คาบเรียนที่ 2

สารเสพติด

คำสั่ง

  1. ให้นักเรียนศึกษาเรื่องสารเสพติด

2. ให้นักเรียนจัดกลุ่มวางแผนการดำเนินกิจกรรมรณรงค์การใช้ยาอย่างปลอดภัยและห่างไกลจากสารเสพติด และให้รายงานในคาบเรียนต่อไป

2. สารเสพติด

องค์การอนามัยโลกได้ให้ความหมายของคำว่า “สารเสพติด” ไว้ว่า สารเสพติด คือ สารที่การทำกิจกรรมที่ตนเองชื่นชอบ ในยามว่าง สามารถป้องกันการติดสารเสพติดได้เสพเข้าไปแล้วจะทำให้เกิดความต้องการทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยไม่สามารถหยุดเสพได้และจะต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ โดยอาจเสพเข้าสู่ร่างกายโดยการกิน สูบ ฉีด หรือดมเป็นเวลาติดต่อกัน จนในที่สุดร่างกายจะทรุดโทรมและจิตใจอยู่ในภาวะที่ไม่ปกติ ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บแก่ร่างกายและจิตใจ

2.1 สถานการณ์เกี่ยวกับสารเสพติดในปัจจุบัน

ปัญหาการใช้สารเสพติดเป็นปัญหาที่บ่อนทำลายชาติอย่างทั่วโลก การปราบปรามไม่สามารถจะทำลายหรือทำให้สำเร็จได้ง่าย เพราะมีผลประโยชน์เกี่ยวพันกันอย่างมหาศาล ซึ่งปัจจุบันยังมีการแพร่ระบาดเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมชน ดังนั้นการหาแนวทางแก้ไขที่ดีและมีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อชุมชนที่จะสร้างพลังในการช่วยป้องกันชุมชนของตนเองให้มีความปลอดภัยจากสารเสพติด เป็นชุมชนที่มีสุขภาพดี มีความสุข ทั้งตนเองและบุคคลที่อยู่ร่วมกันในชุมชน

ตามหลักระบาดวิทยาการเกิดโรคมีสาเหตุจากปัจจัย 3 ประการคือ บุคคล สารเสพติด และสิ่งแวดล้อม

1) ปัจจัยตามหลักระบาดวิทยา ปัจจัยเชื่อมโยงที่เกี่ยวกับการแพร่ระบาดของสารเสพติด

- บุคคล กลุ่มเป้าหมาย ผู้ค้า

- สารเสพติด มีการปรับปรุงให้ทันสมัยมากขึ้น

- สิ่งแวดล้อม ทั้งครอบครัว ชุมชน เศรษฐกิจ การเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

2) สถานการณเกี่ยวกับสารเสพติด

2.2 ผลกระทบที่เกิดจากสารเสพติด ปัญหาสารเสพติดมีผลกระทบต่อบุคคล ครอบครัว และชุมชน ดังต่อไปนี้

1) ปัญหาสุขภาพ สารเสพติดก่อให้เกิดผลกระทบต่อร่างกาย ดังนี้

- ด้านร่างกาย ทำให้ร่างกายทรุดโทรม สมองเสื่อม สติปัญญาลดลง น้ำหนักลด ความต้านทานของร่างกายน้อยลงบุคลิกภาพแปรปรวน อารมณ์และจิตใจไม่ปกติ ฟุ้งซ่าน ขาดความรับผิดชอบ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคถุงลมโป่งพอง โรคไวรัสตับอักเสบ โรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคเอดส์ เป็นต้น ตลอดจนการเสียชีวิตเนื่องจากการใช้สารเสพติดเกินขนาด

- ด้านจิตใจ มีอาการของโรคจิต โรคประสาท เช่น ซึมเศร้า หดหู่ ชอบแยกตัวอยู่คนเดียว คลุ้มคลั่ง จิตใจเลื่อนลอย ประสาทหลอนจนถึงขั้นซึมเศร้ารุนแรง ซึ่งเป็นสาเหตุของการฆ่าตัวตายในที่สุด

2) ปัญหาครอบครัว ทำให้ครอบครัวแตกแยก เกิดการทะเลาะวิวาท การลักขโมย รายได้ตกต่ำ ไม่พอเลี้ยงครอบครัว ขาดความรักความอบอุ่น ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ซึ่งเป็นต้นเหตุนำไปสู่การเกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา

3) ปัญหาชุมชนและสังคม ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมต่างๆ เช่น ลักทรัพย์ ปล้นจี้ ฆ่าตัดตอน ก่อเหตุทะเลาะวิวาท การถูกสังคมรังเกียจ การขายบริการ ทางเพศเพื่อแลกกับการซื้อยามาเสพ การทอดทิ้งบุตร เป็นต้น

4) ปัญหาเศรษฐกิจ สารเสพติดบ่อนทำลายเศรษฐกิจของประชาชนและประเทศชาติที่จะต้องใช้ในการดำเนินการป้องกัน ปราบปราม บำบัดรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพ ประชาชนขาดรายได้ ประชาชนว่างงาน

2.3 สถานการณ์เสี่ยงที่นำไปสู่ปัญหาสารเสพติดในชุมชน

การที่บุคคลใช้สารเสพติดนั้นเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกมาในด้านของร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม ซึ่งจะเป็นสถานการณ์เสี่ยงที่จะนำไปสู่ปัญหาสารเสพติดในชุมชนได้ ดังนี้

- สถาบันครอบครัว สภาพครอบครัวที่แตกแยก หย่าร้าง ขาดความอบอุ่น ขาดการอบรมสั่งสอน ขาดผู้นำครอบครัว การถูกทอดทิ้ง ทำให้เกิดปัญหาครอบครัวที่จะนำไปสู่การใช้สารเสพติดได้ จึงมักมีคำกล่าวว่า “ครอบครัวคือภูมิคุ้มกันสารเสพติด”

- พฤติกรรมส่วนบุคคล การเที่ยวเตร่ตามสถานบันเทิงในเวลากลางคืน การอยากทดลอง การเลียนแบบจากบุคคลในครอบครัว เพื่อน ผู้ใกล้ชิด หรือผู้ที่ตนชื่นชอบ การอยากให้สังคมยอมรับ เป็นต้น

กลุ่มคนที่มีแนวโน้มต่อสารเสพติดในชุมชน

- กลุ่มคนที่มีแนวโน้มต่อสารเสพติดในชุมชน ผู้มีอิทธิพลที่เป็นผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้จำหน่าย แหล่งผลิต แหล่งจำหน่ายภายในหรือบริเวณรอบๆ ชุมชน

- ความอ่อนแอทางสังคม และวัฒนธรรมของชุมชน การมีแหล่งเสื่อมโทรม ชุมชนแออัด การขาดความรัก ขาดการมีส่วนร่วม ขาดความรับผิดชอบ ขาดกฎระเบียบของชุมชน เป็นต้น

- สถาบันทางการศึกษา โรงเรียน ครู อาจารย์ ผู้ปกครอง ชุมชน มีส่วนช่วยพัฒนาเยาวชน ตลอดจนกลุ่มเพื่อนซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลมากกว่าครอบครัว

- สถาบันทางสังคมและการเมือง ด้านมาตรการทางสังคม การเมือง ขาดกฎระเบียบ กฎหมายหย่อนยานที่เอื้อต่อกลุ่มบุคคลบางคนของภาครัฐ และการเมืองสภาพสังคมอ่อนแอ เสื่อมโทรม

2.4 ลักษณะทางจิตที่เสี่ยงต่อการติดสารเสพติด

ลักษณะทางจิตที่เสี่ยงต่อการติดสารเสพติด มีดังนี้

1.มุ่งอนาคต และควบคุมตน นักเรียนที่มีความมุ่งอนาคตต่ำ ย่อมไม่ทราบว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นกับตนในอนาคต เช่น นักเรียนที่ไม่ตั้งใจเรียน มีชีวิตอยู่โดยไม่มีจุดมุ่งหมาย จึงมีแนวโน้มที่เสี่ยงต่อการติดสารเสพติด เพื่อใช้เป็นทางออกของชีวิตในปัจจุบัน เป็นต้น

