ฉะนั้นเรามาทำความรู้จักอุปกรณ์การเย็บกันซักนิดดีกว่าเนอะ ( จะแม่บ้านไปถึงไหนเนี๊ยชั้น 55+)
อุปกรณ์ในการเรียนตัดเย็บเสื้อผ้า ข้อมูลจาก Blog ของ คุณป้าแอ๊ด แห่ง ห้องงานฝีมือคะ ในเบื้องต้นนี้จะบอกเพียงอุปกรณ์ที่จำเป็นจริงๆ ก่อน เมื่อลงมือปฏิบัติแล้ว จะมีอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ ตามมาอีก ตามความจำเป็นค่ะ อุปกรณ์เหล่านี้พอจะหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์ตัดเย็บทั่วไปค่ะ รายละเอียดมีดังนี้ 1.กระดาษสร้างแบบ จะเป็นกระดาษขาวปอนด์ หรือกระดาษปรูฟ(สีออกจะนวลๆ) ก็ได้ บอกทางร้านว่า ซื้อกระดาษสร้างแบบ อาจจะซื้อมาก-น้อย ได้ตามความต้องการ ถามทางร้านดูว่า ขายอย่างไร ลองซื้อมาสัก 12 แผ่น ( 1โหล) ก่อนก็ได้ค่ะ 2.กระดาษพิมพ์การ์ด ลักษณะเหมือนกระดาษกล่องทั่วไป เนื้อแข็งและหนา เพื่อทำแบบตัดเบื้องต้น เป็นแม่แบบของกระโปรงตัวต่อไป โดยไม่ต้องมาสร้างแบบกันทุกครั้ง ใช้ประมาณ 5-6 แผ่น 3.กระดาษคาร์บอน ใช้กลิ้งเส้นบนผ้า ต้องใช้เฉพาะกระดาษคาร์บอนที่กลิ้งผ้าเท่านั้น เพราะเมื่อซักแล้ว รอยกลิ้งจะหลุดออกหมด (ต่างกับกระดาษคาร์บอนที่ใช้รองเขียนใบเสร็จนะคะ อย่างนั้นรอยกลิ้งจะมีสีดำ น่าเกลียดติดทนนานทีเดียว) มีขายเป็นซอง มีสีต่างๆ ให้ใช้ใกล้เคียงกับสีผ้า 4.กรรไกรตัดผ้า ควรใช้กรรไกรอย่างดีขนาด 7-8 นิ้ว ปลายแหลม น้ำหนักเบา จะช่วยให้ตัดสบายไม่เจ็บมือ 5.กรรไกรตัดกระดาษ เป็นกรรไกรราคาถูก ใช้ตัดกระดาษโดยเฉพาะ เพื่อถนอมกรรไกรอย่างดีไว้ตัดผ้า 6.เข็มสอย มีหลายเบอร์ ผ้าเนื้อหนาใช้เบอร์ 8 ผ้าเนื้อบางใช้เบอร์ 11 ปักลูกปัดใช้เบอร์ 12 7.เข็มหมุด นิยมใช้เข็มเล่มเล็กยาว หัวโต ขายเป็นกล่อง 8.หมอนปักเข็มหมุด เพื่อสะดวกในการหยิบเข็มหมุดใช้งาน 9.ขอบเอว เป็นผ้าเทปเนื้อแข็ง มีหลายขนาด สำหรับใส่ขอบเอวให้แข็ง และใช้คาดเอวเมื่อต้องการวัดตัว 10.ชอล์คเขียนผ้า ![]() เป็นแป้งรูปสามเหลี่ยม ขอบบาง มีหลายสี ควรเลือกใช้สีใกล้เคียงกับสีผ้า ที่นิยมคือ ขาวกับเหลือง 11.ดินสอดำ ใช้ดินสอดำเนื้ออ่อน ขนาด HB ดีที่สุด อ้อ...อย่าลืมยางลบด้วยค่ะ 12.ดินสอแดง-น้ำเงิน เป็นดินสอ 2 สี ในแท่งเดียวกัน ใช้เขียนทับเส้นที่ต้องการ 13.