราการใช้ปูนขาว อัตราการใช้ปูนขาว เพื่อปรับ pH ของดินให้เหมาะสมในการเลี้ยงปลา คุณสมบัติของน้ำที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลา ความขุ่นใส (Transparency) - ความขุ่นของน้ำแสดงให้เห็นว่าน้ำมีสารแขวนลอย (suspended matter) ได้แก่ อนุภาคดิน ทราย แพลงค์ตอน แบคทีเรีย ตลอดจนแร่ธาตุต่าง ๆ อยู่มากน้อยเพียงใด ซึ่งจะจำกัดปริมาณแสงให้ส่องลงไปในน้ำได้น้อยลงโดยสารดังกล่าวจะดูดซับแสงไว้ - ความขุ่นของน้ำมีผลต่อคุณภาพน้ำ กล่าวว่าความขุ่นของน้ำที่เกิดจากปริมาณแพลงค์ตอน โดยปกติเป็นสิ่งที่ดีสำหรับบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ เพราะจะทำให้มีอาหารธรรมชาติสำหรับสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์ ส่วนความขุ่นที่เกิดจากตะกอนจะมีผลต่อสัตว์น้ำและพืชน้ำโดยตะกอนจะเข้าไปอุดช่องเหงือกของปลาทำให้การแลกเปลี่ยนแก๊สไม่สะดวก คุณสมบัติของน้ำที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลา ค่าความขุ่นใสของน้ำสามารถควบคุมได้ ความขุ่นเกิดจากตะกอนดินให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ใส่ลงในบ่อจะทำให้ตะกอนดินที่แขวนลอยอยู่ตกตะกอน ความขุ่นของน้ำที่เกิดจากแพลงค์ตอน ใช้วิธีระบายน้ำออก เพื่อเอาน้ำใหม่เข้ามา ถ้าน้ำมีค่าความขุ่นใสมาก แสดงว่าแพลงค์ตอนในน้ำมีปริมาณน้อย ต้องเติมปุ๋ยลงไปในน้ำเพื่อให้แพลงค์ตอนเจริญขึ้นมาและวัดค่าความขุ่นใสให้อยู่ในระดับ 30-60 ซม. คุณสมบัติของน้ำที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลา อุณหภูมิ (Temperature) - อุณหภูมิของน้ำเป็นปัจจัยสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรงคือเมื่ออุณหภูมิของน้ำสูงขึ้นกิจกรรมต่าง ๆ ในการดำรงชีวิต (เช่น การหายใจ การเต้นของหัวใจ การกินและการย่อยอาหาร เป็นต้น) ก็สูงขึ้น และเมื่ออุณหภูมิของน้ำลดลงกิจกรรมเหล่านั้นก็จะลดลง โดยปกติปลาในเขตร้อนอุณหภูมิที่เหมาะสมควรมีอุณหภูมิอยู่ในช่วง 25-32 องศาเซลเซียส คุณสมบัติของน้ำที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลา
ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ (Dissolved Oxygen) ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ โดยสิ่งมีชีวิตในน้ำจะน้ำเอาออกซิเจนไปใช้ในขบวนการหายใจและขบวนการย่อยสลายอินทรีวัตถุ คุณสมบัติของน้ำที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลา ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) - ความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำหรือเรียกย่อ ๆ ว่า พีเอส (pH) เป็นการวัดปริมาณของไฮโดรเจนอิออนที่มีอยู่ในน้ำ ซึ่งเป็นเครื่องแสดงให้เราทราบว่า น้ำนั้นเป็นกรดหรือเป็นด่าง ค่า pH มีค่าอยู่ระหว่าง 0-14 โดยมี pH 7 เป็นจุดกลาง หรือมีค่าเป็นกลาง pH ต่ำกว่า 7 มีค่าเป็นกรด และ pH สูงกว่า 7 มีค่าเป็นด่าง การวัดค่า pH ใช้เครื่องมือที่เรียกว่า pH meter หรือใช้กระดาษ pH ก็ได้ แต่ค่าที่ได้ไม่ละเอียดเท่าที่ควร คุณสมบัติของน้ำที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลา ค่าความเป็นด่าง ( Alkalinity) - ความเป็นด่างของน้ำ หมายถึง ความเข้มข้นของด่างซึ่งส่วนใหญ่เป็นไอออนของคาร์บอเนต ( CO3 - ) ไบคาร์บอเนต ( HCO3 - ) และ (OH - ) น้ำที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงปลาควรมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างระหว่าง 100 - 120 มิลลิกรัม/ลิตร คุณสมบัติของน้ำที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลา ความกระด้าง (Hardness) ความกระด้างของน้ำ หมายถึง ความเข้มข้นของไอออนของแคลเซียม (Ca2+) และ แมกนีเซียม (Mg2+) ที่ละลายอยู่ในน้ำ ลักษณะพื้นที่ที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลาน้ำจืด พื้นที่ที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลาน้ำจืด ควรพิจารณาถึงสิ่งต่อไปนี้ สภาพพื้นที่ เป็นพื้นที่ราบลุ่ม น้ำท่วมไม่ถึง ลักษณะของดิน ควรเป็นดินเหนียว หรือ ดินเหนียวปนทราย เพราะดินเหนียวจะเก็บกักน้ำได้ดี เกิดการพังทลายของคันบ่อน้อยกว่าดินทราย แหล่งน้ำ น้ำที่ใช้ในการเลี้ยงปลา ควรเป็นน้ำจืด ส่วนใหญ่ได้มาจาก 2 แหล่ง คือ แหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง อ่างเก็บน้ำ เขื่อน ที่มีระบบชลประทานเพื่อการเกษตร แหล่งน้ำใต้ดิน ได้แก่ น้ำบ่อ น้ำบาดาล และจะต้องเป็นน้ำจืด มีปริมาณเพียง พอตลอดการดำเนินกิจการ เพราะแหล่งน้ำดังกล่าว จะขาดแคลนในช่วงฤดูแล้ง สิ่งอื่น ๆ ที่ควรคำนึงถึงในการเลือกพื้นที่ - การคมนาคมสะดวก สามารถติดต่อกับชุมชนอื่น ๆ ได้ - อยู่ห่างจากชุมชนเมืองพอสมควร เพื่อเลี่ยงปัญหาน้ำเสีย จากแหล่งชุมชน และโรงงานอุตสาหกรรม - ราคาที่ดิน ต้องคุ้มค่ากับการลงทุน - อยู่ใกล้แหล่งอาหารและแหล่งพันธุ์ปลา ประเภทของการเลี้ยงปลา การเลี้ยงปลาตามลักษณะการให้อาหาร - การเลี้ยงแบบธรรมชาติ คือ การเลี้ยงปลาโดยไม่ต้องให้อาหารปลาจะได้รับอาหารจากธรรมชาติเท่านั้น ฉะนั้นสภาพที่เลี้ยงจะต้องมีอาหารธรรมชาติพวกสัตว์น้ำและพืชน้ำที่ปลาใช้เป็นอาหารได้ มีอย่างสมบูรณ์ การเลี้ยงแบบนี้ ไม่สามารถควบคุมผลผลิตได้ - การเลี้ยงแบบกึ่งพัฒนา คือการเลี้ยงปลาโดยเพิ่มปริมาณอาหารธรรมชาติควบคู่กับการให้อาหารสมทบ เช่น การเลี้ยงปลาสลิดโดยใช้ปุ๋ยคอก เป็นการเพิ่มปริมาณอาหารธรรมชาติควบคู่กับการให้อาหารผสม วันละมื้อ โดยจะใส่ปุ๋ยคอกเดือนละครั้งตลอดระยะเวลาในการเลี้ยง การเลี้ยงปลาแบบพัฒนา คือ การเลี้ยงปลาโดยให้อาหารสมทบเท่านั้น ซึ่งปลาจะได้รับอาหารเพียงพอทั้งปริมาณ และคุณค่า การเลี้ยงปลาแบบนี้สามารถควบคุมผลผลิตได้ การเลี้ยงปลาตามลักษณะการจัดการ - การเลี้ยงปลาชนิดเดียว คือ การเลี้ยงปลาเพียงชนิดเดียว ในหนึ่งบ่อ เช่น บ่อที่ 1 เลี้ยงปลาดุก บ่อที่2 เลี้ยงปลาไน เป็นต้น - การเลี้ยงปลาแบบรวม คือ การเลี้ยงปลามากกว่าหนึ่งชนิดในหนึ่งบ่อ การเลี้ยงแบบนี้จะใช้กับปลากินพืช เพราะจะไม่มีปัญหาปลากินกันเอง เช่น การเลี้ยงปลาซ่ง ปลาลิ่น ปลาเฉา รวมในบ่อเดียวกัน แต่ในบางกรณี จะเลี้ยงปลากินพืชรวมกับปลากินเนื้อ โดยใช้ปลากินเนื้อเป็นตัวควบคุมปริมาณปลาในบ่อ เพราะปลากินเนื้อจะกินลูกปลาที่เกิดใหม่ในบ่อเป็นอาหาร เช่น การเลี้ยงปลานิลร่วมกับปลาช่อน - การเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน คือ การเลี้ยงปลาควบคู่กับการทำเกษตรกรอื่น ๆ เช่น การเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงสุกรหรือไก่ การเลี้ยงปลาร่วมกับการปลูกพืช การเลี้ยงปลาตามลักษณะสภาพที่เลี้ยง การเลี้ยงปลาในบ่อ บ่อที่ใช้เลี้ยงปลามี 2 ชนิด ได้แก่ - บ่อดิน เป็นบ่อที่ขุดสร้างขึ้น โดยใช้ดินเป็นคันบ่อและพื้นก้นบ่อ ใช้ในการเลี้ยงและ การอนุบาลปลา - คอนกรีต เป็นบ่อที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงปลาทีมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ปลาดุก ปลาคาร์พ การเลี้ยงปลาในกระชัง คือ การเลี้ยงปลาในภาชนะที่ทำขึ้นเป็นรูปร่าง และขนาดจำกัด แขวนลอยในแหล่งน้ำ - กระชังไม้ไผ่ กระชังไม้เนื้อจริง - กระชังไนลอน การเตรียมบ่อเลี้ยงปลา - การเตรียมบ่อเลี้ยงปลา หมายถึง การปรับสภาพแวดล้อม เช่น ความเป็นกรดเป็นด่าง ความสะอาดของก้นบ่อ ภายในบ่อเลี้ยงปลาก่อนการเลี้ยงปลาให้สามารถใช้เลี้ยงปลาได้โดยมีผลผลิตตอบแทนสูงสุดต่อหน่วยพื้นที่บ่อ ประโยชน์การเตรียมบ่อเลี้ยงปลา - พื้นก้นบ่อมีโอกาสได้รับแสงแดดและออกซิเจน