2. ความเชื่ออำนาจในตน นักเรียนที่มีความเชื่ออำนาจในตน จะเป็นผู้ที่เข้าใจชีวิต สามารถยอมรับว่าสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเป็นเพราะการกระทำของนักเรียนเอง ดังนั้น นักเรียนที่มีความเชื่ออำนาจในตนสูงจะปลอดภัยและเอา ตัวรอดจากการติดสารเสพติดได้ ซึ่งตรงข้ามกับนักเรียนที่มีความเชื่ออำนาจนอกตน ซึ่งมีความคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้น ในชีวิตเป็นเรื่องบังเอิญ ขึ้นอยู่กับโชคชะตา วาสนาเคราะห์กรรม หรือเกิดจากการกระทำของผู้อื่น จึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดสารเสพติดได้มาก

2.5 การป้องกันปัญหาและแก้ไขปัญหาสารเสพติด

การพัฒนาบุคคล เป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพราะการที่คนจะติดหรือเป็นทาสสารเสพติดมาจากปัจจัยของบุคคล อันเนื่องมาจากสภาพทั้งร่างกายและจิตใจที่มีผลกระทบมากที่สุด ซึ่งการพัฒนาบุคคล สามารถใช้กลวิธีต่างๆ ดังนี้

1) การพัฒนาบุคคล เป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพราะการที่คนจะติดหรือเป็นทาสสารเสพติดมาจากปัจจัยของบุคคล อันเนื่องมาจากสภาพทั้งร่างกายและจิตใจที่มีผลกระทบมากที่สุด ซึ่งการพัฒนาบุคคล สามารถใช้กลวิธีต่างๆ ดังนี้

- การให้การศึกษา ให้ความรู้ทั้งในโรงเรียนและแหล่งชุมชน

- ให้ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อต่างๆ ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์ ผ่านเสียงตามสายโรงเรียน ชุมชน หอกระจายข่าวตามหมู่บ้าน สถานีอนามัย

- จัดกิจกรรมสัมมนา การฝึกอบรม การอภิปราย การโต้วาทีหรือรณรงค์การป้องกันยาเสพติด

- จัดกิจกรรมทางเลือก กิจกรรมนันทนาการ เช่น การออกกำลังกาย การแข่งกีฬา การเข้าค่ายธรรมะ

- การสร้างภูมิคุ้มกันเดินรณรงค์การป้องกันยาเสพติด การรู้ถูกผิด โทษของยาเสพติด

2) สังคมและสิ่งแวดล้อม มีอิทธิพลต่อการป้องกันปัญหาสารเสพติดดังนี้

1. ครอบครัว ต้องมีความรักใคร่ กลมเกลียวกัน สร้างความอบอุ่น พึ่งพาอาศัยกันและกันช่วยกันแก้ไขปัญหา อุปสรรคต่างๆ การให้การศึกษาแก่สมาชิกในครอบครัว จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่ดี การให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องแก่สมาชิกในครอบครัว เกี่ยวกับปัญหาสารเสพติด

2. เพื่อน เป็นกลุ่มทางสังคม ที่มีอิทธิพลในการทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ เช่น การออกค่ายอาสา ออกกำลังกาย การเล่นกีฬา การเชียร์กีฬานันทนาการ เป็นต้น

3. โรงเรียนและสถานศึกษา ครู-อาจารย์ ต้องรับนโยบายสถานศึกษา ตลอดจนหน้าที่ความรับผิดชอบในการดูแลนักเรียนหรือนักศึกษาอย่างใกล้ชิด รวมถึงเป็นที่ปรึกษาปัญหาต่างๆ ของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3) หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีกลวิธี ดังนี้

- การกำหนดนโยบาย แผนงาน กิจกรรม เพื่อป้องกันปัญหาสารเสพติดอย่างต่อเนื่อง

- การกำหนดพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินงานที่เหมาะสม

- การผสมผสานมาตรการ วิธีการ กลวิธีหลายๆ วิธี เช่น การใช้สื่อข่าวสารการโฆษณา การจัดนิทรรศการ การประชุมสัมมนา เป็นต้น

- ประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกันและปราบปรามการแพร่ระบาด

- สนับสนุนทรัพยากรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาการดำเนินงาน

- การใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในชุมชน เพื่อพัฒนา ทดสอบ ปรับปรุงคุณภาพให้เหมาะสมต่อการสร้างงานและสร้างคนของชุมชน

2.6 แนวทางการจัดกิจกรรมป้องกันความเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด

การแก้ไขปัญหาสารเสพติดในชุมชนควรคำนึงถึงสภาพปัญหาที่แท้จริง โดยให้ชุมชนมองดูตนเองจากองค์ประกอบต่างๆ 4 ประการ คือ

1. จุดแข็ง หมายถึง การวิเคราะห์ความพร้อม สิ่งที่ชุมชนมีอยู่ที่จะช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติด

2. จุดอ่อน หมายถึง การวิเคราะห์หาปัญหา ข้อบกพร่องของชุมชนต่อสถานการณ์การป้องกันและแก้ไขปัญหา

3. โอกาส หมายถึง สิ่งที่สนับสนุนเกื้อกูลแก่ชุมชน เช่น งบประมาณที่มีต่อชุมชน ในการป้องกันและฟื้นฟู กำหนดนโยบายอย่างชัดเจนร่วมกันของรัฐและชุมชน การแก้ไขกฎหมาย มาตรการให้มีบทลงโทษอย่างหนัก เป็นต้น

4. ข้อจำกัดและภัยคุกคาม หมายถึง สิ่งที่เป็นอุปสรรค เช่น มีการผลิต และจำหน่ายรอบชุมชนทั้งรายใหญ่ รายย่อย ขาดงบประมาณ มีแหล่งอบายมุขเพิ่มขึ้น เป็นต้น

2.7 กฎหมายเกี่ยวกับสารเสพติด

1) พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 จัดให้ส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดของสำนักงานเป็นเขตสูบบุหรี่หรือเขตปลอดบุหรี่ ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

- จัดเขตสูบบุหรี่ให้มีสภาพลักษณะ และมาตรฐานตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุขเรื่องสภาพลักษณะเขตสูบบุหรี่ ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

- ติดเครื่องหมายแสดงเขตปลอดบุหรี่ในโรงเรียน โรงพยาบาล ศาสนสถาน ท่าอากาศยาน สนามกีฬา ธนาคาร สถานที่ออกกำลังกาย ห้างสรรพสินค้า และสถานที่สาธารณะทั่วไป ให้อยู่ในบริเวณที่มองเห็นชัดเจน ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท

2) พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545

- “ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด” หมายความว่า การกระทำใดๆ อันเป็นการบำบัดการติดสารเสพติดและฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ติดสารเสพติดรวมถึงการรักษาสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ซึ่งเสพสารเสพติดให้กลับ สู่สภาพปกติโดยไม่เสี่ยงต่อการเป็นผู้ติดสารเสพติด

- ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

- จัดให้มีคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด และจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด

ตัวอย่างบางมาตรา เช่น

3) พระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533

- “สารระเหย” หมายความว่า สารเคมีหรือผลิตภัณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศว่าเป็นสารระเหย

- “ผู้ติดสารระเหย” หมายความว่า ผู้ซึ่งต้องใช้สารระเหยบำบัดความต้องการของร่างกายหรือจิตใจเป็นประจำ

ตัวอย่างบางมาตรา เช่น

พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

พ.ศ. 2551

2.8 การบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

1) การบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติด แบ่งขั้นตอนการบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติด เป็น 4 ขั้นตอน คือ

- ขั้นเตรียมการ (Pre-admission) เป็นการศึกษาประวัติข้อมูลและภูมิหลังของผู้ติดสารเสพติด ทั้งจากผู้ขอรับการรักษาและครอบครัว เพื่อชักจูงให้คำแนะนำ และกระตุ้นให้ผู้ติดสารเสพติด มีความตั้งใจในการรักษา

