โรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์ เข้ารับการศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งโรงเรียนเบญจมราชา
ลัย ๒ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๒๑ กรมสามัญศึกษา
ได้มีคำสั่งแต่งตั้งนางสาวปนปรุง ฐีระเวช ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชาลัย
ให้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนเบญจมราชาลัย ๒
ต่อมากรมสามัญศึกษาได้
แต่งตั้งนางสาวสมภาพ คมสัน อาจารย์โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ให้รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ โรงเรียนเบญจม
ราชาลัย ๒ และไปเช่าโรงเรียนสมพรรัตน์ศึกษา หมู่บ้านชลนิเวศน์ ดำเนินการ
ต่อมาในวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๒๒ โรงเรียนเบญจมราชาลัย ๒ ได้ย้ายมายัง ๔๒/๓
หมู่ที่ ๑ ตำบลท่าทราย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี และในวันที่ ๙ พฤศจิกายน
๒๕๒๒ กระทรวงศึกษาธิการได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนจาก เบญจมราชาลัย ๒ เป็น
โรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์ กำหนดอักษรย่อว่า “บ.ส.” ทั้งนี้เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และขอพระราชทานตราพระเกี้ยวเป็นตราประจำโรงเรียน
วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๒๗ กรมสามัญศึกษาได้มีคำสั่งแต่งตั้งนางสาวคนึง ไทยประสิทธิ์ ตำแหน่งผู้อำนวยการระดับ ๘ โรงเรียนกุนนทีรุทธารามวิทยาคม รักษาการตำแหน่งผู้อำนวยการ
โรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์ ได้กำหนดชื่อวันเกิดของโรงเรียน วันที่ ๒๐ ธันวาคม ของทุกปีว่า “วันรักโรงเรียน” ให้ดอกเฟื่องฟ้าเป็นดอกไม้ประจำโรงเรียน และชื่ออาคารต่างๆ ภายในโรงเรียนให้สอดคล้องกับชื่อของโรงเรียน ได้แก่
๑. อาคารเบญจฉัตร
๒. อาคารราชาฉัตร
๓. อาคารจุลฉัตร
๔. อาคารจอมฉัตร
๕. อาคารเกล้าฉัตร
๖. อาคารนพฉัตร “๖๐ พรรษา”
วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๒ นายธานี สมบูรณ์บูรณะ ผู้ช่วยผู้อำนวยการกองการมัธยมศึกษามาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์ ได้จัดทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อจัดสร้างห้องสมุดบริเวณชั้นล่างอาคารนพฉัตร “๖๐
พรรษา” ปรับปรุงสนามฟุตบอล จัดทำห้องปฏิบัติการพิมพ์ดีด
ตั้งสวัสดิการโรงเรียนและร้านสวัสดิการโรงเรียน จัดทำศูนย์คอมพิวเตอร์
ติดตั้งเครื่องระบายอากาศบนหลังคาหอประชุมและโรงอาหาร
จัดตั้งศูนย์ดนตรีและติดตั้งเคเบิลทีวี สร้างอาคารเอนกประสงค์
วันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๓๖ นายแสวง เอี่ยมองค์
ผู้อำนวยการระดับ ๙ จากโรงเรียนพรหมานุสรณ์ จังหวัดเพชรบุรี
ได้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์ ตั้งชื่ออาคารหลังที่ ๗ ว่า “อา
คารปิยฉัตร” สร้างอาคารหลังที่ ๘
ประกอบด้วยห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์พร้อมทั้งศูนย์วิชาวิทยาศาสตร์
และห้องศูนย์วิชาคณิตศาสตร์ จัดตั้ง “มูลนิธิผู้ปกครองและครูโรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์” เพื่อให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียน มูลนิธินี้ ได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ให้ใช้ตราพระเกี้ยวเป็นตราประจำมูลนิธิ
วันที่ ๕ กันยายน ๒๕๓๙ โรงเรียนประกอบพิธีประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมราชานุสาวรีย์นี้ คณะครู
อาจารย์
ผู้ปกครองตลอดจนชุมชนได้ร่วมใจกันจัดสร้างไว้เพื่อเป็นที่เคารพสักการะด้วย
ความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นที่พระองค์ทรงมีต่อการศึกษาของปวงชน
ชาวไทยและของประเทศชาติโดยส่วนรวม ได้จัดทำป้ายชื่อโรงเรียน ประตูโรงเรียน
ปรับปรุงห้องประชุมเล็กและจัดทำห้องโสตทัศนศึกษา
วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ นายอำนวย ศรีชัย ผู้อำนวยการโรงเรียนระดับ ๙ จากโรงเรียนท่าเรือ “นิตยานุกูล” จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์ ได้ตั้งชื่ออาคารหลังที่ ๘ ว่า “อาคารกาญจนฉัตร”
จัดให้มีเครื่อง LCD Projector เพื่ออำนวยความสะดวกในการประชุม อบรม
ของโรงเรียนและชุมชน พัฒนาห้องสมุดระบบอัตโนมัติ จัดทำห้องนิทรรศการศิลปะ
เพื่อแสดงผลงานของนักเรียน จัดทำห้องสมุดอิเล็คทรอนิกส์โดยความร่วมมือของหมวดวิชาคอมพิวเตอร์ สร้างอัฒจันทร์เชียร์กีฬา ๕ หลัง ปรับปรุงหอประชุมอาคารจุลฉัตร สร้างสวน “พฤกษา
บดินทร์” เป็นที่ระลึกในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ จัดทำ
“ห้องเรียนสีเขียว”
เป็นห้องศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของนักเรียน
พัฒนาศูนย์คอมพิวเตอร์
เป็นศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีทางการศึกษาและนวัตกรรมคอมพิวเตอร์
วันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๒ นายสุวรรณ เค้าฝาย ผู้อำนวยการระดับ ๘ จากโรงเรียน ภปร.
ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดนครปฐม
มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์คนปัจจุบัน และในวันที่ ๒๓
มีนาคม ๒๕๔๓ ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการระดับ ๙
โดยได้พัฒนาและปรับปรุงโรงเรียนในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้
๑. โครงการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการ
๒. ส่งเสริมให้มีครูแกนนำและครูเครือข่ายในแต่ละสาขา
๓. ส่งเสริมการเตรียมความพร้อมเรื่องการใช้หลักสูตรใหม่ โดยส่งครูเข้ารับการอบรมตามกลุ่มสาระการเรียนรู้
๔. จัดให้มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่าง
ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน องค์กรเอกชนสื่อมวลชน และองค์กรปกครองท้องถิ่น
เพื่อร่วมพัฒนาโรงเรียน
๕. ส่งเสริมให้นักเรียนศึกษาหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ในชุมชน
๖. จัดให้มีการเรียนการสอนวิชา ช ๐๔๑ ให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้านอาชีพ ควบคู่กับการประกอบอาชีพ
๗. ส่งเสริมการสืบค้นข้อมูลและความรู้ในอินเทอร์เน็ตจากห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
๘. ส่งเสริมการจัดกิจกรรมแข่งขันทักษะความรู้ความสามารถในทุกสาขาวิชา
๙. จัดให้มีเว็บไซต์ของโรงเรียน และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารอย่างสม่ำเสมอ
๑๐. ปรับปรุงโรงอาหาร อาคารจอมฉัตร
๑๑. ปรับปรุงอาคารปิยฉัตร (สร้างที่กันฝนเชื่อมอาคารราชาฉัตร กับอาคารปิยฉัตร)
๑๒. ปรับปรุงห้องพักครูหมวดวิชาภาษาไทย
๑๓. ติดตั้งอัฒจันทร์ถาวร ๕ คณะ
๑๔. ปรับปรุงสนามฟุตบอลให้ได้มาตรฐาน และพัฒนาสภาพแวดล้อมรอบสนามและด้านหน้าโรงเรียน
๑๕. สร้างทางเดินเชื่อมอาคารปิยฉัตรกับอาคารนพฉัตร “๖๐ พรรษา”
๑๖. สร้างเวทีกลางแจ้งพร้อมเสาธง
๑๗. ปรับปรุงอาคารและทางเดินโดยรอบอาคารจอมฉัตร สร้างห้องล้างจานและห้องรับประทานอาหารสำหรับครู
๑๘. ปรับปรุงทางเดินรอบอาคารเบญจฉัตรและราชาฉัตร
๑๙. สร้างอาคารประชาสัมพันธ์
๒๐. พัฒนาศูนย์วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี
๒๑. สร้างบ้านพักนักการภารโรง 14 หลัง
๒๒. ขยายห้องคอมพิวเตอร์ และจัดหาคอมพิวเตอร์เพิ่มเติม 50 ชุด
๒๓. สร้างทางเดินเชื่อมอาคารเบญจฉัตรกับหอประชุมจุลฉัตร
๒๔. ปรับปรุงทางเดินเชื่อมอาคารเบญจฉัตรกับอาคารราชาฉัตร
๒๕. สร้างสวนผีเสื้อ
๒๖. สร้างห้องน้ำสำหรับนักเรียนชายจำนวน 9 ห้อง ห้องน้ำสำหรับนักเรียนหญิงจำนวน 15 ห้อง
๒๗. ติดตั้งระบบเสียงภายในห้องเรียนทุกห้อง
ลักษณะชุมชนโดยรอบโรงเรียน
โรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์ตั้งอยู่ในหมู่บ้านประชานิเวศน์ ๓ ตำบลท่าทราย อำเภอเมือง จังหวัด
นนทบุรี มีลักษณะเป็นชุมชนเมืองที่มีประชากรอยู่อย่างหนาแน่น จึงมีอาคารที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์
ผสมผสานกันไปในลักษณะที่เป็นหมู่บ้านจัดสรร อาคารคอนโดมิเนียม อาคารห้องชุด ซึ่งมีเส้นทาง
การคมนาคมสะดวก นักเรียนสามารถเดินทางมาโรงเรียนด้วยการเดินเท้า รถยนต์ส่วนตัว รถประจำทาง
ชนิดต่างๆ เช่น รถเมล์ ข.ส.ม.ก. รถสองแถว รถจักรยานยนต์รับจ้าง ระบบสาธารณูปโภคมีความพร้อม จึงทำให้ชุมชนมีความเจริญ เขตพื้นที่บริการ
โรงเรียนมีเขตพื้นที่บริการทางการศึกษาใน ๒ อำเภอ คือ
อำเภอเมือง ประกอบด้วย ๓ ตำบล
- ตำบลบางเขน หมู่ที่ ๑ ๒ และ ๙
- ตำบลบางกระสอ หมู่ที่ ๙
- ตำบลท่าทราย หมู่ที่ ๑ ๖ ๗ และหมู่ที่ ๒ (ทิศตะวันออกติดถนนติวานนท์)
อำเภอปากเกร็ด ประกอบด้วย ๒ ตำบล
- ตำบลบางตลาด หมู่ที่ ๓ ๔ ๕ ๖ และ ๘ (ทิศใต้ติดถนนแจ้งวัฒนะ) สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน พระพุทธรูปประจำโรงเรียน
ศูนย์รวมใจชาวเบญจมฯ
สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน
ดอกไม้ประจำโรงเรียน
สีประจำโรงเรียน
|
ประวัติการศึกษา >