ทำให้อินทรีย์วัตถุที่หมักหมม อยู่ในบ่อมีการย่อยสลายตัวได้ดีทำให้อัตราการเจริญเติบโตของปลาดีขึ้น - เพิ่มเนื้อที่ของน้ำในบ่อให้มากขึ้น จากการลอกก้นบ่อและกำจัดวัชพืชต่าง ๆ ทำให้ปล่อยปลาลงเลี้ยงได้มากขึ้น - ฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ ในบ่อปลาให้น้อยลง ทำให้อัตราการรอดตายของปลาเพิ่มมากขึ้น - กำจัดศัตรูปลาต่างๆ เช่น ปลากินเนื้อ ได้แก่ ปลาดุก ปลาช่อน ปลาบู่ ทำให้อัตราการรอดตายของปลาเพิ่มขึ้น - การปรับปรุงคันบ่อในขณะเตรียมบ่อทำได้ง่ายขึ้น วิธีการเตรียมบ่อก่อนการเลี้ยงปลา - สำหรับบ่อเก่า ควรระบายน้ำออกแล้ว ปรับปรุงบ่อ โดยการถอนวัชพืชบริเวณก้นบ่อ ขอบบ่อ และคันบ่อออก ลอกเลนที่มีสีดำคล้ำและมีกลิ่นเหม็นออก - ใส่ปูนขาวโดยโรยให้ทั่วพื้นบ่อและขอบบ่อ - ตากบ่อทิ้งไว้ 2-3 วัน - กำจัดศัตรูปลาในกรณี ที่เป็นบ่อเก่าสูบน้ำให้แห้ง จะต้องทำการสูบน้ำในบ่อให้เหลือ 10-20 ซม. กำจัดวัชพืชต่าง ๆ ออกให้หมดแล้วกำจัดศัตรูปลาโดยใช้ยาเบื่อเมา - ปล่อยน้ำเข้าให้มีระดับความลึก 30-50 ซม. เพื่อกระตุ้นให้เกิดอาหารธรรมชาติ เช่น แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ เป็นต้น - ใส่ปุ๋ยคอกโดยหว่านให้ทั่วบ่อบริเวณที่มีน้ำท่วมถึงทิ้งไว้ 5-7 วัน ปูนขาว - ปูนขาวเป็นสารที่ช่วยในการปรับปรุงสภาพของบ่อให้เหมาะสมกับการเลี้ยงปลา ช่วยเสริมสร้างและรักษาสุขภาพของปลาทำให้ผลผลิตสูงขึ้น ประโยชน์ของปูนขาว - ปูนขาวจะช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง (pH) ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมแก่การเลี้ยงปลา (pH 6.5-8.5) และการแพร่ขยายพันธุ์ของพืชเล็ก ๆ ในน้ำซึ่งเป็นอาหารของปลาที่เลี้ยง - ปูนขาวช่วยลดปัญหาการขาดแคลนออกซิเจนในน้ำ - ช่วยแก้ปัญหาน้ำขุ่น โดยทำให้สารที่ปะปนอยู่ในน้ำเช่น อินทรีย์วัตถุต่าง ๆ ตกตะกอนได้เร็วขึ้น - ช่วยลดอันตรายจากสารพิษบางชนิดที่เป็นอันตรายโดยตรงต่อปลา ทำให้สารพิษเหล่านั้นตกตะกอนและไม่ละลายน้ำ เช่นแอมโมเนียม ยาเบื่อปลาที่นิยมใช้ในการกำจัดศัตรูปลา โล่ติ๊น เป็นพืชที่มีสารโรทิโนน (rotenone) สารโรทิโนนนี้จะขัดขวางการรับออกซิเจนของเหงือก จึงสามารถฆ่าปลาที่เป็นศัตรูในบ่อได้ โดยไม่เป็นอันตรายต่อคน อัตราการใช้ที่ได้ผลดีที่สุด คือ 1.5 กรัม/ลูกบาศก์เมตร โดยนำรากโล่ติ๊นมาทุบแล้วแช่น้ำไว้ 1 คืน เมื่อจะใช้ก็ขยำจนน้ำสีขาว ๆ ออกมาจนหมด จากนั้นนำน้ำไปสาดให้ทั่วบ่อ พิษของโล่ติ๊นจะสลายตัวได้เร็วเมื่ออากาศร้อน หากลักษณะอากาศเย็นต้องใช้เวลานาน 7 วัน จึงจะหมดพิษ ยาเบื่อปลาที่นิยมใช้ในการกำจัดศัตรูปลา กากชา เป็นกากที่เหลือจากการบีบน้ำมันจากเมล็ดชา ในกากเมล็ดชามีสารซาโปนิน (saponin) ซึ่งเป็นสารพิษที่สามารถทำลายเม็ดเลือดแดง ใช้ในอัตรา 68 กรัม/ลูกบาศก์เมตร ฤทธิ์ของซาโปนินจะสลายหมดภายใน 5-10 วัน โดยขึ้นอยู่กับ อุณหภหูมิเช่นเดียวกับโล่ติ๊น โซเดียมไชยาไนด์ (NaCN) ลักษณะเป็นก้อนสีขาวไม่มีกลิ่นเมื่อแห้งสนิท เมื่อละลายน้ำจะให้กรดไฮโดรไซยานิค (hydrocyanic acid) ซึ่งเป็นพิษโดยจะยับยั้งการรับออกซิเจนของเม็ดเลือดแดง ใช้ในอัตรา 1.5-2 กรัม/ลูกบาศก์เมตร โดยใส่ในสวิงด้ามยาวแล้วแกว่งในน้ำโดยผู้ใช้เดินอยู่บนบก พิษจะสลายภายใน 1-2 วัน จะสลายตัวได้เร็วขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น เนื่องจากโซเดียมไซยาไนด์ มีพิษรุนแรงมากผู้ใช้ควรใช้อย่างระมัดระวังโดยสวมถุงมือทุกครั้ง ควรเก็บไว้ในที่มิดชิดและไม่สูดดมอากาศบริเวณที่มีโซเดียมไชยาไนด์อยู่ การใช้ปุ๋ยในการเตรียมบ่อ วิธีการใช้และอัตราการใช้ปุ๋ยในบ่อเลี้ยงปลา การใช้ปุ๋ยในการเตรียมบ่อ - ปุ๋ยเป็นสารที่ช่วยในการเพิ่มธาตุอาหารให้แก่พืชน้ำขนาดเล็ก (Phytoplankton) ใช้เป็นอาหารของปลาในบ่อโดยตรง หรือเป็นอาหารของสัตว์น้ำขนาดเล็ก (Zooplankton) ซึ่งเป็นอาหารของปลาในบ่อเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ปุ๋ยบางชนิดยังเป็นอาหารของปลาโดยตรงอีกด้วย เช่น ปุ๋ยหมัก เป็นต้น วิธีการใช้และอัตราการใช้ปุ๋ยในบ่อเลี้ยงปลา - ปุ๋ยคอก ได้แก่ มูลสัตว์ต่าง ๆ ใช้โดยการกองไว้มุมใดมุมหนึ่งของบ่อที่น้ำท่วมถึง หรือหว่านให้ทั่วพื้นบ่อในกรณีที่บ่อเก็บน้ำไม่ดีควรใช้อัตราไม่เกิน 200-250 กก./ไร่/เดือน - ปุ๋ยพืชสด ได้แก่ ส่วนของพืชผักวัชพืชต่าง ๆ ควรใส่โดยการกองไว้มุมใดมุมหนึ่งของบ่อที่น้ำท่วมถึงเพื่อสะดวกในการควบคุมทำความสะอาดบ่อ ควรใช้อัตราไม่เกิน 1,200-1,500 กก./ไร่/เดือน - ปุ๋ยหมัก ได้แก่ ปุ๋ยที่เกิดจากการหมักหมมของเศษพืช มูลสัตว์ผสมกับแบคทีเรีย ควรใส่ไว้มุมใดมุมหนึ่งของบ่อที่น้ำท่วมถึง ควรใช้อัตราไม่เกิน 600-700 กก./ไร่/เดือน - ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ปุ๋ยที่มีการสังเคราะห์ขึ้นจากสารเคมี ประกอบไปด้วยธาตุอาหารหลัก คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม ใช้อัตราไม่เกิน 5 กก./ไร่/เดือน ข้อสังเกตในการใส่ปุ๋ย - น้ำมีสีน้ำตาลเข้มแสดงว่าใส่ปุ๋ยคอกมากเกินไป เกิดการเน่าสลายอย่างรุนแรงควรเติมน้ำลงไป - น้ำมีสีเขียวเข้มมากเกินไป โดยใช้มือจุ่มลงไปในน้ำประมาณถึงข้อศอก มองไม่เห็นฝ่ามือแสดงว่าน้ำเข้มเกินไปควรเจือจางโดยเติมน้ำ ถ้ามองเห็นฝ่ามือแสดงว่าน้ำมีระดับปริมาณปุ๋ยที่เหมาะสม ตอนเช้ามืดปลาลอยหัวขึ้นมาฮุบอากาศแสดงว่าน้ำมีออกซิเจนไม่เพียงพอ อาจเกิดแพลงค์ตอนพืชในปริมาณมากเกินไป ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของปลา ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของปลามีผลต่อการเลี้ยงปลาให้ประสบความสำเร็จมีกำไร หรือประสบความล้มเหลว ขาดทุนได้ ถ้าหากไม่มีการควบคุมดูแลที่ถูกต้อง ปลาที่เลี้ยงจะเจริญเติบโตได้ดีขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้ - ปัจจัยที่เกิดจากการจัดการ - ปัจจัยที่เกิดจากสภาพแวดล้อม - ปัจจัยที่เกิดจากความสมบูรณ์ของบ่อเลี้ยงปลา - ปัจจัยที่เกิดจากตัวปลาที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของปลาแตกต่างกันตามชนิดของปลา - ปัจจัยที่เกิดจากอาหาร - ปัจจัยที่เกิดจากโรคปลาและศัตรูปลา ปัจจัยที่เกิดจากการจัดการ อัตราการปล่อยปลาลงเลี้ยง อัตราการปล่อยปลาสวายในบ่อเลี้ยงเพื่อเป็นปลาเนื้อใช้อัตรา 1 ตัวต่อพื้นที่ผิวน้ำ 1 ตารางเมตร ถ้าหากปล่อยมากกว่านี้จะทำให้ปลาแน่นเกินไป ทำให้โตช้า ปล่อยปลาตะเพียนลงเลี้ยงในบ่อเลี้ยงเพื่อเป็นปลาเนื้อใช้อัตรา 5-10 ตัวต่อพื้นที่ผิวน้ำ 1 ตารางเมตร ขนาดของปลาที่ปล่อยลงเลี้ยง ควรเป็นปลาที่มีขนาดและน้ำหนักที่ใกล้เคียงกันมากที่สุดลงเลี้ยงในบ่อเดียวกัน พันธุ์ปลาที่ปล่อยลงเลี้ยง พันธุ์ปลาที่เลี้ยงควรศึกษาดูว่าชนิดปลาที่ปล่อยเป็นปลาที่กินอาหารชนิดใด ไม่ควรเอาปลากินพืชและปลากินเนื้อมาเลี้ยงรวมกัน เพราะปลากินเนื้อจะกินปลากินพืช ปัจจัยที่เกิดจากความสมบูรณ์ของบ่อเลี้ยงปลา ปัจจัยที่เกิดจากสภาพแวดล้อม สภาพความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำ (pH) ออกซิเจน (O2) คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) แอมโมเนีย (NH3) สารพิษต่าง ๆ ในน้ำ อุณหภูมิ และความเค็มของน้ำ ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ ในน้ำ เหล่านี้ มีผลต่อการดำรงชีวิตของปลา ปัจจัยที่เกิดจากความสมบูรณ์ของบ่อเลี้ยงปลา แพลงค์ตอนพืช (Phytoplankton) เป็นพืชชั้นต่ำขนาดเล็ก เคลื่อนไหวไปมาได้โดยอาศัยลมและกระแสน้ำ อาศัยแสงแดดในการสังเคราะห์เช่นเดียวกับพืชทั่ว