พระสมเด็จวัดระฆัง กรุพระเจดีย์สามองค์วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร

    

   สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) .นับเป็นพระเกจิเถราจารย์ผู้มีปฏิปทาจริยาวัตรน่าเลื่อมใส เป็นที่เคารพนับถือทั่วไปมาตั้งแต่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ตั้งแต่พระมหากษัตริย์จนถึงสามัญชน และนอกจากจริยาวัตรด้านความสมถะอันโดดเด่นของท่านแล้ว ท่านยังทรงคุณทางด้านวิชชาคาถาอาคม เมตตามหานิยม โเฉพอย่างยิ่งวัตถุมงคล "พระสมเด็จ" ที่ท่านได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา ได้ถูกจัดเข้าในพระเครื่องเบญจภาคี หรือสุดยอดของพระเครื่องวัตถุมงคล 1 ใน 5 ของประเทศไทย และมีราคาซื้อขายในปัจจุบันต่อองค์เป็นราคานับล้านบาท ด้วยปฏิปทาจริยาวัตรและคุณวิเศษอัศจรรย์ของท่าน ทำให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยเคารพนับถือว่าท่านเป็นอมเถราจารย์รูปหนึ่งของเมืองไทย และมีผู้นับถือจำนวนมากในปัจจุบัน สมเด็จพระพุฒาจารย์ เกิดในสมัยรัชกาลที่ 1 หลังสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ได้แล้ว 7 ปี เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จุลศักราช 1150 เวลาพระบิณฑบาต ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ 2331 ณ บ้านไก่จ้น (บ้านท่าหลวง) อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

มารดาบิดาของท่านเป็นใครไม่ทราบแน่ชัด มีผู้กล่าวประวัติของท่านในส่วนนี้แตกต่างกันไปหลายสำนวน เช่น ฉบับของพระยาทิพโกษา กล่าวว่า มารดาของท่านชื่อนางงุด บุตรของนายผลกับนางลา ชาวนาเมืองกำแพงเพชร หรือฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล (เฮง อิฏฐาจาโร) กล่าวว่า มารดาของท่านชื่อเกตุ คนท่าอิฐ อำเภอบางโพ อย่างไรก็ดีมารดาของท่านนั้นเป็นชาวเมืองเหนือ (คำเรียกในสมัยอยุธยา) เพราะทุกแหล่งอ้างอิงกล่าวตรงกันว่ามารดาของท่านเป็นชาวเมืองเหนือแต่ได้ลงมาทำมาหากินแถบภาคกลางในช่วงหลัง

สำหรับบิดาของท่านนั้น สำนวนของพระยาทิพโกษา กล่าวว่าท่านเป็นโอรสนอกเศวตฉัตรของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ครั้งทรงพระยศเป็น เจ้าพระยาจักรี ส่วนฉบับของพระครูกัลยาณานุกูล และฉบับของตรียัมปวายกล่าวว่าท่านเป็นพระโอรสของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

               

และแม้ในสำนวนของตรียัมปวายจะมีข้อสันนิษฐานเพื่อยืนยันหลายข้อ แต่อย่างไรก็ตาม ประวัติทั้งสองสำนวนกล่าวตรงกันเพียงว่า ข้อสันนิษฐานว่าด้วยบิดาของท่านนั้นเป็นเพียงเรื่องเล่าซึ่งชาวบ้านในสมัยนั้นกล่าวและเชื่อกันโดยทั่วไป   บรรพชาและอุปสมบท

เมื่อถึงวัยพอสมควรแล้ว ได้บรรพชาเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนาเมื่อ พ.ศ. 2343 ต่อมาปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดและเมตตาสามเณรโตเป็นอย่างยิ่ง ครั้นอายุครบอุปสมบทปี พ.ศ. 2350 จีงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อุปสมบทเป็นนาคหลวงที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มี สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช สุก ญาณสังวร เป็น พระอุปัชฌาย์ มีฉายานามในพุทธศาสนาว่า "พฺรหฺมรํสี ต่อมา พระบาทสมเด้จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระภิกษุโตรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ 

ประวัติการสร้างพระสมเด็จ

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี )

#การสร้างพระสมเด็จแบ่งออกเป็น 3 ยุค ดังนี้

ยุคต้น สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ตั้งแต่ พ.ศ. 2368 –2390 (ครองราชย์ พ.ศ. 2367 - 2394)

ยุคกลาง สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 ตั้งแต่ พ.ศ. 2399 –2411 (ครองราชย์ พ.ศ. 2394 - 2411)

ยุคปลาย สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งแต่ พ.ศ. 2412 –2414 (ครองราชย์ พ.ศ. 2411 - 2453)

มีรายละเอียดการสร้างพระพิมพ์ หรือพระสมเด็จ ดังนี้

ยุคต้น ในรัชกาชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3 )

1. ปี พ.ศ. 2348 สร้างที่ระลึกงานฉลองสมณศักดิ์ เป็น “พระครูโต”

2. ปี พ.ศ. 2378 สร้างเป็นที่ระลึกในการเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นที่ “พระปริยัติธรรม”

