การจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี “อาชีวศึกษาทวิภาคี” หมายความว่า การจัดอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพ โดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาและสถานประกอบการ กำหนดให้มีการเรียนภาคทฤษฎีหรือภาคปฏิบัติพื้นฐานบางส่วนที่สถานศึกษา และฝึกอบรมวิชาชีพในสถานประกอบการ การจัดอาชีวศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษานั้น จะยึดถือนโยบายการกระจายอำนาจให้แก่สถานศึกษา โดยมีการจัดการเรียนการสอนที่ยืดหยุ่น หลากหลายรูปแบบ สอดคล้องกับสถานประกอบการและท้องถิ่น เช่น แบบปกติ แบบทวิภาคี และแบบสะสมหน่วยกิจ
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามความต้องการของสถานประกอบการ 2. เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถ และมีความชำนาญงานในอาชีพนั้น 3. เพื่อเปิดโอกาสให้สถานประกอบการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดอาชีวศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากรทั้งในสถานศึกษาและสถานประกอบการให้มีศักยภาพสูงขึ้น
ประโยชน์ที่ได้รับ 1) สถานประกอบการ 1.1) ผลประโยชน์ด้านธุรกิจ 1. เป็นการวางแผนกำลังคนอย่างเป็นระบบในระยะยาว 2. สามารถพัฒนาบุคลากรให้มีฝีมือ ความรู้ ตรงตามความต้องการ 3. เป็นการเตรียมบุคลาการที่มีคุณภาพเพื่อรองรับและการขาดแคลนแรงงานในอนาคต 4. พนักงานที่มาจากโครงการอาชีวศึกษาทวิภาคี จะมีความรู้ ความผูกพันต่อองค์กร 5. ได้รับประโยชน์ตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมอาชีพ 1.2) ผลประโยชน์ด้านสังคม 1. สถานประกอบการภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาร่วมกับภาครัฐ เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ให้เกิดกับสังคม 2. เป็นการให้ความสนับสนุนส่งเสริมด้านการศึกษาและให้มีโอกาสได้ฝึกปฏิบัติจริงจากประสบการณ์ทำงานจริง 3. ให้ความช่วยเหลือด้านคุณภาพชีวิตแก่ผู้เรียนในด้านค่าเบี้ยเลี้ยงและสวัสดิการอื่น ๆ 4. ทำให้องค์กรและพนักงานตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ 5. เป็นการประชาสัมพันธ์องค์กรให้กับบุคคลภายนอกได้ทราบ 2) สถานศึกษา 1. สถานศึกษาผลิตผู้เรียนได้ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน 2. สถานศึกษาผลิตผู้เรียนที่มีทักษะความชำนาญเฉพาะด้าน 3. สร้างความร่วมมือในการจัดการศึกษาร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน 4. พัฒนาความรู้ ความสามารถของครู 5. ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลต่าง ๆ จากสถานประกอบการ เพื่อนำมาปรับปรุงหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนให้ก้าวหน้าและทันสมัย 6. ได้รับความร่วมมือจากสถานประกอบการในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของสถานศึกษา 7. ได้รับความรู้ทักษะจากผู้เชี่ยวชาญในด้านวิชาชีพจากสถานประกอบการ 8. ได้ใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ทันสมัยและเทคโนโลยีใหม่ ๆ จากสถานประกอบการ 3) ผู้เรียน 3.1) ประโยชน์ที่ได้รับ 1. ได้รับค่าเบี้ยเลี้ยง สวัสดิการ ทุนการศึกษาตอบแทนจากการฝึกอาชีพ 2. เมื่อสำเร็จการศึกษามีโอกาสได้รับการบรรจุเข้าทำงานในสถานประกอบการ 3. ได้รับหนังสือรับรองการผ่านงานจากสถานประกอบการ 4. ได้รับประกาศนียบัตร ปวช. หรือ ปวส. 5. ได้รับวุฒิบัตรสำหรับผู้ผ่านการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ 6. ได้รับวุฒิบัตรการฝึกอาชีพจากสถานประกอบการ 7. ได้รับประสบการณ์จริงจากการฝึกปฏิบัติอาชีพในสถานประกอบการ 3.2) ประโยชน์ทางวิชาการ 1. มีความรู้ทางทฤษฎีที่เรียนกับสถานศึกษา สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับภาคปฏิบัติในสถานประกอบการได้ทันที โดยไม่ต้องรอให้จบการศึกษาก่อน 2. มีทักษะในการปฏิบัติงานวิชาชีพ ที่ตรงกับความต้องการของสถานประกอบการ 3.3) ประโยชน์ด้านลักษณะนิสัยการทำงาน ผู้เรียน ซึ่งฝึกอาชีพอยู่ในสถานประกอบการนั้น ย่อมพบกับสภาพการทำงานที่แท้จริง จะได้รับการปลูกฝังทัศนคติ และนิ สัยการทำงานที่ดี ได้แก่ 1. มีความตรงต่อเวลา 2. มีความเข้าใจในระบบการทำงานในสถานประกอบการ 3. มีบุคลิกที่ดี เหมาะสมกับงานที่ทำ 4. สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี 5. มีความรับผิดชอบสูง 6. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 7. มีความเข้าใจผู้อื่น และทำงานร่วมกับกับผู้อื่นได้ดี |