- ขั้นถอนพิษยา (Detoxification) เป็นการบำบัดอาการทางกายที่เกิดจากการใช้สารเสพติด การดำเนินการ การให้ยาชนิดอื่นทดแทน

- ขั้นตอนในการฟื้นฟูสมรรถภาพ (Rehabilitation) ขั้นตอนนี้เป็นการปรับสภาพร่างกายและจิตใจของผู้เลิกยาให้มีความเข้มแข็ง ปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพและพฤติกรรมให้สามารถกลับคืนสู่สังคมได้อย่างปกติ

- ขั้นการติดตามดูแล (After-Care) เป็นการติดตามดูแลผู้เลิกสารเสพติดที่ผ่านการบำบัด รักษา ทั้ง 3 ขั้นตอน เพื่อให้คำแนะนำปรึกษาให้กำลังใจ ทั้งนี้เพื่อมิให้หวนกลับไปเสพยาซ้ำอีก

2) หน่วยงานที่รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาสารเสพติด

1. ศูนย์รับแจ้งข่าวและระบบการข่าว มีหน่วยงานจัดระบบการข่าว และศูนย์แจ้งข้อมูลข่าวสารจากเจ้าหน้าที่ของรัฐเกี่ยวข้องกับสารเสพติด ประกอบด้วย

- ส่วนกลาง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองบัญชาการทหารสูงสุด กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด และกองบัญชาการตำรวจนครบาลป้องกันปราบปราม

- ส่วนภูมิภาค เช่น ศูนย์ป้องกันและปราบปรามยาเสพติดกรุงเทพมหานคร (ศปส.ก.) และศูนย์ป้องกันปราบปรามยาเสพติดจังหวัด (ศปส.จ.)

สำหรับสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ (ป.ป.ส.) ได้เปิดศูนย์รับแจ้งข้อมูลข่าวสารเจ้าหน้าที่ของรัฐเกี่ยวข้องกับสารเสพติด ดังนี้

- สำนักงานปราบปรามยาเสพติด สำนักงาน ป.ป.ส.

- สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาคเหนือ (เชียงใหม่)

- สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ขอนแก่น)

- สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาคใต้ (สงขลา)

- สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาคกลาง (กทม.)

2. คณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลหรือข่าวสารการกระทำเกี่ยวข้องกับสารเสพติด ที่มาจากหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานของส่วนราชการต่างๆ ทั้งคณะกรรมการประจำกรุงเทพมหานคร และคณะกรรมการประจำภาค

3. การบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติดในชุมชน และหน่วยงานที่บริการให้คำปรึกษา

- ระบบการบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติด ปัจจุบันประเทศไทยมีระบบการบำบัดรักษาผู้ติดยา 3 ระบบ คือ ระบบสมัครใจ ระบบต้องโทษ และระบบบังคับ

- สถานบริการให้คำปรึกษาและบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติด ผู้ที่ประสบปัญหาสารเสพติดและไม่อาจแก้ไขได้ด้วยตนเอง อาจขอรับคำปรึกษาแนะนำ หรือขอรับบริการการบำบัดรักษาสารเสพติดได้จากสถานบริการต่างๆ เช่น

- กองบำบัดรักษา สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

- โรงพยาบาลในส่วนกลาง เช่น โรงพยาบาลธัญญารักษ์ โรงพยาบาลตำรวจ เป็นต้น

- โรงพยาบาลของรัฐ เอกชนและคลินิกต่างๆ ในศูนย์บริการสาธารณสุขทั่วทุกภาคของประเทศ

- ศูนย์หรือบ้านต่างๆ ของเอกชน เช่น ศูนย์เบิกอรุณในประเทศไทย บ้านสันติสุข ฯลฯ

- กลุ่มผู้ติดยาเสพติดนิรนาม (NA) ในประเทศไทย เช่น โรงพยาบาลธัญญารักษ์ ศูนย์บริการชุมชนสุขุมวิท 33 บ้านพิชิตใจ ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดภาคเหนือ กลุ่มผู้ติดยาเสพติดนิรนาม จังหวัดภูเก็ต เป็นต้น

ดูวิดีโอกันค่ะ