>>>>เป้าหมายการเรียนรู้และพัฒนา
1. ชุมชนอยู่ดีมีสุขสมดุล/มั่นคง/ยั่งยืน
2. ศูนย์การเรียนรู้อยู่ในชุมชน
3. ศูนย์เรียนรู้ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง
4. แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
5. ขยายหมู่บ้านศูนย์เรียนรู้ชุมชนในอำเภอ/จังหวัด/ต่างจังหวัด/ต่างประเทศ/อนุภมิภาค/ภูมิภาคเอเชียและทั่วโลก
>>>> กระบวนการเรียนรู้ยึดหลักอริยสัจ/เศรษฐกิจพอเพียง
1. ศึกษาปัญหาตามต้องการ (พอประมาณ)
2. ศึกษาสาเหตุปัญหา (มีเหตุผล)
3. กำหนดทางแก้/มีเหตุผล/แผนฯ
4. การแก้ไขปัญหา ภูมิคุ้มกันที่ดี การเรียน/ปฏิบัติจริง
>>>>หลักการจัด กิจกรรม
1. ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.เอาชุมชนเน้นฐาน
3. เอาวิถีชีวิตเป็นโจทย์/เนื้อหา
4.เรียนรู้/ปฏิบัติจริง/ใช้ได้จริง
5.บูรณากิจกรรมการเรียนกับวิถีชีวิต
6.ยึดหลักร่วมคิด/ตัดสินใจ/เรียนรู้/ปฏิบัติจริง/รับผลประโยชน์/ประเมินผล/ปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
7.ภาคีเครือข่ายร่วม/ส่งเสริม
8.ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง
กิจกรรมตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 1. การลดรายจ่าย โดยได้ปลูกผัก การลดสุรา รณรงค์การใช้รถยนต์คันเดียวกัน หากไปทางเดียวกัน และการส่งเสริมการใช้รถจักรยาน เพื่อประหยัดพลังงาน รวมทั้งการลดการใช้พลังงาน อาทิเช่น ใช้ฟืน ถ่านในการประกอบอาหาร 2. การเพิ่มรายได้ โดยมีอาชีพเสริม ซึ่งปลูกผัก และเลี้ยงหมู วัว ไก่ ปลา ไว้เพื่อบริโภคและหากผลผลิตเหลือก็จะจำหน่าย รวมทั้งการใช้ปุ๋ยชีวภาพ การรวมกลุ่มเพื่อจัดตั้งกลุ่มอาชีพเลี้ยงโค และการใช้เศษวัสดุต่าง ๆ เพื่อสร้างสิ่งใหม่ (นวัตกรรม) เช่น การสร้างโรงสีชุมชน การจัดทำปุ๋ยหมัก/ชีวภาพ เพื่อลดต้นทุนในการผลิต โดยเริ่มจากการแจกจ่ายให้คนในครัวเรือนและชุมชน 3.การประหยัด 4. การเรียนรู้ 6. การเอื้ออารีต่อกัน โดยส่งเสริมความสัมพันธ์กัน ดังนี้ – รวมกลุ่มเพื่ออนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรมของตำบล โดยสนับสนุนการแห่ต้นเทียนพรรษาของตำบลเป็นประจำทุกปี การปฏิบัติธรรม การทำบุญเลี้ยงพระ การเดินเทิดพระเกียรติ และการไม่เที่ยวนอกบ้าน เพื่อลดค่าใช้จ่าย ลดการเกิดอุบัติเหตุ
– สนับสนุนกลุ่มอาชีพต่าง ๆ
– การรวมกลุ่มเลี้ยงสุกรแบบครบวงจร โดยใช้มูลสุกรเป็นปุ๋ย เพื่อใส่พืชไร่ และลดมลพิษ
มีการถ่ายทอดความรู้หลังจากอบรมให้ชาวบ้านรู้ และมีการใช้ภูมิปัญญาของชาวบ้าน เช่น การเรียนรู้เรื่องการจัดทำปุ๋ยชีวภาพ การจัดทำบัญชีครัวเรือนทุกครัวเรือน จัดตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง สนับสนุนการเกษตรเพื่อเป็นต้นแบบของตำบล และการใช้เศษวัสดุต่าง ๆ เพื่อสร้างสิ่งใหม่ (นวัตกรรม) เช่น การจัดทำปุ๋ยหมัก/ชีวภาพ เพื่อลดต้นทุนในการผลิต โดยเริ่มจากการแจกจ่ายให้คนในครัวเรือนและชุมชน
5. การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
– ลงแขกทำงาน เพื่อช่วยเหลือกัน โดยไม่คิดค่าจ้าง/ค่าแรง
– ส่งเสริมและสนับสนุนเบี้ยยังชีพของผู้สูงอายุ โดยขอรับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบล
– จัดสรรเงินทุนการศึกษา จากสวัสดิการกองทุนหมู่บ้าน
– สนับสนุนเงินช่วยเหลือสมาชิกที่เข้าโรงพยาบาลยามเจ็บป่วยของกองทุนสตรี
- ส่งเสริมและจัดหาทุนเพิ่มโดยได้จัดกิจกรรมในการจัดเลี้ยงของกองทุนต่าง ๆ
– มีการร่วมบริจาคเงินเพื่อเป็นเจ้าภาพงานศพของชาวบ้าน และมีการจัดทำฌาปนกิจของหมู่บ้านและตำบล
– ในกรณีที่ขอกู้เงินจากกองทุนต่าง ๆ จะห้ามกู้เงินสำหรับผู้ที่ติดยาเสพติด
– จัดและร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับศาสนา การรักษาและคงเอกลักษณ์วัฒนธรรมประเพณี เช่น การทำบุญเลี้ยงพระ การไหว้ครูพ่อแก่ เป็นต้น
- ปลูกฝังค่านิยมในการพึ่งพาตนเอง และขยายความรู้สู่ชุมชน