ด้ายเนา การเย็บด้วยมือขั้นพื้นฐาน 1.ผ้าขาวสี่เหลี่ยม กว้างยาวตามต้องการ 1 ผืน(หรือหลายผืนก็ไม่ว่ากัน) 2.เข็มเย็บผ้า ที่จับถนัดมือ 3.ด้าย จะเป็นด้ายสำหรับเย็บจักร หรือจะเป็นด้ายปักก็ได้ แต่ขอให้สีเข้มหน่อย 4.กรรไกร - แทงเข็มขึ้น-ลง ให้ปมด้ายอยู่ด้านล่างของผ้า - ทำซ้ำๆ อย่างนี้ ไปตามความยาวที่ต้องการ นี่คือการเนา ใช้ในการทำให้ผ้า 2-3 ชั้น ติดกันคร่าวๆ ก่อนที่จะนำไปเย็บด้วยจักร - ทำอย่างนี้อีก จนกว่าจะได้ความยาวที่ต้องการ - แล้วย้อนมาแทงเข็มลงไปตามจุดที่ 2 โดยให้ปลายเข็มแทงขึ้นที่จุดที่ 3 ในเวลาเดียวกัน -ดึงด้ายขึ้นให้ตลอด - จากนั้นแทงเข็มลงที่จุดที่ 4 (จะเห็นว่าตรงกับจุดที่ 1) ให้ปลายเข็มแทงขึ้นที่จุดที่ 5 - ดึงด้ายผ่านตลอด - ทำซ้ำอย่างนี้ ตามในภาพ จะได้การเย็บแบบเดินเส้น ซึ่งจะทำให้ตะเข็บสวย แข็งแรง - แทงเข็มลงจุดที่ 2 ในขณะเดียวกันสอดปลายเข็มขึ้นที่จุดที่ 3 แล้วดึงด้ายผ่านตลอด - ทำตามผังลายที่ให้ไว้ไปเรื่อยๆ จะได้เป็นการปักเดินเส้นอย่างหนึ่งค่ะ - เมื่อแทงเข็มขึ้นที่จุดที่ 1 แล้ว ดึงด้ายขึ้นมาให้หมด จากนั้นแทงเข็มลงจุดที่ 2 - ให้ตวัดด้ายอ้อมไปด้านบน แล้วจึงแทงเข็มขึ้นจากจุดที่ 2 ไปยังจุดที่ 3 - จากนั้นดึงด้ายขึ้นมาให้หมด แล้วแทงเข็มจากจุดที่ 4 ไปยังจุดที่ 5 - ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ฝีเข็มจะอ้อมซ้อนกันเหมือนโซ่ เป็นลายที่สวยงามลายหนึ่ง • การสอย
- หลังจากผ่านมาหลายแบบแล้ว พอจะทราบใช่ไหมคะ ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี - การสอยแบบนี้เรียกว่า การสอยแบบขั้นบันไดค่ะ - ให้นำผ้ามาพับริมเข้าไปแล้วค่อยทำการสอยนะคะ - หรือนำตะเข็บผ้าสองชิ้นมาชนกัน แล้วสอยค่ะ ตามลำดับที่เขียนมานั่นเลย - การสอยซ่อน จะสอนอีกครั้งนะคะ หรือจะปักเป็นลวดลายบนผ้าก็สวยค่ะ - เริ่มจากจุดที่ 1 แทงเข็มขึ้นมา ดึงด้ายตวัดปลายเข็ม - แทงเข็มลงที่จุด 2 ให้ขึ้นมาที่จุด 3 ดังในภาพ - ส่วนมากจะใช้ในงานฝีมือที่ปักริมผ้าสักกะหลาดให้ติดกันค่ะ รูปสวยๆจากคลังกระทู้ หมายเหตุ ขอบคุณคุณป้าแอ๊ด มากคะ สำหรับเนื้อหาดีๆ ตอนแรกที่อ่าน Blog ป้าแอ๊ด ยังไม่ได้รู้จัก คุณป้าเลย แต่ พอรู้จักแล้ว คุณป้าน่ารักมากๆเลยคะ |
การเย็บผ้า >