3. ปี พ.ศ. 2379 สร้างเป็นที่ระลึกให้แก่ผู้บริจาคเงินสร้างพระพุทธไสยาสน์

4. ปี พ.ศ. 2381 สร้างเป็นที่ระลึกให้งานทำบุญครบ 51 ปี ขณะดำรงตำแหน่งสมณศักดิ์ พระปริยัติธรรม

5. ปี พ.ศ. 2386 สร้างเป็นที่ระลึกในงานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นที่ “พระราชปัญญาภรณ์”

6. ปี พ.ศ. 2387 สร้างเป็นที่ระลึกให้แก่ผู้บริจาคเงินบำรุงวัดระฆัง

7. ปี พ.ศ. 2390 สร้างเป็นที่ระลึกในงานทำบุญครบรอบ 60 ปี เป็นที่ “พระเทพกวีศรีวิสุทธินายก”

ซึ่งการสร้างแต่ละครั้งมีจำนวนไม่มาก เป็นพิมพ์ใหญ่ และหลายพิมพ์ทรง เป็นพระเนื้อขาวแก่ปูน พิมพ์ใหญ่ไม่มีเส้นกรอบกระจก หรือเส้นบังคับพิมพ์

ยุคกลาง ในสมัยรัชกาลสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4)

1. ปี พ.ศ. 2399 สร้างให้โยมพระบิดามารดา เพื่อแทนคุณ ขณะดำรงสมณศักดิ์ เป็นที่ “พระธรรมกิติโสภณ” เป็นพิมพ์ปรกโพธิ์

2. ปี พ.ศ. 2399 สร้างเป็นที่ระลึกในงานสร้างพระบูชา นามว่า “พระหาพุธพิม”

3. ปี พ.ศ. 2407 สร้างเป็นที่ระลึกในงานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่ “สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)พรหมรังษี” เป็นพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่

4. ปี พ.ศ. 2409 สร้างในขณะดำรงสมณศักดิ์ เป็นที่ “พระสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี” เริ่มสร้างที่จำนวน 84,000 องค์ตามเจตนารมณ์ เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา โดยแม่พิมพ์ของช่างทองหลวง “หลวงวิจารณ์เจียรนัย”

5. ปี พ.ศ. 2411 สร้างในขณะดำรงสมณศักดิ์ เป็นที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต เป็นพิมพ์ใหญ่อกวี

ยุคปลาย ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)

1. ปี พ.ศ. 2412 สร้างพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ แม่พิมพ์หลวงวิจารณ์เจียรนัย

2. ปี พ.ศ. 2414 สร้างพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ (ลงรักปิดทอง) สร้างถวายแก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ ยุคแรก กรุพระเจดีย์สามองค์วัดระฆัง   ( ยุคต้น หรือ ยุคแรก )  สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ตั้งแต่ พ.ศ. 2368 –2390

( ต้นแบบพิมพ์ทรงจำลองมาจากประประธานยิ้มรับฟ้าวัดระฆัง )

สร้างและปลุกเสกโดย

ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

ยุคต้น สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ตั้งแต่ พ.ศ. 2368 –2390 

_________________________

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ปรกโพธิ์  ยุคแรก กรุพระเจดีย์สามองค์วัดระฆัง  ( ยุคต้น หรือ ยุคแรก )  สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ตั้งแต่ พ.ศ. 2368 –2390

( ต้นแบบพิมพ์ทรงจำลองมาจากประประธานยิ้มรับฟ้าวัดระฆัง และสมเด็จอรหัง ของสมเด็จอาจารย์ ของท่าน )

สร้างและปลุกเสกโดย

ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

ยุคต้น สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ตั้งแต่ พ.ศ. 2368 –2390 

__________________

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ไสยาสน์  ยุคแรก กรุพระเจดีย์สามองค์วัดระฆัง   ( ยุคต้น หรือ ยุคแรก )  สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ตั้งแต่ พ.ศ. 2368 –2390

(จำลองมาจากปางไสยาสน์วัดสะตือ จ.อยุธยา )

สร้างและปลุกเสกโดย

ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

ยุคต้น สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ตั้งแต่ พ.ศ. 2368 –2390 

______________________________

พิมพ์ตุ๊กตา ยุคแรก กรุพระเจดีย์สามองค์วัดระฆัง   ( ยุคต้น หรือ ยุคแรก )  สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ตั้งแต่ พ.ศ. 2368 –2390

(ต้นแบบพิมพ์ทรงจากพระวัดพลับ ที่สร้างโดยสมเด็จอาจาย์ของท่าน  สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน )

__________________________________________

(บรรจุในพระเจดีย์ สามองค์ข้างพระอุโบสถพระประธานยิ้มรับฟ้าวัดระฆัง)

สร้างและปลุกเสกโดย ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี )

การแตกกรุ จากการลักลอบขุดเจาะเช่นเดียวกันกับ พระสมเด็จบางขุนพรหมกรุเก่า และ พระสมเด็จบางขุนพรหมกรุพระเจดีย์เล็ก(เจดีย์บรรจุอัฐิ ) ซึ่งทางวัดไม่ได้พระใว้เลย เว้นเสียแต่กรุพระเจดีย์องค์ใหญ่บางขุนพรหม ที่ยังหลงเหลือพระสมเด็จในครั้งเปิดกรุอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2500 ซึ่งเหลือพระในกรุประมาณไม่เกิน 3000 องค์ จาก 84000 องค์สำหรับกรุพระเจดีย์ใหญ่บางขุนพรหม อย่างไรก็ตามพระพิมพ์ทั้งสามกรุนี้ ถูกลักลอบขุดเจาะในสมัยสงครามโลก เนื่องจากชาวบ้านเกรงกลัวภัยสงครามจึงต่างพากันแสวงหาสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาคุ้มครองมาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ

                      ปริศนาธรรมจากพระสมเด็จ

สำหรับพระสมเด็จที่ท่านสร้างขึ้นนั้น มีนัยยะแห่งรูปลักษณะที่ลึกซึ้งดังนี้ 

๑. รูปสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า หมายถึง พื้นแผ่นดินที่ทรงพระอริยสัจอยู่ 

๒. วงโค้งในรูปสี่เหลี่ยม หมายถึง อวิชชาที่คลุมพิภพอยู่ 

๓. รูปสามเหลี่ยมในวงโค้ง หมายถึง พระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ผู้พบอริยสัจ 

๔. รูปพระนั่งขัดสมาธิบนบัลลังก์ หมายถึง พระพุทธเจ้าปางตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ณ โพธิบัลลังก์ 

๕. ฐานสามชั้น หมายถึงพระไตรปิฎก 

๖. ฐาน ๗ ชั้น หมายถึง อปริหานิยธรรม 

๗. ฐาน ๙ ชั้น หมายถึง มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑

พุทธศิลป์ที่ท่านสร้าง พระพิมพ์ใหญ่ทรงประธาน เลียนพุทธศิลปะสมัยสุโขทัย ทรงเจดีย์ เลียนพุทธศิลปะ

สมัยเชียงแสน ทรงหูยาน อกร่อง เลียนพุทธศิลปะสมัยอู่ทอง ครั้งหนึ่งพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ทรงถามท่าน

ถึงเหตุที่ล่ำลือกันมากว่าพระพิมพ์ของท่านศักดิ์สิทธิ์ ท่านถวายพระพรว่าเพราะท่านบริกรรมด้วย 

“ชินปญฺชรคาถา”หรือพระคาถาชินบัญชรนั้นเอง

                      การสร้างพระสมเด็จสันนิษฐานว่าท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ท่านได้ต้นแบบ

พระเครื่องของท่านมาจากประประธานในพระอุโบสภวัดระฆังนั้นเอง

 ลักษณะพระสมเด็จรูปสี่เหลี่ยมชิ้นฝัก

ได้ต้นแบบมาจากพระอาจารย์ของท่าน ( สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน ) แต่ความนิยมแสวงหาในผู้นิยม

พระเครื่องกลับมีความต้องการที่จะครอบครองในพระสมเด็จของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ โต 

พรหมรังสี มากกว่าพระสมเด็จของพระอาจารย์ของท่าน จนบางท่านถึงกล่าวว่าในชีวิตหนึ่งหากได้ครอบครอง

พระสมเด็จ แท้ๆ ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี เพียงสักครั้งก็เท่ากลับว่าเป็นที่สุด

ของชีวิตแล้ว 

การสร้างพระสมเด้จของท่านเจ้าประคุณ ในช่วงแรกๆ ( เรียกว่าสมเด็จยุคแรก ) ท่านได้สร้างแบบค่อยเป็นค่อยไป 

 ท่านสร้างไว้เพื่อแจกให้กับญาติโยมในสมัยนั้นแล้วแต่โอกาศไป พระสมเด็จยุคแรกๆพิมพ์ทรงยังไม่ค่อยได้สัดส่วน

มากนัก เพราะเป็นฝีมือชาวบ้านแกะทวายท่าน หรือท่านแกะด้วยตัวท่านเองก็ไม่ทราบได้ ต่างกับสมเด้จยุคกลาง

ที่ได้ช่างสิบหมู่ แกะถวายให้ท่าน อย่างที่กล่าวไปข้างต้นพระสมเด็จท่านสร้างเพื่อแจกให้กับญาติโยม มิได้สร้าง

ไว้เพื่อบรรจุในพระเจดีย์ เช่นพระสมเด็จเกศไชโย และ สมเด็จบางขุนพรหม  

              มีเรื่องเล่าว่า ครั้งเมื่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯขึ้นไปเยี่ยมญาติที่จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่าน

ทางทิศใต้ของกรุงสุโขทัย และเป็นเมืองที่ร่ำรวยด้วยโบราณวัตถุทางพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นอีกเมืองหนึ่ง 

ที่มีพระเครื่องซึ่งงดงามไปด้วยพุทธศิลปะ อันบริสุทธิ์ของชาวไทยเราอีกด้วย และโดยเฉพาะที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ

 ท่านมีความรู้และแตกฉานทางอักษรโบราณ ท่านจึงสามารถอ่านศิลาจารึกที่ว่าด้วยกรรมวิธีการสร้างพระเครื่อง 

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างพระพิมพ์ด้วยเนื้อผงขาว ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า เนื้อพระสมเด็จ โดยมีเนื้อหลักเป็นปูนขาว