ๆ ไป ได้แก่สาหร่ายสีเขียว (Green algae) เช่นสาหร่าย คลอเรลล่า (Chlorella) สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน - แพลงค์ตอนสัตว์ (Zooplankton) เป็นสัตว์ชั้นต่ำขนาดเล็ก เคลื่อนไหวได้ด้วยตัวเอง อาศัยกินแพลงก์ตอนพืช และแบคทีเรียเป็นอาหาร ได้แก่ตัวอ่อนของกุ้ง ไรน้ำชนิดต่าง ๆ เช่น ไรแดง ไรสีน้ำตาล โรติเฟอร์ ปัจจัยที่เกิดจากตัวปลาที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของปลาแตกต่างกันไปตามชนิดของปลา - เพศ ปลาบางชนิด เช่น ปลานิลเพศผู้จะเจริญเติบโตได้ดีและเร็วกว่าเพศเมีย จึงทำให้มีการแปลงเพศลูกปลานิลเพศเมียให้กลายเป็นเพศผู้ เพื่อให้การเจริญเติบโตดี - อายุ ปลาที่อายุต่าง ๆ จะมีการเจริญเติบโตเร็วหรือช้าแตกต่างกันไป - พันธุกรรม ได้แก่ลักษณะการเจริญเติบโตของปลาที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ ในปลาชนิดเดียวกัน วัยเดียวกัน กินอาหารและอยู่ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน อาจจะมีการเจริญเติบโตที่ไม่เท่ากันได้ เนื่องจากได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่แตกต่างกัน ปัจจัยที่เกิดจากอาหาร - อาหารธรรมชาติ ได้แก่ อาหารที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติโดยอาศัยความสมบูรณ์ของบ่อ โดยการเตรียมบ่อ หรือใส่ปุ๋ย อาหารธรรมชาติในบ่อ ซึ่งได้แก่ แพลงค์ตอนชนิดต่าง ๆ พืชน้ำบางชนิด ไรน้ำ ฯลฯ - อาหารสมทบ ได้แก่อาหารที่ผู้เลี้ยงนำมาให้ปลากินเป็นอาหาร เช่น รำ เศษผัก อาหารผสมสูตรต่างๆ ปลาป่น เนื้อปลาสด ฯลฯ การให้อาหารปลา - ลักษณะของอาหาร ตรงกับความต้องการ เช่น ปลากินพืชต้องการโปรตีน 16-25% ปลากินเนื้อต้องการโปรตีน 30% ขึ้นไป ลูกปลาขนาดเล็กต้องการอาหารผง ปลาขนาดใหญ่ต้องการอาหารเม็ด ฯลฯ - ปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของปลา ถ้าให้มากเกินไปปลากินไม่หมดทำให้น้ำเน่าเสียได้ น้อยเกินไปปลากินไม่พอไม่เจริญเติบโต มีคุณภาพดี ไม่เป็นอาหารที่บูดเสีย หรือเสื่อมคุณภาพ เพราะจะทำให้มีผลต่อการเจริญเติบโตของปลา ปัจจัยที่เกิดจากโรคปลาและศัตรูปลา มีผลทำให้การเจริญเติบโตของปลาไม่ดี หรือ อาจทำให้ปลาตายได้ ได้แก่ - โรคที่เกิดจากแบคทีเรียชนิดต่าง ๆ เช่น โรคหนวดกุด ท้องบวมในปลาดุก - โรคที่เกิดจากพยาธิ เช่น โรคจุดขาว ปลิงใส เห็บ - โรคที่เกิดจากตัวเบียฬภายนอก ได้แก่ เห็บปลา เหาปลา - ศัตรูปลาชนิดต่าง ๆ เช่น งู กบ นก ฯลฯ |
หน้าแรก >