 (ปูนหิน) หรือปูนเปลือกหอย ผสมผสานด้วยวัตถุมงคลอาถรรพณ์อื่นๆ และมีผงวิเศษซึ่งสำเร็จจากการลบสูตรสนธิ์

จากคัมภีร์ทางพุทธาคม เมื่อนำเอามาบดตำกรองจนดีแล้ว จึงนำเอาวัตถุมงคลและอาถรรพ์ต่างๆเหล่านั้นมา

ผสมผสานกับดินสอพอง (ดินขาว) แล้วปั้นเป็นแท่งตากให้แห้งแล้วจึงนำเอามาเขียนอักขระเลขยันต์ตามคัมภีร์

 บังคับบนกระดานโหราศาสตร์ซึ่งทำจากต้นมะละกอ เสร็จแล้วจึงลบเอาผงมาสร้างเป็นพระสมเด็จ 

ที่เรียกว่าผงวิเศษ หรือผงพุทธคุณนั่นเอง

นอกจากนั้นแล้วยังสันนิษฐานกันว่า ท่านยังเอาข้าวก้นบาตร และอาหารหวานคาวที่ท่านฉันอยู่ถ้า

คำไหนอร่อยท่านจะไม่ฉัน จะคายออกมาแล้วตากให้แห้งเพื่อนำไปบดตำสร้างพระสมเด็จของท่าน ซึ่ง

ถูกต้องตามวิธีการสร้างพระอาหารของชาวรามัญ

ส่วนตัวประสาน หรือตัวยึดเกาะนั้น ที่เราทราบๆ กันอย่างเด่นชัดก็คือ น้ำมันตังอิ๊ว น้ำอ้อย น้ำผึ้ง กล้วย 

และที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ เยื่อกระดาษ ได้จากการที่เอากระดาษฟางหรือกระดาษสามาแช่น้ำ

ข้ามวันข้ามคืน จนกระดาษละลายเป็นเมือกดีแล้ว จึงนำเอามากรองเพื่อเอาเยื่อกระดาษมาผสมผสาน

บดตำลงไป เชื่อกันว่าตัวเยื่อกระดาษนี้ เป็นตัวหนึ่งที่ทำให้พระสมเด็จวัดระฆัง มี ความหนึกนุ่ม เนื้อจึง

ไม่แห้งและกระด้าง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส่วนผสมที่เป็นประเภทพืช เช่น ข้าว อาหาร กล้วย อ้อย 

เป็นต้น ก็มีส่วนที่ทำให้เนื้อพระมีความหนึกนุ่มอีกเช่นกัน

              ผงวิเศษ 5 ประการ

คือ ผงอิธะเจ ผงปถมัง ผงมหาราช ผงพุทธคุณ และ ผงตรีนิสิงเห

ผงทั้งห้านี้ผงวิเศษ 5 ประการ มิได้เกิดจากการนำผง 5 ชนิดมารวมกัน

แต่เกิดจากผงชุดเดียวกันผ่านกรรมวิธี ถึง 5 ครั้ง 

 

ขั้นแรก ทำดินดสอผงวฺเศษ ด้วยส่วนผสม คือ ดินโป่ง 7 โป่ง ดินท่า 7 ท่า

 ดินเสาหลักเมือง 7 หลักเมือง ขี้เถ้าไส้เทียนบูชาพระประธานพระอุโบสถ

 ดอกกาหลง ยอดสวาท ยอดรกซ้อน ขี้ไคลเสมา ขี้ไหคลประตูวัง

ขี้ไคลเสาตะลุงช้างเผือก ราชพฤกษ์ ชัยพฤกษ์ พลูร่วมใจ พลูสองหาง

กระแจะตะนาว จ้ำมันเจ็ดรส และดินสอพอง มาผสมกัน ป่นละเอียด

เจือน้ำ ปั้นเป็นแท่งดินสอ

 

          กรรมวิธีทำผงวิเศษ  กระทำในพระอุโบสถ เตรียมเครื่องสักการะ

หน้าพะประธาน กล่าวคาถาอัญเชิยครู ประกาศอัญเชิญเทพยดา

ทำประสะน้ำมนต์พรมตัว เรียกอักขระเข้าตัว และอัญเชิยครุเข้าตัว

ผงปถมัง  เป็นผงเริ่มต้น  นำดินสอผงวิเศษมาเขียนสูตร และลบออก

 เป็นผงปถมังมีอานุภาพ หลายด้าน แต่หนักไปทาง คงกรพันชาตรี

มหาอุด แคล้วคลาด กำบังล่องหนและป้องกันภูตผีปีศาจและคุณไสย

ผงอธิเจ  นำผงปถมังมาปั้นเป็นดินสอ แล้วเขียนสูตร ลบผงเป็นผงอธิเจ

มีอานุภาพด้านเมตตามหานิยมอย่างสูงรักษาโรคภัยไข้เจ็บ

ผงมหาราช นำผงอธิเจ มาปั้นเป็นดินสอ แล้วเขียนสูตร ลบผง

เป็นผงมหาราช มีอานุภาพด้านเมตตามหานิยมอย่าสูงป้องกัน

และถอนคุณไสย และแคล้วคลาด

ผงพุทธคุณ นำผงมหาราช  มาปั้นเป็นดินสอ แล้วเขียนสูตร

ลบผงเกี่ยวกับพุทธคุณนานาประการ ให้อานุภาพด้านเมตตามหานิยม

อย่างสูง กำบัง สะเดาะ และล่องหน

ผงตรีนิสิงเห นำผงมหาราช  มาปั้นเป็นดินสอ แล้วเขียนสูตร

ลบผงเกี่ยวกับยันตร์ตรีนิสิงเหหรือยันตร์นารายณ์ถอดรูป แล้วมียันต์

พระควัมบดี และยันต์ตราพระสีห์  อานุภาพด้าน เมตตามหานิยม

 ป้องกันถอนคุณไสย และภูตผี ป้องกันสัตว์เขี้ยวเล็บงา รักษาโรค

อุบัติภัยอันตรายทั้งปวง

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ ยุคแรก กรุพระเจดีย์สามองค์วัดระฆัง   ( ยุคต้น หรือ ยุคแรก )  สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ตั้งแต่ พ.ศ. 2368 –2390

ลักษณะด้านพิมพ์ทรงและเนื้อหา  โดยเฉพาะพิมพ์ใหญ่  หรือ พิมพ์พระประธาน ยุคแรก ไม่ปรากฎเส้นบังคับพิมพ์ทรง (เส้นกรอบกระจก ) องค์พระประธาน นั่งขัดสมาธิบนบัลลังก์สามชั้น เช่นเดียวกับพระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์นิยม ทุกยุค ทุกพิมพ์  ซุ้มหวายผ่าชีกอวบใหญ่เป้นเอกลักษณ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง  ในด้านเนื้อหา (เนื้อพระ) มีความจัดกว่าพระพิมพ์ทุกยุค เพราะเป้นการสร้างครั้งแรก อายุมีความเก่าผ่านกาลเวลามายาวนานกว่า จัดว่าเป็นเนื้อพระสมเด้จวัดระฆังเนื้อนิยม ซึ่งมีความ มันจัด เก่า หนึกนุ่มนวลตา หากมีการนำไปใช้บูชาติดตัวเนื้อพระจะยิ่งมีความจัด มีเสน่ห์ยิ่งนัก มวลสารหลักส่วนใหญ่เป็นปูนเปลือกหอย แต่แก่ผงพุทธคุณ ชนิดอย่างอัดแน่นกว่าพระยุคอื่น หากไม่พูดถึงเรื่องมูลค่าแล้ว พุทธคุณไม่ต่างไปจากพระสมเด็จ บล็อกแม่พิมพ์หลวงวิจารณ์เจียรนัย (เฮง) ที่เคยมีผู้แลกเปลี่ยนเช่าหากันมาแล้วนับล้านบาท

 

วิธีบูชา พระสมเด็จวัดระฆัง เพื่อให้เกิดพุทธคุณสูงสุด

____________________________

- อานุภาพพระสมเด็จวัดระฆัง

ผู้ที่มีจิตใจที่ดี บริสุทธิ์ผ่องใส จะได้รับอานุภาพที่ดี จากพระสมเด็จ ณ วัดแห่งนี้

๑. บูชาเพื่อความเจริญรุ่งเรืองในกิจการงาน และความผาสุขของชีวิต

ผู้มีติดตัวไว้ จะทำให้เกิดโภคทรัพย์ ในสุจริตวิถี

๒. คุ้มครองป้องกันภัยอันตราย ให้แคล้วคลาดจากภัย ทั้งหลายทั้งปวง เฉพาะในผู้ที่เป็นสุจริตชน

ผู้ทำมาหากินด้วยแรงกาย แรงสติปัญญา ในทำนองครองธรรม ในทางตรงกันข้าม พวกมิจฉาชีพดำรง

ชีวิตด้วยความเดือดร้อนของบ้านเมืองและประชาชน ตลอดจนถึงการขัดต่อศีลธรรม อันดีงาม

แม้มีพระสมเด็จไว้ครอบครอง หรือมีส่วนเกี่ยวข้องผ่านมือ ก็จะไม่พบความสุข

หาความเจริญที่ยั่งยืนให้แก่ชีวิตได้ยาก

- วิธีอาราธนา พระสมเด็จวัดระฆัง

ตั้งนะโม ๓จบ ระลึกถึง เจ้าประคุณพระสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี แห่งวัดระฆังโฆษิตาราม

หากสวดคาถาชินบัญชร บทเต็มได้ ควรสวด ๑จบ หรือหากมีเวลาน้อย ให้สวดบทย่อ ๑๐จบ มีดังนี้

" ชินะปัญชะระปะริตัง มังรักขะตุสัพพะทา " ก่อนที่จะนำ พระสมเด็จติดตัวไป ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้

- ท่องคาถาแสดงความเคารพต่อองค์พระสมเด็จ

เมื่อยกสร้อยขึ้นจะคล้องคอ องค์พระอยู่ในอุ้มมือ พนมมือแล้วท่องคาถา อาราธนาดังต่อไปนี้

" โอมมะศรี มะศรี พรหมรังสี นามะเตโช มหาสมโณ มหาปัญโญ

มหาลาโภ มหายะโส สัพพะโสตถี ภะวันตุเม "

- เมื่อจบแล้ว ให้ท่องคาถา ขอโชคลาภ ว่า

"ปุตตะกาโม ละเภปุตตัง ธนะกาโม ละเภธะนัง

อัตถิ กาเย กายะยายะ เทวานัง ปิยะยัง สุตวา"

- เมื่อคล้องคอแล้ว ท่องคาถา คุ้มครองชีวิต ให้แคล้วคลาดปลอดภัยว่า

" อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ

มรณังสุขัง อรหังสุคโต นะโมพุทธายะ "

หากทำได้เช่นนี้ทุกวัน ชีวิตท่านจะเกิดมงคล จักพบแต่ความสุขความเจริญ และนิรันตรายทั้งปวง.

                คาถาชินบัญชร โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

พระคาถานี้เป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์ตกทอดมาจากลังกา 

ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯค้นพบในคัมภีร์โบราณและได้ดัดแปลงแต่งเติมให้ดีขึ้นเป็นเอกลักษณ์พิเศษ

ผู้ใดสวดภาวนาพระคาถานี้เป็นประจำสม่ำเสมอจะทำให้เกิดความสิริมงคลแก่ตนเอง 

ศัตรูไม่กล้ากล้ำกราย มีเมตตามหานิยม ขจัดภัยตลอดจนคุณไสยต่างๆ 

ก่อนเจริญภาวนาให้ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วระลึกถึงหลวงปู่โตและตั้งคำอธิษฐานแล้วเริ่มสวด

เริ่มสวด นโม 3 จบ 

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ 

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นึกถึงหลวงปู่โตแล้วตั้งอธิษฐาน

ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง 

อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา 

อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ 

มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ 

เริ่มบทพระคาถาชินบัญชร

ชะยาสะนากะตา พุทธา       เชตวา มารัง สะวาหะนัง 

จะตุสัจจาสะภัง ระสัง         เย ปิวิงสุ นะราสะภา.

ตัณหังกะราทะโย พุทธา      อัฏฐะวีสะติ นายะกา 

สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง       มัตถะเกเต มุนิสสะรา.

สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง        พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน 

สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง      อุเร สัพพะคุณากะโร.

หะทะเย เม อะนุรุทโธ        สารีปุตโต จะทักขิเณ

โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง    โมคคัลลาโน จะ วามะเก. 

ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง       อาสุง อานันทะ ราหุโล

กัสสะโป จะ มะหานาโม      อุภาสุง วามะโสตะเก.

เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง        สุริโย วะ ปะภังกะโร

นิสินโน สิริสัมปันโน          โสภิโต มุนิปุงคะโว

กุมาระกัสสโป เถโร           มะเหสี จิตตะ วาทะโก

โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง       ปะติฏฐาสิคุณากะโร.

ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ          อุปาลี นันทะ สีวะลี

เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา        นะลาเต ติละกา มะมะ.

เสสาสีติ มะหาเถรา            วิชิตา ชินะสาวะกา

เอเตสีติ มะหาเถรา            ชิตะวันโต ชิโนระสา

ชะลันตา สีละเตเชนะ           อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.

ระตะนัง ปุระโต อาสิ            ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง

ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ         วาเม อังคุลิมาละกัง

ขันธะโมระปะริตตัญจะ         อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง 

อากาเส ฉะทะนัง อาสิ           เสสา ปาการะสัณฐิตา

ชินา นานาวะระสังยุตตา         สัตตัปปาการะ ลังกะตา

วาตะปิตตาทะสัญชาตา          พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา.

อะเสสา วินะยัง ยันตุ            อะนันตะชินะ เตชะสา

วะสะโต เม สะกิจเจนะ          สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.

ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ           วิหะรันตัง มะฮี ตะเล 

สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ        เต มะหาปุริสาสะภา.

อิจเจวะมันโต            สุคุตโต สุรักโข

ชินานุภาเวนะ           ชิตุปัททะโว

ธัมมานุภาเวนะ          ชิตาริสังโฆ

สังฆานุภาเวนะ          ชิตันตะราโย

สัทธัมมานุภาวะปาลิโต   จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ.

คำแปล

พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลาย ผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์ 

ทรงพิชิตพระยามาราธิราชผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว เสวยอมตรสคือ

อริยะสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์ 

มี ๒๘ พระองค์คือ พระผู้ทรงพระนามว่า ตัณหังกรเป็นต้น พระพุทธเจ้าผู้จอมมุนีทั้งหมดนั้น

ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้า

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่บนศีรษะ

พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง 

พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณอยู่ที่อก 

พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจพระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา

พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณทัญญะอยู่เบื้องหลัง 

พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา

พระกัสสะปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย 

มุนีผู้ประเสริฐคือพระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริดังพระอาทิตย์ส่องแสง

อยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง 

พระเถระกุมาระกัสสะปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ 

มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ 

พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวะลี 

พระเถระทั้ง ๕ นี้ จงปรากฏเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก 

ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือผู้มีชัยและเป็นพระโอรส

เป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย แต่ละองค์ล้วน 

รุ่งเรืองไพโรจน์ด้วยเดชแห่งศีลให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่ 

พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้าพระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา

พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคะสูตรอยู่เบื้องหลัง 

พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตร 

เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ 

อนึ่งพระชินเจ้าทั้งหลาย นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ 

ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิด มีศีลาทิคุณอันมั่นคง

สัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น

ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้าไม่ว่าจะทำกิจการใดๆ 

เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรงล้อม 

แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้งภายนอกและภายใน 

อันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลมและโรคดีเป็นต้น 

เป็นสมุฏฐานจงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ 

ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น 

จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้น ท่ามกลางพระชินบัญชร 

ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดีฉะนี้แล 

ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม 

จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวอันตรายใดๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า 

ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพ 

แห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติ และรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดรเทอญฯ

                 พระเจดีย์ ๓ องค์ วัดระฆัง  สร้างสมัย รัชกาลที่ ๓

สร้างโดยเจ้านายวังหลัง ๓ องค์ คือ กรมหมื่นนราเทเวศร์ (พระองค์เจ้าชายปาล ต้นสกุล ปาลกะวงศ์) กรมหมื่นนเรศร์โยธี (พระองค์เจ้าชายบัว) และกรมหมื่นเสนีย์บริรักษ์ (พระองค์เจ้าชายแดง ต้นสกุล เสนีวงศ์) สร้างโดยเสด็จพระราชกุศลในรัชกาลที่ ๓ เมื่อคราวสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ เป็นเจดีย์ย่อเหลี่ยมไม้ยี่สิบ ทรงจอมแห ทรวดทรงงดงามมาก แต่เป็นเจดีย์ขนาดย่อม ตั้งอยู่ด้านทิศเหนือของพระอุโบสถหลังปัจจุบัน

เจดีย์กรมหมื่นนราเทเวศร์ 

พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปาน กรมหมื่นนราเทเวศร์ เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าทองอิน กรมพระราชวังบวรสถานพิมุขกับเจ้าครอกทองอยู่ ประสูติในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย แรม 1 ค่ำ ปีขาล ตรงกับวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2313

พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปาน กรมหมื่นนราเทเวศร์

พระอิสริยยศพระสัมพันธวงศ์เธอฐานันดรศักดิ์พระองค์เจ้าราชวงศ์ราชวงศ์จักรีข้อมูลส่วนพระองค์ประสูติ14 ธันวาคม พ.ศ. 2313สิ้นพระชนม์23 สิงหาคม พ.ศ. 2368พระบิดาสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าทองอิน กรมพระราชวังบวรสถานพิมุขพระมารดาเจ้าครอกทองอยู่พระชายาเจ้าหญิงมะเดื่อ

ในรัชกาลที่ 1 ทรงได้รับโปรดเกล้าสถาปนาเป็น "กรมหมื่นนราเทเวศร์" เมื่อปี พ.ศ. 2350 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3 เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 10 แรม 13 ค่ำ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2368 สิริพระชันษาได้ 56 ปี 

พระเจดีย์องค์ที่ ๒

เจดีย์กรมหมื่นนเรศร์โยธี

พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบัว กรมหมื่นนเรศร์โยธี เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าทองอิน กรมพระราชวังบวรสถานพิมุขกับเจ้าครอกทองอยู่ ประสูติในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อวันพุธ เดือน 3 แรม 11 ค่ำ ปีขาล ตรงกับวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2318

พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบัว กรมหมื่นนเรศร์โยธี

พระนามพระองค์เจ้าบัวพระอิสริยยศพระสัมพันธวงศ์เธอฐานันดรศักดิ์พระองค์เจ้าราชวงศ์ราชวงศ์จักรีข้อมูลส่วนพระองค์ประสูติ31 มกราคม พ.ศ. 2318สิ้นพระชนม์1 เมษายน พ.ศ. 2374พระราชบิดาสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าทองอิน กรมพระราชวังบวรสถานพิมุขพระราชมารดาเจ้าครอกทองอยู่

ในรัชกาลที่ 1 ทรงได้รับโปรดเกล้าสถาปนาเป็น "หมื่นนเรศร์โยธี" เมื่อปี พ.ศ. 2350 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3 เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2374 สิริพระชันษาได้ 56 ปี พระราชทานเพลิง ณ พระเมรุท้องสนามหลวง วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2374

พระเจดีย์องค์ที่ ๓

เจดีย์กรมหลวงเสนีบรีรักษ์

พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแตง กรมหลวงเสนีบริรักษ์ เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าทองอิน กรมพระราชวังบวรสถานพิมุขกับเจ้าครอกทองอยู่ ประสูติในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 8 แรม 1 ค่ำ ปีระกา ตรงกับวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2320

พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแตง กรมหลวงเสนีบริรักษ์

พระนามพระองค์เจ้าแตงพระอิสริยยศพระสัมพันธวงศ์เธอฐานันดรศักดิ์พระองค์เจ้าราชวงศ์ราชวงศ์จักรีข้อมูลส่วนพระองค์ประสูติ20 กรกฎาคม พ.ศ. 2320สิ้นพระชนม์7 มิถุนายน พ.ศ. 2377พระราชบิดาสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าทองอิน กรมพระราชวังบวรสถานพิมุขพระราชมารดาเจ้าครอกทองอยู่พระราชบุตร75 พระองค์

ในรัชกาลที่ 1 ทรงได้รับโปรดเกล้าสถาปนาเป็น "กรมหมื่นเสนีบริรักษ์" เมื่อปี พ.ศ. 2350 ในขณะมีพระชันษาได้ 30 ปี ในรัชกาลที่ 3 ได้เสด็จไปตีเมืองเวียงจันทน์ จนได้รับชัยชนะหลายครั้ง มีความดีความชอบ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าเลื่อพระอิสริยยศขึ้นเป็น "กรมหลวงเสนีบริรักษ์" เมื่อปี พ.ศ. 2375

กรมหลวงเสนีบริรักษ์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3 เมื่อวันเสาร์ เดือน 8 ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2377 สิริพระชันษาได้ 58 ปี มีพระโอรส-ธิดา รวมทั้งสิ้น 75 พระองค์ (ไม่ปรากฏพระนาม 11 พระองค์ และไม่เป็นองค์ 5 พระองค์) ทรงเป็นต้นราชสกุลเสนีวงศ์

----------------------------

สมเด็จ โต สร้างพระสมเด็จบรรจุพระเจดีย์ ๘๔๐๐๐ องค์เท่าจำนวนพระธรรมขันธ์ "

พระสมเด็จวัดระฆัง แม่พิมพ์ช่างชาวบ้าน ยุคแรก ในพระเจดีย์สามองค์ข้างพระอุโบสถวัดระฆัง 

การปรากฎของ พระสมเด็จวัดระฆัง บล็อกแม่พิมพ์ยุคแรก 

พระสมเด็จ วัดระฆัง พรือพระพิมพ์ ของท่านเจ้าประคุณ ท่านได้สร้างหลายวาระ หลายครั้ง แบ่งออกเป็น ๓ ยุค ๓ สมัย ประมาณ ๑๔ ครั้ง บางวาระสร้างมากถึง ๘๔๐๐๐ องค์ เท่าจำนวนพระธรรมขันธ์ สร้างเพื่อบรรจุในพระเจดีย์ต่างๆ มีแห่งใดไม่อาจทราบแน่ชัด ตามประวัติปรากฎชัด เช่น กรุวัดใหม่อตมรส (บางขุนพรหม กทม ) กรุวัดเกศไชโย จ.อ่างทอง กรุพระปาวัดระฆัง กรุพระเจดีย์วัดระฆัง

พระสมเด็จ กรุพระเจดีย์ ๓ องค์ข้างพระอุโบสถพระประธานยิ้มรับฟ้า นั้น จากคำบอกเล่าว่า ค้นพบ เพียง ๕ พิมพ์ 

๑. พิมพ์ใหญ่ ( แบบยุคแรก หรือ ยุคต้น ) 

๒.พิมพ์ปรกโพธิ์  ( แบบยุคแรก หรือ ยุคต้น ) ต้นแบบพิมพ์ทรงจากพระสมเด็จอรหัง ของสมเด็จพระสังราช สุก ไก่เถื่อน ผู้เป็นพระอาจารย์ 

๓.พิมพ์วัดเกศ ๙ ชั้น ( อกวี ) 

๔.พิมพ์ไสยาสน์

๕.พิมพ์ตุ๊กตา  ต้นแบบพิมพ์ทรงพระวัดพลับ ของสมเด็จพระสังราช สุก ไก่เถื่อน ผู้เป็นพระอาจารย์

ทั้ง ๕ พิมพ์นี้ไม่สามารถระบุได้ว่าพิมพ์ใดแตกกรุออกมาจากพระเจดีย์องค์ใด 

                          วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร หรือ วัดระฆัง, วัดหลวงพ่อโต ตั้งอยู่เลขที่ 250 แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรมหาวิหาร อยู่ในเขตการปกครองคณะสงฆ์มหานิกายภาค 1

                           วัดแห่งนี้เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา เดิมชื่อ วัดบางว้าใหญ่ (หรือบางหว้าใหญ่) ในสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสร้างพระราชวังใกล้วัดบางว้าใหญ่ โปรดเกล้าฯ ให้ยกเป็นพระอารามหลวงและเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช วัดบางว้าใหญ่อยู่ในพระอุปถัมภ์ของเจ้านายวังหลัง คือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี (สา) พระเชษฐภคินีของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและเป็นพระชนนีของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ทรงมีตำหนักที่ประทับอยู่ติดกับวัด ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดร่วมกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และได้ขุดพบระฆังลูกหนึ่ง ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้นำไปไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยทรงสร้างระฆังชดเชยให้วัดบางว้าใหญ่ 5 ลูก จากนั้นได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดระฆังโฆสิตาราม” นอกจากเป็นเพราะขุดพบระฆังที่วัดนี้และเพื่อฟื้นฟูแบบแผนครั้งกรุงศรีอยุธยาที่มีวัดชื่อวัดระฆังเช่นกัน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อ “วัดระฆังโฆสิตาราม” เป็น “วัดราชคัณฑิยาราม” (คัณฑิ แปลว่าระฆัง) แต่ไม่มีคนนิยมเรียกชื่อนี้ ยังคงเรียกว่าวัดระฆังต่อมา

 

ขอบคุณภาพ​  

ชมรมอนุรักษ์​ผงสมเด็จ​  นาก​ บางกอก